ทำเนียบรัฐบาล--19 ส.ค.--บิสนิวส์
ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติ เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2540 ให้ปรับลดงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ2541 ภายในวงเงินระหว่าง 50,000 - 70,000 ล้านบาท โดยมอบหมายให้สำนักงบประมาณ กระทรวงการคลัง และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ไปพิจารณากำหนดวงเงินและหลักการในการปรับลดให้ชัดเจนอีกครั้งหนึ่งนั้น ในการประชุมคณะรัฐมนตรีวันนี้ (วันที่ 19 สิงหาคม 2540) คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ความเห็นชอบการปรับลดงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2541 จำนวน 59,000 ล้านบาท โดยมีสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. แนวทางการปรับลดงบประมาณ
การปรับลดงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2541 จำนวน 59,000 ล้านบาท มีแนวทางการดำเนินการ ดังนี้
1.1 ปรับลดงบประมาณประเภทรายจ่ายประจำซึ่งมีลักษณะเป็นรายจ่ายเพื่อการบริโภค และไม่ก่อให้เกิดผลผลิตหรือไม่มีผลกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายในด้านการบริหารงานและการป้องกันประเทศ
1.2 ปรับลดค่าใช้จ่ายบางลักษณะซึ่งสามารถประหยัดลงได้ เพื่อทำให้การใช้จ่ายเงินงบประมาณเป็นไปอย่างประหยัด และมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะการจัดซื้อ/จัดหาพัสดุที่เกินกว่าความจำเป็น และการจัดประชุม ฝึกอบรม และสัมมนานอกสถานที่
1.3 ปรับลดงบประมาณซึ่งไม่มีความจำเป็นเร่งด่วน โดยเฉพาะค่าจ้างศึกษา ค่าจ้างที่ปรึกษา ค่าจ้างผู้เชี่ยวชาญ และการจ้างลูกจ้างชั่วคราวในงาน/โครงการที่ไม่มีความจำเป็นเร่งด่วน
1.4 ปรับลดงบประมาณรายจ่ายที่ใช้เงินตราต่างประเทศสูง เพื่อช่วยบรรเทาปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดโดยเฉพาะการซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์ การเดินทางไปดูงาน ฝึกอบรม หรือสัมมนาในต่างประเทศ และการซื้อวัสดุและครุภัณฑ์จากต่างประเทศ เช่น ครุภัณฑ์ยานพาหนะและขนส่ง และครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์
1.5 ปรับลดงบประมาณโดยหลีกเลี่ยงผลกระทบที่จะมีต่องาน/โครงการตามนโยบายรัฐบาลและแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 ตลอดจนงาน/โครงการที่มีส่วนในการฟื้นฟูเศรษฐกิจทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยเฉพาะโครงการที่เสริมสร้างสมรรถนะในการพัฒนา ได้แก่ งาน/โครงการในด้านการศึกษา สาธารณสุข และโครงสร้างพื้นฐานรวมทั้งการวิจัยและพัฒนา
1.6 พิจารณาทบทวน ตัดทอน ปรับลด ชะลอ หรือยกเลิกรายจ่ายลงทุนในงาน/โครงการ ซึ่งมีลักษณะดังต่อไปนี้
(1) งาน/โครงการซึ่งมีลำดับความสำคัญต่ำ
(2) งาน/โครงการซึ่งขาดความพร้อมในการดำเนินงาน
(3) งาน/โครงการซึ่งมีความซ้ำซ้อนกับงาน/โครงการอื่น
(4) งาน/โครงการที่ไม่มีความจำเป็นเร่งด่วน
(5) งาน/โครงการที่มีการลงทุนเกินความจำเป็น
(6) งาน/โครงการซึ่งมีสัดส่วนการนำเข้าสูง
(7) งาน/โครงการที่เริ่มดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2541 พิจารณาปรับลดงบประมาณให้เหลือเท่าที่จำเป็นจริง ๆ
1.7 ปรับลดงบประมาณเพื่อการก่อสร้างสิ่งสาธารณูปโภค สาธารณูปการขนาดเล็กในภูมิภาคและท้องถิ่นซึ่งดำเนินการโดยส่วนราชการลง เนื่องจากองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นต่าง ๆ จะสามารถดำเนินการได้เอง จากรายได้ที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากการปรับอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม
2. ผลการปรับลดงบประมาณ
2.1 การปรับลดงบประมาณตามลักษณะเศรษฐกิจ
- รายจ่ายประจำ ซึ่งตั้งงบประมาณไว้ทั้งสิ้น 569,916.1 ล้านบาท ได้ปรับลดลงเป็นจำนวน 22,203.0ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 3.9
- รายจ่ายลงทุน ซึ่งตั้งงบประมาณไว้ทั้งสิ้น 380,847.8 ล้านบาท ได้ปรับลดลงเป็นจำนวน 36,794.2 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 9.7
การปรับลดงบประมาณรายจ่ายจำนวน 59,000 ล้านบาท จะเป็นการปรับลดรายจ่ายประจำในสัดส่วนร้อยละ 37.6 และรายจ่ายลงทุนในสัดส่วนร้อยละ 62.4
2.2 การปรับลดงบประมาณ ตามหมวดรายจ่าย
1) เงินเดือนและค่าจ้างประจำ ปรับลด 2,852.8 ล้านบาท จากงบประมาณที่ตั้งไว้ 291,927.6 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 1.0
2) ค่าจ้างชั่วคราว ปรับลด 450.2 ล้านบาท จากงบประมาณที่ตั้งไว้ 7,370.1 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 6.1
3) ค่าตอบแทนใช้สอย และวัสดุ ปรับลด 9,471.0 ล้านบาท จากงบประมาณที่ตั้งไว้ 97,878.8 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 9.7
4) ค่าครุภัณฑ์ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง ปรับลด 34,845.9 ล้านบาท จากงบประมาณที่ตั้งไว้ 324,498.5ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 10.5
5) เงินอุดหนุน ปรับลด 4,266.3 ล้านบาท จากงบประมาณที่ตั้งไว้ 111,641.1 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 3.8
6) รายจ่ายอื่น ปรับลด 7,113.8 ล้านบาท จากงบประมาณที่ตั้งไว้ 131,925.3 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 5.4
3. มาตรการด้านอื่น ๆ
นอกเหนือจากการปรับลดงบประมาณแล้ว คณะรัฐมนตรียังได้ให้ความเห็นชอบในมาตรการอื่น ๆ อีก ดังนี้
3.1 การเข้มงวดการกันเงินไว้เบิกจ่ายเหลื่อมปี ให้กระทรวงการคลังเข้มงวดการอนุมัติให้กันเงินไว้เบิกจ่ายเหลื่อมปี ซึ่งจะมีผลทำให้สามารถลดการใช้จ่ายเงินกันไว้เบิกจ่ายเหลื่อมปี และลดการขาดดุลเงินสดในปีงบประมาณ พ.ศ. 2541
3.2 การก่อหนี้ผูกพันเกินวงเงินที่ตั้งงบประมาณ เพื่อให้การดำเนินงานตามรายการภาระผูกพันรัดกุมยิ่งขึ้นคณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ส่วนราชการเปลี่ยนแปลง แบบรูป รายการก่อสร้างหรือคุณลักษณะเฉพาะของรายการครุภัณฑ์ ได้เฉพาะกรณีที่มีผลทำให้วงเงินเพิ่มขึ้นไม่เกิน ร้อยละ 5 เท่านั้น โดยให้ทำความตกลงกับสำนักงบประมาณก่อนดำเนินการประกวดราคา
3.3 การบริหารงบประมาณ ให้สำนักงบประมาณอนุมัติเงินประจำงวด โดยคำนึงถึงความสามารถในการจัดเก็บรายได้ และความสอดคล้องกับแผนปฏิบัติงาน และแผนการใช้จ่ายอย่างประหยัดของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ
3.4 การปรับอัตราค่าใช้จ่ายประเภทต่าง ๆ ของทางราชการ ให้ระงับการปรับเปลี่ยนอัตราค่าใช้จ่ายซึ่งจ่ายแก่ข้าราชการ ลูกจ้างและบุคคลอื่น ๆ ทุกประเภทของทางราชการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2541 รวมทั้งระงับการจ่ายเบี้ยประชุมแก่ข้าราชการที่เข้าร่วมประชุมในเวลาราชการ
3.5 การปรับปรุงวิธีการเบิกค่ารักษาพยาบาล ให้กระทรวงการคลังทบทวน กฎ ระเบียบ เกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาลของข้าราชการและลูกจ้างให้เป็นไปอย่างรัดกุม ประหยัด และมีประสิทธิภาพ โดยอาจนำระบบประกันมาใช้
3.6 การดำเนินงานนโยบายการค้าต่างตอบแทน ให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจถือปฏิบัติตามนโยบายการค้าต่างตอบแทน ในกรณีที่มีการก่อสร้างและจัดหาครุภัณฑ์ที่ต้องใช้เงินตราต่างประเทศ
(ยังมีต่อ)
ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติ เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2540 ให้ปรับลดงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ2541 ภายในวงเงินระหว่าง 50,000 - 70,000 ล้านบาท โดยมอบหมายให้สำนักงบประมาณ กระทรวงการคลัง และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ไปพิจารณากำหนดวงเงินและหลักการในการปรับลดให้ชัดเจนอีกครั้งหนึ่งนั้น ในการประชุมคณะรัฐมนตรีวันนี้ (วันที่ 19 สิงหาคม 2540) คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ความเห็นชอบการปรับลดงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2541 จำนวน 59,000 ล้านบาท โดยมีสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. แนวทางการปรับลดงบประมาณ
การปรับลดงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2541 จำนวน 59,000 ล้านบาท มีแนวทางการดำเนินการ ดังนี้
1.1 ปรับลดงบประมาณประเภทรายจ่ายประจำซึ่งมีลักษณะเป็นรายจ่ายเพื่อการบริโภค และไม่ก่อให้เกิดผลผลิตหรือไม่มีผลกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายในด้านการบริหารงานและการป้องกันประเทศ
1.2 ปรับลดค่าใช้จ่ายบางลักษณะซึ่งสามารถประหยัดลงได้ เพื่อทำให้การใช้จ่ายเงินงบประมาณเป็นไปอย่างประหยัด และมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะการจัดซื้อ/จัดหาพัสดุที่เกินกว่าความจำเป็น และการจัดประชุม ฝึกอบรม และสัมมนานอกสถานที่
1.3 ปรับลดงบประมาณซึ่งไม่มีความจำเป็นเร่งด่วน โดยเฉพาะค่าจ้างศึกษา ค่าจ้างที่ปรึกษา ค่าจ้างผู้เชี่ยวชาญ และการจ้างลูกจ้างชั่วคราวในงาน/โครงการที่ไม่มีความจำเป็นเร่งด่วน
1.4 ปรับลดงบประมาณรายจ่ายที่ใช้เงินตราต่างประเทศสูง เพื่อช่วยบรรเทาปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดโดยเฉพาะการซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์ การเดินทางไปดูงาน ฝึกอบรม หรือสัมมนาในต่างประเทศ และการซื้อวัสดุและครุภัณฑ์จากต่างประเทศ เช่น ครุภัณฑ์ยานพาหนะและขนส่ง และครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์
1.5 ปรับลดงบประมาณโดยหลีกเลี่ยงผลกระทบที่จะมีต่องาน/โครงการตามนโยบายรัฐบาลและแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 ตลอดจนงาน/โครงการที่มีส่วนในการฟื้นฟูเศรษฐกิจทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยเฉพาะโครงการที่เสริมสร้างสมรรถนะในการพัฒนา ได้แก่ งาน/โครงการในด้านการศึกษา สาธารณสุข และโครงสร้างพื้นฐานรวมทั้งการวิจัยและพัฒนา
1.6 พิจารณาทบทวน ตัดทอน ปรับลด ชะลอ หรือยกเลิกรายจ่ายลงทุนในงาน/โครงการ ซึ่งมีลักษณะดังต่อไปนี้
(1) งาน/โครงการซึ่งมีลำดับความสำคัญต่ำ
(2) งาน/โครงการซึ่งขาดความพร้อมในการดำเนินงาน
(3) งาน/โครงการซึ่งมีความซ้ำซ้อนกับงาน/โครงการอื่น
(4) งาน/โครงการที่ไม่มีความจำเป็นเร่งด่วน
(5) งาน/โครงการที่มีการลงทุนเกินความจำเป็น
(6) งาน/โครงการซึ่งมีสัดส่วนการนำเข้าสูง
(7) งาน/โครงการที่เริ่มดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2541 พิจารณาปรับลดงบประมาณให้เหลือเท่าที่จำเป็นจริง ๆ
1.7 ปรับลดงบประมาณเพื่อการก่อสร้างสิ่งสาธารณูปโภค สาธารณูปการขนาดเล็กในภูมิภาคและท้องถิ่นซึ่งดำเนินการโดยส่วนราชการลง เนื่องจากองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นต่าง ๆ จะสามารถดำเนินการได้เอง จากรายได้ที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากการปรับอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม
2. ผลการปรับลดงบประมาณ
2.1 การปรับลดงบประมาณตามลักษณะเศรษฐกิจ
- รายจ่ายประจำ ซึ่งตั้งงบประมาณไว้ทั้งสิ้น 569,916.1 ล้านบาท ได้ปรับลดลงเป็นจำนวน 22,203.0ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 3.9
- รายจ่ายลงทุน ซึ่งตั้งงบประมาณไว้ทั้งสิ้น 380,847.8 ล้านบาท ได้ปรับลดลงเป็นจำนวน 36,794.2 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 9.7
การปรับลดงบประมาณรายจ่ายจำนวน 59,000 ล้านบาท จะเป็นการปรับลดรายจ่ายประจำในสัดส่วนร้อยละ 37.6 และรายจ่ายลงทุนในสัดส่วนร้อยละ 62.4
2.2 การปรับลดงบประมาณ ตามหมวดรายจ่าย
1) เงินเดือนและค่าจ้างประจำ ปรับลด 2,852.8 ล้านบาท จากงบประมาณที่ตั้งไว้ 291,927.6 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 1.0
2) ค่าจ้างชั่วคราว ปรับลด 450.2 ล้านบาท จากงบประมาณที่ตั้งไว้ 7,370.1 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 6.1
3) ค่าตอบแทนใช้สอย และวัสดุ ปรับลด 9,471.0 ล้านบาท จากงบประมาณที่ตั้งไว้ 97,878.8 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 9.7
4) ค่าครุภัณฑ์ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง ปรับลด 34,845.9 ล้านบาท จากงบประมาณที่ตั้งไว้ 324,498.5ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 10.5
5) เงินอุดหนุน ปรับลด 4,266.3 ล้านบาท จากงบประมาณที่ตั้งไว้ 111,641.1 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 3.8
6) รายจ่ายอื่น ปรับลด 7,113.8 ล้านบาท จากงบประมาณที่ตั้งไว้ 131,925.3 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 5.4
3. มาตรการด้านอื่น ๆ
นอกเหนือจากการปรับลดงบประมาณแล้ว คณะรัฐมนตรียังได้ให้ความเห็นชอบในมาตรการอื่น ๆ อีก ดังนี้
3.1 การเข้มงวดการกันเงินไว้เบิกจ่ายเหลื่อมปี ให้กระทรวงการคลังเข้มงวดการอนุมัติให้กันเงินไว้เบิกจ่ายเหลื่อมปี ซึ่งจะมีผลทำให้สามารถลดการใช้จ่ายเงินกันไว้เบิกจ่ายเหลื่อมปี และลดการขาดดุลเงินสดในปีงบประมาณ พ.ศ. 2541
3.2 การก่อหนี้ผูกพันเกินวงเงินที่ตั้งงบประมาณ เพื่อให้การดำเนินงานตามรายการภาระผูกพันรัดกุมยิ่งขึ้นคณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ส่วนราชการเปลี่ยนแปลง แบบรูป รายการก่อสร้างหรือคุณลักษณะเฉพาะของรายการครุภัณฑ์ ได้เฉพาะกรณีที่มีผลทำให้วงเงินเพิ่มขึ้นไม่เกิน ร้อยละ 5 เท่านั้น โดยให้ทำความตกลงกับสำนักงบประมาณก่อนดำเนินการประกวดราคา
3.3 การบริหารงบประมาณ ให้สำนักงบประมาณอนุมัติเงินประจำงวด โดยคำนึงถึงความสามารถในการจัดเก็บรายได้ และความสอดคล้องกับแผนปฏิบัติงาน และแผนการใช้จ่ายอย่างประหยัดของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ
3.4 การปรับอัตราค่าใช้จ่ายประเภทต่าง ๆ ของทางราชการ ให้ระงับการปรับเปลี่ยนอัตราค่าใช้จ่ายซึ่งจ่ายแก่ข้าราชการ ลูกจ้างและบุคคลอื่น ๆ ทุกประเภทของทางราชการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2541 รวมทั้งระงับการจ่ายเบี้ยประชุมแก่ข้าราชการที่เข้าร่วมประชุมในเวลาราชการ
3.5 การปรับปรุงวิธีการเบิกค่ารักษาพยาบาล ให้กระทรวงการคลังทบทวน กฎ ระเบียบ เกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาลของข้าราชการและลูกจ้างให้เป็นไปอย่างรัดกุม ประหยัด และมีประสิทธิภาพ โดยอาจนำระบบประกันมาใช้
3.6 การดำเนินงานนโยบายการค้าต่างตอบแทน ให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจถือปฏิบัติตามนโยบายการค้าต่างตอบแทน ในกรณีที่มีการก่อสร้างและจัดหาครุภัณฑ์ที่ต้องใช้เงินตราต่างประเทศ
(ยังมีต่อ)