แท็ก
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
กระทรวงศึกษาธิการ
กระทรวงมหาดไทย
กระทรวงคมนาคม
นายกรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรี
ทำเนียบรัฐบาล--16 พ.ย.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีรับทราบข้อแนะนำเชิงนโยบายของนายกรัฐมนตรีในการพัฒนาระบบการจราจรและขนส่งที่ยั่งยืน และการพัฒนาเมืองให้เป็นเมืองน่าอยู่ และให้ส่วนราชการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงคมนาคม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงศึกษาธิการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รับไปเป็นกรอบแนวทางปฏิบัติต่อไป ตามที่สำนักงานคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบกเสนอ โดยดำเนินการใน 2 แนวทาง คือ
1. การพัฒนาระบบการจราจรและขนส่งที่ยั่งยืน ประกอบด้วย
1.1 การวางผังเมืองและการใช้ประโยชน์ที่ดิน โดยให้มองในภาพรวมและแนวโน้มในการพัฒนาที่ดินในอนาคต เพื่อเป็นกรอบในการวางแผนพัฒนาระบบการจราจรและขนส่ง โดยการจัดทำแผนการใช้ประโยชน์ที่ดินในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว
1.2 การขนส่งแบบหลากหลาย โดยเน้นการประหยัดต้นทุนทางเศรษฐกิจของการขนส่ง และการลงทุนต่ำเพื่อปรับปรุงการเชื่อมต่อการเดินทางและการขนส่งในรูปแบบต่าง ๆ รวมทั้งการให้ความสำคัญทั้งการขนส่งสินค้า และการขนส่งคน โดยการให้ความสะดวกสบายของการเดินทางประจำวัน เช่น การปรับปรุงทางเท้า ป้ายรถโดยสารประจำทาง เส้นทางเดินรถ ที่จอดรถ และการเชื่อมต่อการเดินทางระหว่างระบบขนส่งสาธารณะประเภทต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ
1.3 ความปลอดภัยในการเดินทาง โดยการบริหารจัดการและการวางแผนโครงสร้างพื้นฐานอย่างเป็นระบบ เพื่อลดอุบัติเหตุ โดยเน้นคนเดินถนน ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่ถูกละเลย และมีความเสี่ยงต่ออุบัติเหตุมากที่สุด รวมทั้งการสร้างความเข้าใจและการปลูกจิตสำนึกเรื่องความปลอดภัย โดยเฉพาะกลุ่มเด็กและเยาวชน
1.4 ด้านสิ่งแวดล้อม ให้ความสำคัญกับผลกระทบสิ่งแวดล้อมเป็นอันดับแรก โดยคำนึงถึงต้นทุนทางด้านสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ ไม่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติและโบราณวัตถุ และการก่อสร้างทางหลวงทุกสายให้มีการปลูกต้นไม้ควบคู่ไปด้วย รวมทั้งไม่เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชนสองข้างทาง ซึ่งอาจได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างที่เป็นการฝืนธรรมชาติ
2. การพัฒนาเมืองให้เป็น "เมืองน่าอยู่" เป็นนโยบายของรัฐบาลซึ่งจำเป็นจะต้องดำเนินการอย่างเป็นระบบ โดยได้มอบหมาย นายปรีดิ์ บูรณะศิริ (อดีตผู้ว่าการการเคหะแห่งชาติ ซึ่งปฏิบัติราชการสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี) ประสานกับเลขาธิการคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก พิจารณาดำเนินการในเรื่องดังกล่าวเพื่อกำหนดเป็นวาระแห่งชาติต่อไป ดังนี้
2.1 การจัดรูปแบบเมืองให้ชัดเจน โดยแยกแหล่งกิจกรรมต่าง ๆ ให้เป็นสัดส่วน เช่น แหล่งบันเทิง แหล่งอุตสาหกรรม แหล่งที่อยู่อาศัย เป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อให้ที่อยู่อาศัยของประชาชนมีความสงบและน่าอยู่
2.2 สนับสนุนการใช้ระบบขนส่งที่ยั่งยืน
2.3 การอนุรักษ์วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมของเมือง
2.4 การจัดเตรียมเรื่องการบำบัดน้ำเสียและกำจัดสิ่งปฏิกูลของเมืองไว้ล่วงหน้า
2.5 การจัดหาแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคและบริโภคของชุมชนเมือง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 16 พฤศจิกายน 2542--
คณะรัฐมนตรีรับทราบข้อแนะนำเชิงนโยบายของนายกรัฐมนตรีในการพัฒนาระบบการจราจรและขนส่งที่ยั่งยืน และการพัฒนาเมืองให้เป็นเมืองน่าอยู่ และให้ส่วนราชการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงคมนาคม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงศึกษาธิการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รับไปเป็นกรอบแนวทางปฏิบัติต่อไป ตามที่สำนักงานคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบกเสนอ โดยดำเนินการใน 2 แนวทาง คือ
1. การพัฒนาระบบการจราจรและขนส่งที่ยั่งยืน ประกอบด้วย
1.1 การวางผังเมืองและการใช้ประโยชน์ที่ดิน โดยให้มองในภาพรวมและแนวโน้มในการพัฒนาที่ดินในอนาคต เพื่อเป็นกรอบในการวางแผนพัฒนาระบบการจราจรและขนส่ง โดยการจัดทำแผนการใช้ประโยชน์ที่ดินในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว
1.2 การขนส่งแบบหลากหลาย โดยเน้นการประหยัดต้นทุนทางเศรษฐกิจของการขนส่ง และการลงทุนต่ำเพื่อปรับปรุงการเชื่อมต่อการเดินทางและการขนส่งในรูปแบบต่าง ๆ รวมทั้งการให้ความสำคัญทั้งการขนส่งสินค้า และการขนส่งคน โดยการให้ความสะดวกสบายของการเดินทางประจำวัน เช่น การปรับปรุงทางเท้า ป้ายรถโดยสารประจำทาง เส้นทางเดินรถ ที่จอดรถ และการเชื่อมต่อการเดินทางระหว่างระบบขนส่งสาธารณะประเภทต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ
1.3 ความปลอดภัยในการเดินทาง โดยการบริหารจัดการและการวางแผนโครงสร้างพื้นฐานอย่างเป็นระบบ เพื่อลดอุบัติเหตุ โดยเน้นคนเดินถนน ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่ถูกละเลย และมีความเสี่ยงต่ออุบัติเหตุมากที่สุด รวมทั้งการสร้างความเข้าใจและการปลูกจิตสำนึกเรื่องความปลอดภัย โดยเฉพาะกลุ่มเด็กและเยาวชน
1.4 ด้านสิ่งแวดล้อม ให้ความสำคัญกับผลกระทบสิ่งแวดล้อมเป็นอันดับแรก โดยคำนึงถึงต้นทุนทางด้านสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ ไม่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติและโบราณวัตถุ และการก่อสร้างทางหลวงทุกสายให้มีการปลูกต้นไม้ควบคู่ไปด้วย รวมทั้งไม่เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชนสองข้างทาง ซึ่งอาจได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างที่เป็นการฝืนธรรมชาติ
2. การพัฒนาเมืองให้เป็น "เมืองน่าอยู่" เป็นนโยบายของรัฐบาลซึ่งจำเป็นจะต้องดำเนินการอย่างเป็นระบบ โดยได้มอบหมาย นายปรีดิ์ บูรณะศิริ (อดีตผู้ว่าการการเคหะแห่งชาติ ซึ่งปฏิบัติราชการสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี) ประสานกับเลขาธิการคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก พิจารณาดำเนินการในเรื่องดังกล่าวเพื่อกำหนดเป็นวาระแห่งชาติต่อไป ดังนี้
2.1 การจัดรูปแบบเมืองให้ชัดเจน โดยแยกแหล่งกิจกรรมต่าง ๆ ให้เป็นสัดส่วน เช่น แหล่งบันเทิง แหล่งอุตสาหกรรม แหล่งที่อยู่อาศัย เป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อให้ที่อยู่อาศัยของประชาชนมีความสงบและน่าอยู่
2.2 สนับสนุนการใช้ระบบขนส่งที่ยั่งยืน
2.3 การอนุรักษ์วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมของเมือง
2.4 การจัดเตรียมเรื่องการบำบัดน้ำเสียและกำจัดสิ่งปฏิกูลของเมืองไว้ล่วงหน้า
2.5 การจัดหาแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคและบริโภคของชุมชนเมือง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 16 พฤศจิกายน 2542--