ทำเนียบรัฐบาล--12 มี.ค.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีพิจารณาร่างพระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ ซึ่งคณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจมีมติเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2542 ให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา หลังจากที่คณะกรรมาธิการวิสามัญวุฒิสภาได้พิจารณาแก้ไขร่างพระราชบัญญัติฯ ที่ได้รับความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรแล้ว รวม 6 ประเด็น
คณะรัฐมนตรีพิจารณาแล้วเห็นควรมอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะที่เป็นรัฐมนตรีผู้รับผิดชอบในการร่างกฎหมายดังกล่าวได้ชี้แจงข้อมูลและข้อเท็จจริงต่างๆ อย่างละเอียด ซึ่งน่าจะทำให้การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฯ ของวุฒิสภาในวันศุกร์ที่ 12 มีนาคม ศกนี้ จะเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ทั้งนี้ เนื่องจากเห็นว่าในระยะเวลาที่ผ่านมา รัฐบาลอาจขาดการประสานงานกับประธานกรรมาธิการของวุฒิสภาทั้ง 17 คณะ ประธานกรรมาธิการและสมาชิกวุฒิสภาจึงอาจไม่เข้าใจวัตถุประสงค์ เป้าหมาย ตลอดจนข้อมูลและข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องกับร่างกฎหมายต่าง ๆ ที่รัฐบาลเสนอ
สำหรับการการแก้ไขพระราชบัญญัติล้มละลายฯ ที่คณะกรรมาธิการวุฒิสภาได้พิจารณา รวม 6 ประเด็น นั้น ได้แก่
1. แก้ไขประเด็นจำนวนหนี้ขั้นต่ำในการฟ้องคดีล้มละลาย (มาตรา 5 และ มาตรา 6)
2. แก้ไขให้ห้ามเจ้าหนี้ฟ้องลูกหนี้เป็นคดีล้มละลายหากในวันที่ก่อหนี้ทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันมีมูลค่าสูงกว่าหนี้สิน เว้นแต่ลูกหนี้จะทุจริต และห้ามนำหนี้จากการค้ำประกันมาฟ้องเป็นคดีล้มละลาย (มาตรา 5)
3. แก้ไขให้คดีล้มละลายที่ศาลมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายและหนี้อันเป็นมูลเหตุที่ฟ้องล้มละลายที่ไม่มีลักษณะเป็นการทุจริต ให้ลูกหนี้พ้นจากการเป็นบุคคลล้มละลายเมื่อครบ 1 ปี นับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาให้ล้มละลาย
4. แก้ไขให้เพิ่มที่อยู่อาศัยตามสมควรแก่ฐานานุรูปเป็นข้อยกเว้นของทรัพย์อันอาจแบ่งได้ในคดีล้มละลาย (มาตรา 27)
5. แก้ไขให้แผนมีรายละเอียดเกี่ยวกับความรับผิดชอบของผู้ค้ำประกัน (มาตรา 13)
6. แก้ไขในเรื่องมติความเห็นชอบในแผนฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ (มาตรา 15)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 9 มีนาคม 2542--
คณะรัฐมนตรีพิจารณาร่างพระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ ซึ่งคณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจมีมติเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2542 ให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา หลังจากที่คณะกรรมาธิการวิสามัญวุฒิสภาได้พิจารณาแก้ไขร่างพระราชบัญญัติฯ ที่ได้รับความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรแล้ว รวม 6 ประเด็น
คณะรัฐมนตรีพิจารณาแล้วเห็นควรมอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะที่เป็นรัฐมนตรีผู้รับผิดชอบในการร่างกฎหมายดังกล่าวได้ชี้แจงข้อมูลและข้อเท็จจริงต่างๆ อย่างละเอียด ซึ่งน่าจะทำให้การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฯ ของวุฒิสภาในวันศุกร์ที่ 12 มีนาคม ศกนี้ จะเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ทั้งนี้ เนื่องจากเห็นว่าในระยะเวลาที่ผ่านมา รัฐบาลอาจขาดการประสานงานกับประธานกรรมาธิการของวุฒิสภาทั้ง 17 คณะ ประธานกรรมาธิการและสมาชิกวุฒิสภาจึงอาจไม่เข้าใจวัตถุประสงค์ เป้าหมาย ตลอดจนข้อมูลและข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องกับร่างกฎหมายต่าง ๆ ที่รัฐบาลเสนอ
สำหรับการการแก้ไขพระราชบัญญัติล้มละลายฯ ที่คณะกรรมาธิการวุฒิสภาได้พิจารณา รวม 6 ประเด็น นั้น ได้แก่
1. แก้ไขประเด็นจำนวนหนี้ขั้นต่ำในการฟ้องคดีล้มละลาย (มาตรา 5 และ มาตรา 6)
2. แก้ไขให้ห้ามเจ้าหนี้ฟ้องลูกหนี้เป็นคดีล้มละลายหากในวันที่ก่อหนี้ทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันมีมูลค่าสูงกว่าหนี้สิน เว้นแต่ลูกหนี้จะทุจริต และห้ามนำหนี้จากการค้ำประกันมาฟ้องเป็นคดีล้มละลาย (มาตรา 5)
3. แก้ไขให้คดีล้มละลายที่ศาลมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายและหนี้อันเป็นมูลเหตุที่ฟ้องล้มละลายที่ไม่มีลักษณะเป็นการทุจริต ให้ลูกหนี้พ้นจากการเป็นบุคคลล้มละลายเมื่อครบ 1 ปี นับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาให้ล้มละลาย
4. แก้ไขให้เพิ่มที่อยู่อาศัยตามสมควรแก่ฐานานุรูปเป็นข้อยกเว้นของทรัพย์อันอาจแบ่งได้ในคดีล้มละลาย (มาตรา 27)
5. แก้ไขให้แผนมีรายละเอียดเกี่ยวกับความรับผิดชอบของผู้ค้ำประกัน (มาตรา 13)
6. แก้ไขในเรื่องมติความเห็นชอบในแผนฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ (มาตรา 15)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 9 มีนาคม 2542--