ทำเนียบรัฐบาล--30 มี.ค.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีพิจารณามาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจสอบภายในภาคราชการ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอแล้วมีมติ ดังนี้
1. เห็นชอบรายละเอียดเกี่ยวกับคณะกรรมการตรวจสอบในภาคราชการและแนวปฏิบัติของคณะกรรมการตรวจสอบ และให้กระทรวงการคลังรับผิดชอบปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมยิ่งขึ้นทุก 2 ปี หรือตามความจำเป็น
2. แต่งตั้งคณะกรรมการสรรหาคณะกรรมการตรวจสอบในภาคราชการ และให้คณะกรรมการดังกล่าวกำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการสรรหา และเสนอรายชื่อคณะกรรมการตรวจสอบแต่ละกระทรวงให้คณะรัฐมนตรีมีมติแต่งตั้ง ทั้งนี้ คุณสมบัติองค์ประกอบ และจำนวนกรรมการในคณะกรรมการตรวจสอบให้เป็นไปตามรายละเอียดที่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบตามข้อ 1
3. ให้คณะกรรมการตรวจสอบได้รับค่าตอบแทนการปฏิบัติงานเป็นเงินสมนาคุณเป็นรายครั้ง เดือนใดมีการประชุมมากกว่า 1 ครั้ง ให้จ่ายเพียงครั้งเดียว โดยให้ได้รับเงินสมนาคุณในหลักเกณฑ์และอัตราเดียวกันทุกกระทรวง คือ ประธานกรรมการครั้งละ 10,000 บาท และกรรมการครั้งละ 8,000 บาท
4. ให้ทุกกระทรวงตั้งหน่วยตรวจสอบภายในระดับกระทรวง โดยให้ขึ้นตรงต่อปลัดกระทรวง และให้กระทรวงการคลังกำหนดระบบ รูปแบบ และแนวทางการประสานงานระหว่างหน่วยตรวจสอบภายในระดับกรม และระดับกระทรวง รวมทั้งกำหนดแนวทางการปฏิบัติงานร่วมกันกับคณะกรรมการตรวจสอบ ติดตามและประสานผลการดำเนินงาน ตลอดจนปรับปรุงแก้ไขระเบียบที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การปฏิบัติงานตรวจสอบทั้งสองระดับสามารถสนับสนุนซึ่งกันและกัน โดยมิให้เกิดการซ้ำซ้อน
5. สำหรับแนวทางการจัดสรรงบประมาณและอัตรากำลังให้หน่วยตรวจสอบภายในระดับกระทรวง ให้สำนักงบประมาณและสำนักงาน ก.พ. พิจารณาให้การสนับสนุนตามความจำเป็นและเหมาะสม เพื่อให้สามารถดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์ และให้แต่ละกระทรวงจัดเตรียมสถานที่และครุภัณฑ์อุปกรณ์สำหรับหน่วยตรวจสอบภายในระดับกระทรวงและคณะกรรมการตรวจสอบด้วย ทั้งนี้ สำนักงาน ก.พ. ให้ใช้วิธีการเกลี่ยอัตรากำลังมาปฏิบัติงานได้ โดยให้กระทรวงการคลังขอทำความตกลงกับสำนักงาน ก.พ. ต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 30 มีนาคม 2542--
คณะรัฐมนตรีพิจารณามาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจสอบภายในภาคราชการ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอแล้วมีมติ ดังนี้
1. เห็นชอบรายละเอียดเกี่ยวกับคณะกรรมการตรวจสอบในภาคราชการและแนวปฏิบัติของคณะกรรมการตรวจสอบ และให้กระทรวงการคลังรับผิดชอบปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมยิ่งขึ้นทุก 2 ปี หรือตามความจำเป็น
2. แต่งตั้งคณะกรรมการสรรหาคณะกรรมการตรวจสอบในภาคราชการ และให้คณะกรรมการดังกล่าวกำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการสรรหา และเสนอรายชื่อคณะกรรมการตรวจสอบแต่ละกระทรวงให้คณะรัฐมนตรีมีมติแต่งตั้ง ทั้งนี้ คุณสมบัติองค์ประกอบ และจำนวนกรรมการในคณะกรรมการตรวจสอบให้เป็นไปตามรายละเอียดที่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบตามข้อ 1
3. ให้คณะกรรมการตรวจสอบได้รับค่าตอบแทนการปฏิบัติงานเป็นเงินสมนาคุณเป็นรายครั้ง เดือนใดมีการประชุมมากกว่า 1 ครั้ง ให้จ่ายเพียงครั้งเดียว โดยให้ได้รับเงินสมนาคุณในหลักเกณฑ์และอัตราเดียวกันทุกกระทรวง คือ ประธานกรรมการครั้งละ 10,000 บาท และกรรมการครั้งละ 8,000 บาท
4. ให้ทุกกระทรวงตั้งหน่วยตรวจสอบภายในระดับกระทรวง โดยให้ขึ้นตรงต่อปลัดกระทรวง และให้กระทรวงการคลังกำหนดระบบ รูปแบบ และแนวทางการประสานงานระหว่างหน่วยตรวจสอบภายในระดับกรม และระดับกระทรวง รวมทั้งกำหนดแนวทางการปฏิบัติงานร่วมกันกับคณะกรรมการตรวจสอบ ติดตามและประสานผลการดำเนินงาน ตลอดจนปรับปรุงแก้ไขระเบียบที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การปฏิบัติงานตรวจสอบทั้งสองระดับสามารถสนับสนุนซึ่งกันและกัน โดยมิให้เกิดการซ้ำซ้อน
5. สำหรับแนวทางการจัดสรรงบประมาณและอัตรากำลังให้หน่วยตรวจสอบภายในระดับกระทรวง ให้สำนักงบประมาณและสำนักงาน ก.พ. พิจารณาให้การสนับสนุนตามความจำเป็นและเหมาะสม เพื่อให้สามารถดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์ และให้แต่ละกระทรวงจัดเตรียมสถานที่และครุภัณฑ์อุปกรณ์สำหรับหน่วยตรวจสอบภายในระดับกระทรวงและคณะกรรมการตรวจสอบด้วย ทั้งนี้ สำนักงาน ก.พ. ให้ใช้วิธีการเกลี่ยอัตรากำลังมาปฏิบัติงานได้ โดยให้กระทรวงการคลังขอทำความตกลงกับสำนักงาน ก.พ. ต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 30 มีนาคม 2542--