คณะรัฐมนตรีอนุมัติดำเนินงานโครงการรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายและสายใหม่ ส่วนที่เหลือ รวม 3 โครงการ ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ ดังนี้
1) อนุมัติให้ รฟม.ดำเนินการว่าจ้างที่ปรึกษาศึกษารายละเอียดความเหมาะสม ออกแบบรายละเอียด (Detailed Design) ในเส้นทางยกระดับ ออกแบบกรอบรายละเอียด (Definitive Design) ในเส้นทางใต้ดิน และจัดทำเอกสารประกวดราคาโครงการฯ ดังนี้
1.1 โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (1) ช่วงหัวลำโพง - บางแค วงเงิน 227.2 ล้านบาท (2) ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ วงเงิน 197.1 ล้านบาท
1.2 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางกะปิ - บางบำหรุ วงเงิน 426.7 ล้านบาท
1.3 โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง (1) ช่วงบางซื่อ - สามเสน วงเงิน 90.8 ล้านบาท (2) ช่วงสามเสน - ราษฎร์บูรณะวงเงิน 254.4 ล้านบาท
2) อนุมัติให้ รฟม. กู้เงินจากสถาบันการเงินภายในประเทศ จำนวน 1,196.2 ล้านบาท เพื่อใช้ในการว่าจ้างที่ปรึกษาในข้อ 1) โดยให้กระทรวงการคลังพิจารณาหาแหล่งเงินกู้ที่เหมาะสมและทำการค้ำประกันวงเงินกู้ดังกล่าวรวมทั้งชำระหนี้ให้จนกว่าการพิจารณารูปแบบของการระดมเงินทุนในโครงการก่อสร้างโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนระบบรางทาง 291 กิโลเมตร ที่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของกระทรวงการคลังและกระทรวงคมนาคมจะได้ข้อยุติ แล้วจึงจะทำการเบิกจ่ายจากการระดมทุนดังกล่าวต่อไป
กระทรวงคมนาคมได้รับรายงานจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ขออนุมัติโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางแค และช่วงบางซื่อ -ท่าพระ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางกะปิ-บางบำหรุ และโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางซื่อ -ราษฎร์บูรณะ ว่าจ้างที่ปรึกษาสำหรับโครงการฯ ดำเนินการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินสำหรับโครงการฯ อนุมัติดำเนินการว่าจ้างผู้รับเหมาก่อสร้างโครงการ และอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาฯ และร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีฯ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้วดำเนินการต่อไป
กระทรวงคมนาคมพิจารณาแล้วเห็นว่า โดยที่โครงการรถไฟฟ้า 3 สาย ดังกล่าว มีระยะทางรวม 71 กิโลเมตร เป็นเส้นทางยกระดับระยะทาง 30 กิโลเมตร และเส้นทางใต้ดิน ระยะทาง 41 กิโลเมตร จึงเห็นควรที่จะมีการศึกษารายละเอียดความเหมาะสมด้วยความรอบคอบ เพื่อที่จะสามารถดำเนินการตามกรอบขั้นตอนของกฎหมายและระเบียบของทางราชการที่เกี่ยวข้องในการขออนุมัติโครงการในลำดับต่อไป และเพื่อให้สามารถประมาณการวงเงินค่าก่อสร้างเป็นไปได้ด้วยความชัดเจนและรวดเร็ว สามารถดำเนินการโครงการให้สำเร็จลุล่วงภายในระยะเวลา 6 ปี การดำเนินโครงการเป็นไปตามกรอบที่คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2547 ที่ให้กระทรวงคมนาคมไปศึกษาในรายละเอียดและเร่งรัดการดำเนินการในสายทางที่มีความจำเป็นเร่งด่วนในลำดับต้นก่อน จึงเห็นควรที่จะให้มีการออกแบบรายละเอียดในเส้นทางยกระดับ และออกแบบกรอบรายละเอียดในระดับรายละเอียดร้อยละ 40-50 ในเส้นทางใต้ดิน และจัดทำเอกสารประกวดราคาโครงการฯ ไปในคราวเดียวกัน
คณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ได้มีมติเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2547 เห็นชอบแผนงานพัฒนาระบบขนส่งมวลชนระบบรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลระยะเวลา 6 ปี เพื่อเร่งรัดการแก้ไขปัญหาจราจรในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยมีเส้นทางที่ รฟม. รับผิดชอบรวม 91 กิโลเมตร 3 โครงการ ได้แก่
(1) โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ระยะทาง 27 กิโลเมตร ช่วงหัวลำโพง-บางแคและ ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ
(2) โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ระยะทาง 24 กิโลเมตร ช่วงบางกะปิ-บางบำหรุ
(3) โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ระยะทาง 40 กิโลเมตร ช่วงบางใหญ่-ราษฎร์บูรณะ
โดยคณะรัฐมนตรีที่ได้มีมติเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2547 อนุมัติให้ รฟม. ดำเนินการโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง (บางใหญ่-ราษฎร์บูรณะ) ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ ไปแล้ว ยังคงเหลือโครงการส่วนต่อขยายและสายใหม่อีก 71 กิโลเมตร ดังนั้นเพื่อให้การดำเนินการแล้วเสร็จภายในกรอบระยะเวลา 6 ปี (พ.ศ. 2547-2553) ที่ได้นำเสนอคณะรัฐมนตรีรับทราบเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2547 รฟม. จึงมีความจำเป็นต้องเริ่มดำเนินการโครงการรถไฟฟ้าส่วนที่เหลือเพื่อให้สามารถเปิดให้บริการได้ภายในกรอบระยะเวลาที่กำหนด ประกอบด้วย
โครงการ ระยะทาง (กม.)
1. โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน
- ช่วงหัวลำโพง-บางแค 14
- ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ 13
2. โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม
- ช่วงบางกะปิ-บางบำหรุ 24
3. โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง
- ช่วงบางซื่อ-ราษฎร์บูรณะ 20
4. ค่าจ้างที่ปรึกษาออกแบบรายละเอียด
(ส่วนยกระดับ) และออกแบบกรอบ
รายละเอียด (ส่วนใต้ดิน) -
รวม 71
แต่เนื่องจากการดำเนินการก่อสร้างโครงสร้างทางวิ่งใต้ดินมีความซับซ้อนและต้องใช้ประสบการณ์และเทคโนโลยีชั้นสูง รวมทั้งไม่สามารถสำรวจส่วนที่อยู่ใต้ดินได้อย่างละเอียด จึงจำเป็นต้องว่าจ้างที่ปรึกษาออกแบบกรอบรายละเอียด (Definitive Design) ในระดับรายละเอียดร้อยละ 40-50 ส่วนทางวิ่งยกระดับสามารถดำเนินการในรูปแบบของการออกแบบรายละเอียด (Detailed Design)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 4 มกราคม 2548--จบ--
1) อนุมัติให้ รฟม.ดำเนินการว่าจ้างที่ปรึกษาศึกษารายละเอียดความเหมาะสม ออกแบบรายละเอียด (Detailed Design) ในเส้นทางยกระดับ ออกแบบกรอบรายละเอียด (Definitive Design) ในเส้นทางใต้ดิน และจัดทำเอกสารประกวดราคาโครงการฯ ดังนี้
1.1 โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (1) ช่วงหัวลำโพง - บางแค วงเงิน 227.2 ล้านบาท (2) ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ วงเงิน 197.1 ล้านบาท
1.2 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางกะปิ - บางบำหรุ วงเงิน 426.7 ล้านบาท
1.3 โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง (1) ช่วงบางซื่อ - สามเสน วงเงิน 90.8 ล้านบาท (2) ช่วงสามเสน - ราษฎร์บูรณะวงเงิน 254.4 ล้านบาท
2) อนุมัติให้ รฟม. กู้เงินจากสถาบันการเงินภายในประเทศ จำนวน 1,196.2 ล้านบาท เพื่อใช้ในการว่าจ้างที่ปรึกษาในข้อ 1) โดยให้กระทรวงการคลังพิจารณาหาแหล่งเงินกู้ที่เหมาะสมและทำการค้ำประกันวงเงินกู้ดังกล่าวรวมทั้งชำระหนี้ให้จนกว่าการพิจารณารูปแบบของการระดมเงินทุนในโครงการก่อสร้างโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนระบบรางทาง 291 กิโลเมตร ที่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของกระทรวงการคลังและกระทรวงคมนาคมจะได้ข้อยุติ แล้วจึงจะทำการเบิกจ่ายจากการระดมทุนดังกล่าวต่อไป
กระทรวงคมนาคมได้รับรายงานจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ขออนุมัติโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางแค และช่วงบางซื่อ -ท่าพระ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางกะปิ-บางบำหรุ และโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางซื่อ -ราษฎร์บูรณะ ว่าจ้างที่ปรึกษาสำหรับโครงการฯ ดำเนินการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินสำหรับโครงการฯ อนุมัติดำเนินการว่าจ้างผู้รับเหมาก่อสร้างโครงการ และอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาฯ และร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีฯ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้วดำเนินการต่อไป
กระทรวงคมนาคมพิจารณาแล้วเห็นว่า โดยที่โครงการรถไฟฟ้า 3 สาย ดังกล่าว มีระยะทางรวม 71 กิโลเมตร เป็นเส้นทางยกระดับระยะทาง 30 กิโลเมตร และเส้นทางใต้ดิน ระยะทาง 41 กิโลเมตร จึงเห็นควรที่จะมีการศึกษารายละเอียดความเหมาะสมด้วยความรอบคอบ เพื่อที่จะสามารถดำเนินการตามกรอบขั้นตอนของกฎหมายและระเบียบของทางราชการที่เกี่ยวข้องในการขออนุมัติโครงการในลำดับต่อไป และเพื่อให้สามารถประมาณการวงเงินค่าก่อสร้างเป็นไปได้ด้วยความชัดเจนและรวดเร็ว สามารถดำเนินการโครงการให้สำเร็จลุล่วงภายในระยะเวลา 6 ปี การดำเนินโครงการเป็นไปตามกรอบที่คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2547 ที่ให้กระทรวงคมนาคมไปศึกษาในรายละเอียดและเร่งรัดการดำเนินการในสายทางที่มีความจำเป็นเร่งด่วนในลำดับต้นก่อน จึงเห็นควรที่จะให้มีการออกแบบรายละเอียดในเส้นทางยกระดับ และออกแบบกรอบรายละเอียดในระดับรายละเอียดร้อยละ 40-50 ในเส้นทางใต้ดิน และจัดทำเอกสารประกวดราคาโครงการฯ ไปในคราวเดียวกัน
คณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ได้มีมติเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2547 เห็นชอบแผนงานพัฒนาระบบขนส่งมวลชนระบบรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลระยะเวลา 6 ปี เพื่อเร่งรัดการแก้ไขปัญหาจราจรในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยมีเส้นทางที่ รฟม. รับผิดชอบรวม 91 กิโลเมตร 3 โครงการ ได้แก่
(1) โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ระยะทาง 27 กิโลเมตร ช่วงหัวลำโพง-บางแคและ ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ
(2) โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ระยะทาง 24 กิโลเมตร ช่วงบางกะปิ-บางบำหรุ
(3) โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ระยะทาง 40 กิโลเมตร ช่วงบางใหญ่-ราษฎร์บูรณะ
โดยคณะรัฐมนตรีที่ได้มีมติเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2547 อนุมัติให้ รฟม. ดำเนินการโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง (บางใหญ่-ราษฎร์บูรณะ) ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ ไปแล้ว ยังคงเหลือโครงการส่วนต่อขยายและสายใหม่อีก 71 กิโลเมตร ดังนั้นเพื่อให้การดำเนินการแล้วเสร็จภายในกรอบระยะเวลา 6 ปี (พ.ศ. 2547-2553) ที่ได้นำเสนอคณะรัฐมนตรีรับทราบเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2547 รฟม. จึงมีความจำเป็นต้องเริ่มดำเนินการโครงการรถไฟฟ้าส่วนที่เหลือเพื่อให้สามารถเปิดให้บริการได้ภายในกรอบระยะเวลาที่กำหนด ประกอบด้วย
โครงการ ระยะทาง (กม.)
1. โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน
- ช่วงหัวลำโพง-บางแค 14
- ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ 13
2. โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม
- ช่วงบางกะปิ-บางบำหรุ 24
3. โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง
- ช่วงบางซื่อ-ราษฎร์บูรณะ 20
4. ค่าจ้างที่ปรึกษาออกแบบรายละเอียด
(ส่วนยกระดับ) และออกแบบกรอบ
รายละเอียด (ส่วนใต้ดิน) -
รวม 71
แต่เนื่องจากการดำเนินการก่อสร้างโครงสร้างทางวิ่งใต้ดินมีความซับซ้อนและต้องใช้ประสบการณ์และเทคโนโลยีชั้นสูง รวมทั้งไม่สามารถสำรวจส่วนที่อยู่ใต้ดินได้อย่างละเอียด จึงจำเป็นต้องว่าจ้างที่ปรึกษาออกแบบกรอบรายละเอียด (Definitive Design) ในระดับรายละเอียดร้อยละ 40-50 ส่วนทางวิ่งยกระดับสามารถดำเนินการในรูปแบบของการออกแบบรายละเอียด (Detailed Design)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 4 มกราคม 2548--จบ--