ทำเนียบรัฐบาล--15 ต.ค.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีพิจารณามาตรการเร่งด่วนในการแก้ไขปัญหาขาดแคลนครู - อาจารย์วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ตามที่คณะกรรมการพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ เสนอ แล้วมีมติ ดังนี้
1. ให้ความเห็นชอบในหลักการ มาตรการเร่งด่วนในการแก้ไขปัญหาขาดแคลน ครู - อาจารย์วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ เพื่อเป็นแนวทางในการเพิ่ม ครู - อาจารย์วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ให้เพียงพอทั้งในแง่ปริมาณและคุณภาพ และเพื่อวางรากฐานระบบการเรียนการสอนที่ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ให้ ชัดเจนขึ้นกว่าเดิม โดยรวมทุกระดับ ทั้งระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา อาชีวศึกษา และอุดม ศึกษา ตลอดจนเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติทั้งเชิงรุกและเชิงแก้ปัญหาทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
2. ให้ความเห็นชอบในเรื่องเป้าหมายทั้งระยะสั้นและระยะยาว แนวนโยบาย แนวทาง ปฏิบัติและหน่วยงานรับผิดชอบ สรุปได้ดังนี้
2.1 เป้าหมายระยะสั้น
มีครูเพียงพอที่จะผลิตช่างเทคนิค นักวิทยาศาสตร์และวิศวกรตามความต้องการตามแผนพัฒนาฯฉบับที่ 8
1) จะผลิตนักวิทยาศาสตร์ให้ได้ประมาณ 13,000 คน ในปี 2544 ซึ่งต้องขึ้นอยู่กับเงื่อนไขคือ เพิ่มอาจารย์วิทยาศาสตร์ไม่ต่ำกว่า 650 คนต่อปี
2) จะผลิตวิศวกรให้ได้ประมาณ 27,000 คน ในปี 2544 โดยมีเงื่อนไขคือ เพิ่ม อาจารย์วิศวกรรม-ศาสตร์ไม่ต่ำกว่า 700 คนต่อปี
3) จะผลิตช่างเทคนิคประมาณ 88,400 คน ในปี 2544 โดยมีเงื่อนไขคือ เพิ่ม ครู - อาจารย์ช่างเทคนิคไม่ต่ำกว่า 350 คนต่อปี
มีการผลิตครูวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาที่มีคุณภาพในอนาคต
4) เป้าหมายว่าเมื่อถึงปี 2549 จะผลิตครูวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ให้ได้ประมาณ 8,000 คนโดยมีเงื่อนไขคือ เพิ่มการผลิตให้ได้ไม่ต่ำกว่าปีละ 800 คนมีการพัฒนาครูอย่างจริงจัง
5) จะต้องพัฒนาครูทุกระดับอย่างต่อเนื่อง
2.2 เป้าหมายเพื่อผลระยะยาว
หากต้องการเร่งการเพิ่มสมรรถนะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมถึงการมีจำนวนนักวิทยาศาสตร์และนักเทคโนโลยีให้มีสัดส่วนสูงขึ้น เมื่อเทียบกับกำลังคนในวัย ทำงานแล้ว ต้องเพิ่มการผลิตครู - อาจารย์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (รวมครูคณิตศาสตร์) ให้เพียงพอทั้งในระดับประถม ศึกษา มัธยมศึกษา อาชีวศึกษา และอุดมศึกษา
อนึ่ง เป้าหมายเชิงจำนวนเกี่ยวกับครู - อาจารย์ จะกำหนดได้เมื่อกำหนดสัดส่วนของนักวิทยาศาสตร์และนักเทคโนโลยีต่อแรงงาน
2.3 แนวนโยบายและแนวทางปฏิบัติ
เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติให้บรรลุตามเป้าหมายและเงื่อนไขที่ได้กำหนด ไว้ จึงได้กำหนดให้มีแนวนโยบายทั้งเชิงรุกและเชิงแก้ปัญหาใน 4 ประเด็นสำคัญ ดังนี้
1) นโยบายกลาง คือ ให้มีการเพิ่มการผลิตและพัฒนาครู - อาจารย์วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ
2) นโยบายการสร้างครู - อาจารย์เพื่อเข้าระบบ เช่น ให้มีทุนการศึกษาที่จูงใจเพิ่มขึ้น
3) นโยบายการรักษาครู - อาจารย์ให้อยู่ในระบบ เช่น ให้มีเงินเดือนและค่าตอบแทนเป็นพิเศษ สำหรับครู - อาจารย์ที่ผ่านการฝึกอบรมและผ่านการประเมินผลอย่างต่อเนื่อง
4) นโยบายการพัฒนาครู - อาจารย์ให้มีประสิทธิภาพ เช่น ส่งเสริมครู - อาจารย์เกษียณที่มีความสามารถพิเศษ เร่งดำเนินการโครงการสมองไหลกลับ ตลอดจนดำเนินการจ้าง ครู - อาจารย์จากต่างประเทศ เพื่อให้ร่วมทำงานและช่วยพัฒนาครูที่มีอยู่
3. ให้ความเห็นชอบในหน่วยงานหลักที่จะเป็น Focal Point ดำเนินการตามแนว นโยบาย และแนวทางปฏิบัติดังรายชื่อหน่วยงานที่คณะกรรมการพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติเสนอ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายบรรหาร ศิลปอาชา)--วันที่ 15 ตุลาคม 2539--
คณะรัฐมนตรีพิจารณามาตรการเร่งด่วนในการแก้ไขปัญหาขาดแคลนครู - อาจารย์วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ตามที่คณะกรรมการพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ เสนอ แล้วมีมติ ดังนี้
1. ให้ความเห็นชอบในหลักการ มาตรการเร่งด่วนในการแก้ไขปัญหาขาดแคลน ครู - อาจารย์วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ เพื่อเป็นแนวทางในการเพิ่ม ครู - อาจารย์วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ให้เพียงพอทั้งในแง่ปริมาณและคุณภาพ และเพื่อวางรากฐานระบบการเรียนการสอนที่ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ให้ ชัดเจนขึ้นกว่าเดิม โดยรวมทุกระดับ ทั้งระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา อาชีวศึกษา และอุดม ศึกษา ตลอดจนเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติทั้งเชิงรุกและเชิงแก้ปัญหาทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
2. ให้ความเห็นชอบในเรื่องเป้าหมายทั้งระยะสั้นและระยะยาว แนวนโยบาย แนวทาง ปฏิบัติและหน่วยงานรับผิดชอบ สรุปได้ดังนี้
2.1 เป้าหมายระยะสั้น
มีครูเพียงพอที่จะผลิตช่างเทคนิค นักวิทยาศาสตร์และวิศวกรตามความต้องการตามแผนพัฒนาฯฉบับที่ 8
1) จะผลิตนักวิทยาศาสตร์ให้ได้ประมาณ 13,000 คน ในปี 2544 ซึ่งต้องขึ้นอยู่กับเงื่อนไขคือ เพิ่มอาจารย์วิทยาศาสตร์ไม่ต่ำกว่า 650 คนต่อปี
2) จะผลิตวิศวกรให้ได้ประมาณ 27,000 คน ในปี 2544 โดยมีเงื่อนไขคือ เพิ่ม อาจารย์วิศวกรรม-ศาสตร์ไม่ต่ำกว่า 700 คนต่อปี
3) จะผลิตช่างเทคนิคประมาณ 88,400 คน ในปี 2544 โดยมีเงื่อนไขคือ เพิ่ม ครู - อาจารย์ช่างเทคนิคไม่ต่ำกว่า 350 คนต่อปี
มีการผลิตครูวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาที่มีคุณภาพในอนาคต
4) เป้าหมายว่าเมื่อถึงปี 2549 จะผลิตครูวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ให้ได้ประมาณ 8,000 คนโดยมีเงื่อนไขคือ เพิ่มการผลิตให้ได้ไม่ต่ำกว่าปีละ 800 คนมีการพัฒนาครูอย่างจริงจัง
5) จะต้องพัฒนาครูทุกระดับอย่างต่อเนื่อง
2.2 เป้าหมายเพื่อผลระยะยาว
หากต้องการเร่งการเพิ่มสมรรถนะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมถึงการมีจำนวนนักวิทยาศาสตร์และนักเทคโนโลยีให้มีสัดส่วนสูงขึ้น เมื่อเทียบกับกำลังคนในวัย ทำงานแล้ว ต้องเพิ่มการผลิตครู - อาจารย์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (รวมครูคณิตศาสตร์) ให้เพียงพอทั้งในระดับประถม ศึกษา มัธยมศึกษา อาชีวศึกษา และอุดมศึกษา
อนึ่ง เป้าหมายเชิงจำนวนเกี่ยวกับครู - อาจารย์ จะกำหนดได้เมื่อกำหนดสัดส่วนของนักวิทยาศาสตร์และนักเทคโนโลยีต่อแรงงาน
2.3 แนวนโยบายและแนวทางปฏิบัติ
เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติให้บรรลุตามเป้าหมายและเงื่อนไขที่ได้กำหนด ไว้ จึงได้กำหนดให้มีแนวนโยบายทั้งเชิงรุกและเชิงแก้ปัญหาใน 4 ประเด็นสำคัญ ดังนี้
1) นโยบายกลาง คือ ให้มีการเพิ่มการผลิตและพัฒนาครู - อาจารย์วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ
2) นโยบายการสร้างครู - อาจารย์เพื่อเข้าระบบ เช่น ให้มีทุนการศึกษาที่จูงใจเพิ่มขึ้น
3) นโยบายการรักษาครู - อาจารย์ให้อยู่ในระบบ เช่น ให้มีเงินเดือนและค่าตอบแทนเป็นพิเศษ สำหรับครู - อาจารย์ที่ผ่านการฝึกอบรมและผ่านการประเมินผลอย่างต่อเนื่อง
4) นโยบายการพัฒนาครู - อาจารย์ให้มีประสิทธิภาพ เช่น ส่งเสริมครู - อาจารย์เกษียณที่มีความสามารถพิเศษ เร่งดำเนินการโครงการสมองไหลกลับ ตลอดจนดำเนินการจ้าง ครู - อาจารย์จากต่างประเทศ เพื่อให้ร่วมทำงานและช่วยพัฒนาครูที่มีอยู่
3. ให้ความเห็นชอบในหน่วยงานหลักที่จะเป็น Focal Point ดำเนินการตามแนว นโยบาย และแนวทางปฏิบัติดังรายชื่อหน่วยงานที่คณะกรรมการพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติเสนอ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายบรรหาร ศิลปอาชา)--วันที่ 15 ตุลาคม 2539--