ทำเนียบรัฐบาล--8 เม.ย.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีรับทราบสถานการณ์การมีงานทำปี 2539 และแนวโน้มปี 2540 จากข้อมูลการให้บริการการจัดหางานของกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม และข้อมูลอื่น ๆ ที่มีผลกระทบต่อตลาดแรงงาน ซึ่งเสนอโดยกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. สถานการณ์การมีงานทำปี 2539
1.1 ความต้องการแรงงาน ในปี 2539 ลดลงจากปี 2538 ร้อยละ 9.13 เพราะประเทศไทยประสบปัญหาด้านเศรษฐกิจ ซึ่งอยู่ในภาวะชะลอตัวลง ในขณะที่ความต้องการแรงงานในภูมิภาคมีมากกว่าในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 2.86 เท่า เนื่องจากรัฐบาลให้ความสำคัญกับนโยบายกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาค
1.2 ผู้สมัครงานใหม่ทั่วประเทศมีจำนวน 145,175 คน เพิ่มขึ้นจากปี 2538 ซึ่งมีจำนวน 144,950 คน ส่วนใหญ่เป็นการสมัครงานในกรุงเทพฯ
1.3 กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมสามารถบรรจุตำแหน่งให้แก่ผู้สมัครงานได้จำนวน 108,147 คน ซึ่งมากกว่าปี 2538 และส่วนใหญ่เป็นตำแหน่งงานในอุตสาหกรรมการผลิต การขนส่ง การขายปลีกภัตตาคารและโรงแรม และการก่อสร้าง
1.4 ในปี 2539 มีผู้เดินทางไปทำงานต่างประเทศ 185,436 คน ซึ่งลดลงจากปี 2538 จำนวน 16,860 คน ส่วนใหญ่แรงงานไทยนิยมเดินทางไปทำงานในประเทศแถบเอเซีย โดยเฉพาะไต้หวัน รองลงมาได้แก่บรูไน สิงคโปร์ ขณะเดียวกันกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมก็ได้อนุญาตให้แรงงานต่างด้าว จำนวน 142,982 คน เข้ามาทำงานในบางสาขาอาชีพ เช่น ผู้ปฏิบัติงานด้านการบริหารการจัดการ ผู้ใช้วิชาชีพต่าง ๆ เป็นต้น
2. แนวโน้มสถานการณ์การมีงานทำในปี 2540
2.1 ในปี 2540 มีการประมาณการณ์ว่าจะมีกำลังแรงงานใหม่ที่เข้าสู่ตลาดแรงงาน 405,595 คน มีการออกบัตรส่งเสริมการลงทุนรวม 742 โครงการ คาดว่าทำให้เกิดการจ้างงานในปี 2540 ไม่ต่ำกว่า 150,000 คน ซึ่งลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2538 ประมาณ 34,000 คน นอกจากนี้ ยังคาดว่าในปี 2540 สถานประกอบการต่าง ๆ จะมีความต้องการแรงงานไม่ต่ำกว่า 600,000 อัตรา และต้องการแรงงานมากในอาชีพต่าง ๆ ดังนี้ กรรมกรหรือคนงาน พนักงานผลิต พนักงานขายของหน้าร้าน ผู้ควบคุมงานผลิตและหัวหน้าคนงานทั่วไป ช่างตัดเย็บเสื้อผ้า พนักงานบัญชีและพนักงานรับ - จ่ายเงิน ช่างซ่อมเครื่องกลยานยนต์ เสมียนทั่วไป พนักงานเสริฟอาหาร ช่างเทคนิค ช่างปรับไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และวิศวกร
2.2 แนวโน้มของแรงงานไทยที่เดินทางไปทำงานในต่างประเทศในปี 2540 คาดว่าน่าจะมีจำนวนน้อยลงจากปี 2539 เนื่องจากหลายประเทศได้มีมาตรการเพื่อลดแรงงานต่างชาติ และเริ่มใช้มาตรการเข้มงวดกับผู้ลักลอบเข้าเมือง รวมทั้งพยายามสนับสนุนให้คนพื้นเมืองมีงานทำมากขึ้น เช่น ประเทศซาอุดีอาระเบีย อิสราเอล มาเลเซีย ไต้หวัน ฮ่องกง เป็นต้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ)--วันที่ 8 เมษายน 2540--
คณะรัฐมนตรีรับทราบสถานการณ์การมีงานทำปี 2539 และแนวโน้มปี 2540 จากข้อมูลการให้บริการการจัดหางานของกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม และข้อมูลอื่น ๆ ที่มีผลกระทบต่อตลาดแรงงาน ซึ่งเสนอโดยกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. สถานการณ์การมีงานทำปี 2539
1.1 ความต้องการแรงงาน ในปี 2539 ลดลงจากปี 2538 ร้อยละ 9.13 เพราะประเทศไทยประสบปัญหาด้านเศรษฐกิจ ซึ่งอยู่ในภาวะชะลอตัวลง ในขณะที่ความต้องการแรงงานในภูมิภาคมีมากกว่าในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 2.86 เท่า เนื่องจากรัฐบาลให้ความสำคัญกับนโยบายกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาค
1.2 ผู้สมัครงานใหม่ทั่วประเทศมีจำนวน 145,175 คน เพิ่มขึ้นจากปี 2538 ซึ่งมีจำนวน 144,950 คน ส่วนใหญ่เป็นการสมัครงานในกรุงเทพฯ
1.3 กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมสามารถบรรจุตำแหน่งให้แก่ผู้สมัครงานได้จำนวน 108,147 คน ซึ่งมากกว่าปี 2538 และส่วนใหญ่เป็นตำแหน่งงานในอุตสาหกรรมการผลิต การขนส่ง การขายปลีกภัตตาคารและโรงแรม และการก่อสร้าง
1.4 ในปี 2539 มีผู้เดินทางไปทำงานต่างประเทศ 185,436 คน ซึ่งลดลงจากปี 2538 จำนวน 16,860 คน ส่วนใหญ่แรงงานไทยนิยมเดินทางไปทำงานในประเทศแถบเอเซีย โดยเฉพาะไต้หวัน รองลงมาได้แก่บรูไน สิงคโปร์ ขณะเดียวกันกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมก็ได้อนุญาตให้แรงงานต่างด้าว จำนวน 142,982 คน เข้ามาทำงานในบางสาขาอาชีพ เช่น ผู้ปฏิบัติงานด้านการบริหารการจัดการ ผู้ใช้วิชาชีพต่าง ๆ เป็นต้น
2. แนวโน้มสถานการณ์การมีงานทำในปี 2540
2.1 ในปี 2540 มีการประมาณการณ์ว่าจะมีกำลังแรงงานใหม่ที่เข้าสู่ตลาดแรงงาน 405,595 คน มีการออกบัตรส่งเสริมการลงทุนรวม 742 โครงการ คาดว่าทำให้เกิดการจ้างงานในปี 2540 ไม่ต่ำกว่า 150,000 คน ซึ่งลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2538 ประมาณ 34,000 คน นอกจากนี้ ยังคาดว่าในปี 2540 สถานประกอบการต่าง ๆ จะมีความต้องการแรงงานไม่ต่ำกว่า 600,000 อัตรา และต้องการแรงงานมากในอาชีพต่าง ๆ ดังนี้ กรรมกรหรือคนงาน พนักงานผลิต พนักงานขายของหน้าร้าน ผู้ควบคุมงานผลิตและหัวหน้าคนงานทั่วไป ช่างตัดเย็บเสื้อผ้า พนักงานบัญชีและพนักงานรับ - จ่ายเงิน ช่างซ่อมเครื่องกลยานยนต์ เสมียนทั่วไป พนักงานเสริฟอาหาร ช่างเทคนิค ช่างปรับไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และวิศวกร
2.2 แนวโน้มของแรงงานไทยที่เดินทางไปทำงานในต่างประเทศในปี 2540 คาดว่าน่าจะมีจำนวนน้อยลงจากปี 2539 เนื่องจากหลายประเทศได้มีมาตรการเพื่อลดแรงงานต่างชาติ และเริ่มใช้มาตรการเข้มงวดกับผู้ลักลอบเข้าเมือง รวมทั้งพยายามสนับสนุนให้คนพื้นเมืองมีงานทำมากขึ้น เช่น ประเทศซาอุดีอาระเบีย อิสราเอล มาเลเซีย ไต้หวัน ฮ่องกง เป็นต้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ)--วันที่ 8 เมษายน 2540--