แท็ก
กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
ร่างพระราชบัญญัติ
กระทรวงยุติธรรม
สภาผู้แทนราษฎร
ทำเนียบรัฐบาล--1 ธ.ค.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของกระทรวงยุติธรรม และข้อพิจารณาของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีไปพิจารณาด้วย แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป ร่างพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. .... เป็นการปรับปรุงพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 ให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ในปัจจุบัน และสอดคล้องกับสภาวะทางเศรษฐกิจ สังคม ซึ่งส่วนราชการที่เกี่ยวข้องได้พิจารณาเห็นชอบด้วยแล้ว โดยมีสาระสำคัญที่แตกต่างจากบทบัญญัติเดิม ดังนี้
1. มีการเพิ่มเติมนิยามศัพท์บางคำ เพื่อความชัดเจนในการตีความ ได้แก่คำว่า คู่กรณี ผู้ชี้ขาด ข้อเรียกร้อง สภาองค์การนายจ้าง สภาองค์การลูกจ้าง
2. นำระบบทวิภาคีมาใช้ให้เกิดความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งภายในองค์กร ด้วยการกำหนดให้มี "คณะกรรมการร่วมหารือ" ในทุกสถานประกอบกิจการ ประกอบด้วยผู้แทนนายจ้างและผู้แทนลูกจ้าง โดยผู้แทนลูกจ้างมีอำนาจกระทำการแทนลูกจ้างทุกคนในสถานประกอบกิจการ ในการประชุมหารือเพื่อระงับข้อขัดแย้ง และเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง นอกจากนี้ยังห้ามนายจ้างเลิกจ้างหรือลงโทษผู้แทนนายจ้างหรือผู้แทนลูกจ้าง โดยมิได้รับอนุญาตจากศาลแรงงาน
3. ได้นำระบบการรับรองสหภาพแรงงานเพื่อเป็นตัวแทนลูกจ้างในการเจรจาต่อรองตามหลักสากลมาใช้ เพื่อลดปัญหาการไม่ยอมรับองค์กรสหภาพแรงงานของนายจ้างและให้สภาพแรงงานที่ได้รับการรับรองจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ เป็นตัวแทนลูกจ้างทั้งสถานประกอบการในการเจรจาทำความตกลงกับนายจ้างเกี่ยวกับสภาพการจ้ง สภาพการทำงาน
4. ได้กำหนดขั้นตอนระงับข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้ โดยมีขั้นตอนให้คู่กรณีตัดสินใจที่จะใช้การชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานโดยสมัครใจ นอกจากนี้ยังได้เพิ่มบทบัญญัติให้พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานมีหน้าที่ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทแรงงาน จนกว่าจะมีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง หรือคำชี้ขาดข้อพิพาทแรงงาน
5. ได้ปรับปรุงบทบัญญัติให้นายจ้างและลูกจ้างสามารถตกลงระงับข้อพิพาทแรงงาน โดยวิธีการชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานแม้จะอยู่ในระหว่างการปิดงานหรือนัดหยุดงานได้
6. ปรับปรุงระบบการชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานใหม่ โดยบทบัญญัติได้เส่งเสริมและพยายามให้นายจ้าง และลูกจ้างได้พิจารณาระบบการชี้ขาดโดยการสมัครใจจากอนุญาโตตุลาการก่อน เพื่อจะช่วยยุติข้อพิพาทแรงงาน โดยไม่ต้องมีการปิดงาน และนัดหยุดงาน
7. ปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการในการขอจดทะเบียนองค์กรนายจ้างและองค์กรลูกจ้าง โดยกำหนดเวลาให้นายทะเบียนรับหรือปฏิเสธการจดทะเบียนองค์กร
8. ปรับปรุงบทบัญญัติ เพื่อส่งเสริมให้สหพันธ์นายจ้าง สหพันธ์แรงงาน ตลอดจนสภาองค์การนายจ้างและสภาองค์การลูกจ้าง มีความเข้มแข็งและได้รับการยอมรับมากขึ้น
9. ได้มีการปรับปรุงบทกำหนดโทษให้เหมาะสม สอดคล้องความผิดที่แตกต่างกันด้วย
10. กำหนดบทเฉพาะกาล ให้บรรดาคำร้องกล่าวหา ข้อเรียกร้อง ข้อพิพาทแรงงาน ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง คำชี้ขาด หรือคดีซึ่งเกิดขึ้นก่อนพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับให้เป็นไปตามกฎหมายเดิม นอกจากนี้ บรรดาองค์กรนายจ้าง องค์กรลูกจ้าง ตามกฎหมายเดิม ให้ถือเป็นองค์กรตามกฎหมายนี้ โดยกำหนดเวลาให้ปรับปรุงให้ถูกต้องตามกฎหมายใหม่ในระยะเวลา 180 วัน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 1 ธันวาคม 2541--
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของกระทรวงยุติธรรม และข้อพิจารณาของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีไปพิจารณาด้วย แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป ร่างพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. .... เป็นการปรับปรุงพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 ให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ในปัจจุบัน และสอดคล้องกับสภาวะทางเศรษฐกิจ สังคม ซึ่งส่วนราชการที่เกี่ยวข้องได้พิจารณาเห็นชอบด้วยแล้ว โดยมีสาระสำคัญที่แตกต่างจากบทบัญญัติเดิม ดังนี้
1. มีการเพิ่มเติมนิยามศัพท์บางคำ เพื่อความชัดเจนในการตีความ ได้แก่คำว่า คู่กรณี ผู้ชี้ขาด ข้อเรียกร้อง สภาองค์การนายจ้าง สภาองค์การลูกจ้าง
2. นำระบบทวิภาคีมาใช้ให้เกิดความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งภายในองค์กร ด้วยการกำหนดให้มี "คณะกรรมการร่วมหารือ" ในทุกสถานประกอบกิจการ ประกอบด้วยผู้แทนนายจ้างและผู้แทนลูกจ้าง โดยผู้แทนลูกจ้างมีอำนาจกระทำการแทนลูกจ้างทุกคนในสถานประกอบกิจการ ในการประชุมหารือเพื่อระงับข้อขัดแย้ง และเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง นอกจากนี้ยังห้ามนายจ้างเลิกจ้างหรือลงโทษผู้แทนนายจ้างหรือผู้แทนลูกจ้าง โดยมิได้รับอนุญาตจากศาลแรงงาน
3. ได้นำระบบการรับรองสหภาพแรงงานเพื่อเป็นตัวแทนลูกจ้างในการเจรจาต่อรองตามหลักสากลมาใช้ เพื่อลดปัญหาการไม่ยอมรับองค์กรสหภาพแรงงานของนายจ้างและให้สภาพแรงงานที่ได้รับการรับรองจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ เป็นตัวแทนลูกจ้างทั้งสถานประกอบการในการเจรจาทำความตกลงกับนายจ้างเกี่ยวกับสภาพการจ้ง สภาพการทำงาน
4. ได้กำหนดขั้นตอนระงับข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้ โดยมีขั้นตอนให้คู่กรณีตัดสินใจที่จะใช้การชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานโดยสมัครใจ นอกจากนี้ยังได้เพิ่มบทบัญญัติให้พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานมีหน้าที่ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทแรงงาน จนกว่าจะมีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง หรือคำชี้ขาดข้อพิพาทแรงงาน
5. ได้ปรับปรุงบทบัญญัติให้นายจ้างและลูกจ้างสามารถตกลงระงับข้อพิพาทแรงงาน โดยวิธีการชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานแม้จะอยู่ในระหว่างการปิดงานหรือนัดหยุดงานได้
6. ปรับปรุงระบบการชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานใหม่ โดยบทบัญญัติได้เส่งเสริมและพยายามให้นายจ้าง และลูกจ้างได้พิจารณาระบบการชี้ขาดโดยการสมัครใจจากอนุญาโตตุลาการก่อน เพื่อจะช่วยยุติข้อพิพาทแรงงาน โดยไม่ต้องมีการปิดงาน และนัดหยุดงาน
7. ปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการในการขอจดทะเบียนองค์กรนายจ้างและองค์กรลูกจ้าง โดยกำหนดเวลาให้นายทะเบียนรับหรือปฏิเสธการจดทะเบียนองค์กร
8. ปรับปรุงบทบัญญัติ เพื่อส่งเสริมให้สหพันธ์นายจ้าง สหพันธ์แรงงาน ตลอดจนสภาองค์การนายจ้างและสภาองค์การลูกจ้าง มีความเข้มแข็งและได้รับการยอมรับมากขึ้น
9. ได้มีการปรับปรุงบทกำหนดโทษให้เหมาะสม สอดคล้องความผิดที่แตกต่างกันด้วย
10. กำหนดบทเฉพาะกาล ให้บรรดาคำร้องกล่าวหา ข้อเรียกร้อง ข้อพิพาทแรงงาน ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง คำชี้ขาด หรือคดีซึ่งเกิดขึ้นก่อนพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับให้เป็นไปตามกฎหมายเดิม นอกจากนี้ บรรดาองค์กรนายจ้าง องค์กรลูกจ้าง ตามกฎหมายเดิม ให้ถือเป็นองค์กรตามกฎหมายนี้ โดยกำหนดเวลาให้ปรับปรุงให้ถูกต้องตามกฎหมายใหม่ในระยะเวลา 180 วัน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 1 ธันวาคม 2541--