แท็ก
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
สำนักนายกรัฐมนตรี
กระทรวงมหาดไทย
สภาผู้แทนราษฎร
แก่งเสือเต้น
คณะรัฐมนตรี
ทำเนียบรัฐบาล--20 ก.ค.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักนายกรัฐมนตรี (การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย) กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม และกระทรวงมหาดไทย ได้รายงานผลการดำเนินการเกี่ยวกับข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อศึกษาการสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น แล้วแจ้งให้สำนักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรทราบต่อไป ดังนี้
1. สำนักนายกรัฐมนตรี (การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย) รายงานว่า โครงการเขื่อนแก่งเสือเต้น เป็นส่วนหนึ่งในโครงการผันน้ำ กก - อิง - ยม - น่าน - ที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยทำการสำรวจหาข้อมูลและศึกษาเบื้องต้นตั้งแต่กลางปี 2522และจัดทำรายงานสรุปโครงการ กก - อิง - ยม - น่าน แล้วเสร็จในปี 2527 และได้โอนผลการศึกษาให้กรมชลประทานรับไปพิจารณาดำเนินการต่อไปตั้งแต่เดือนธันวาคม 2528
2. กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม รายงานว่า
2.1 โครงการเขื่อนแก่งเสือเต้น จังหวัดแพร่ เป็นโครงการของกรมชลประทาน ที่คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติมีมติในคราวการประชุมครั้งที่ 7/2538 วันที่ 29 กันยายน 2538 แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจเพื่อพิจารณาผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการเขื่อนแก่งเสือเต้น เพื่อศึกษาข้อมูลด้านต่าง ๆ ที่สำคัญ ได้แก่ ด้านธรณีวิทยา นิเวศวิทยา และด้านผลกระทบต่อที่อยู่อาศัยและที่ทำกินของราษฎร และกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมได้เคยรายงานความก้าวหน้าให้คณะรัฐมนตรีทราบแล้วเมื่อคราวประชุมคณะรัฐมนตรีวันที่ 29 กรกฎาคม 2540
2.2 ปัจจุบันการศึกษาด้านต่าง ๆ ตามที่คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติมอบหมายได้เสร็จสิ้นแล้ว คณะอนุกรรมการเฉพาะกิจฯ ได้มอบหมายให้กรมชลประทานดำเนินการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับแผนปฏิบัติการด้านการอพยพราษฎร และแผนที่แสดงแนวเขตน้ำท่วมที่ระดับต่าง ๆ ของอ่างเก็บน้ำในแต่ละช่วงของปี เพื่อจะได้นำมาจัดทำมาตรการป้องกันแก้ไขผลกระทบที่จะเกิดจากโครงการ โดยเฉพาะผลกระทบด้านนิเวศวิทยา ซึ่งข้อมูลที่ได้รับยังไม่มีรายละเอียดชัดเจนเป็นรูปธรรม และได้แจ้งให้กรมชลประทานทราบแล้ว
3. กระทรวงมหาดไทย รายงานว่า
3.1 โครงการก่อสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้นนับว่าเป็นประโยชน์โดยรวมต่อประชาชนส่วนใหญ่ในลุ่มแม่น้ำยมพื้นที่ 5 จังหวัด (จังหวัดแพร่ สุโขทัย พิษณุโลก พิจิตร และนครสวรรค์) ทั้งในด้านการบรรเทาปัญหาภัยแล้ง และการบรรเทาปัญหาอุทกภัยซึ่งเกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี
3.2 จากผลการสำรวจข้อมูลพื้นฐานระดับหมู่บ้าน (กชช.2ค.) ในปี 2539 ในพื้นที่ลุ่มน้ำยมทั้งบริเวณพื้นที่ลุ่มน้ำยมตอนบน (จังหวัดพะเยา น่าน ลำปาง และแพร่) พื้นที่ตอนกลาง (จังหวัดอุตรดิตถ์ พิษณุโลก และกำแพงเพชร) และพื้นที่ตอนล่าง (จังหวัดพิจิตร และนครสวรรค์) ปรากฏว่ามีหมู่บ้านที่มีปัญหาการขาดแคลนน้ำกิน น้ำใช้ และน้ำเพื่อการเกษตร ในระดับสูงมาก จำนวน 4,978 หมู่บ้าน โดยหากมีการสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น คาดว่าจะช่วยบรรเทาปัญหาได้อย่างมาก
3.3 หากมีการสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้นเสร็จสมบูรณ์ คาดว่าใน 10 ปีข้างหน้า (พ.ศ. 2549) จะช่วยแก้ไขปัญหาความต้องการน้ำเพื่อการเกษตรได้ประมาณ 713,404 ครัวเรือน พื้นที่การเกษตรประมาณ 17,992,696 ไร่ (ข้อมูลตามแผนการใช้ที่ดินลุ่มน้ำยมของกรมพัฒนาที่ดิน) ส่วนผลกระทบนั้น จะเกิดผลกระทบต่อพื้นที่ป่าในเขตอุทยานแห่งชาติแม่ยม ชุมชนชนบทในเขตป่าสงวนแห่งชาติจำนวน 3 หมู่บ้าน ประชากรประมาณ 2,500 คน และเกิดผลกระทบต่อเส้นทางคมนาคมเชื่อมต่อระหว่างอำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยากับอำเภอสอง จังหวัดแพร่
3.4 ความเห็นของราษฎรในพื้นที่ต่อโครงการ โดยกลุ่มคัดค้านประกอบด้วยราษฎรตำบลสะเอียบ และกลุ่มอนุรักษ์ต่าง ๆ ส่วนกลุ่มผู้สนับสนุนประกอบด้วย กลุ่มสมาชิกสภาจังหวัด ผู้นำกลุ่มเกษตรกร 5 จังหวัดลุ่มน้ำยม และชมรมไทยพัฒนาลุ่มน้ำยมการคัดค้านราษฎรตำบลสะเอียบได้เสนอประเด็นการคัดค้าน 2 เรื่อง คือ เพื่อรักษาสิทธิในที่ดิน กับเพื่อรักษาผืนป่าสักทองและแม่น้ำยมโดยอ้างสิทธิตามมาตรา 56 ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งปัจจุบันกลุ่มผู้คัดค้านมีความเห็นเป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายหนึ่งเห็นว่าควรรับเงินชดเชยที่พอใจ ส่วนอีกฝ่ายหนึ่งได้ยืนกรานไม่ยอมเจรจาใด ๆ การชุมนุมที่ผ่านมาจังหวัดสามารถควบคุมสถานการณ์ได้
นอกจากนี้ คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการพิจารณา และเห็นชอบให้กำหนดแนวทางการดำเนินงานโครงการเขื่อนแก่งเสือเต้น รวม 2 ประการ ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ ดังนี้
1. เรื่องคณะกรรมการเขื่อนแก่งเสือเต้นนั้น โดยที่มติคณะรัฐมนตรีปี 2540 ไม่ได้ห้ามดำเนินการ แต่ให้ชะลอและรับฟังความคิดเห็นประชาชน จึงได้มีการตั้งคณะกรรมการมาตั้งแต่ พ.ศ. 2540 ต่อมาประธาน (นายนิคม จันทรวิฑูร) ลาออก ทำให้งานชะงักภายหลังมีการตั้งประธานใหม่แล้วเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2542 คือ รองศาสตราจารย์ วรวิทย์ เจริญเลิศ ส่วนกรรมการที่เหลือก็ปรับปรุงแล้วตามคำสั่ง ที่ 21/2541 และได้ปรับปรุงให้ใกล้เคียงเจตนารมณ์ของมาตรา 56 แห่งรัฐธรรมนูญมากที่สุดแล้ว โดยไม่ต้องรอกฎหมายที่จะต้องออกมาอีกฉบับคือ มีผู้แทนมูลนิธิ องค์กรเอกชนเข้ามาร่วมเป็นกรรมการด้วย จึงให้คณะกรรมการดำเนินการต่อไปตามอำนาจหน้าที่ที่ระบุในคำสั่งคือ พิจารณาความเหมาะสมของโครงการโดยให้ประชาชนมีส่วนร่วม
2. มอบหมายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้หารือกับประธานที่ได้รับแต่งตั้งใหม่ ในการแต่งตั้งหรือปรับปรุงคณะกรรมการเพิ่มเติม แล้วนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อดำเนินการให้ราษฎรมีส่วนร่วมตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 20 กรกฎาคม 2542--
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักนายกรัฐมนตรี (การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย) กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม และกระทรวงมหาดไทย ได้รายงานผลการดำเนินการเกี่ยวกับข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อศึกษาการสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น แล้วแจ้งให้สำนักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรทราบต่อไป ดังนี้
1. สำนักนายกรัฐมนตรี (การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย) รายงานว่า โครงการเขื่อนแก่งเสือเต้น เป็นส่วนหนึ่งในโครงการผันน้ำ กก - อิง - ยม - น่าน - ที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยทำการสำรวจหาข้อมูลและศึกษาเบื้องต้นตั้งแต่กลางปี 2522และจัดทำรายงานสรุปโครงการ กก - อิง - ยม - น่าน แล้วเสร็จในปี 2527 และได้โอนผลการศึกษาให้กรมชลประทานรับไปพิจารณาดำเนินการต่อไปตั้งแต่เดือนธันวาคม 2528
2. กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม รายงานว่า
2.1 โครงการเขื่อนแก่งเสือเต้น จังหวัดแพร่ เป็นโครงการของกรมชลประทาน ที่คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติมีมติในคราวการประชุมครั้งที่ 7/2538 วันที่ 29 กันยายน 2538 แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจเพื่อพิจารณาผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการเขื่อนแก่งเสือเต้น เพื่อศึกษาข้อมูลด้านต่าง ๆ ที่สำคัญ ได้แก่ ด้านธรณีวิทยา นิเวศวิทยา และด้านผลกระทบต่อที่อยู่อาศัยและที่ทำกินของราษฎร และกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมได้เคยรายงานความก้าวหน้าให้คณะรัฐมนตรีทราบแล้วเมื่อคราวประชุมคณะรัฐมนตรีวันที่ 29 กรกฎาคม 2540
2.2 ปัจจุบันการศึกษาด้านต่าง ๆ ตามที่คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติมอบหมายได้เสร็จสิ้นแล้ว คณะอนุกรรมการเฉพาะกิจฯ ได้มอบหมายให้กรมชลประทานดำเนินการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับแผนปฏิบัติการด้านการอพยพราษฎร และแผนที่แสดงแนวเขตน้ำท่วมที่ระดับต่าง ๆ ของอ่างเก็บน้ำในแต่ละช่วงของปี เพื่อจะได้นำมาจัดทำมาตรการป้องกันแก้ไขผลกระทบที่จะเกิดจากโครงการ โดยเฉพาะผลกระทบด้านนิเวศวิทยา ซึ่งข้อมูลที่ได้รับยังไม่มีรายละเอียดชัดเจนเป็นรูปธรรม และได้แจ้งให้กรมชลประทานทราบแล้ว
3. กระทรวงมหาดไทย รายงานว่า
3.1 โครงการก่อสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้นนับว่าเป็นประโยชน์โดยรวมต่อประชาชนส่วนใหญ่ในลุ่มแม่น้ำยมพื้นที่ 5 จังหวัด (จังหวัดแพร่ สุโขทัย พิษณุโลก พิจิตร และนครสวรรค์) ทั้งในด้านการบรรเทาปัญหาภัยแล้ง และการบรรเทาปัญหาอุทกภัยซึ่งเกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี
3.2 จากผลการสำรวจข้อมูลพื้นฐานระดับหมู่บ้าน (กชช.2ค.) ในปี 2539 ในพื้นที่ลุ่มน้ำยมทั้งบริเวณพื้นที่ลุ่มน้ำยมตอนบน (จังหวัดพะเยา น่าน ลำปาง และแพร่) พื้นที่ตอนกลาง (จังหวัดอุตรดิตถ์ พิษณุโลก และกำแพงเพชร) และพื้นที่ตอนล่าง (จังหวัดพิจิตร และนครสวรรค์) ปรากฏว่ามีหมู่บ้านที่มีปัญหาการขาดแคลนน้ำกิน น้ำใช้ และน้ำเพื่อการเกษตร ในระดับสูงมาก จำนวน 4,978 หมู่บ้าน โดยหากมีการสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น คาดว่าจะช่วยบรรเทาปัญหาได้อย่างมาก
3.3 หากมีการสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้นเสร็จสมบูรณ์ คาดว่าใน 10 ปีข้างหน้า (พ.ศ. 2549) จะช่วยแก้ไขปัญหาความต้องการน้ำเพื่อการเกษตรได้ประมาณ 713,404 ครัวเรือน พื้นที่การเกษตรประมาณ 17,992,696 ไร่ (ข้อมูลตามแผนการใช้ที่ดินลุ่มน้ำยมของกรมพัฒนาที่ดิน) ส่วนผลกระทบนั้น จะเกิดผลกระทบต่อพื้นที่ป่าในเขตอุทยานแห่งชาติแม่ยม ชุมชนชนบทในเขตป่าสงวนแห่งชาติจำนวน 3 หมู่บ้าน ประชากรประมาณ 2,500 คน และเกิดผลกระทบต่อเส้นทางคมนาคมเชื่อมต่อระหว่างอำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยากับอำเภอสอง จังหวัดแพร่
3.4 ความเห็นของราษฎรในพื้นที่ต่อโครงการ โดยกลุ่มคัดค้านประกอบด้วยราษฎรตำบลสะเอียบ และกลุ่มอนุรักษ์ต่าง ๆ ส่วนกลุ่มผู้สนับสนุนประกอบด้วย กลุ่มสมาชิกสภาจังหวัด ผู้นำกลุ่มเกษตรกร 5 จังหวัดลุ่มน้ำยม และชมรมไทยพัฒนาลุ่มน้ำยมการคัดค้านราษฎรตำบลสะเอียบได้เสนอประเด็นการคัดค้าน 2 เรื่อง คือ เพื่อรักษาสิทธิในที่ดิน กับเพื่อรักษาผืนป่าสักทองและแม่น้ำยมโดยอ้างสิทธิตามมาตรา 56 ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งปัจจุบันกลุ่มผู้คัดค้านมีความเห็นเป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายหนึ่งเห็นว่าควรรับเงินชดเชยที่พอใจ ส่วนอีกฝ่ายหนึ่งได้ยืนกรานไม่ยอมเจรจาใด ๆ การชุมนุมที่ผ่านมาจังหวัดสามารถควบคุมสถานการณ์ได้
นอกจากนี้ คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการพิจารณา และเห็นชอบให้กำหนดแนวทางการดำเนินงานโครงการเขื่อนแก่งเสือเต้น รวม 2 ประการ ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ ดังนี้
1. เรื่องคณะกรรมการเขื่อนแก่งเสือเต้นนั้น โดยที่มติคณะรัฐมนตรีปี 2540 ไม่ได้ห้ามดำเนินการ แต่ให้ชะลอและรับฟังความคิดเห็นประชาชน จึงได้มีการตั้งคณะกรรมการมาตั้งแต่ พ.ศ. 2540 ต่อมาประธาน (นายนิคม จันทรวิฑูร) ลาออก ทำให้งานชะงักภายหลังมีการตั้งประธานใหม่แล้วเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2542 คือ รองศาสตราจารย์ วรวิทย์ เจริญเลิศ ส่วนกรรมการที่เหลือก็ปรับปรุงแล้วตามคำสั่ง ที่ 21/2541 และได้ปรับปรุงให้ใกล้เคียงเจตนารมณ์ของมาตรา 56 แห่งรัฐธรรมนูญมากที่สุดแล้ว โดยไม่ต้องรอกฎหมายที่จะต้องออกมาอีกฉบับคือ มีผู้แทนมูลนิธิ องค์กรเอกชนเข้ามาร่วมเป็นกรรมการด้วย จึงให้คณะกรรมการดำเนินการต่อไปตามอำนาจหน้าที่ที่ระบุในคำสั่งคือ พิจารณาความเหมาะสมของโครงการโดยให้ประชาชนมีส่วนร่วม
2. มอบหมายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้หารือกับประธานที่ได้รับแต่งตั้งใหม่ ในการแต่งตั้งหรือปรับปรุงคณะกรรมการเพิ่มเติม แล้วนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อดำเนินการให้ราษฎรมีส่วนร่วมตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 20 กรกฎาคม 2542--