ทำเนียบรัฐบาล--17 ก.พ.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีรับทราบการดำเนินการของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในการเตรียมการรับภาวะภัยแล้งปี 2541 ดังนี้
1. กรมโยธาธิการ (กระทรวงมหาดไทย)
ภารกิจของกรมโยธาธิการมี ดังนี้
1.1 บ่อบาดาล ในความรับผิดชอบของกรมโยธาธิการที่ใช้การได้มีจำนวนทั้งสิ้น 36,947 บ่อ มีแผนการ บำรุงรักษาประจำปีดำเนินการโดยหน่วยงานชุดบำรุงรักษา 40 หน่วย เพื่อเตรียมรับสภาวะภัยแล้ง เร่งรัดให้ทุกหน่วยปฏิบัติงานบำรุงรักษาได้ถึงหน่วยละ 250 บ่อ/เดือน จนถึงสิ้นเดือนมกราคม 2541 ได้เข้าทำการตรวจบำรุงรักษาและซ่อมแซม (ถ้ามีกรณีชำรุด)เสร็จสิ้นไปแล้ว 4,421 บ่อ ตามแผนการบำรุงรักษา (เร่งรัด) คาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จครบทุกบ่อในเดือนพฤษภาคม 2541
อนึ่ง ในส่วนงานเจาะบ่อน้ำบาดาลปี 2541 ได้ปรับแผนงานให้เข้าปฏิบัติในพื้นที่ประสบภัยแล้ง พร้อมทั้งเจาะบ่อทดแทนให้กับระบบประปาหมู่บ้านในพื้นที่ประสบภัยแล้ง ตามแผนงานที่ปรับใหม่คาดว่าจนถึงเดือนพฤษภาคมจะสามารถเจาะบ่อบาดาลได้จำนวนรวม 750 บ่อ (ผลการดำเนินงานจนถึงปัจจุบันดำเนินการไปแล้ว 210 บ่อ)
1.2 ระบบประปาหมู่บ้าน จากการสำรวจระบบน้ำสะอาดหมู่บ้านของกรมโยธาธิการจำนวนทั้งสิ้น 9,929 แห่งพบว่าไม่สามารถใช้งานได้ 775 แห่ง จำแนกตามสาเหตุได้ ดังนี้
1) บ่อบาดาลไม่มีน้ำ 94 แห่ง
2) ระบบผลิตไม่สมบูรณ์ (กำลังผลิตไม่เพียงพอ) 344 แห่ง
3) ระบบผลิตชำรุด 274 แห่ง
4) การบริหารงานและอื่น ๆ 63 แห่งเพื่อเตรียมการรับภาวะภัยแล้งปี 2541 กระทรวงมหาดไทยได้เร่งรัดให้ดำเนินการแก้ไขซ่อมแซมให้ระบบประปาหมู่บ้านใช้การได้ให้มากที่สุด
1.3 ถังเก็บน้ำฝน จำนวนทั้งสิ้น 11,182 แห่ง จากผลการสำรวจจนถึงปัจจุบันพบเสียหาย 41 แห่ง เร่งดำเนินการซ่อมแซมแล้วเสร็จ 13 แห่ง คาดว่าจะทำการสำรวจและซ่อมแซมแล้ว
2. การประปาส่วนภูมิภาค
การประปาส่วนภูมิภาคได้สำรวจสำนักงานประปาจำนวน 224 แห่ง ใน 73 จังหวัดทั่วประเทศ พบว่ามีสำนักการประปาทั้งสิ้น 126 แห่ง จะประสบปัญหาน้ำดิบขาดแคลนในช่วงฤดูแล้งนี้ จึงได้เตรียมการแก้ไขปัญหาดังกล่าวออกเป็น 2 ระยะ คือ
การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าระยะสั้น ใช้งบประมาณ 60.08 ล้านบาท จากเงินรายได้ของการประปาส่วน-ภูมิภาคเอง เพื่อแก้ไขปัญหาให้สามารถสำรองน้ำประปาให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ เพื่อให้มีน้ำประปาพอเพียงที่จะนำไปแจกจ่ายบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนผู้ประสบปัญหาภัยแล้งและขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค
การแก้ไขปัญหาระยะกลาง/ระยะยาว ใช้งบประมาณ 837.47 ล้านบาท เพื่อก่อสร้างปรับปรุงขยายระบบผลิตและจำหน่ายน้ำ ให้สามารถให้บริการน้ำประปาได้อย่างทั่วถึงและพอเพียง ทั้งนี้ ไม่รวมการก่อสร้างปรับปรุงกิจการประปาตามแผนวิสาหกิจของการประปาส่วนภูมิภาคซึ่งต้องใช้เงินลงทุนหลายหมื่นล้านบาท
3. กรมอนามัย (กระทรวงสาธารณสุข)
3.1 การบำรุงรักษาซ่อมแซมระบบประปาหมู่บ้าน
- ประปาหมู่บ้านที่ก่อสร้างโดยกรมอนามัยมีการบริหารจัดการด้วยระบบกองทุน โดยมีคณะกรรมการบริหารกิจการประปาหมู่บ้านเป็นผู้บริหาร หากระบบประปาเกิดการชำรุดเสียหายหรือใช้การไม่ได้ก็จะนำเงินจากกองทุนมาซ่อมแซมให้สามารถใช้การได้ ซึ่งระบบประปาหมู่บ้านแต่ละแห่งจะมีผู้ดูแลคอยตรวจสอบดูแลให้ระบบสามารถใช้การได้โดยตลอด
- หากระบบประปาหมู่บ้านที่กล่าวมาข้างต้นเกิดการชำรุดเสียหายและใช้การไม่ได้เนื่องจากที่ได้ก่อสร้างไว้เดิมบางส่วนโครงสร้างชำรุดเสียหายเนื่องจากอายุการใช้งานบางส่วนจำเป็นต้องขยายเขตบริการจ่ายน้ำมากขึ้น เนื่องจากประชากรในหมู่บ้านมีมากขึ้น และบางส่วนเดิมท่อเมนจ่ายน้ำน้อยเนื่องจากมีข้อจำกัดด้านงบประมาณ กรมอนามัยก็จะจัดเข้าโครงการปรับปรุงและขยายประปาหมู่บ้านเดิม ในปี 2541 มีเป้าหมาย 180 แห่ง ดำเนินการได้ 7 แห่ง
3.2 การซ่อมแซมบ่อบาดาล
จำนวนบ่อบาดาลตั้งแต่เริ่มดำเนินการจนถึงปัจจุบัน จำนวน 26,421 บ่อ มีเป้าหมายที่จะเจาะในปี 2541 จำนวน 1,000 บ่อ การซ่อมแซมบ่อบาดาลตามมติคณะรัฐมนตรีมอบหมายให้หน่วยงาน รพช. เป็นผู้ดำเนินการทั้งหมด
3.3 การซ่อมบำรุง ฝ.99 (ถังน้ำฝน/ธนาคารน้ำ)
จำนวน ฝ.99 ของกรมอนามัยตั้งแต่เริ่มดำเนินการจนถึงปัจจุบัน จำนวน 2,462 แห่ง มีเป้าหมายก่อสร้างปี 2541 จำนวน 500 แห่ง การบำรุงรักษาหลังจากก่อสร้าง ฝ.99 เสร็จเรียบร้อย กรมอนามัยมีการอบรมผู้ดูแลให้รู้จักวิธีการบำรุงรักษา ขณะนี้มิได้มีการติดตามในเรื่องนี้ เนื่องจากยังไม่มีงบประมาณ ซึ่งกรมอนามัยจะดำเนินการขอตั้งงบประมาณเพื่อดำเนินการในปี 2542 แต่กรมอนามัยเคยทำหนังสือแจ้งให้จังหวัด และศูนย์อนามัยสิ่งแวดล้อมเขต (ศว.เขต) ตรวจสอบเพื่อซ่อมแซมเกี่ยวกับภาชนะเก็บกักน้ำทุกชนิดเพื่อเตรียมการรับภัยแล้ง ตามที่กระทรวงมหาดไทยเคยแจ้งขอความร่วมมือมา
3.4 การพัฒนาเป่าล้างบ่อบาดาลเดิม ในปี 2541
มีเป้าหมายดำเนินการ จำนวน 900 บ่อ ขณะนี้ได้รับรายงานจาก ศว.เขต ต่าง ๆ ว่าได้ดำเนินการแล้วจำนวน 1 แห่ง (เนื่องจากกรมอนามัยเพิ่งได้รับงบประมาณไตรมาส 2)
3.5 การบำรุงรักษา ปรับปรุงบ่อน้ำตื้น ในปี 2541
มีเป้าหมายดำเนินการ จำนวน 1,500 บ่อ ขณะนี้ยังไม่ได้รับรายงานจาก ศว.เขต (เนื่องจากกรมอนามัยเพิ่งได้รับงบประมาณไตรมาส 2)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2541--
คณะรัฐมนตรีรับทราบการดำเนินการของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในการเตรียมการรับภาวะภัยแล้งปี 2541 ดังนี้
1. กรมโยธาธิการ (กระทรวงมหาดไทย)
ภารกิจของกรมโยธาธิการมี ดังนี้
1.1 บ่อบาดาล ในความรับผิดชอบของกรมโยธาธิการที่ใช้การได้มีจำนวนทั้งสิ้น 36,947 บ่อ มีแผนการ บำรุงรักษาประจำปีดำเนินการโดยหน่วยงานชุดบำรุงรักษา 40 หน่วย เพื่อเตรียมรับสภาวะภัยแล้ง เร่งรัดให้ทุกหน่วยปฏิบัติงานบำรุงรักษาได้ถึงหน่วยละ 250 บ่อ/เดือน จนถึงสิ้นเดือนมกราคม 2541 ได้เข้าทำการตรวจบำรุงรักษาและซ่อมแซม (ถ้ามีกรณีชำรุด)เสร็จสิ้นไปแล้ว 4,421 บ่อ ตามแผนการบำรุงรักษา (เร่งรัด) คาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จครบทุกบ่อในเดือนพฤษภาคม 2541
อนึ่ง ในส่วนงานเจาะบ่อน้ำบาดาลปี 2541 ได้ปรับแผนงานให้เข้าปฏิบัติในพื้นที่ประสบภัยแล้ง พร้อมทั้งเจาะบ่อทดแทนให้กับระบบประปาหมู่บ้านในพื้นที่ประสบภัยแล้ง ตามแผนงานที่ปรับใหม่คาดว่าจนถึงเดือนพฤษภาคมจะสามารถเจาะบ่อบาดาลได้จำนวนรวม 750 บ่อ (ผลการดำเนินงานจนถึงปัจจุบันดำเนินการไปแล้ว 210 บ่อ)
1.2 ระบบประปาหมู่บ้าน จากการสำรวจระบบน้ำสะอาดหมู่บ้านของกรมโยธาธิการจำนวนทั้งสิ้น 9,929 แห่งพบว่าไม่สามารถใช้งานได้ 775 แห่ง จำแนกตามสาเหตุได้ ดังนี้
1) บ่อบาดาลไม่มีน้ำ 94 แห่ง
2) ระบบผลิตไม่สมบูรณ์ (กำลังผลิตไม่เพียงพอ) 344 แห่ง
3) ระบบผลิตชำรุด 274 แห่ง
4) การบริหารงานและอื่น ๆ 63 แห่งเพื่อเตรียมการรับภาวะภัยแล้งปี 2541 กระทรวงมหาดไทยได้เร่งรัดให้ดำเนินการแก้ไขซ่อมแซมให้ระบบประปาหมู่บ้านใช้การได้ให้มากที่สุด
1.3 ถังเก็บน้ำฝน จำนวนทั้งสิ้น 11,182 แห่ง จากผลการสำรวจจนถึงปัจจุบันพบเสียหาย 41 แห่ง เร่งดำเนินการซ่อมแซมแล้วเสร็จ 13 แห่ง คาดว่าจะทำการสำรวจและซ่อมแซมแล้ว
2. การประปาส่วนภูมิภาค
การประปาส่วนภูมิภาคได้สำรวจสำนักงานประปาจำนวน 224 แห่ง ใน 73 จังหวัดทั่วประเทศ พบว่ามีสำนักการประปาทั้งสิ้น 126 แห่ง จะประสบปัญหาน้ำดิบขาดแคลนในช่วงฤดูแล้งนี้ จึงได้เตรียมการแก้ไขปัญหาดังกล่าวออกเป็น 2 ระยะ คือ
การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าระยะสั้น ใช้งบประมาณ 60.08 ล้านบาท จากเงินรายได้ของการประปาส่วน-ภูมิภาคเอง เพื่อแก้ไขปัญหาให้สามารถสำรองน้ำประปาให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ เพื่อให้มีน้ำประปาพอเพียงที่จะนำไปแจกจ่ายบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนผู้ประสบปัญหาภัยแล้งและขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค
การแก้ไขปัญหาระยะกลาง/ระยะยาว ใช้งบประมาณ 837.47 ล้านบาท เพื่อก่อสร้างปรับปรุงขยายระบบผลิตและจำหน่ายน้ำ ให้สามารถให้บริการน้ำประปาได้อย่างทั่วถึงและพอเพียง ทั้งนี้ ไม่รวมการก่อสร้างปรับปรุงกิจการประปาตามแผนวิสาหกิจของการประปาส่วนภูมิภาคซึ่งต้องใช้เงินลงทุนหลายหมื่นล้านบาท
3. กรมอนามัย (กระทรวงสาธารณสุข)
3.1 การบำรุงรักษาซ่อมแซมระบบประปาหมู่บ้าน
- ประปาหมู่บ้านที่ก่อสร้างโดยกรมอนามัยมีการบริหารจัดการด้วยระบบกองทุน โดยมีคณะกรรมการบริหารกิจการประปาหมู่บ้านเป็นผู้บริหาร หากระบบประปาเกิดการชำรุดเสียหายหรือใช้การไม่ได้ก็จะนำเงินจากกองทุนมาซ่อมแซมให้สามารถใช้การได้ ซึ่งระบบประปาหมู่บ้านแต่ละแห่งจะมีผู้ดูแลคอยตรวจสอบดูแลให้ระบบสามารถใช้การได้โดยตลอด
- หากระบบประปาหมู่บ้านที่กล่าวมาข้างต้นเกิดการชำรุดเสียหายและใช้การไม่ได้เนื่องจากที่ได้ก่อสร้างไว้เดิมบางส่วนโครงสร้างชำรุดเสียหายเนื่องจากอายุการใช้งานบางส่วนจำเป็นต้องขยายเขตบริการจ่ายน้ำมากขึ้น เนื่องจากประชากรในหมู่บ้านมีมากขึ้น และบางส่วนเดิมท่อเมนจ่ายน้ำน้อยเนื่องจากมีข้อจำกัดด้านงบประมาณ กรมอนามัยก็จะจัดเข้าโครงการปรับปรุงและขยายประปาหมู่บ้านเดิม ในปี 2541 มีเป้าหมาย 180 แห่ง ดำเนินการได้ 7 แห่ง
3.2 การซ่อมแซมบ่อบาดาล
จำนวนบ่อบาดาลตั้งแต่เริ่มดำเนินการจนถึงปัจจุบัน จำนวน 26,421 บ่อ มีเป้าหมายที่จะเจาะในปี 2541 จำนวน 1,000 บ่อ การซ่อมแซมบ่อบาดาลตามมติคณะรัฐมนตรีมอบหมายให้หน่วยงาน รพช. เป็นผู้ดำเนินการทั้งหมด
3.3 การซ่อมบำรุง ฝ.99 (ถังน้ำฝน/ธนาคารน้ำ)
จำนวน ฝ.99 ของกรมอนามัยตั้งแต่เริ่มดำเนินการจนถึงปัจจุบัน จำนวน 2,462 แห่ง มีเป้าหมายก่อสร้างปี 2541 จำนวน 500 แห่ง การบำรุงรักษาหลังจากก่อสร้าง ฝ.99 เสร็จเรียบร้อย กรมอนามัยมีการอบรมผู้ดูแลให้รู้จักวิธีการบำรุงรักษา ขณะนี้มิได้มีการติดตามในเรื่องนี้ เนื่องจากยังไม่มีงบประมาณ ซึ่งกรมอนามัยจะดำเนินการขอตั้งงบประมาณเพื่อดำเนินการในปี 2542 แต่กรมอนามัยเคยทำหนังสือแจ้งให้จังหวัด และศูนย์อนามัยสิ่งแวดล้อมเขต (ศว.เขต) ตรวจสอบเพื่อซ่อมแซมเกี่ยวกับภาชนะเก็บกักน้ำทุกชนิดเพื่อเตรียมการรับภัยแล้ง ตามที่กระทรวงมหาดไทยเคยแจ้งขอความร่วมมือมา
3.4 การพัฒนาเป่าล้างบ่อบาดาลเดิม ในปี 2541
มีเป้าหมายดำเนินการ จำนวน 900 บ่อ ขณะนี้ได้รับรายงานจาก ศว.เขต ต่าง ๆ ว่าได้ดำเนินการแล้วจำนวน 1 แห่ง (เนื่องจากกรมอนามัยเพิ่งได้รับงบประมาณไตรมาส 2)
3.5 การบำรุงรักษา ปรับปรุงบ่อน้ำตื้น ในปี 2541
มีเป้าหมายดำเนินการ จำนวน 1,500 บ่อ ขณะนี้ยังไม่ได้รับรายงานจาก ศว.เขต (เนื่องจากกรมอนามัยเพิ่งได้รับงบประมาณไตรมาส 2)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2541--