ทำเนียบรัฐบาล--8 เม.ย.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติร่างกฎกระทรวง 2 ฉบับ ตามข้อเสนอของกระทรวงยุติธรรม ดังนี้
1. ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการ พ.ศ. 2521 (เทียบตำแหน่ง) เป็นการกำหนดให้มีตำแหน่งข้าราชการตุลากาารที่เรียกชื่ออย่างอื่นในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ โดยเทียบตำแหน่งดังกล่าวกับตำแหน่งข้าราชการตุลาการตามมาตรา 14 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการ พ.ศ. 2521 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2536 เพื่อกำหนดตำแหน่งที่ต้องปฏิบัติงานในศาลชำนัญพิเศษ ซึ่งการแต่งตั้งโยกย้ายผู้พิพากษาในศาลชำนัญพิเศษนี้ต้องเอื้ออำนวยให้ผู้พิพากษาเหล่านี้มีโอกาสปฏิบัติงานในศาลชำนัญพิเศษได้อย่างต่อเนื่องและเป็นระยะเวลานานพอสมควร เพื่อเสริมสร้างประสิทธิ-ภาพและความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
1.1 ตำแหน่งเลขานุการศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางเทียบกับตำแหน่งผู้พิพากษาศาลจังหวัด
1.2 ตำแหน่งผู้พิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางเทียบกับตำแหน่งผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์
1.3 ตำแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางเทียบกับตำแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์
1.4 ตำแหน่งรองอธิบดีผู้พิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางเทียบกับตำแหน่งผู้พิพากษาศาลฎีกา
1.5 ตำแหน่งอธิบดีผู้พิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางเทียบกับตำแหน่งผู้พิพากษาศาลชั้นต้น
2. ร่างกฎกระทรวง (พ.ศ. ....) ออกตามความในพระราช-บัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่งประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 (หลักเกณธ์และวิธีการคัดเลือก การอบรม รวมทั้งกำหนดโรคต้องห้ามสำหรับผู้ที่จะมาทำหน้าที่เป็นผู้พิพากษาสมทบ) เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ในการสรรหาผู้พิพากษาสมทบที่มีความรู้ความสามารถในด้านทรัพย์สินทางปัญญาหรือการค้าระหว่างประเทศร่วมพิจารณาพิพากษาคดีทรัพย์สินทางปัญญา หรือการค้าระหว่างประเทศให้เป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
2.1 หลัเกณฑ์และวิธีการในการคัดเลือกตัวบุคคลที่จะดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาสมทบในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ
2.2 หลักเกณฑ์และวิธีการอบรมในเรื่องความมุ่งหมายของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ และหน้าที่ตุลาการให้แก่บุคคลผู้ซึ่งจะได้รับคัดเลือกให้ได้รับพระราชกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นผู้พิพากษาสมทบในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ
2.3 โรคต้องห้ามสำหรับผู้ที่จะมาทำหน้าที่เป็นผู้พิพากษาสมทบ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ)--วันที่ 8 เมษายน 2540--
คณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติร่างกฎกระทรวง 2 ฉบับ ตามข้อเสนอของกระทรวงยุติธรรม ดังนี้
1. ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการ พ.ศ. 2521 (เทียบตำแหน่ง) เป็นการกำหนดให้มีตำแหน่งข้าราชการตุลากาารที่เรียกชื่ออย่างอื่นในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ โดยเทียบตำแหน่งดังกล่าวกับตำแหน่งข้าราชการตุลาการตามมาตรา 14 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการ พ.ศ. 2521 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2536 เพื่อกำหนดตำแหน่งที่ต้องปฏิบัติงานในศาลชำนัญพิเศษ ซึ่งการแต่งตั้งโยกย้ายผู้พิพากษาในศาลชำนัญพิเศษนี้ต้องเอื้ออำนวยให้ผู้พิพากษาเหล่านี้มีโอกาสปฏิบัติงานในศาลชำนัญพิเศษได้อย่างต่อเนื่องและเป็นระยะเวลานานพอสมควร เพื่อเสริมสร้างประสิทธิ-ภาพและความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
1.1 ตำแหน่งเลขานุการศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางเทียบกับตำแหน่งผู้พิพากษาศาลจังหวัด
1.2 ตำแหน่งผู้พิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางเทียบกับตำแหน่งผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์
1.3 ตำแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางเทียบกับตำแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์
1.4 ตำแหน่งรองอธิบดีผู้พิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางเทียบกับตำแหน่งผู้พิพากษาศาลฎีกา
1.5 ตำแหน่งอธิบดีผู้พิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางเทียบกับตำแหน่งผู้พิพากษาศาลชั้นต้น
2. ร่างกฎกระทรวง (พ.ศ. ....) ออกตามความในพระราช-บัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่งประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 (หลักเกณธ์และวิธีการคัดเลือก การอบรม รวมทั้งกำหนดโรคต้องห้ามสำหรับผู้ที่จะมาทำหน้าที่เป็นผู้พิพากษาสมทบ) เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ในการสรรหาผู้พิพากษาสมทบที่มีความรู้ความสามารถในด้านทรัพย์สินทางปัญญาหรือการค้าระหว่างประเทศร่วมพิจารณาพิพากษาคดีทรัพย์สินทางปัญญา หรือการค้าระหว่างประเทศให้เป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
2.1 หลัเกณฑ์และวิธีการในการคัดเลือกตัวบุคคลที่จะดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาสมทบในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ
2.2 หลักเกณฑ์และวิธีการอบรมในเรื่องความมุ่งหมายของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ และหน้าที่ตุลาการให้แก่บุคคลผู้ซึ่งจะได้รับคัดเลือกให้ได้รับพระราชกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นผู้พิพากษาสมทบในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ
2.3 โรคต้องห้ามสำหรับผู้ที่จะมาทำหน้าที่เป็นผู้พิพากษาสมทบ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ)--วันที่ 8 เมษายน 2540--