ทำเนียบรัฐบาล--10 ส.ค.--บิสนิวส์
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบขั้นตอนการพิจารณาโครงการพัฒนาที่จะขอใช้เงินกู้ต่างประเทศ ตามระเบียบการก่อหนี้ต่างประเทศ พ.ศ. 2528 ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ และเห็นชอบให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจทุกแห่งถือปฏิบัติตามระเบียบกรก่อหนี้ของประเทศ พ.ศ. 2528 และขั้นตอนการพิจารณาโครงการโดยเคร่งครัด ทั้งนี้ เนื่องจากในระยะที่ผ่านมาการเสนอโครงการพัฒนาที่จะขอใช้เงินกู้ต่างประเทศมาดำเนินการของกระทรวงทบวง กรม และรัฐวิสาหกิจบางแห่ง ได้มีการติดต่อประสานงานและทำความตกลงกับแหล่งเงินกู้ต่างประเทศโดยตรง ซึ่งมิได้เป็นไปตามขั้นตอนและระเบียบปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง และบางครั้งอาจเกิดปัญหาความสับสนขึ้นได้
สำหรับสาระสำคัญของขั้นตอนการพิจารณาโครงการพัฒนาที่จะขอใช้เงินกู้ต่างประเทศมี ดังนี้
1. ตามขั้นตอนของระเบียบการก่อหนี้ของประเทศ พ.ศ. 2528 กระทรวงการคลัง โดยคณะกรรมการนโยบายหนี้ของประเทศ จะเป็นผู้กำหนดเพดานเงินกู้ต่างประเทศในแต่ละปีงบประมาณ และจัดทำแผนการก่อหนี้จากต่างประเทศให้สอดคล้องกัน โดยในปีงบประมาณ 2542 ได้กำหนดเพดานเงินกู้ต่างประเทศไว้ จำนวน 7,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ทั้งนี้ สำหรับในปีงบประมาณ 2543 คาดว่าจะยังคงเพดานเงินกู้ต่างประเทศไว้ในระดับใกล้เคียงกัน
2. โครงการพัฒนาที่จะได้รับการพิจารณาให้บรรจุไว้ในแผนการก่อหนี้จากต่างประเทศดังกล่าวนั้น ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจเจ้าของโครงการจะต้องจัดทำรายละเอียดโครงการตามแนวทางและหลักเกณฑ์ที่กำหนด เพื่อให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติวิเคราะห์เสนอความเห็นต่อคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติพิจารณา ก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ
3. สำหรับโครงการพัฒนาใดที่อยู่ในข่ายต้องจัดทำรายงานการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 นั้น คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้เคยมีมติว่าส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจเจ้าของโครงการจะต้องจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเสนอคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติพิจารณาเห็นชอบก่อนนำเสนอให้คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติพิจารณา
4. หากเป็นโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ที่มีผลกระทบต่อประชาชนในวงกว้าง ให้ดำเนินการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 9 สิงหาคม 2542--
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบขั้นตอนการพิจารณาโครงการพัฒนาที่จะขอใช้เงินกู้ต่างประเทศ ตามระเบียบการก่อหนี้ต่างประเทศ พ.ศ. 2528 ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ และเห็นชอบให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจทุกแห่งถือปฏิบัติตามระเบียบกรก่อหนี้ของประเทศ พ.ศ. 2528 และขั้นตอนการพิจารณาโครงการโดยเคร่งครัด ทั้งนี้ เนื่องจากในระยะที่ผ่านมาการเสนอโครงการพัฒนาที่จะขอใช้เงินกู้ต่างประเทศมาดำเนินการของกระทรวงทบวง กรม และรัฐวิสาหกิจบางแห่ง ได้มีการติดต่อประสานงานและทำความตกลงกับแหล่งเงินกู้ต่างประเทศโดยตรง ซึ่งมิได้เป็นไปตามขั้นตอนและระเบียบปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง และบางครั้งอาจเกิดปัญหาความสับสนขึ้นได้
สำหรับสาระสำคัญของขั้นตอนการพิจารณาโครงการพัฒนาที่จะขอใช้เงินกู้ต่างประเทศมี ดังนี้
1. ตามขั้นตอนของระเบียบการก่อหนี้ของประเทศ พ.ศ. 2528 กระทรวงการคลัง โดยคณะกรรมการนโยบายหนี้ของประเทศ จะเป็นผู้กำหนดเพดานเงินกู้ต่างประเทศในแต่ละปีงบประมาณ และจัดทำแผนการก่อหนี้จากต่างประเทศให้สอดคล้องกัน โดยในปีงบประมาณ 2542 ได้กำหนดเพดานเงินกู้ต่างประเทศไว้ จำนวน 7,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ทั้งนี้ สำหรับในปีงบประมาณ 2543 คาดว่าจะยังคงเพดานเงินกู้ต่างประเทศไว้ในระดับใกล้เคียงกัน
2. โครงการพัฒนาที่จะได้รับการพิจารณาให้บรรจุไว้ในแผนการก่อหนี้จากต่างประเทศดังกล่าวนั้น ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจเจ้าของโครงการจะต้องจัดทำรายละเอียดโครงการตามแนวทางและหลักเกณฑ์ที่กำหนด เพื่อให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติวิเคราะห์เสนอความเห็นต่อคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติพิจารณา ก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ
3. สำหรับโครงการพัฒนาใดที่อยู่ในข่ายต้องจัดทำรายงานการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 นั้น คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้เคยมีมติว่าส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจเจ้าของโครงการจะต้องจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเสนอคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติพิจารณาเห็นชอบก่อนนำเสนอให้คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติพิจารณา
4. หากเป็นโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ที่มีผลกระทบต่อประชาชนในวงกว้าง ให้ดำเนินการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 9 สิงหาคม 2542--