ทำเนียบรัฐบาล--1 เม.ย.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ซึ่งกำหนดมาตรการในการควบคุมการประกอบธุรกิจเกี่ยวกับเอ็มบริโอหรือตัวอ่อนของสัตว์ซึ่งเป็นพาหะให้เกิดโรคระบาดสัตว์อย่างหนึ่ง และปรับปรุงโทษตามกฎหมายนี้ให้เหมาะสมกับกาลสมัย ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และได้ตกจากสภาผู้แทนราษฎรเนื่องจากได้มีพระราช-กฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2539 ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร พิจารณา ก่อนนำเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป
ทั้งนี้ เนื่องจากพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2499 ได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานานแล้ว ทำให้มีบทบัญญัติบางส่วนไม่เหมาะสมกับสภาพการณ์ในปัจจุบัน สมควรที่จะปรับปรุงใหม่โดยกำหนดมาตรการในการควบคุมการประกอบธุรกิจเกี่ยวกับเอ็มบริโอหรือตัวอ่อนของสัตว์ ซึ่งเป็นพาหะให้เกิดโรคระบาดสัตว์อย่างหนึ่งได้ด้วย รวมทั้งสมควรปรับปรุงอำนาจหน้าที่ของสัตวแพทย์ สารวัตร และอธิบดี ในการควบคุมโรคระบาดสัตว์ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และปรับปรุงอัตราโทษให้สูงขึ้นเพื่อให้เกิดผลบังคับตามพระราชบัญญัตินี้ได้อย่างจริงจัง และปรับปรุงอัตราค่าธรรมเนียมเสียใหม่ให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน
ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมีสาระสำคัญคือ แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2499 ให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ปัจจุบัน ดังนี้
1. แก้ไขเพิ่มเติมบทนิยามคำว่า "สัตว์" เพื่อให้มีความหมายรวมถึงเอ็มบริโอของสัตว์ด้วย
2. แก้ไขเพิ่มเติมเพื่อควบคุมการขาย จำหน่าย จ่าย แจก แลกเปลี่ยน หรือมีไว้เพื่อขาย หรือการนำไปต่างท้องที่ซึ่งน้ำเชื้อสำหรับผสมพันธุ์หรือเอ็มบริโอของสัตว์
3. ปรับปรุงอำนาจหน้าที่ของอธิบดี สัตวแพทย์และสารวัตร ในการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ให้เหมาะสมรัดกุมยิ่งขึ้น
4. ปรับปรุงอัตราโทษตามกฎหมายนี้ให้สูงขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจปัจจุบัน
5. เพิ่มบทบัญญัติ
5.1 ให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายอำนาจเปรียบเทียบปรับในความผิดที่มีโทษปรับสถานเดียวได้
5.2 ให้อธิบดีมีอำนาจสั่งจ่ายเงินสินบนและรางวัลได้
6. ปรับปรุงอัตราค่าธรรมเนียมให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ)--วันที่ 1 เมษายน 2540--
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ซึ่งกำหนดมาตรการในการควบคุมการประกอบธุรกิจเกี่ยวกับเอ็มบริโอหรือตัวอ่อนของสัตว์ซึ่งเป็นพาหะให้เกิดโรคระบาดสัตว์อย่างหนึ่ง และปรับปรุงโทษตามกฎหมายนี้ให้เหมาะสมกับกาลสมัย ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และได้ตกจากสภาผู้แทนราษฎรเนื่องจากได้มีพระราช-กฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2539 ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร พิจารณา ก่อนนำเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป
ทั้งนี้ เนื่องจากพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2499 ได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานานแล้ว ทำให้มีบทบัญญัติบางส่วนไม่เหมาะสมกับสภาพการณ์ในปัจจุบัน สมควรที่จะปรับปรุงใหม่โดยกำหนดมาตรการในการควบคุมการประกอบธุรกิจเกี่ยวกับเอ็มบริโอหรือตัวอ่อนของสัตว์ ซึ่งเป็นพาหะให้เกิดโรคระบาดสัตว์อย่างหนึ่งได้ด้วย รวมทั้งสมควรปรับปรุงอำนาจหน้าที่ของสัตวแพทย์ สารวัตร และอธิบดี ในการควบคุมโรคระบาดสัตว์ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และปรับปรุงอัตราโทษให้สูงขึ้นเพื่อให้เกิดผลบังคับตามพระราชบัญญัตินี้ได้อย่างจริงจัง และปรับปรุงอัตราค่าธรรมเนียมเสียใหม่ให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน
ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมีสาระสำคัญคือ แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2499 ให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ปัจจุบัน ดังนี้
1. แก้ไขเพิ่มเติมบทนิยามคำว่า "สัตว์" เพื่อให้มีความหมายรวมถึงเอ็มบริโอของสัตว์ด้วย
2. แก้ไขเพิ่มเติมเพื่อควบคุมการขาย จำหน่าย จ่าย แจก แลกเปลี่ยน หรือมีไว้เพื่อขาย หรือการนำไปต่างท้องที่ซึ่งน้ำเชื้อสำหรับผสมพันธุ์หรือเอ็มบริโอของสัตว์
3. ปรับปรุงอำนาจหน้าที่ของอธิบดี สัตวแพทย์และสารวัตร ในการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ให้เหมาะสมรัดกุมยิ่งขึ้น
4. ปรับปรุงอัตราโทษตามกฎหมายนี้ให้สูงขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจปัจจุบัน
5. เพิ่มบทบัญญัติ
5.1 ให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายอำนาจเปรียบเทียบปรับในความผิดที่มีโทษปรับสถานเดียวได้
5.2 ให้อธิบดีมีอำนาจสั่งจ่ายเงินสินบนและรางวัลได้
6. ปรับปรุงอัตราค่าธรรมเนียมให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ)--วันที่ 1 เมษายน 2540--