ทำเนียบรัฐบาล--16 พ.ย.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีพิจารณาร่างพระราชบัญญัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. …. และร่างพระราชกฤษฎีกาโอนจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยไปเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐ ซึ่งไม่เป็นส่วนราชการและไม่เป็นรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. …. ตามที่ทบวงมหาวิทยาลัยเสนอ แล้วมีมติ ดังนี้
1. อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับข้อสังเกตของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องไปพิจารณา แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนนำเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป
2. อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับข้อสังเกตของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีไปพิจารณาประกอบด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ โดยให้มีผลใช้บังคับเป็นกฎหมายพร้อมกับร่างพระราชบัญญัติตามข้อ 1
ร่างพระราชบัญญัติและร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว เป็นการดำเนินการในการปรับเปลี่ยนสถานภาพของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยไปเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐที่ไม่เป็นส่วนราชการ แต่อยู่ในกำกับของรัฐบาลซึ่งจะเป็นผลให้สามารถดำเนินกิจการของมหาวิทยาลัยได้โดยอิสระ สามารถพัฒนาระบบบริหารและการจัดการที่เป็นของตนเอง มีความคล่องตัว มีเสรีภาพทางวิชาการ และอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสภาสถานศึกษาเพื่อการบริการวิชาการจะได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวสอดคล้องกับมติคณะรัฐมนตรีเดิม รวมทั้งสอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และนโยบายของรัฐบาลปัจจุบันที่ต้องการให้มหาวิทยาลัยของรัฐทุกแห่งปรับเปลี่ยนสถานภาพเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐบาลภายในปี 2545
ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. กิจการของมหาวิทยาลัยไม่อยู่ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน กฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ กฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม และกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน แต่ผู้ปฏิบัติงานของมหาวิทยาลัยต้องได้รับความคุ้มครองและประโยชน์ตอบแทนไม่ต่ำกว่าที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการประกันสังคมและกฎหมายว่าด้วยเงินค่าทดแทน
2. กำหนดให้นายกสภามหาวิทยาลัย อธิการบดี คณาจารย์ประจำ ผู้ปฏิบัติงานตำแหน่งอื่นในมหาวิทยาลัย กรรมการและอนุกรรมการตามกฎหมายนี้ เป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมายอาญา และเป็นเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
3. มหาวิทยาลัยสามารถถือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินได้ทุกประเภททั้งสังหาริมทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์ โดยสามารถซื้อ สร้าง จัดหา รับโอน เช่า ให้เช่าซื้อ แลกเปลี่ยนและจำหน่ายทรัพย์สินทั้งภายในและนอกราชอาณาจักร ตลอดจนรับเงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้อุดหนุนหรือบริจาคให้ การจำหน่ายหรือแลกเปลี่ยนอสังหาริมทรัพย์ให้กระทำได้เฉพาะอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยที่ได้มาจากการให้หรือซื้อด้วยเงินรายได้ของมหาวิทยาลัยหรือแลกเปลี่ยนกับทรัพย์สินของมหาวิทยาลัย และการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่อุทิศให้แก่มหาวิทยาลัย ให้ได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมตามประมวลกฎหมายที่ดิน
4. รัฐบาลต้องจัดสรรเงินอุดหนุนทั่วไปให้แก่มหาวิทยาลัยโดยตรงเป็นรายปีในจำนวนที่เพียงพอสำหรับค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการดำเนินการของมหาวิทยาลัย และรายได้ของมหาวิทยาลัยไม่เป็นรายได้ที่ต้องนำส่งกระทรวงการคลังตามกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลังและกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ
5. การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินที่มหาวิทยาลัยได้มาตามพระราชบัญญัติโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินอันเป็นทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ จะกระทำไม่ได้ เว้นแต่โดยพระราชบัญญัติ ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ที่โอนมาให้มหาวิทยาลัยไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีรวมทั้งการบังคับทางการปกครอง
6. บุคคลใดจะยกอายุความหรือระยะเวลาในการครอบครองขึ้นเป็นข้อต่อสู้กับมหาวิทยาลัยในเรื่องทรัพย์สินของมหาวิทยาลัยไม่ได้ 7. ให้มีสภาคณาจารย์ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกซึ่งดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์อยู่ด้วยจำนวนหนึ่ง โดยมีหน้าทที่ให้คำปรึกษาแนะนำแก่อธิการบดีในกิจการและประโยชน์ของมหาวิทยาลัย และพิจารณาผลงานทางวิชาการ
8. ให้มีคณะวุฒยาจารย์ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกซึ่งดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ และได้รับการคัดเลือกจากสภาคณาจารย์ทำหน้าที่พิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ
9. อธิการบดี คณบดี มีวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี และจะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินสองวาระไม่ได้
10. มหาวิทยาลัยต้องจัดให้มีการประกันคุณภาพการศึกษาและการวิจัยโดยต้องจัดให้มีการประเมินหลักสูตรเมื่อครบหนึ่งปีหลังจากครบกำหนดเวลาการศึกษาตามหลักสูตรใด โดยผู้ประเมินอิสระซึ่งสภามหาวิทยาลัยแต่งตั้งจากผู้ซึ่งมิใช่ผู้ปฏิบัติงานของมหาวิทยาลัยและให้มีการประเมินอีกทุกห้าปีหรือเร็วกว่านั้นตามที่สภามหาวิทยาลัยกำหนด
11. ให้มีการประเมินคุณภาพของส่วนงานต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัยทุกสี่ปี โดยผู้ประเมินอิสระซึ่งสภามหาวิทยาลัยแต่งตั้งจากผู้ซึ่งมิใช่ผู้ปฏิบัติงานของมหาวิทยาลัย
12. ผู้ดำรงตำแหน่งอธิการบดี คงดำรงตำแหน่งอธิการบดีต่อไปแต่ต้องไม่เกิน 1 ปี นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และถ้าผู้ดำรงตำแหน่งอธิการบดีเป็นข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ก็ให้พ้นจากตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยไปเป็นผู้ปฏิบัติงานของมหาวิทยาลัย
13. รองอธิการบดี ผู้ช่วยอธิการบดี คณบดี ผู้อำนวยการ หัวหน้าภาควิชา และหัวหน้าส่วนราชการอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะหรือภาควิชาให้ดำรงตำแหน่งต่อไปจนกว่าจะครบวาระ และต้องแสดงความจำนงเป็นหนังสือต่ออธิการบดีภายใน 60 วัน ว่าประสงค์จะเป็นข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยต่อไปหรือสมัครเข้าเป็นผู้ปฏิบัติงานของมหาวิทยาลัย
14. ข้าราชการและลูกจ้างของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ยังคงเป็นข้าราชการหรือลูกจ้างของส่วนราชการต่อไปแต่ต้องแสดงความจำนงภายในเวลา 2 ปี นับตั้งแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ว่าประสงค์จะเป็นข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยหรือลูกจ้างของทางราชการต่อไปหรือจะสมัครเข้าเป็นผู้ปฏิบัติงานของมหาวิทยาลัย หากประสงค์จะเป็นข้าราชการหรือลูกจ้างต่อไป ให้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างผ่านมหาวิทยาลัยโดยเบิกจ่ายจากเงินงบประมาณแผ่นดินหมวดเงินเดือนและค่าจ้าง และผู้สมัครเข้าเป็นผู้ปฏิบัติงานของมหาวิทยาลัยต้องได้รับสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ไม่น้อยกว่าที่เคยรับอยู่
15. เพื่อประโยชน์แห่งการเป็นสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการให้ถือว่าข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยซึ่งสมัครหรือถือว่าสมัครเข้าเป็นผู้ปฏิบัติงานของมหาวิทยาลัย เป็นข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
ร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
ให้โอนจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตามพระราชบัญญัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2522 ซึ่งเป็นส่วนราชการสังกัดทบวงมหาวิทยาลัยและมีฐานะเป็นกรมตามมาตรา 32 (3) แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2539 ไปเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐซึ่งไม่เป็นส่วนราชการและไม่เป็นรัฐวิสาหกิจ และอยู่ในกำกับดูแลของรัฐบาลตามร่างพระราชบัญญัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. ….
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 16 พฤศจิกายน 2542--
คณะรัฐมนตรีพิจารณาร่างพระราชบัญญัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. …. และร่างพระราชกฤษฎีกาโอนจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยไปเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐ ซึ่งไม่เป็นส่วนราชการและไม่เป็นรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. …. ตามที่ทบวงมหาวิทยาลัยเสนอ แล้วมีมติ ดังนี้
1. อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับข้อสังเกตของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องไปพิจารณา แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนนำเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป
2. อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับข้อสังเกตของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีไปพิจารณาประกอบด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ โดยให้มีผลใช้บังคับเป็นกฎหมายพร้อมกับร่างพระราชบัญญัติตามข้อ 1
ร่างพระราชบัญญัติและร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว เป็นการดำเนินการในการปรับเปลี่ยนสถานภาพของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยไปเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐที่ไม่เป็นส่วนราชการ แต่อยู่ในกำกับของรัฐบาลซึ่งจะเป็นผลให้สามารถดำเนินกิจการของมหาวิทยาลัยได้โดยอิสระ สามารถพัฒนาระบบบริหารและการจัดการที่เป็นของตนเอง มีความคล่องตัว มีเสรีภาพทางวิชาการ และอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสภาสถานศึกษาเพื่อการบริการวิชาการจะได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวสอดคล้องกับมติคณะรัฐมนตรีเดิม รวมทั้งสอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และนโยบายของรัฐบาลปัจจุบันที่ต้องการให้มหาวิทยาลัยของรัฐทุกแห่งปรับเปลี่ยนสถานภาพเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐบาลภายในปี 2545
ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. กิจการของมหาวิทยาลัยไม่อยู่ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน กฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ กฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม และกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน แต่ผู้ปฏิบัติงานของมหาวิทยาลัยต้องได้รับความคุ้มครองและประโยชน์ตอบแทนไม่ต่ำกว่าที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการประกันสังคมและกฎหมายว่าด้วยเงินค่าทดแทน
2. กำหนดให้นายกสภามหาวิทยาลัย อธิการบดี คณาจารย์ประจำ ผู้ปฏิบัติงานตำแหน่งอื่นในมหาวิทยาลัย กรรมการและอนุกรรมการตามกฎหมายนี้ เป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมายอาญา และเป็นเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
3. มหาวิทยาลัยสามารถถือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินได้ทุกประเภททั้งสังหาริมทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์ โดยสามารถซื้อ สร้าง จัดหา รับโอน เช่า ให้เช่าซื้อ แลกเปลี่ยนและจำหน่ายทรัพย์สินทั้งภายในและนอกราชอาณาจักร ตลอดจนรับเงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้อุดหนุนหรือบริจาคให้ การจำหน่ายหรือแลกเปลี่ยนอสังหาริมทรัพย์ให้กระทำได้เฉพาะอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยที่ได้มาจากการให้หรือซื้อด้วยเงินรายได้ของมหาวิทยาลัยหรือแลกเปลี่ยนกับทรัพย์สินของมหาวิทยาลัย และการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่อุทิศให้แก่มหาวิทยาลัย ให้ได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมตามประมวลกฎหมายที่ดิน
4. รัฐบาลต้องจัดสรรเงินอุดหนุนทั่วไปให้แก่มหาวิทยาลัยโดยตรงเป็นรายปีในจำนวนที่เพียงพอสำหรับค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการดำเนินการของมหาวิทยาลัย และรายได้ของมหาวิทยาลัยไม่เป็นรายได้ที่ต้องนำส่งกระทรวงการคลังตามกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลังและกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ
5. การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินที่มหาวิทยาลัยได้มาตามพระราชบัญญัติโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินอันเป็นทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ จะกระทำไม่ได้ เว้นแต่โดยพระราชบัญญัติ ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ที่โอนมาให้มหาวิทยาลัยไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีรวมทั้งการบังคับทางการปกครอง
6. บุคคลใดจะยกอายุความหรือระยะเวลาในการครอบครองขึ้นเป็นข้อต่อสู้กับมหาวิทยาลัยในเรื่องทรัพย์สินของมหาวิทยาลัยไม่ได้ 7. ให้มีสภาคณาจารย์ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกซึ่งดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์อยู่ด้วยจำนวนหนึ่ง โดยมีหน้าทที่ให้คำปรึกษาแนะนำแก่อธิการบดีในกิจการและประโยชน์ของมหาวิทยาลัย และพิจารณาผลงานทางวิชาการ
8. ให้มีคณะวุฒยาจารย์ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกซึ่งดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ และได้รับการคัดเลือกจากสภาคณาจารย์ทำหน้าที่พิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ
9. อธิการบดี คณบดี มีวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี และจะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินสองวาระไม่ได้
10. มหาวิทยาลัยต้องจัดให้มีการประกันคุณภาพการศึกษาและการวิจัยโดยต้องจัดให้มีการประเมินหลักสูตรเมื่อครบหนึ่งปีหลังจากครบกำหนดเวลาการศึกษาตามหลักสูตรใด โดยผู้ประเมินอิสระซึ่งสภามหาวิทยาลัยแต่งตั้งจากผู้ซึ่งมิใช่ผู้ปฏิบัติงานของมหาวิทยาลัยและให้มีการประเมินอีกทุกห้าปีหรือเร็วกว่านั้นตามที่สภามหาวิทยาลัยกำหนด
11. ให้มีการประเมินคุณภาพของส่วนงานต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัยทุกสี่ปี โดยผู้ประเมินอิสระซึ่งสภามหาวิทยาลัยแต่งตั้งจากผู้ซึ่งมิใช่ผู้ปฏิบัติงานของมหาวิทยาลัย
12. ผู้ดำรงตำแหน่งอธิการบดี คงดำรงตำแหน่งอธิการบดีต่อไปแต่ต้องไม่เกิน 1 ปี นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และถ้าผู้ดำรงตำแหน่งอธิการบดีเป็นข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ก็ให้พ้นจากตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยไปเป็นผู้ปฏิบัติงานของมหาวิทยาลัย
13. รองอธิการบดี ผู้ช่วยอธิการบดี คณบดี ผู้อำนวยการ หัวหน้าภาควิชา และหัวหน้าส่วนราชการอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะหรือภาควิชาให้ดำรงตำแหน่งต่อไปจนกว่าจะครบวาระ และต้องแสดงความจำนงเป็นหนังสือต่ออธิการบดีภายใน 60 วัน ว่าประสงค์จะเป็นข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยต่อไปหรือสมัครเข้าเป็นผู้ปฏิบัติงานของมหาวิทยาลัย
14. ข้าราชการและลูกจ้างของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ยังคงเป็นข้าราชการหรือลูกจ้างของส่วนราชการต่อไปแต่ต้องแสดงความจำนงภายในเวลา 2 ปี นับตั้งแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ว่าประสงค์จะเป็นข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยหรือลูกจ้างของทางราชการต่อไปหรือจะสมัครเข้าเป็นผู้ปฏิบัติงานของมหาวิทยาลัย หากประสงค์จะเป็นข้าราชการหรือลูกจ้างต่อไป ให้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างผ่านมหาวิทยาลัยโดยเบิกจ่ายจากเงินงบประมาณแผ่นดินหมวดเงินเดือนและค่าจ้าง และผู้สมัครเข้าเป็นผู้ปฏิบัติงานของมหาวิทยาลัยต้องได้รับสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ไม่น้อยกว่าที่เคยรับอยู่
15. เพื่อประโยชน์แห่งการเป็นสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการให้ถือว่าข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยซึ่งสมัครหรือถือว่าสมัครเข้าเป็นผู้ปฏิบัติงานของมหาวิทยาลัย เป็นข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
ร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
ให้โอนจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตามพระราชบัญญัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2522 ซึ่งเป็นส่วนราชการสังกัดทบวงมหาวิทยาลัยและมีฐานะเป็นกรมตามมาตรา 32 (3) แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2539 ไปเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐซึ่งไม่เป็นส่วนราชการและไม่เป็นรัฐวิสาหกิจ และอยู่ในกำกับดูแลของรัฐบาลตามร่างพระราชบัญญัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. ….
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 16 พฤศจิกายน 2542--