คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการดำเนินการตั้งตู้นายกฯ ทักษิณ รับเรื่องร้องเรียนของประชาชน ในรอบ 1 ปี 5 เดือน ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ ดังนี้
ตามที่กระทรวงมหาดไทย ได้ติดตามผลการดำเนินงานรับเรื่องร้องเรียน/ร้องทุกข์ ของประชาชนตามนโยบายของนายกรัฐมนตรี จากจังหวัดทั้ง 75 จังหวัด กระทรวงมหาดไทยได้สรุปภาพรวมผลการดำเนินงานการรับเรื่องร้องเรียน ดังนี้
1. ภาพรวมของผลการดำเนินการ
1.1 ตู้นายกฯ ทักษิณ ที่ตั้งบริเวณบ้านพักผู้ว่าราชการจังหวัด ในระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน 2547 — 31 ตุลาคม 2548 โดยจังหวัดต่าง ๆ ได้รับเรื่องร้องเรียนทั้งสิ้น 14,794 เรื่อง จังหวัดให้ความช่วยเหลือ/แก้ไขปัญหาแล้ว 9,651 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 65.23 อยู่ระหว่างดำเนินการช่วยเหลือ/แก้ไขปัญหา 4,998 เรื่อง
1.2 ตู้นายกฯ ทักษิณ หน้าบ้านพิษณุโลก กทม. ในระหว่างวันที่ 7 กรกฎาคม 2547 — 31 ตุลาคม 2548 คตส.นรม. ส่งให้จังหวัด ทั้งสิ้น 5,952 เรื่อง จังหวัดให้ความช่วยเหลือ/แก้ไขปัญหาแล้ว 3,643 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 61.20 อยู่ระหว่างดำเนินการช่วยเหลือ/แก้ไขปัญหา 2,279 เรื่อง
2. การรับเรื่องร้องเรียนผ่านตู้นายกฯ ทักษิณ จำแนกตามกลุ่มปัญหา
ในภาพรวมนับตั้งแต่เริ่มจัดตั้งตู้นายกฯ ทักษิณ เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2547 จนถึงปัจจุบัน เป็นระยะเวลา 1 ปี 5 เดือน กลุ่มปัญหาที่ได้รับร้องเรียนจากประชาชนผ่านตู้นายกฯ ทักษิณ หน้าบ้านพักผู้ว่าราชการจังหวัด และจากหน้าบ้านพิษณุโลก กทม. มีสัดส่วนที่ค่อนข้างใกล้เคียงสอดคล้องเช่นเดียวกัน กล่าวคือ
กลุ่มประเด็นปัญหาความเดือดร้อนที่มีผู้ร้องเรียนในภาพรวมเรียงตามลำดับได้ดังนี้
- กลุ่มปัญหาความเดือดร้อนทั่วไป 7,346 เรื่อง (35.4 %)
- กลุ่มการกล่าวโทษเจ้าหน้าที่/หน่วยงานของรัฐ 4,827 เรื่อง (23.3 %)
- กลุ่มเรื่องทั่วไป 3,559 เรื่อง (17.2 %)
- กลุ่มแจ้งเบาะแสการกระทำความผิด 2,804 เรื่อง (13.5 %)
- กลุ่มปัญหาที่ดิน 1,817 เรื่อง (8.8 %)
- กลุ่มขอความช่วยเหลือ 393 เรื่อง (1.8 %)
3. การให้ความช่วยเหลือ/แก้ปัญหา เรื่องที่จังหวัดสามารถดำเนินการให้ความช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาในระดับจังหวัด ผู้ว่าราชการจังหวัดบูรณาการได้ดำเนินการแก้ไขในบทบาทหน้าที่ไปแล้วในห้วงระยะเวลานี้ เช่น จังหวัดลำพูน (กรณีได้รับความเดือดร้อนจากการปิดกั้นลำเหมือง) จังหวัดกำแพงเพชร (ขอความช่วยเหลือเบี้ยยังชีพ ผู้พิการ) จังหวัดตรัง ( กรณีปัญหาหนี้สินนอกระบบ) จังหวัดสมุทรปราการ (เกรงว่าจะได้รับอันตรายจากหม้อทำความร้อน) จังหวัดมุกดาหาร (กรณีถูกหลอกเอาโฉนดที่ดินไปจำนอง) จังหวัดอุบลราชธานี (กรณีคัดค้านการออกใบจองในที่สาธารณประโยชน์) จังหวัดนราธิวาส (กรณีขอขยายเขตจ่ายน้ำประปา,กรณีขอความช่วยเหลือในการส่งเสริมอาชีพ) จังหวัดพะเยา (กรณีร้องขอรับการสนับสนุนงบประมาณ) จังหวัดตาก (กรณีขอรับการสนับสนุนหม้อแปลงไฟฟ้า)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 22 พฤศจิกายน 2548--จบ--
ตามที่กระทรวงมหาดไทย ได้ติดตามผลการดำเนินงานรับเรื่องร้องเรียน/ร้องทุกข์ ของประชาชนตามนโยบายของนายกรัฐมนตรี จากจังหวัดทั้ง 75 จังหวัด กระทรวงมหาดไทยได้สรุปภาพรวมผลการดำเนินงานการรับเรื่องร้องเรียน ดังนี้
1. ภาพรวมของผลการดำเนินการ
1.1 ตู้นายกฯ ทักษิณ ที่ตั้งบริเวณบ้านพักผู้ว่าราชการจังหวัด ในระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน 2547 — 31 ตุลาคม 2548 โดยจังหวัดต่าง ๆ ได้รับเรื่องร้องเรียนทั้งสิ้น 14,794 เรื่อง จังหวัดให้ความช่วยเหลือ/แก้ไขปัญหาแล้ว 9,651 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 65.23 อยู่ระหว่างดำเนินการช่วยเหลือ/แก้ไขปัญหา 4,998 เรื่อง
1.2 ตู้นายกฯ ทักษิณ หน้าบ้านพิษณุโลก กทม. ในระหว่างวันที่ 7 กรกฎาคม 2547 — 31 ตุลาคม 2548 คตส.นรม. ส่งให้จังหวัด ทั้งสิ้น 5,952 เรื่อง จังหวัดให้ความช่วยเหลือ/แก้ไขปัญหาแล้ว 3,643 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 61.20 อยู่ระหว่างดำเนินการช่วยเหลือ/แก้ไขปัญหา 2,279 เรื่อง
2. การรับเรื่องร้องเรียนผ่านตู้นายกฯ ทักษิณ จำแนกตามกลุ่มปัญหา
ในภาพรวมนับตั้งแต่เริ่มจัดตั้งตู้นายกฯ ทักษิณ เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2547 จนถึงปัจจุบัน เป็นระยะเวลา 1 ปี 5 เดือน กลุ่มปัญหาที่ได้รับร้องเรียนจากประชาชนผ่านตู้นายกฯ ทักษิณ หน้าบ้านพักผู้ว่าราชการจังหวัด และจากหน้าบ้านพิษณุโลก กทม. มีสัดส่วนที่ค่อนข้างใกล้เคียงสอดคล้องเช่นเดียวกัน กล่าวคือ
กลุ่มประเด็นปัญหาความเดือดร้อนที่มีผู้ร้องเรียนในภาพรวมเรียงตามลำดับได้ดังนี้
- กลุ่มปัญหาความเดือดร้อนทั่วไป 7,346 เรื่อง (35.4 %)
- กลุ่มการกล่าวโทษเจ้าหน้าที่/หน่วยงานของรัฐ 4,827 เรื่อง (23.3 %)
- กลุ่มเรื่องทั่วไป 3,559 เรื่อง (17.2 %)
- กลุ่มแจ้งเบาะแสการกระทำความผิด 2,804 เรื่อง (13.5 %)
- กลุ่มปัญหาที่ดิน 1,817 เรื่อง (8.8 %)
- กลุ่มขอความช่วยเหลือ 393 เรื่อง (1.8 %)
3. การให้ความช่วยเหลือ/แก้ปัญหา เรื่องที่จังหวัดสามารถดำเนินการให้ความช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาในระดับจังหวัด ผู้ว่าราชการจังหวัดบูรณาการได้ดำเนินการแก้ไขในบทบาทหน้าที่ไปแล้วในห้วงระยะเวลานี้ เช่น จังหวัดลำพูน (กรณีได้รับความเดือดร้อนจากการปิดกั้นลำเหมือง) จังหวัดกำแพงเพชร (ขอความช่วยเหลือเบี้ยยังชีพ ผู้พิการ) จังหวัดตรัง ( กรณีปัญหาหนี้สินนอกระบบ) จังหวัดสมุทรปราการ (เกรงว่าจะได้รับอันตรายจากหม้อทำความร้อน) จังหวัดมุกดาหาร (กรณีถูกหลอกเอาโฉนดที่ดินไปจำนอง) จังหวัดอุบลราชธานี (กรณีคัดค้านการออกใบจองในที่สาธารณประโยชน์) จังหวัดนราธิวาส (กรณีขอขยายเขตจ่ายน้ำประปา,กรณีขอความช่วยเหลือในการส่งเสริมอาชีพ) จังหวัดพะเยา (กรณีร้องขอรับการสนับสนุนงบประมาณ) จังหวัดตาก (กรณีขอรับการสนับสนุนหม้อแปลงไฟฟ้า)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 22 พฤศจิกายน 2548--จบ--