แท็ก
สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
สำนักงาน ก.พ.
คณะรัฐมนตรี
นิยาม
ทำเนียบรัฐบาล--28 ธ.ค.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา พ.ศ. …. ตามที่สำนักงานคณะกรรมการปฏิรูประบบราชการ และสำนักงาน ก.พ. เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
ร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. กำหนดนิยามคำว่า "สถานศึกษา" หมายความว่า สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย โรงเรียน ศูนย์การเรียน วิทยาลัย สถาบันมหาวิทยาลัย หน่วยงานการศึกษาหรือหน่วยงานอื่นของรัฐหรือของเอกชนที่มีอำนาจหน้าที่หรือมีวัตถุประสงค์ในการจัดการศึกษา
2. ให้จัดตั้ง "สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา" เรียกโดยย่อว่า "สมศ." เป็นองค์การมหาชนมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเกณฑ์ วิธีการประเมินคุณภาพภายนอก และทำการประเมินผลการจัดการศึกษาเพื่อให้มีการตรวจสอบคุณภาพของสถานศึกษาแต่ละระดับและประเภทการศึกษา
3. ให้สำนักงานมีอำนาจกระทำกิจการต่าง ๆ ภายในขอบเขตแห่งวัตถุประสงค์ รวมทั้งอำนาจกระทำการดังต่อไปนี้ด้วยเช่น ถือกรรมสิทธิ์หรือมีสิทธิครอบครองหรือดำเนินการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินทั้งในและนอกราชอาณาจักร จัดให้มีและให้ทุนเพื่อสนับสนุนการพัฒนาการประเมินคุณภาพภายนอก กู้หรือยืมเงินโดยมีหลักประกัน รวมทั้งลงทุนหรือร่วมลงทุนกับบุคคลอื่นตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
4. ให้มีการประเมินคุณภาพภายนอกของสถานศึกษาทุกแห่งอย่างน้อยหนึ่งครั้งในทุกห้าปีนับตั้งแต่การประเมินครั้งสุดท้าย และเสนอผลการประเมินต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสาธารณชน
5. บรรดารายได้ของสำนักงาน ไม่เป็นรายได้ที่ต้องนำส่งกระทรวงการคลังตามกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลัง และกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ 6. ให้มีคณะกรรมการบริหารของสำนักงาน เรียกว่า "คณะกรรมการบริหารสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา" ซึ่งคณะรัฐมนตรีเป็นผู้แต่งตั้ง จำนวน 11 คน มีอำนาจหน้าที่ควบคุมดูแลสำนักงานให้ดำเนินกิจการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
7. ให้มีคณะกรรมการพัฒนาระบบการประเมินคุณภาพการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และคณะกรรมการพัฒนาระบบการประเมินคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษา เพื่อพิจารณาให้ข้อเสนอแนะและสนับสนุนด้านวิชาการแก่คณะกรรมการบริหาร โดยมีหน้าที่ให้คำปรึกษาด้านวิชาการแก่คณะกรรมการบริหาร พัฒนาปรับปรุงระบบและวิธีการประเมินคุณภาพภายนอกที่มีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับระบบการประกันคุณภาพของสถานศึกษาและหน่วยงานต้นสังกัด และพัฒนามาตรฐานและเกณฑ์สำหรับการประเมินคุณภาพภายนอก
8. ให้สำนักงานมีการวางระบบการทำงานที่มีประสิทธิภาพและมีอิสระ โดยในการทำงานให้ใช้ระบบการจ้างเหมา ผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอก องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพและวิชาการร่วมดำเนินงาน โดยมีเจ้าหน้าที่ประจำตามความจำเป็น
9. กิจการของสำนักงานไม่อยู่ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์กฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม และกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน ทั้งนี้ ผู้อำนวยการ เจ้าหน้าที่และลูกจ้างของสำนักงานต้องได้รับประโยชน์ตอบแทนไม่น้อยกว่าที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน กฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม และกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน
10. ให้โอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน สิทธิ ตลอดจนงบประมาณของโครงการการวิจัยและพัฒนาระบบการประเมินคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาแห่งชาติของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ และของส่วนวิจัยและพัฒนาของสำนักมาตรฐานอุดมศึกษา สำนักงานปลัดทบวงมหาวิทยาลัยให้เป็นของสำนักงานตามพระราชกฤษฎีกานี้
11. ภายในหกปีนับตั้งแต่วันที่พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ใช้บังคับ ให้มีการประเมินคุณภาพภายนอกครั้งแรกของสถานศึกษาทุกแห่ง เฉพาะที่เป็นสถานศึกษาที่จัดการศึกษาในระบบตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 28 ธันวาคม 2542--
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา พ.ศ. …. ตามที่สำนักงานคณะกรรมการปฏิรูประบบราชการ และสำนักงาน ก.พ. เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
ร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. กำหนดนิยามคำว่า "สถานศึกษา" หมายความว่า สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย โรงเรียน ศูนย์การเรียน วิทยาลัย สถาบันมหาวิทยาลัย หน่วยงานการศึกษาหรือหน่วยงานอื่นของรัฐหรือของเอกชนที่มีอำนาจหน้าที่หรือมีวัตถุประสงค์ในการจัดการศึกษา
2. ให้จัดตั้ง "สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา" เรียกโดยย่อว่า "สมศ." เป็นองค์การมหาชนมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเกณฑ์ วิธีการประเมินคุณภาพภายนอก และทำการประเมินผลการจัดการศึกษาเพื่อให้มีการตรวจสอบคุณภาพของสถานศึกษาแต่ละระดับและประเภทการศึกษา
3. ให้สำนักงานมีอำนาจกระทำกิจการต่าง ๆ ภายในขอบเขตแห่งวัตถุประสงค์ รวมทั้งอำนาจกระทำการดังต่อไปนี้ด้วยเช่น ถือกรรมสิทธิ์หรือมีสิทธิครอบครองหรือดำเนินการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินทั้งในและนอกราชอาณาจักร จัดให้มีและให้ทุนเพื่อสนับสนุนการพัฒนาการประเมินคุณภาพภายนอก กู้หรือยืมเงินโดยมีหลักประกัน รวมทั้งลงทุนหรือร่วมลงทุนกับบุคคลอื่นตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
4. ให้มีการประเมินคุณภาพภายนอกของสถานศึกษาทุกแห่งอย่างน้อยหนึ่งครั้งในทุกห้าปีนับตั้งแต่การประเมินครั้งสุดท้าย และเสนอผลการประเมินต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสาธารณชน
5. บรรดารายได้ของสำนักงาน ไม่เป็นรายได้ที่ต้องนำส่งกระทรวงการคลังตามกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลัง และกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ 6. ให้มีคณะกรรมการบริหารของสำนักงาน เรียกว่า "คณะกรรมการบริหารสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา" ซึ่งคณะรัฐมนตรีเป็นผู้แต่งตั้ง จำนวน 11 คน มีอำนาจหน้าที่ควบคุมดูแลสำนักงานให้ดำเนินกิจการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
7. ให้มีคณะกรรมการพัฒนาระบบการประเมินคุณภาพการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และคณะกรรมการพัฒนาระบบการประเมินคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษา เพื่อพิจารณาให้ข้อเสนอแนะและสนับสนุนด้านวิชาการแก่คณะกรรมการบริหาร โดยมีหน้าที่ให้คำปรึกษาด้านวิชาการแก่คณะกรรมการบริหาร พัฒนาปรับปรุงระบบและวิธีการประเมินคุณภาพภายนอกที่มีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับระบบการประกันคุณภาพของสถานศึกษาและหน่วยงานต้นสังกัด และพัฒนามาตรฐานและเกณฑ์สำหรับการประเมินคุณภาพภายนอก
8. ให้สำนักงานมีการวางระบบการทำงานที่มีประสิทธิภาพและมีอิสระ โดยในการทำงานให้ใช้ระบบการจ้างเหมา ผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอก องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพและวิชาการร่วมดำเนินงาน โดยมีเจ้าหน้าที่ประจำตามความจำเป็น
9. กิจการของสำนักงานไม่อยู่ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์กฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม และกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน ทั้งนี้ ผู้อำนวยการ เจ้าหน้าที่และลูกจ้างของสำนักงานต้องได้รับประโยชน์ตอบแทนไม่น้อยกว่าที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน กฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม และกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน
10. ให้โอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน สิทธิ ตลอดจนงบประมาณของโครงการการวิจัยและพัฒนาระบบการประเมินคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาแห่งชาติของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ และของส่วนวิจัยและพัฒนาของสำนักมาตรฐานอุดมศึกษา สำนักงานปลัดทบวงมหาวิทยาลัยให้เป็นของสำนักงานตามพระราชกฤษฎีกานี้
11. ภายในหกปีนับตั้งแต่วันที่พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ใช้บังคับ ให้มีการประเมินคุณภาพภายนอกครั้งแรกของสถานศึกษาทุกแห่ง เฉพาะที่เป็นสถานศึกษาที่จัดการศึกษาในระบบตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 28 ธันวาคม 2542--