คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ... (เพิ่มโทษผู้ขับขี่รถในขณะเมาสุรา เสพยาเสพติดให้โทษ หรือเสพวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท) ตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 3 (ฝ่ายความมั่นคง) ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (พล.ต.อ. ชิดชัย วรรณสถิตย์) เป็นประธานฯ ตามที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาต่อไป
สำนักงานตำรวจแห่งชาติเสนอว่า ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการแก้ไขพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ. 2522 เกี่ยวกับการเพิ่มโทษกรณีที่เมาสุราในขณะขับรถ สำนักงานตำรวจแห่งชาติจึงได้ดำเนินการและได้เสนอร่างพระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ... ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. ปรับปรุงบทกำหนดโทษใหม่โดยเพิ่มคำว่า “มาตรา 160 ตรี” เพื่อให้มีความเหมาะสมกับการใช้บังคับยิ่งขึ้น
2. กำหนดโทษและอัตราโทษของผู้ขับขี่ที่เสพยาเสพติดให้โทษ หรือวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทให้เหมาะสมและสอดคล้องกับบทบัญญัติเกี่ยวกับบทกำหนดโทษของผู้ขับขี่รถในขณะเมาสุรา
3. ปรับปรุงบทบัญญัติเกี่ยวกับบทกำหนดโทษของผู้ขับขี่รถในขณะเมาสุราเสียใหม่ โดยตัด (2) ของมาตรา 43 ออก
4. ปรับปรุงบทกำหนดโทษสำหรับผู้ขับขี่รถขณะเมาสุราหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายโดยให้อำนาจศาลสั่งให้ทำงานบริการสังคม และปรับปรุงบทกำหนดโทษสำหรับผู้ขับขี่รถจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายให้สูงขึ้น
5. ปรับปรุงบทกำหนดโทษโดยตัดข้อความว่า “ถึงที่สุด” ออกเพื่อให้ ศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์มีอำนาจสั่งพักใช้หรือเพิกถอนใบขับขี่ของผู้ขับขี่ได้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 18 ตุลาคม 2548--จบ--
สำนักงานตำรวจแห่งชาติเสนอว่า ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการแก้ไขพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ. 2522 เกี่ยวกับการเพิ่มโทษกรณีที่เมาสุราในขณะขับรถ สำนักงานตำรวจแห่งชาติจึงได้ดำเนินการและได้เสนอร่างพระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ... ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. ปรับปรุงบทกำหนดโทษใหม่โดยเพิ่มคำว่า “มาตรา 160 ตรี” เพื่อให้มีความเหมาะสมกับการใช้บังคับยิ่งขึ้น
2. กำหนดโทษและอัตราโทษของผู้ขับขี่ที่เสพยาเสพติดให้โทษ หรือวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทให้เหมาะสมและสอดคล้องกับบทบัญญัติเกี่ยวกับบทกำหนดโทษของผู้ขับขี่รถในขณะเมาสุรา
3. ปรับปรุงบทบัญญัติเกี่ยวกับบทกำหนดโทษของผู้ขับขี่รถในขณะเมาสุราเสียใหม่ โดยตัด (2) ของมาตรา 43 ออก
4. ปรับปรุงบทกำหนดโทษสำหรับผู้ขับขี่รถขณะเมาสุราหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายโดยให้อำนาจศาลสั่งให้ทำงานบริการสังคม และปรับปรุงบทกำหนดโทษสำหรับผู้ขับขี่รถจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายให้สูงขึ้น
5. ปรับปรุงบทกำหนดโทษโดยตัดข้อความว่า “ถึงที่สุด” ออกเพื่อให้ ศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์มีอำนาจสั่งพักใช้หรือเพิกถอนใบขับขี่ของผู้ขับขี่ได้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 18 ตุลาคม 2548--จบ--