ทำเนียบรัฐบาล--8 ก.ย.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2499 ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้เนื่องจากพิจารณาเห็นว่า ร่างกฎกระทรวงดังกล่าวเป็นการเฝ้าระวังโรคระบาดของม้าภายในราชอาณาจักร และป้องกันมิให้โรคระบาดของม้าจากต่างประเทศเข้ามาแพร่ระบาดในราชอาณาจักร ซึ่งจะนำผลเสียหายทางเศรษฐกิจและสังคมมาสู่ผู้ประกอบการเลี้ยงม้าภายในประเทศ
ร่างกฎกระทรวงดังกล่าว มีสาระสำคัญคือ กำหนดให้โรคดังต่อไปนี้เป็นโรคระบาดตามมาตรา 4 ได้แก่ 1) โรคปากอักเสบพุพอง (Vesicular stomatitis) 2) โรคกาฬโรคแอฟริกาในม้า (African horse sickness) 3) โรคมดลูกอักเสบติดต่อในม้า (Contagious Equine metritis) 4) โรคดูรีน (Dourine) 5) โรคสมองและไขสันหลังอักเสบในม้า (Equine encephalomyelitis) 6) โรคโลหิตจางติดเชื้อในม้า (Equine infectious anaemia) 7) โรคไข้หวัดใหญ่ม้า (เหตุไวรัสไทป์เอ) {Equine influenza (virus type A)} 8) โรคไข้เห็บม้า (Equine piroplasmosis) 9) โรคโพรงจมูกและปอดอักเสบในม้า (Equine rhinopneumonitis) 10) โรคฝีดาษม้า (Horse pox) 11) โรคหลอดเลือดแดงอักเสบติดเชื้อในม้า (Equine viral arteritis) 12) โรคสมองอักเสบเจแปนนีส (Japanese encephalitis) 13) โรคเรื้อนม้า (Horse mange) และ 14) โรคสมองและไขสันหลังอักเสบเวเนซูเอลาในม้า (Venezuelan equine encephalomyelitis)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 8 กันยายน 2541--
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2499 ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้เนื่องจากพิจารณาเห็นว่า ร่างกฎกระทรวงดังกล่าวเป็นการเฝ้าระวังโรคระบาดของม้าภายในราชอาณาจักร และป้องกันมิให้โรคระบาดของม้าจากต่างประเทศเข้ามาแพร่ระบาดในราชอาณาจักร ซึ่งจะนำผลเสียหายทางเศรษฐกิจและสังคมมาสู่ผู้ประกอบการเลี้ยงม้าภายในประเทศ
ร่างกฎกระทรวงดังกล่าว มีสาระสำคัญคือ กำหนดให้โรคดังต่อไปนี้เป็นโรคระบาดตามมาตรา 4 ได้แก่ 1) โรคปากอักเสบพุพอง (Vesicular stomatitis) 2) โรคกาฬโรคแอฟริกาในม้า (African horse sickness) 3) โรคมดลูกอักเสบติดต่อในม้า (Contagious Equine metritis) 4) โรคดูรีน (Dourine) 5) โรคสมองและไขสันหลังอักเสบในม้า (Equine encephalomyelitis) 6) โรคโลหิตจางติดเชื้อในม้า (Equine infectious anaemia) 7) โรคไข้หวัดใหญ่ม้า (เหตุไวรัสไทป์เอ) {Equine influenza (virus type A)} 8) โรคไข้เห็บม้า (Equine piroplasmosis) 9) โรคโพรงจมูกและปอดอักเสบในม้า (Equine rhinopneumonitis) 10) โรคฝีดาษม้า (Horse pox) 11) โรคหลอดเลือดแดงอักเสบติดเชื้อในม้า (Equine viral arteritis) 12) โรคสมองอักเสบเจแปนนีส (Japanese encephalitis) 13) โรคเรื้อนม้า (Horse mange) และ 14) โรคสมองและไขสันหลังอักเสบเวเนซูเอลาในม้า (Venezuelan equine encephalomyelitis)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 8 กันยายน 2541--