ทำเนียบรัฐบาล--15 ก.ย.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่กระทรวงการคลังเสนอ มาตรการทางภาษีเพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ ในส่วนของการเลื่อนการยกเลิกการบังคับใช้ชิ้นส่วนรถยนต์ภายในประเทศ และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปเร่งแก้ไขปัญหาให้เสร็จก่อนการยกเลิกการบังคับใช้ชิ้นส่วนรถยนต์ภายในประเทศ ตามแนวทางที่กระทรวงการคลังเสนอ เพื่อให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2541 ที่เห็นควรให้กระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศยกเลิกการบังคับใช้ชิ้นส่วนในประเทศ (Local Content) ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2543 และให้กระทรวงการคลังรับไปพิจารณาปรับโครงสร้างภาษีอากรทั้งระบบแล้วเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาภายใน 6 เดือน
ทั้งนี้ กระทรวงการคลังรายงานว่า
1. ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความตกลงกับบริษัท General Motors : GM
1) เดิม บริษัท GM เสนอข้อต่อรองกับฝ่ายไทยในการพิจารณาเลือกลงทุนในประเทศไทย ซึ่งสามารถสรุปเงื่อนไขตามข้อตกลงได้ว่า กระทรวงอุตสาหกรรมจะต้องดำเนินการออกประกาศยกเลิกการบังคับใช้ชิ้นส่วนในประเทศ ภายในเดือนกรกฎาคม 2541 ซึ่งคาดว่า GM จะเปิดดำเนินการในเดือนกรกฎาคม 2541 เช่นกัน ให้คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนอนุมัติให้การส่งเสริมโครงการดังกล่าว และให้มีการประสานงานเพื่อของบประมาณสนับสนุนเพื่อตั้งสถาบันฝึกอบรม GM University
2) คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนได้พิจารณาและอนุมัติให้การส่งเสริมโครงการของ GM กำลังการผลิต 100,000 คัน/ปี เงินลงทุน 16,000 ล้านบาท โดยให้รับสิทธิประโยชน์ด้านภาษีอากร คือ ยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 8 ปี ลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลร้อยละ 50 อีก 5 ปี และลดหย่อนอากรขาเข้าวัตถุดิบ ตามมาตรา 30 ตามอัตราที่คณะกรรมการกำหนดเพื่อชดเชยภาษีแฝง ซึ่งขณะนี้ยังไม่ได้มีการคำนวณอัตราลดหย่อนที่ชัดเจน
3) ขณะนี้บริษัท GM ได้เริ่มก่อสร้างโรงงานไปแล้ว คาดว่าจะเริ่มทดลองผลิตในเดือนมกราคม 2542 และอาจจะเริ่มผลิตจริงประมาณเดือนกรกฎาคม 2542 ซึ่งล่าช้ากว่ากำหนดการเดิมประมาณ 1 ปี โดยมีกำลังผลิตประมาณ 40,000-50,000 คัน/ปี ซึ่งลดลงจากที่ได้ยื่นขอรับการส่งเสริมไว้ร้อยละ 50
2. กระทรวงการคลัง โดยสำนักงานงานเศรษฐกิจการคลังได้แต่งตั้งคณะทำงานประกอบด้วย ผู้แทนจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ศึกษาโครงสร้างอัตราอากรขาเข้าปัจจัยการผลิต สำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ สรุปผลการดำเนินการของคณะทำงานฯ ได้ดังนี้
1) วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ซึ่งจากการคำนวณภาระภาษีของปัจจัยการผลิตพบว่า ภาระภาษีในต้นทุนการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มสินค้าเหล็กและพลาสติก ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรมเองมีนโยบายขอให้กระทรวงการคลังคงอัตราอากรของปัจจัยการผลิตรถยนต์ดังกล่าวไว้สูง ดังนั้น จึงไม่สามารถพิจารณาลดอัตราอากรขาเข้าเหล็กและพลาสติกลงในเวลาเดียวกัน เพื่อช่วยเหลืออุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ได้
2) ภาระภาษีของปัจจัยการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ส่วนใหญ่ไม่สูงมากนัก และเมื่อพิจารณาจากต้นทุนการผลิตรวมและภาระภาษีในต้นทุนการผลิตนี้ ก็ไม่ลักลั่นกับอัตราอากรขาเข้าของชิ้นส่วนยานยนต์สำเร็จรูปส่วนใหญ่ ดังนั้น จึงไม่มีความจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอากรขาเข้าปัจจัยการผลิตเหล่านั้น แต่ทั้งนี้ ควรปรับอัตราอากรขาเข้าปัจจัยการผลิตบางชนิด เช่น พลาสติก ซึ่งยังไม่ได้ลดลงสู่โครงสร้าง ให้ลดลงสู่โครงสร้างในวันที่ 1 กรกฎาคม 2541 ตามที่ได้ประกาศไปแล้ว
3. หลักการและแนวทางในการช่วยเหลืออุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ ในหลักการกระทรวงการคลังเห็นว่า สมควรที่รัฐบาลจะให้ความช่วยเหลือ ทั้งด้วยมาตรการภาษีและมาตรการอื่นๆ ต่อไป แต่รัฐบาลจะต้องดำเนินนโยบายอย่างถูกต้อง และชักนำอุตสาหกรรมนี้ไปในทางที่ถูกต้องเพื่อให้ประเทศไทยได้รับประโยชน์สูงสุด
4. แนวทางแก้ไขปัญหาอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ในภาพรวม จากการศึกษาของคณะทำงานฯ สรุปได้ว่าโดยข้อเท็จจริงแล้ว ภาษีมิใช่ปัจจัยหลักที่ก่อปัญหาให้กับอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ กระทรวงการคลังได้พิจารณาแล้ว เห็นสมควรเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบและมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรีบดำเนินการแก้ไขโดยเร็วก่อนที่กระทรวงอุตสาหกรรมจะพิจารณายกเลิกการบังคับใช้ชิ้นส่วนที่ผลิตในประเทศ ดังนี้
1) กระทรวงอุตสาหกรรมต้องร่วมมือกับกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ในการพัฒนาบุคลากรทั้งด้านเทคนิค และการจัดการที่มีประสิทธิภาพสูง และตรงกับความต้องการของอุตสาหกรรม รวมทั้วมีการอบรมแรงงานฝีมือและช่างเทคนิคเพื่อให้ทันกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป
2) กระทรวงพาณิชย์ต้องเป็นแกนนำในการเจรจาเปิดตลาดต่างประเทศและสร้างบรรยากาศในการลงทุน เพื่อจูงใจชาวต่างชาติเข้ามาลงทุนและผลักดันให้บริษัทแม่ในประเทศต่างๆ เพิ่มโควต้าการส่งออกรถยนต์ และชิ้นส่วนจากประเทศไทยให้มากขึ้น
3) กระทรวงอุตสาหกรรมต้องมีแผนชัดเจนในการสนับสนุนการออกแบบและวิศวกรรม ของชิ้นส่วนและพัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์เพื่อยกระดับคุณภาพเข้าสู่ระดับโลก ทั้งนี้ ส่วนหนึ่งหากต้องการความสนับสนุนทางด้านการเงิน ก็สามารถบรรจุในแผนปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม ที่กระทรวงอุตสาหกรรมกำลังดำเนินการอยู่ได้
4) กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมต้องร่วมมือกับกระทรวงอุตสาหกรรม ในการสร้างกระบวนการที่เป็นระบบและมีประสิทธิภาพในการให้ความช่วยเหลือในการพัฒนาบุคลากรเพื่อรองรับวิทยาการที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ในขณะเดียวกันทบวงมหาวิทยาลัยต้องประสานงานกับสถาบันการศึกษา เพื่อสนองต่อนโยบายการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในอุตสาหกรรมนี้อย่างเป็นรูปธรรม และมีกลไกการประสานผลและติดตามผลอย่างมีประสิทธิภาพด้วย
5) กระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ต้องผลักดันให้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่คนไทย และในส่วนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ควรจะต้องเข้มงวดกรณีกำหนดเงื่อนไขว่าจะต้องมีการถ่ายทอดเทคโนโลยี
6) กระทรวงอุตสาหกรรม และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ต้องเป็นแกนกลางเพื่อผลักดันให้มีการผลิตแบบ Mass Production และมีการใช้ชิ้นส่วนร่วมกัน
5. ประเด็นการยกเลิกการบังคับใช้ชิ้นส่วนในประเทศ (Local Content) เนื่องจากขณะนี้บริษัท GM ได้ขอเลื่อนการเปิดดำเนินการจากเดือนกรกฎาคม 2541 จึงสมควรที่กระทรวงอุตสาหกรรมจะต้องพิจารณาเลื่อนการยกเลิกการบังคับใช้ Local Content ให้สอดคล้องกับที่บริษัท GM เลื่อนแผนการเปิดดำเนินกิจการ หรืออาจเลื่อนไปจนกระทั่งถึงเวลาที่ตกลงไว้กับ GATT/WTO คือวันที่ 1 มกราคม 2543
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 15 กันยายน 2541--
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่กระทรวงการคลังเสนอ มาตรการทางภาษีเพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ ในส่วนของการเลื่อนการยกเลิกการบังคับใช้ชิ้นส่วนรถยนต์ภายในประเทศ และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปเร่งแก้ไขปัญหาให้เสร็จก่อนการยกเลิกการบังคับใช้ชิ้นส่วนรถยนต์ภายในประเทศ ตามแนวทางที่กระทรวงการคลังเสนอ เพื่อให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2541 ที่เห็นควรให้กระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศยกเลิกการบังคับใช้ชิ้นส่วนในประเทศ (Local Content) ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2543 และให้กระทรวงการคลังรับไปพิจารณาปรับโครงสร้างภาษีอากรทั้งระบบแล้วเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาภายใน 6 เดือน
ทั้งนี้ กระทรวงการคลังรายงานว่า
1. ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความตกลงกับบริษัท General Motors : GM
1) เดิม บริษัท GM เสนอข้อต่อรองกับฝ่ายไทยในการพิจารณาเลือกลงทุนในประเทศไทย ซึ่งสามารถสรุปเงื่อนไขตามข้อตกลงได้ว่า กระทรวงอุตสาหกรรมจะต้องดำเนินการออกประกาศยกเลิกการบังคับใช้ชิ้นส่วนในประเทศ ภายในเดือนกรกฎาคม 2541 ซึ่งคาดว่า GM จะเปิดดำเนินการในเดือนกรกฎาคม 2541 เช่นกัน ให้คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนอนุมัติให้การส่งเสริมโครงการดังกล่าว และให้มีการประสานงานเพื่อของบประมาณสนับสนุนเพื่อตั้งสถาบันฝึกอบรม GM University
2) คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนได้พิจารณาและอนุมัติให้การส่งเสริมโครงการของ GM กำลังการผลิต 100,000 คัน/ปี เงินลงทุน 16,000 ล้านบาท โดยให้รับสิทธิประโยชน์ด้านภาษีอากร คือ ยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 8 ปี ลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลร้อยละ 50 อีก 5 ปี และลดหย่อนอากรขาเข้าวัตถุดิบ ตามมาตรา 30 ตามอัตราที่คณะกรรมการกำหนดเพื่อชดเชยภาษีแฝง ซึ่งขณะนี้ยังไม่ได้มีการคำนวณอัตราลดหย่อนที่ชัดเจน
3) ขณะนี้บริษัท GM ได้เริ่มก่อสร้างโรงงานไปแล้ว คาดว่าจะเริ่มทดลองผลิตในเดือนมกราคม 2542 และอาจจะเริ่มผลิตจริงประมาณเดือนกรกฎาคม 2542 ซึ่งล่าช้ากว่ากำหนดการเดิมประมาณ 1 ปี โดยมีกำลังผลิตประมาณ 40,000-50,000 คัน/ปี ซึ่งลดลงจากที่ได้ยื่นขอรับการส่งเสริมไว้ร้อยละ 50
2. กระทรวงการคลัง โดยสำนักงานงานเศรษฐกิจการคลังได้แต่งตั้งคณะทำงานประกอบด้วย ผู้แทนจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ศึกษาโครงสร้างอัตราอากรขาเข้าปัจจัยการผลิต สำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ สรุปผลการดำเนินการของคณะทำงานฯ ได้ดังนี้
1) วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ซึ่งจากการคำนวณภาระภาษีของปัจจัยการผลิตพบว่า ภาระภาษีในต้นทุนการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มสินค้าเหล็กและพลาสติก ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรมเองมีนโยบายขอให้กระทรวงการคลังคงอัตราอากรของปัจจัยการผลิตรถยนต์ดังกล่าวไว้สูง ดังนั้น จึงไม่สามารถพิจารณาลดอัตราอากรขาเข้าเหล็กและพลาสติกลงในเวลาเดียวกัน เพื่อช่วยเหลืออุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ได้
2) ภาระภาษีของปัจจัยการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ส่วนใหญ่ไม่สูงมากนัก และเมื่อพิจารณาจากต้นทุนการผลิตรวมและภาระภาษีในต้นทุนการผลิตนี้ ก็ไม่ลักลั่นกับอัตราอากรขาเข้าของชิ้นส่วนยานยนต์สำเร็จรูปส่วนใหญ่ ดังนั้น จึงไม่มีความจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอากรขาเข้าปัจจัยการผลิตเหล่านั้น แต่ทั้งนี้ ควรปรับอัตราอากรขาเข้าปัจจัยการผลิตบางชนิด เช่น พลาสติก ซึ่งยังไม่ได้ลดลงสู่โครงสร้าง ให้ลดลงสู่โครงสร้างในวันที่ 1 กรกฎาคม 2541 ตามที่ได้ประกาศไปแล้ว
3. หลักการและแนวทางในการช่วยเหลืออุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ ในหลักการกระทรวงการคลังเห็นว่า สมควรที่รัฐบาลจะให้ความช่วยเหลือ ทั้งด้วยมาตรการภาษีและมาตรการอื่นๆ ต่อไป แต่รัฐบาลจะต้องดำเนินนโยบายอย่างถูกต้อง และชักนำอุตสาหกรรมนี้ไปในทางที่ถูกต้องเพื่อให้ประเทศไทยได้รับประโยชน์สูงสุด
4. แนวทางแก้ไขปัญหาอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ในภาพรวม จากการศึกษาของคณะทำงานฯ สรุปได้ว่าโดยข้อเท็จจริงแล้ว ภาษีมิใช่ปัจจัยหลักที่ก่อปัญหาให้กับอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ กระทรวงการคลังได้พิจารณาแล้ว เห็นสมควรเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบและมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรีบดำเนินการแก้ไขโดยเร็วก่อนที่กระทรวงอุตสาหกรรมจะพิจารณายกเลิกการบังคับใช้ชิ้นส่วนที่ผลิตในประเทศ ดังนี้
1) กระทรวงอุตสาหกรรมต้องร่วมมือกับกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ในการพัฒนาบุคลากรทั้งด้านเทคนิค และการจัดการที่มีประสิทธิภาพสูง และตรงกับความต้องการของอุตสาหกรรม รวมทั้วมีการอบรมแรงงานฝีมือและช่างเทคนิคเพื่อให้ทันกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป
2) กระทรวงพาณิชย์ต้องเป็นแกนนำในการเจรจาเปิดตลาดต่างประเทศและสร้างบรรยากาศในการลงทุน เพื่อจูงใจชาวต่างชาติเข้ามาลงทุนและผลักดันให้บริษัทแม่ในประเทศต่างๆ เพิ่มโควต้าการส่งออกรถยนต์ และชิ้นส่วนจากประเทศไทยให้มากขึ้น
3) กระทรวงอุตสาหกรรมต้องมีแผนชัดเจนในการสนับสนุนการออกแบบและวิศวกรรม ของชิ้นส่วนและพัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์เพื่อยกระดับคุณภาพเข้าสู่ระดับโลก ทั้งนี้ ส่วนหนึ่งหากต้องการความสนับสนุนทางด้านการเงิน ก็สามารถบรรจุในแผนปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม ที่กระทรวงอุตสาหกรรมกำลังดำเนินการอยู่ได้
4) กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมต้องร่วมมือกับกระทรวงอุตสาหกรรม ในการสร้างกระบวนการที่เป็นระบบและมีประสิทธิภาพในการให้ความช่วยเหลือในการพัฒนาบุคลากรเพื่อรองรับวิทยาการที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ในขณะเดียวกันทบวงมหาวิทยาลัยต้องประสานงานกับสถาบันการศึกษา เพื่อสนองต่อนโยบายการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในอุตสาหกรรมนี้อย่างเป็นรูปธรรม และมีกลไกการประสานผลและติดตามผลอย่างมีประสิทธิภาพด้วย
5) กระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ต้องผลักดันให้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่คนไทย และในส่วนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ควรจะต้องเข้มงวดกรณีกำหนดเงื่อนไขว่าจะต้องมีการถ่ายทอดเทคโนโลยี
6) กระทรวงอุตสาหกรรม และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ต้องเป็นแกนกลางเพื่อผลักดันให้มีการผลิตแบบ Mass Production และมีการใช้ชิ้นส่วนร่วมกัน
5. ประเด็นการยกเลิกการบังคับใช้ชิ้นส่วนในประเทศ (Local Content) เนื่องจากขณะนี้บริษัท GM ได้ขอเลื่อนการเปิดดำเนินการจากเดือนกรกฎาคม 2541 จึงสมควรที่กระทรวงอุตสาหกรรมจะต้องพิจารณาเลื่อนการยกเลิกการบังคับใช้ Local Content ให้สอดคล้องกับที่บริษัท GM เลื่อนแผนการเปิดดำเนินกิจการ หรืออาจเลื่อนไปจนกระทั่งถึงเวลาที่ตกลงไว้กับ GATT/WTO คือวันที่ 1 มกราคม 2543
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 15 กันยายน 2541--