คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) รายงานในส่วนของจังหวัดอ่างทองที่อยู่ในเขตตรวจราชการที่ 4 และจังหวัดชัยนาทและสิงห์บุรี ที่อยู่ในเขตตรวจราชการที่ 5 และให้รองนายกรัฐมนตรี (นายพินิจ จารุสมบัติ) รับไปประกอบการพิจารณาดำเนินการแก้ไขปัญหาภัยแล้งในภาพรวมต่อไป สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
ผลการดำเนินการ
1. การดูแลแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ในจังหวัดชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง
1.1 จังหวัดชัยนาท
1) ในช่วงที่จังหวัดชัยนาทประสบปัญหาภัยแล้งมากที่สุด คือ เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2548 มีพื้นที่ประสบภัย 229 หมู่บ้าน (46%) 15,098 ครัวเรือน (16%) ขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค 16,635 ครัวเรือน พื้นที่การเกษตรเสียหาย 72,481 ไร่ (6%)
2) การดำเนินการช่วยเหลือเร่งด่วน เป็นเรื่องของการช่วยเหลือน้ำอุปโภคบริโภค และพื้นที่การเกษตรที่หากไม่ได้รับการสูบน้ำช่วยเหลือจะเกิดความเสียหาย นั้น ได้มีการบูรณาการระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งในส่วนภูมิภาค และท้องถิ่น โดยการใช้รถน้ำแจกจ่ายน้ำอุปโภคบริโภค ก่อสร้างจุดจ่ายน้ำ เป่าล้างซ่อมแซมและเจาะบ่อบาดาลเพิ่มเติม สำหรับพื้นที่การเกษตร ช่วยเหลือนาข้าว 99,406 ไร่ พืชสวน 600 ไร่
3) ใช้วิธีการบริหารจัดการน้ำให้มีประสิทธิภาพ โดยในพื้นที่ลุ่มในเขตชลประทานได้ปรับการทำนาเป็นแปลงรวมขนาดใหญ่ และทำนาพร้อมกัน ซึ่งได้ผลดี อยู่ระหว่างการขยายให้คลอบคลุมในพื้นที่เขตชลประทานทั้งหมด สำหรับในที่ดอนได้ดำเนินการปรับเปลี่ยนจากการปลูกข้าวนาปี ซึ่งใช้น้ำ 1,200 ลบ.ม./ไร่ ให้ผลตอบแทน 850 บาท/ไร่/ปี ไปปลูกหญ้าเลี้ยงสัตว์ ซึ่งใช้น้ำเพียง 600 ลบ.ม./ไร่ และให้ผลตอบทนสูงถึง 4,000 บาท/ไร่/ปี ขณะนี้เปลี่ยนจากข้าวเป็นหญ้าแล้ว 1,657 ไร่ และจะขยายผลต่อไป เนื่องจากหญ้าเลี้ยงสัตว์ยังมีความต้องการสูงมาก
4) จากปัญหาที่ประสบภัยแล้งในปีนี้ ทำให้มีครัวเรือนขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภคสูงสุดจำนวน 16,635 ครัวเรือน จังหวัดจึงกำหนดเป็นตัวชี้วัดของ อบต. เพื่อให้ทุกครัวเรือนจะมีน้ำบริโภคครบตามเกณฑ์มาตรฐาน จปฐ. ในปี 2549-2550 โดยจัดหาภาชนะเก็บกักน้ำและจัดทำระบบประปาหมู่บ้านให้เพียงพอและครอบคลุม ซึ่งทำให้เชื่อมั่นได้ส่วนหนึ่งว่าในปี 2549-2500 ทุกครัวเรือนในจังหวัดชัยนาทจะไม่ขาดแคลนน้ำบริโภคอุปโภค
5) ในส่วนที่เป็นการแก้ปัญหาระยะปานกลาง และระยะยาว ซึ่งจังหวัดขอรับการสนับสนุนเพื่อแก้ปัญหาภัยแล้ง มีจำนวน 8 โครงการ เป็นเงิน 1,019 ล้านบาท ประกอบด้วย โครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำ 1 แห่ง ศึกษาความเหมาะสมโครงการสร้างอ่างเก็บน้ำ 2 แห่ง ก่อสร้างโรงสูบน้ำ 1 แห่ง สถานีสูบน้ำ 1 แห่ง ขุดคลองอ่างเก็บน้ำ 6 แห่ง ขุดลอกหนองน้ำและคลองชลประทาน รวมทั้งซื้อเครื่องเป่าล้างบ่อ เพื่อจะบรรเทาปัญหาภัยแล้ง และเพิ่มพื้นที่ชลประทานเพื่อการเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1.2 จังหวัดสิงห์บุรี
1) มีปัญหาการขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภคเพียงเล็กน้อยเท่านั้นได้มีการจัดตั้งศูนย์แจกจ่ายน้ำประจำหมู่บ้าน 130 แห่ง แจกจ่ายน้ำไปประมาณ 1.8 แสนลิตร นอกจากนี้ ได้มีการซ่อมแซมระบบประปา บ่อบาดาลและภาชนะเก็บกักน้ำเพื่อให้สามารถสำรองน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง
2) พื้นที่ขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร มีเพียง 8 หมู่บ้าน ในตำบลดอนสมอ อำเภอท่าช้าง เป็นพื้นที่สวน รวม 785 ไร่ ซึ่งข้อมูลสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสิงห์บุรีเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2548 คาดว่าจะได้รับความเสียหาย
3) ปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตรเกิดจากเกษตรกรปลูกข้าวเป็นหลัก และปลูกต่อเนื่องตลอดปี ทำให้มีความต้องการใช้น้ำในปริมาณมาก ประกอบกับการจัดสรรน้ำของลุ่มน้ำเจ้าพระยาในปีนี้ไม่เพียงพอกับความต้องการ และพื้นที่ไม่มีแหล่งกักเก็บน้ำขนาดใหญ่จำเป็นจะต้องมีการกักเก็บน้ำและระบบส่งน้ำ เพื่อแก้ปัญหาระยะปานกลางและระยะยาว โดยจังหวัดสิงห์บุรีขอรับการสนับสนุน รวม 13 โครงการ เป็นเงิน 152,643,300 บาท
1.3 จังหวัดอ่างทอง
1) มีปัญหาการขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภคไม่มากนัก ได้แจกจ่ายน้ำในพื้นที่ที่ได้รับความเดือดร้อนไปแล้ว 5.78 ล้านลิตร
2) การช่วยเหลือพื้นที่การเกษตร ท้องถิ่นและอำเภอได้จัดเตรียมเครื่องสูบไว้ 19 เครื่อง เร่งรัดการขุดลอกคูคลอง หนองบึง และเป่าล้างบ่อ ในงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 2 สุพรรณบุรี ได้ช่วยขุดลอกคลองระยะทาง 9 กม. กำจัดวัชพืช ในคลองส่งน้ำระยะทาง 30 กม. สูบน้ำช่วยเหลือเกษตรกร 13,000 ไร่ และพัฒนาบ่อบาดาล 19 บ่อ
3) เช่นเดียวกับจังหวัดสิงห์บุรี คือ จังหวัดอ่างทองไม่มีแหล่งกักเก็บน้ำต้นทุนเป็นของตนเอง โดยอาศัยจากเขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนภูมิพล และเขื่อนเจ้าพระยา ซึ่งถ้าส่งน้ำไม่พอก็จะประสบปัญหาน้ำเพื่อการเกษตร ในการแก้ปัญหาระยะยาว จังหวัดจึงได้ขอสนับสนุนโครงการแก้มลิงลำท่าแดง โดยขุดลอกหนองน้ำ 3 แห่ง และเสริมคันดินเก็บกักน้ำยาว 23 กม. ทำประตูน้ำ 2 แห่ง ซึ่งจะทำให้สามารถเก็บกักน้ำได้ประมาณ 4.0 ล้าน ลบ.ม. ช่วยเหลือพื้นที่การเกษตรได้กว่า 5,000 ไร่ เป็นเงิน 81.5 ล้านบาท
2. การกำกับติดตาม การปฏิบัติราชการ
นอกจากนี้ปัญหาภัยแล้งที่ได้ไปดูแลแก้ไขแล้ว ยังได้ไปกำกับติดตามเรื่องที่เป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาล ดังนี้
2.1 เรื่องปัญหาไข้หวัดนก เนื่องจากกำลังเข้าฤดูฝน จึงต้องช่วยกันเฝ้าระวังอย่าได้วางใจแม้ว่าวันนี้จะแก้ไขไปได้ระดับหนึ่งแล้วก็ตาม หากมีปัญหาขอให้รีบแจ้งผู้เกี่ยวข้องทันที
2.2 เรื่องปัญหายาเสพติด ได้รับทราบว่าใน 3 จังหวัดนี้ไม่มีปัญหารุนแรง แต่อย่าประมาท ขอให้จังหวัดมีมาตรการเฝ้าระวัง และติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง
2.3 เรื่อง OTOP ซึ่งทุกจังหวัดมีสินค้าที่ได้รับการส่งเสริมสนับสนุนมากพอสมควรแล้ว จึงควรจะมีศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์ OTOP ซึ่งอาจร่วมกันหลายจังหวัดก็ได้
2.4 เรื่อง GFMIS จังหวัดรายงานว่า ในระยะแรกมีการจ่ายเงินล่าช้า มีปัญหาที่ Soft Ware และเจ้าหน้าที่ยังขาดความชำนาญ แต่ในขณะนี้ปัญหาได้รับการแก้ไขมีการพัฒนาดีขึ้นโดยลำดับ ซึ่งได้มอบนโยบายเพิ่มเติมด้วยว่า เรื่องนี้รัฐบาลให้ความสำคัญ และจะเป็นระบบที่ทำให้มีความโปร่งใสมากขึ้น ส่วนปัญหาในทางปฏิบัติของระยะเริ่มการใช้งานคงต้องค่อย ๆ แก้ไขไป เชื่อว่าเมื่อระบบมีความสมบูรณ์แล้ว การทำงานจะรวดเร็วขึ้นกว่าระบบเดิมมาก
2.5 เรื่องท่องเที่ยว เนื่องจากชัยนาท สิงห์บุรี และอ่างทอง อยู่ในเส้นทางผ่านของการเดินทางไปภาคเหนือ และตั้งอยู่ใกล้กรุงเทพมหานคร ดังนั้น จังหวัดจึงควรหาสิ่งที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวให้แวะเข้ามาท่องเที่ยวในพื้นที่ โดยประชาสัมพันธ์สถานที่น่าสนใจให้ทราบอย่างกว้างขวาง เช่น วัดสาระโคดม หรือเปิดตลาดน้ำให้คนแวะพักจับจ่ายใช้สอยหรือรับประทานอาหาร เป็นต้น
ในส่วนของการแก้ไขปัญหาภัยแล้งที่จังหวัดชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทองที่ขอรับการสนับสนุน ซึ่งจังหวัดชัยนาทเสนอไว้ 8 โครงการ งบประมาณ 1,019 ล้านบาท จังหวัดสิงห์บุรี เสนอไว้ 13 โครงการ งบประมาณ 152.64 ล้านบาท และจังหวัดอ่างทอง เสนอ 1 โครงการ งบประมาณ 81.5 ล้านบาท นั้นจะได้ส่งข้อมูลข้อเสนอของจังหวัดให้กับรองนายกรัฐมนตรี (นายพินิจ จารุสมบัติ) ซึ่งดูแลเรื่องของการบริหารจัดการระบบน้ำโดยตรง เพื่อประกอบการพิจารณาต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 10 พฤษภาคม 2548--จบ--
ผลการดำเนินการ
1. การดูแลแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ในจังหวัดชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง
1.1 จังหวัดชัยนาท
1) ในช่วงที่จังหวัดชัยนาทประสบปัญหาภัยแล้งมากที่สุด คือ เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2548 มีพื้นที่ประสบภัย 229 หมู่บ้าน (46%) 15,098 ครัวเรือน (16%) ขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค 16,635 ครัวเรือน พื้นที่การเกษตรเสียหาย 72,481 ไร่ (6%)
2) การดำเนินการช่วยเหลือเร่งด่วน เป็นเรื่องของการช่วยเหลือน้ำอุปโภคบริโภค และพื้นที่การเกษตรที่หากไม่ได้รับการสูบน้ำช่วยเหลือจะเกิดความเสียหาย นั้น ได้มีการบูรณาการระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งในส่วนภูมิภาค และท้องถิ่น โดยการใช้รถน้ำแจกจ่ายน้ำอุปโภคบริโภค ก่อสร้างจุดจ่ายน้ำ เป่าล้างซ่อมแซมและเจาะบ่อบาดาลเพิ่มเติม สำหรับพื้นที่การเกษตร ช่วยเหลือนาข้าว 99,406 ไร่ พืชสวน 600 ไร่
3) ใช้วิธีการบริหารจัดการน้ำให้มีประสิทธิภาพ โดยในพื้นที่ลุ่มในเขตชลประทานได้ปรับการทำนาเป็นแปลงรวมขนาดใหญ่ และทำนาพร้อมกัน ซึ่งได้ผลดี อยู่ระหว่างการขยายให้คลอบคลุมในพื้นที่เขตชลประทานทั้งหมด สำหรับในที่ดอนได้ดำเนินการปรับเปลี่ยนจากการปลูกข้าวนาปี ซึ่งใช้น้ำ 1,200 ลบ.ม./ไร่ ให้ผลตอบแทน 850 บาท/ไร่/ปี ไปปลูกหญ้าเลี้ยงสัตว์ ซึ่งใช้น้ำเพียง 600 ลบ.ม./ไร่ และให้ผลตอบทนสูงถึง 4,000 บาท/ไร่/ปี ขณะนี้เปลี่ยนจากข้าวเป็นหญ้าแล้ว 1,657 ไร่ และจะขยายผลต่อไป เนื่องจากหญ้าเลี้ยงสัตว์ยังมีความต้องการสูงมาก
4) จากปัญหาที่ประสบภัยแล้งในปีนี้ ทำให้มีครัวเรือนขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภคสูงสุดจำนวน 16,635 ครัวเรือน จังหวัดจึงกำหนดเป็นตัวชี้วัดของ อบต. เพื่อให้ทุกครัวเรือนจะมีน้ำบริโภคครบตามเกณฑ์มาตรฐาน จปฐ. ในปี 2549-2550 โดยจัดหาภาชนะเก็บกักน้ำและจัดทำระบบประปาหมู่บ้านให้เพียงพอและครอบคลุม ซึ่งทำให้เชื่อมั่นได้ส่วนหนึ่งว่าในปี 2549-2500 ทุกครัวเรือนในจังหวัดชัยนาทจะไม่ขาดแคลนน้ำบริโภคอุปโภค
5) ในส่วนที่เป็นการแก้ปัญหาระยะปานกลาง และระยะยาว ซึ่งจังหวัดขอรับการสนับสนุนเพื่อแก้ปัญหาภัยแล้ง มีจำนวน 8 โครงการ เป็นเงิน 1,019 ล้านบาท ประกอบด้วย โครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำ 1 แห่ง ศึกษาความเหมาะสมโครงการสร้างอ่างเก็บน้ำ 2 แห่ง ก่อสร้างโรงสูบน้ำ 1 แห่ง สถานีสูบน้ำ 1 แห่ง ขุดคลองอ่างเก็บน้ำ 6 แห่ง ขุดลอกหนองน้ำและคลองชลประทาน รวมทั้งซื้อเครื่องเป่าล้างบ่อ เพื่อจะบรรเทาปัญหาภัยแล้ง และเพิ่มพื้นที่ชลประทานเพื่อการเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1.2 จังหวัดสิงห์บุรี
1) มีปัญหาการขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภคเพียงเล็กน้อยเท่านั้นได้มีการจัดตั้งศูนย์แจกจ่ายน้ำประจำหมู่บ้าน 130 แห่ง แจกจ่ายน้ำไปประมาณ 1.8 แสนลิตร นอกจากนี้ ได้มีการซ่อมแซมระบบประปา บ่อบาดาลและภาชนะเก็บกักน้ำเพื่อให้สามารถสำรองน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง
2) พื้นที่ขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร มีเพียง 8 หมู่บ้าน ในตำบลดอนสมอ อำเภอท่าช้าง เป็นพื้นที่สวน รวม 785 ไร่ ซึ่งข้อมูลสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสิงห์บุรีเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2548 คาดว่าจะได้รับความเสียหาย
3) ปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตรเกิดจากเกษตรกรปลูกข้าวเป็นหลัก และปลูกต่อเนื่องตลอดปี ทำให้มีความต้องการใช้น้ำในปริมาณมาก ประกอบกับการจัดสรรน้ำของลุ่มน้ำเจ้าพระยาในปีนี้ไม่เพียงพอกับความต้องการ และพื้นที่ไม่มีแหล่งกักเก็บน้ำขนาดใหญ่จำเป็นจะต้องมีการกักเก็บน้ำและระบบส่งน้ำ เพื่อแก้ปัญหาระยะปานกลางและระยะยาว โดยจังหวัดสิงห์บุรีขอรับการสนับสนุน รวม 13 โครงการ เป็นเงิน 152,643,300 บาท
1.3 จังหวัดอ่างทอง
1) มีปัญหาการขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภคไม่มากนัก ได้แจกจ่ายน้ำในพื้นที่ที่ได้รับความเดือดร้อนไปแล้ว 5.78 ล้านลิตร
2) การช่วยเหลือพื้นที่การเกษตร ท้องถิ่นและอำเภอได้จัดเตรียมเครื่องสูบไว้ 19 เครื่อง เร่งรัดการขุดลอกคูคลอง หนองบึง และเป่าล้างบ่อ ในงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 2 สุพรรณบุรี ได้ช่วยขุดลอกคลองระยะทาง 9 กม. กำจัดวัชพืช ในคลองส่งน้ำระยะทาง 30 กม. สูบน้ำช่วยเหลือเกษตรกร 13,000 ไร่ และพัฒนาบ่อบาดาล 19 บ่อ
3) เช่นเดียวกับจังหวัดสิงห์บุรี คือ จังหวัดอ่างทองไม่มีแหล่งกักเก็บน้ำต้นทุนเป็นของตนเอง โดยอาศัยจากเขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนภูมิพล และเขื่อนเจ้าพระยา ซึ่งถ้าส่งน้ำไม่พอก็จะประสบปัญหาน้ำเพื่อการเกษตร ในการแก้ปัญหาระยะยาว จังหวัดจึงได้ขอสนับสนุนโครงการแก้มลิงลำท่าแดง โดยขุดลอกหนองน้ำ 3 แห่ง และเสริมคันดินเก็บกักน้ำยาว 23 กม. ทำประตูน้ำ 2 แห่ง ซึ่งจะทำให้สามารถเก็บกักน้ำได้ประมาณ 4.0 ล้าน ลบ.ม. ช่วยเหลือพื้นที่การเกษตรได้กว่า 5,000 ไร่ เป็นเงิน 81.5 ล้านบาท
2. การกำกับติดตาม การปฏิบัติราชการ
นอกจากนี้ปัญหาภัยแล้งที่ได้ไปดูแลแก้ไขแล้ว ยังได้ไปกำกับติดตามเรื่องที่เป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาล ดังนี้
2.1 เรื่องปัญหาไข้หวัดนก เนื่องจากกำลังเข้าฤดูฝน จึงต้องช่วยกันเฝ้าระวังอย่าได้วางใจแม้ว่าวันนี้จะแก้ไขไปได้ระดับหนึ่งแล้วก็ตาม หากมีปัญหาขอให้รีบแจ้งผู้เกี่ยวข้องทันที
2.2 เรื่องปัญหายาเสพติด ได้รับทราบว่าใน 3 จังหวัดนี้ไม่มีปัญหารุนแรง แต่อย่าประมาท ขอให้จังหวัดมีมาตรการเฝ้าระวัง และติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง
2.3 เรื่อง OTOP ซึ่งทุกจังหวัดมีสินค้าที่ได้รับการส่งเสริมสนับสนุนมากพอสมควรแล้ว จึงควรจะมีศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์ OTOP ซึ่งอาจร่วมกันหลายจังหวัดก็ได้
2.4 เรื่อง GFMIS จังหวัดรายงานว่า ในระยะแรกมีการจ่ายเงินล่าช้า มีปัญหาที่ Soft Ware และเจ้าหน้าที่ยังขาดความชำนาญ แต่ในขณะนี้ปัญหาได้รับการแก้ไขมีการพัฒนาดีขึ้นโดยลำดับ ซึ่งได้มอบนโยบายเพิ่มเติมด้วยว่า เรื่องนี้รัฐบาลให้ความสำคัญ และจะเป็นระบบที่ทำให้มีความโปร่งใสมากขึ้น ส่วนปัญหาในทางปฏิบัติของระยะเริ่มการใช้งานคงต้องค่อย ๆ แก้ไขไป เชื่อว่าเมื่อระบบมีความสมบูรณ์แล้ว การทำงานจะรวดเร็วขึ้นกว่าระบบเดิมมาก
2.5 เรื่องท่องเที่ยว เนื่องจากชัยนาท สิงห์บุรี และอ่างทอง อยู่ในเส้นทางผ่านของการเดินทางไปภาคเหนือ และตั้งอยู่ใกล้กรุงเทพมหานคร ดังนั้น จังหวัดจึงควรหาสิ่งที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวให้แวะเข้ามาท่องเที่ยวในพื้นที่ โดยประชาสัมพันธ์สถานที่น่าสนใจให้ทราบอย่างกว้างขวาง เช่น วัดสาระโคดม หรือเปิดตลาดน้ำให้คนแวะพักจับจ่ายใช้สอยหรือรับประทานอาหาร เป็นต้น
ในส่วนของการแก้ไขปัญหาภัยแล้งที่จังหวัดชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทองที่ขอรับการสนับสนุน ซึ่งจังหวัดชัยนาทเสนอไว้ 8 โครงการ งบประมาณ 1,019 ล้านบาท จังหวัดสิงห์บุรี เสนอไว้ 13 โครงการ งบประมาณ 152.64 ล้านบาท และจังหวัดอ่างทอง เสนอ 1 โครงการ งบประมาณ 81.5 ล้านบาท นั้นจะได้ส่งข้อมูลข้อเสนอของจังหวัดให้กับรองนายกรัฐมนตรี (นายพินิจ จารุสมบัติ) ซึ่งดูแลเรื่องของการบริหารจัดการระบบน้ำโดยตรง เพื่อประกอบการพิจารณาต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 10 พฤษภาคม 2548--จบ--