แท็ก
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
ร่างพระราชบัญญัติ
สภาผู้แทนราษฎร
กระทรวงคมนาคม
ทำเนียบรัฐบาล--21 ก.ย.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติทางหลวง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับข้อพิจารณาของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนนำเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป
ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. 2535 ให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ในปัจจุบัน ซึ่งได้ปรับปรุงแก้ไขตามความเห็นของกระทรวงมหาดไทยแล้ว โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. แก้ไขเพิ่มเติมคำว่า "ทางขนาน" และเพิ่มบทนิยามคำว่า "ทางเสริม" "ทางบริการ" และ "ที่พักริมทาง"
2. แก้ไขเพิ่มเติมความหมายของทางหลวงพิเศษให้เหมาะสมกับภาระหน้าที่ยิ่งขึ้น
3. กำหนดให้ผู้อำนวยการทางหลวงหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากผู้อำนวยการทางหลวงมีอำนาจ ดังนี้
3.1 สำรวจ วางแนวทาง และดำเนินการอันเกี่ยวเนื่องเพื่อประโยชน์ในการก่อสร้างทางหลวงในที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ของบุคคลใดได้
3.2 ทำ หรือแก้ทางระบายน้ำที่ไหลผ่านทางหลวงออกจากทางหลวงได้
3.3 กำหนดแนวอาคารให้ห่างจากเขตทางหลวง และวางเงื่อนไขให้ผู้ขออนุญาตสร้างทางเพื่อเป็นทางเข้าออกทางหลวงต้องจัดให้มีอุปกรณ์อำนวยความปลอดภัยต่อการจราจรและคนเดินเท้า
3.4 ห้ามมิให้ผู้ใดหยุด จอดหรือกลับยานพาหนะใด ๆ บนทางจราจรหรือไหล่ทาง และในกรณีจำเป็นเพื่อประโยชน์แก่งานทางอาจกำหนดให้ใช้ไหล่ทางเป็นทางจราจรของยานพาหนะบางประเภทได้ รวมทั้งมีอำนาจเคลื่อนย้ายพาหนะที่หยุดหรือจอดอยู่อันเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัตินี้ได้ 3.5 ดำเนินการติดตั้งป้ายหรือแสดงเครื่องหมายหรือสัญญาณหรือเคลื่อนย้ายยานพาหนะ หรือเครื่องจักรที่ขัดข้องหรือชำรุดให้พ้นทางจราจรหรือไหล่ทาง แทนผู้ขับขี่ เจ้าของหรือผู้ครอบครองยานพาหนะหรือเครื่องจักรนั้น โดยผู้นั้นต้องเสียค่าใช้จ่ายตลอดจนค่าดูแลรักษา
4. ห้ามมิให้ ซื้อ ขาย แจกจ่ายหรือเรี่ยไรในเขตทางหลวงในลักษณะที่เป็นการกีดขวางหรืออาจเป็นอันตรายแก่ยานพาหนะหรือคนเดินเท้า หรือในลักษณะที่จะทำให้เกิดความเสียหายแก่ทางหลวงหรือไม่สะดวกแก่งานทาง หรือในลักษณะที่ไม่เป็นระเบียบเรียบร้อยในเขตทางหลวง
5. กำหนดให้การระบายน้ำในเขตทางหลวงในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทางหลวงจะกระทำมิได้ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากผู้อำนวยการทางหลวงหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากผู้อำนวยการทางหลวง และมีอำนาจเพิกถอนการอนุญาต หรือรื้อถอนหรือปิดกั้นทางระบายน้ำได้ หากปรากฏว่า ผู้ได้รับอนุญาตกระทำผิดเงื่อนไขที่อนุญาต หรือกระทำโดยไม่ได้รับอนุญาต
6. กำหนดให้การปักเสา พาดสาย วางท่อ หรือกระทำการใด ๆ อันเป็นกิจการสาธารณูปโภคในเขตทางหลวงพิเศษให้กระทำได้เฉพาะกิจการที่มีวัตถุประสงค์เพื่องานทางของทางหลวงพิเศษ หรือเป็นการวางสาธารณูปโภคตัดผ่านทางหลวงพิเศษเท่านั้นโดยได้รับอนุญาตจากผู้อำนวยการทางหลวงพิเศษหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากผู้อำนวยการทางหลวงพิเศษ
7. กำหนดให้เจ้าของ หรือผู้ครอบครองยานพาหนะ หรือผู้ประกอบการ ต้องรับผิดเสมือนหนึ่งเป็นผู้กระทำความผิดในกรณีที่มีการใช้ยานพาหนะที่มีน้ำหนัก น้ำหนักบรรทุก หรือน้ำหนักลงเพลาเกินกว่ากำหนดบนทางหลวง เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนไม่มีส่วนรู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิดนั้น
8. กำหนดให้ผู้อำนวยการทางหลวงมีอำนาจอนุญาตให้บุคคลที่เห็นสมควรใช้ท่าเรือ เรือสำหรับขนส่งข้ามฝาก ที่พักริมทางหรือสิ่งก่อสร้างอื่นในเขตทางหลวง ซึ่งจัดไว้เพื่อประโยชน์แก่งานทาง
9. ปรับปรุงบทกำหนดโทษให้เหมาะสมกับความผิดและสภาพของสังคม
10. กำหนดให้ผู้อำนวยการทางหลวงหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากผู้อำนวยการทางหลวงมีอำนาจเปรียบเทียบสำหรับความผิดที่มีโทษปรับสถานเดียว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 21 กันยายน 2542--
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติทางหลวง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับข้อพิจารณาของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนนำเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป
ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. 2535 ให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ในปัจจุบัน ซึ่งได้ปรับปรุงแก้ไขตามความเห็นของกระทรวงมหาดไทยแล้ว โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. แก้ไขเพิ่มเติมคำว่า "ทางขนาน" และเพิ่มบทนิยามคำว่า "ทางเสริม" "ทางบริการ" และ "ที่พักริมทาง"
2. แก้ไขเพิ่มเติมความหมายของทางหลวงพิเศษให้เหมาะสมกับภาระหน้าที่ยิ่งขึ้น
3. กำหนดให้ผู้อำนวยการทางหลวงหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากผู้อำนวยการทางหลวงมีอำนาจ ดังนี้
3.1 สำรวจ วางแนวทาง และดำเนินการอันเกี่ยวเนื่องเพื่อประโยชน์ในการก่อสร้างทางหลวงในที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ของบุคคลใดได้
3.2 ทำ หรือแก้ทางระบายน้ำที่ไหลผ่านทางหลวงออกจากทางหลวงได้
3.3 กำหนดแนวอาคารให้ห่างจากเขตทางหลวง และวางเงื่อนไขให้ผู้ขออนุญาตสร้างทางเพื่อเป็นทางเข้าออกทางหลวงต้องจัดให้มีอุปกรณ์อำนวยความปลอดภัยต่อการจราจรและคนเดินเท้า
3.4 ห้ามมิให้ผู้ใดหยุด จอดหรือกลับยานพาหนะใด ๆ บนทางจราจรหรือไหล่ทาง และในกรณีจำเป็นเพื่อประโยชน์แก่งานทางอาจกำหนดให้ใช้ไหล่ทางเป็นทางจราจรของยานพาหนะบางประเภทได้ รวมทั้งมีอำนาจเคลื่อนย้ายพาหนะที่หยุดหรือจอดอยู่อันเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัตินี้ได้ 3.5 ดำเนินการติดตั้งป้ายหรือแสดงเครื่องหมายหรือสัญญาณหรือเคลื่อนย้ายยานพาหนะ หรือเครื่องจักรที่ขัดข้องหรือชำรุดให้พ้นทางจราจรหรือไหล่ทาง แทนผู้ขับขี่ เจ้าของหรือผู้ครอบครองยานพาหนะหรือเครื่องจักรนั้น โดยผู้นั้นต้องเสียค่าใช้จ่ายตลอดจนค่าดูแลรักษา
4. ห้ามมิให้ ซื้อ ขาย แจกจ่ายหรือเรี่ยไรในเขตทางหลวงในลักษณะที่เป็นการกีดขวางหรืออาจเป็นอันตรายแก่ยานพาหนะหรือคนเดินเท้า หรือในลักษณะที่จะทำให้เกิดความเสียหายแก่ทางหลวงหรือไม่สะดวกแก่งานทาง หรือในลักษณะที่ไม่เป็นระเบียบเรียบร้อยในเขตทางหลวง
5. กำหนดให้การระบายน้ำในเขตทางหลวงในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทางหลวงจะกระทำมิได้ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากผู้อำนวยการทางหลวงหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากผู้อำนวยการทางหลวง และมีอำนาจเพิกถอนการอนุญาต หรือรื้อถอนหรือปิดกั้นทางระบายน้ำได้ หากปรากฏว่า ผู้ได้รับอนุญาตกระทำผิดเงื่อนไขที่อนุญาต หรือกระทำโดยไม่ได้รับอนุญาต
6. กำหนดให้การปักเสา พาดสาย วางท่อ หรือกระทำการใด ๆ อันเป็นกิจการสาธารณูปโภคในเขตทางหลวงพิเศษให้กระทำได้เฉพาะกิจการที่มีวัตถุประสงค์เพื่องานทางของทางหลวงพิเศษ หรือเป็นการวางสาธารณูปโภคตัดผ่านทางหลวงพิเศษเท่านั้นโดยได้รับอนุญาตจากผู้อำนวยการทางหลวงพิเศษหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากผู้อำนวยการทางหลวงพิเศษ
7. กำหนดให้เจ้าของ หรือผู้ครอบครองยานพาหนะ หรือผู้ประกอบการ ต้องรับผิดเสมือนหนึ่งเป็นผู้กระทำความผิดในกรณีที่มีการใช้ยานพาหนะที่มีน้ำหนัก น้ำหนักบรรทุก หรือน้ำหนักลงเพลาเกินกว่ากำหนดบนทางหลวง เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนไม่มีส่วนรู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิดนั้น
8. กำหนดให้ผู้อำนวยการทางหลวงมีอำนาจอนุญาตให้บุคคลที่เห็นสมควรใช้ท่าเรือ เรือสำหรับขนส่งข้ามฝาก ที่พักริมทางหรือสิ่งก่อสร้างอื่นในเขตทางหลวง ซึ่งจัดไว้เพื่อประโยชน์แก่งานทาง
9. ปรับปรุงบทกำหนดโทษให้เหมาะสมกับความผิดและสภาพของสังคม
10. กำหนดให้ผู้อำนวยการทางหลวงหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากผู้อำนวยการทางหลวงมีอำนาจเปรียบเทียบสำหรับความผิดที่มีโทษปรับสถานเดียว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 21 กันยายน 2542--