ทำเนียบรัฐบาล--23 พ.ย.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรี เห็นชอบให้กระทรวงคมนาคม (กรมทางหลวง) ปฏิบัติตามมาตรการลดผล กระทบและมาตรการติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมในการดำเนินโครงการต่อเชื่อมเส้นทางสัมปทาน บนถนนวิภาวดีรังสิตจาก กม.21+100 - กม.26+300 ตามที่กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และ สิ่งแวดล้อมเสนอ รวม 2 ประการ ดังนี้
1. ปลูกต้นไม้บริเวณริมถนนวิภาวดีรังสิตทั้ง 2 ข้างทาง โดยต้นไม้ที่ควรปลูกควรมีลักษณะ เจริญเติบโตเร็วทนความแห้งแล้งได้ดี ใบดกหนาทึบ ดังเช่น กระถินณรงค์ อโศกอินเดีย ยูคาลิปตัส เป็นต้น เพื่อเพิ่มความร่มรื่นให้แก่สภาพแวดล้อมโดยรอบ ตลอดจนช่วยลดก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ และ เพิ่มก๊าซออกซิเจนแก่สภาพแวดล้อมโดยรอบ
2. เสียงดังรบกวน การคาดการณ์พบว่า ในช่วงการก่อสร้างจะไม่ก่อให้เกิดผลกระทบด้าน เสียง ในส่วนของระดับเสียงในช่วงการดำเนินการพบว่า ระดับเสียงเฉลี่ย 24 ชั่วโมง จะไม่เปลี่ยน แปลงจาก Backgroud เดิม (ระดับเสียงจากถนนวิภาวดีรังสิตปัจจุบันเฉลี่ย 76.7 เดซิเบล ซึ่งสูงอยู่ แล้วโดยระดับเสียงเฉลี่ย 24 ชั่วโมง เกินมาตรฐานของ US.EPA ทำให้เกิดอันตรายต่อหู)
3. ความสั่นสะเทือน ขณะการก่อสร้างและดำเนินการคาดว่า ความสั่นสะเทือนจะมีมากที่สุด คือ บริเวณขอบถนนและน้อยลงเมื่อระยะห่างออกไป พบว่าระดับความสั่นสะเทือนปัจจุบันมีค่า 1.849 มม. ต่อวินาที ณ บริเวณบ้านพักรถไฟ สถานีคลังน้ำมันดอนเมือง ผลการคำนวณคาดว่าจะมีระดับความสั่น สะเทือนสูงสุด เมื่อเปิดดำเนินการ 3.143 มม. ต่อวินาที ยังไม่เกินเกณฑ์ที่กำหนด DIN 4150 คือ 5 มม. ต่อวินาที
4. เศรษฐกิจ-สังคม การยอมรับการสร้างทางยกระดับบนถนนวิภาวดีรังสิต ปรากฎว่า สูงถึง ร้อยละ 88.9 ส่วนที่มีความเห็นคัดค้านเพียงร้อยละ 5.6
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 22 พฤศจิกายน 2537--
คณะรัฐมนตรี เห็นชอบให้กระทรวงคมนาคม (กรมทางหลวง) ปฏิบัติตามมาตรการลดผล กระทบและมาตรการติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมในการดำเนินโครงการต่อเชื่อมเส้นทางสัมปทาน บนถนนวิภาวดีรังสิตจาก กม.21+100 - กม.26+300 ตามที่กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และ สิ่งแวดล้อมเสนอ รวม 2 ประการ ดังนี้
1. ปลูกต้นไม้บริเวณริมถนนวิภาวดีรังสิตทั้ง 2 ข้างทาง โดยต้นไม้ที่ควรปลูกควรมีลักษณะ เจริญเติบโตเร็วทนความแห้งแล้งได้ดี ใบดกหนาทึบ ดังเช่น กระถินณรงค์ อโศกอินเดีย ยูคาลิปตัส เป็นต้น เพื่อเพิ่มความร่มรื่นให้แก่สภาพแวดล้อมโดยรอบ ตลอดจนช่วยลดก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ และ เพิ่มก๊าซออกซิเจนแก่สภาพแวดล้อมโดยรอบ
2. เสียงดังรบกวน การคาดการณ์พบว่า ในช่วงการก่อสร้างจะไม่ก่อให้เกิดผลกระทบด้าน เสียง ในส่วนของระดับเสียงในช่วงการดำเนินการพบว่า ระดับเสียงเฉลี่ย 24 ชั่วโมง จะไม่เปลี่ยน แปลงจาก Backgroud เดิม (ระดับเสียงจากถนนวิภาวดีรังสิตปัจจุบันเฉลี่ย 76.7 เดซิเบล ซึ่งสูงอยู่ แล้วโดยระดับเสียงเฉลี่ย 24 ชั่วโมง เกินมาตรฐานของ US.EPA ทำให้เกิดอันตรายต่อหู)
3. ความสั่นสะเทือน ขณะการก่อสร้างและดำเนินการคาดว่า ความสั่นสะเทือนจะมีมากที่สุด คือ บริเวณขอบถนนและน้อยลงเมื่อระยะห่างออกไป พบว่าระดับความสั่นสะเทือนปัจจุบันมีค่า 1.849 มม. ต่อวินาที ณ บริเวณบ้านพักรถไฟ สถานีคลังน้ำมันดอนเมือง ผลการคำนวณคาดว่าจะมีระดับความสั่น สะเทือนสูงสุด เมื่อเปิดดำเนินการ 3.143 มม. ต่อวินาที ยังไม่เกินเกณฑ์ที่กำหนด DIN 4150 คือ 5 มม. ต่อวินาที
4. เศรษฐกิจ-สังคม การยอมรับการสร้างทางยกระดับบนถนนวิภาวดีรังสิต ปรากฎว่า สูงถึง ร้อยละ 88.9 ส่วนที่มีความเห็นคัดค้านเพียงร้อยละ 5.6
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 22 พฤศจิกายน 2537--