ทำเนียบรัฐบาล--3 ส.ค.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานการแก้ไขปัญหาคอมพิวเตอร์ ปี ค.ศ.2000 ของหน่วยงานภาครัฐ ตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี) ในฐานะประธานคณะกรรมการประสานงานการแก้ไขปัญหาคอมพิวเตอร์ปี ค.ศ.2000 เสนอ สรุปได้ดังนี้
1. แม้หน่วยงานที่มีระบบคอมพิวเตอร์ที่มีความสำคัญยิ่งยวดจะได้เร่งรัดดำเนินการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ เสร็จสิ้นแล้วเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็ยังมีหน่วยงานอื่น ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนที่ยังอยู่ในขั้นตอนของการแก้ไขปัญหาที่มีระดับความก้าวหน้าที่แตกต่างกันค่อนข้างมาก ทำให้ภาพรวมของการแก้ไขปัญหาฯ ยังมีความน่าเป็นห่วงอยู่พอสมควร ซึ่งทุกหน่วยงานจะต้องรับผิดชอบและเร่งรัดผลักดันให้กระบวนการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้ ก้าวหน้าต่อไปได้อย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
2. ความพร้อมต่อปัญหา Y2K ของประเทศต่างๆ เริ่มเป็นตัวชี้วัดที่สำคัญต่อความเชื่อมั่นของประเทศในสายตาของต่างประเทศ ประเทศไทยจึงจำเป็นต้องทำทุกวิถีทางที่จะทำให้ความเชื่อมั่นเช่นนั้นคงอยู่ได้ในระดับที่ดี ซึ่งหน่วยงานระดับกระทรวงน่าจะต้องมีบทบาทมากยิ่งขึ้น อาทิ บทบาทระหว่างประเทศของกระทรวงการต่างประเทศ และกระทรวงพาณิชย์ บทบาทการประชาสัมพันธ์ทั้งในและต่างประเทศของสำนักนายกรัฐมนตรี บทบาทการติดตามและเร่งรัดการแก้ไขปัญหา Y2K ในภาคเอกชนขนาดกลางและขนาดเล็กของ กระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงพาณิชย์ เป็นต้น
3. กระบวนการพิจารณางบประมาณเพื่อการแก้ปัญหา Y2K น่าจะถือเป็นกระบวนการพิจารณาในรูปแบบพิเศษ รวมทั้งกระบวนการบริหารงบประมาณเพื่อการนี้ เพราะเชื่อว่าการใช้จ่ายงบประมาณเพื่อการนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเป็นโครงการที่มีมูลค่าสูง และต้องใช้สินค้าหรือบริการจากต่างประเทศแล้ว อาจไม่สามารถจัดหาได้ทันเวลา
ทั้งนี้ รายงานความก้าวหน้าฯ ดังกล่าวเป็นประเด็นที่รัฐบาลควรจะได้รับทราบรายงานการวัดที่ชัดเจนจากทุกหน่วยงานที่รับผิดชอบ เพื่อให้เกิดความพร้อมรับและเชื่อมั่นต่อการแก้ไขปัญหา Y2K ของประเทศไทยว่าจะอยู่ในระดับสูงสุดเท่าที่จะเป็นไปได้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 3 สิงหาคม 2542--
คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานการแก้ไขปัญหาคอมพิวเตอร์ ปี ค.ศ.2000 ของหน่วยงานภาครัฐ ตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี) ในฐานะประธานคณะกรรมการประสานงานการแก้ไขปัญหาคอมพิวเตอร์ปี ค.ศ.2000 เสนอ สรุปได้ดังนี้
1. แม้หน่วยงานที่มีระบบคอมพิวเตอร์ที่มีความสำคัญยิ่งยวดจะได้เร่งรัดดำเนินการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ เสร็จสิ้นแล้วเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็ยังมีหน่วยงานอื่น ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนที่ยังอยู่ในขั้นตอนของการแก้ไขปัญหาที่มีระดับความก้าวหน้าที่แตกต่างกันค่อนข้างมาก ทำให้ภาพรวมของการแก้ไขปัญหาฯ ยังมีความน่าเป็นห่วงอยู่พอสมควร ซึ่งทุกหน่วยงานจะต้องรับผิดชอบและเร่งรัดผลักดันให้กระบวนการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้ ก้าวหน้าต่อไปได้อย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
2. ความพร้อมต่อปัญหา Y2K ของประเทศต่างๆ เริ่มเป็นตัวชี้วัดที่สำคัญต่อความเชื่อมั่นของประเทศในสายตาของต่างประเทศ ประเทศไทยจึงจำเป็นต้องทำทุกวิถีทางที่จะทำให้ความเชื่อมั่นเช่นนั้นคงอยู่ได้ในระดับที่ดี ซึ่งหน่วยงานระดับกระทรวงน่าจะต้องมีบทบาทมากยิ่งขึ้น อาทิ บทบาทระหว่างประเทศของกระทรวงการต่างประเทศ และกระทรวงพาณิชย์ บทบาทการประชาสัมพันธ์ทั้งในและต่างประเทศของสำนักนายกรัฐมนตรี บทบาทการติดตามและเร่งรัดการแก้ไขปัญหา Y2K ในภาคเอกชนขนาดกลางและขนาดเล็กของ กระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงพาณิชย์ เป็นต้น
3. กระบวนการพิจารณางบประมาณเพื่อการแก้ปัญหา Y2K น่าจะถือเป็นกระบวนการพิจารณาในรูปแบบพิเศษ รวมทั้งกระบวนการบริหารงบประมาณเพื่อการนี้ เพราะเชื่อว่าการใช้จ่ายงบประมาณเพื่อการนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเป็นโครงการที่มีมูลค่าสูง และต้องใช้สินค้าหรือบริการจากต่างประเทศแล้ว อาจไม่สามารถจัดหาได้ทันเวลา
ทั้งนี้ รายงานความก้าวหน้าฯ ดังกล่าวเป็นประเด็นที่รัฐบาลควรจะได้รับทราบรายงานการวัดที่ชัดเจนจากทุกหน่วยงานที่รับผิดชอบ เพื่อให้เกิดความพร้อมรับและเชื่อมั่นต่อการแก้ไขปัญหา Y2K ของประเทศไทยว่าจะอยู่ในระดับสูงสุดเท่าที่จะเป็นไปได้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 3 สิงหาคม 2542--