1. กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีเพิ่มเติม
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอให้แต่งตั้ง นายพรเสก กาญจนจารี ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่นายกรัฐมนตรีลงนามในคำสั่งแต่งตั้งและมอบหมายให้เป็นผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงใดกระทรวงหนึ่งเป็นต้นไป เพื่อให้ผู้ได้รับแต่งตั้งลาออกจากตำแหน่งอื่น ๆ ที่เป็นลักษณะต้องห้ามได้ดำเนินการให้เรียบร้อย
2. ผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่กระทรวงพาณิชย์ เสนอให้แต่งตั้งรองนายกรัฐมนตรี (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์) เป็นผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในกรณีที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติราชการได้และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติราชการได้ และให้ถือเป็นมติคณะรัฐมนตรี ณ วันที่ได้มีคำสั่ง ทั้งนี้ ตามมาตรา 7 แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการเสนอเรื่องและการประชุมคณะรัฐมนตรี พ.ศ. 2548 และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2548
3. กรรมการบุคคลในคณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเสนอให้แต่งตั้ง นายศักดิ์ทิพย์ ไกรฤกษ์ เป็นกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย แทน นายประเวช รัตนเพียร ที่ขอลาออกจากตำแหน่งดังกล่าว
4. การปรับปรุงองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการพิจารณาปรับปรุงประมวลกฎหมาย รวม 4 คณะ
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ ให้มีการปรับปรุงองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการพิจารณาปรับปรุงประมวลกฎหมาย รวม 4 คณะ ซึ่งรองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) ปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบแล้วดังนี้
1. คณะกรรมการพิจารณาปรับปรุงประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ประกอบด้วย นายจำรัส เขมะจารุ เป็นประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย 1. หม่อมหลวงไกรฤกษ์ เกษมสันต์ *2. นายไกรสร บารมีอวยชัย 3. นายจรัญ ภักดีธนากุล *4. นายจักรพงษ์ เล็กสกุลไชย 5. นายชูเกียรติ รัตนชัยชาญ 6. นายดำรง แจ่มสุธี 7. นายทวีศักดิ์ วรพิวุฒิ *8. นายธานิศ เกศวพิทักษ์ 9. นายปราโมทย์ ผลาภิรมย์ 10. นายสมบูรณ์ บุญภินนท์ 11. นายสวิน อักขรายุทธ 12. นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย 13. นายอรรถนิติ ดิษฐอำนาจ
2. คณะกรรมการพิจารณาปรับปรุงประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ประกอบด้วย นายคนึง ฦาไชย เป็นประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย 1. นายกิติศักดิ์ กิติคุณไพโรจน์ 2. นายเกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์ 3. นางจริยา เจียมวิจิตร 4. นายจิรนิติ หะวานนท์ 5. นายณรงค์ ใจหาญ 6. นายพรเพชร วิชิตชลชัย 7. นายรองพล เจริญพันธุ์ 8. นายเรวัต ฉ่ำเฉลิม *9. พลตำรวจโท วันชัย ศรีนวลนัด 10. นายสิทธิโชค ศรีเจริญ 11. นายสุพล ยุติธาดา
3. คณะกรรมการพิจารณาปรับปรุงประมวลกฎหมายอาญา ประกอบด้วย นายศักดิ์ สนองชาติ เป็นประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย 1. นายคณิต ณ นคร 2. นายคัมภีร์ แก้วเจริญ 3. นายชัยเกษม นิติสิริ 4. นายชำนาญ พิเชษฐพันธ์ 5. นายทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ์ 6. นายประทีป เฉลิมภัทรกุล 7. นายประธาน วัฒนวาณิชย์ 8. นางสาวพวงเพชร สารคุณ 9. นายพิมล รัฐปัตย์ 10. นายสุธี ดำเนื้อดี 11. นายสุรศักดิ์ ลิขสิทธิ์วัฒนกุล *12. พลตำรวจตรีสุพจน์ ณ บางช้าง
4. คณะกรรมการพิจารณาปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วน บริษัท และองค์กรทางธุรกิจ ประกอบด้วย นายโสภณ รัตนากร เป็นประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย 1. นายเข็มชัย ชุติวงศ์ 2. ศาสตราจารย์พิเศษชัยวัฒน์ วงศ์วัฒนาศานต์ 3. นายไชยวัฒน์ บุนนาค 4. คุณพรทิพย์ จาละ 5. นายพิชัยศักดิ์ หรยางกูร 6. นายไพโรจน์ วายุภาพ 7. นายมานพ นาคทัต 8. นายสงขลา วิชัยขัทคะ 9. นางสุดา วิศรุตพิชญ์ *10. นายสุทธิชัย จิตรวาณิช *11. นางสาวสุภาภรณ์ ใจอ่อนน้อม 12. นายอนันต์ จันทรโอภากร 13. นายอมร จันทรสมบูรณ์
หมายเหตุ รายชื่อกรรมการที่มีเครื่องหมาย * คือบุคคลที่สำนักงานเสนอแต่งตั้งแทนกรรมการที่พ้นจากการปฏิบัติหน้าที่
5. คณะกรรมการกำหนดยุทธศาสตร์และแนวทางการเจรจาจัดทำความตกลงเขตการค้าเสรี
คณะรัฐมนตรีรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 159/2548 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการกำหนดยุทธศาสตร์และแนวทางการเจรจาจัดทำความตกลงเขตการค้าเสรี ตามที่สำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ ดังนี้
1. องค์ประกอบ รองนายกรัฐมนตรี (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์) เป็นประธานกรรมการ รองประธานกรรมการประกอบด้วย 1. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง 2. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ 3. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 4. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ 5. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กรรมการประกอบด้วย 1. ประธานที่ปรึกษานโยบายของนายกรัฐมนตรี (นายพันศักดิ์ วิญญรัตน์) 2. ปลัดกระทรวงการคลัง 3. ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ 4. ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 5. ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม 6. เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 7. นายณรงค์ชัย อัครเศรณี 8. นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ 9. นายสมพล เกียรติไพบูลย์ 10. นายศุภัช ศุภชลาศัย 11. นายสุชาติ ธาดาธำรงเวช โดยมีนายปานปรีย์ พหิทธานุกร ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นกรรมการและเลขานุการ และปลัดกระทรวงพาณิชย์ เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
2. อำนาจหน้าที่
2.1 กำหนดยุทธศาสตร์และแนวทางการเจรจาจัดทำความตกลงเขตการค้าเสรีระหว่างไทยกับประเทศหรือกลุ่มประเทศต่าง ๆ
2.2 ประสานและรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การเจรจาจัดทำความตกลงเขตการค้าเสรีเป็นไปตามยุทธศาสตร์และแนวทางที่วางไว้
2.3 กำกับดูแลให้มีการปฎิบัติตามความตกลงเขตการค้าเสรีที่ได้จัดทำขึ้นเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
2.4 ติดตาม ประเมินผล และรายงานผลการดำเนินการต่อนายกรัฐมนตรี
2.5 แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงาน เพื่อช่วยเหลือการปฏิบัติงานตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
2.6 ปฏิบัติงานหรือดำเนินการอื่นใดที่เกี่ยวกับเขตการค้าเสรีตามที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย
6. ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
คณะรัฐมนตรีรับทราบการแต่งตั้งผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเสนอ โดยที่สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรแจ้งว่าได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เป็นผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร และได้เชิญพระบรมราชโองการดังกล่าวมาให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีประทับพระราชสัญจกร เพื่อเชิญไปยังผู้ได้รับพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งต่อไป ซึ่งสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้ดำเนินการประทับพระราชลัญจกรในพระบรมราชโองการดังกล่าวเสร็จเรียบร้อย และได้เชิญคืนไปยังสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรแล้ว
7. ข้าราชการ (กระทรวงสาธารณสุข)
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ ให้แต่งตั้ง นายพินิจ หิรัญโชติ ดำรงตำแหน่ง นายแพทย์ 10 วช. ด้านเวชกรรม สาขาศัลยกรรม ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 23 เมษายน 2547
8. ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบการจัดหาวัสดุอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (จำนวน 6 ราย)
คณะรัฐมนตรีรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 154/2548 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบการจัดหาวัสดุอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยท่าอากาศยานสุวรรณภูมิตามที่สำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ ดังนี้ นายบุญศักดิ์ เจียมปรีชา อธิบดีกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง เป็นประธานกรรมการคณะกรรมการประกอบด้วย พลตำรวจเอก สมบัติ อมรวิวัฒน์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ กระทรวงยุติธรรม พลตำรวจเอก สุเทพ ธรรมรักษ์ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติฝ่ายกิจการพิเศษ รองศาสตราจารย์ ถวิล พึ่งมา คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคม เลขานุการและนายพุทธิสัตย์ นามเดช ผู้อำนวยการสำนักกฎหมายและระเบียบกลาง สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
ให้คณะกรรมการดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากข่าวทางสื่อมวลชนและตรวจสอบสัญญา คำร้องเรียน ตลอดจนเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และมีอำนาจเชิญเจ้าหน้าที่ของรัฐมาสอบถามหรือขอข้อมูล เรียกให้ส่งเอกสาร และประสานขอความร่วมมือจากหน่วยงานต่างประเทศและเอกชนเพื่อให้ได้ความชัดเจน โดยเฉพาะในประเด็นที่ว่า เหตุใดการจัดหาวัสดุอุปกรณ์ดังกล่าว จึงไม่ทำโดยตรงในนามของส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจกับผู้ผลิตหรือจัดจำหน่ายราคาที่ตกลงกันและอาจแพงขึ้นในภายหลังเพิ่มจากราคาเดิมที่ผู้ผลิตหรือจัดจำหน่ายกำหนดเป็นเพราะเหตุใด มีความสมเหตุสมผลมากน้อยเพียงใด มีข้อที่รัฐเสียประโยชน์จากการนี้หรือไม่อย่างไร มีเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือบุคคลใดที่เกี่ยวข้องหรือน่าจะเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้เรียกหรือรับประโยชน์อันมิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายประการใดหรือไม่ และประเด็นอื่น ๆ ตามที่คณะกรรมการเห็นสมควรเพื่อให้เกิดความชัดเจน โปร่งใส ตลอดจนอาจเสนอแนะมาตรการป้องกันและแก้ไขที่จำเป็นเพื่อให้การเร่งรัดจัดสร้างท่าอากาศยานแห่งใหม่แล้วเสร็จด้วย แล้วรายงานให้ทราบภายใน 15 วัน
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป
9. ประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คณะรัฐมนตรีรับทราบการแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แทนผู้ที่ครบวาระ ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ จำนวน 12 คน ดังนี้ ศาสตราจารย์ ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์ นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น สาขาชีวเคมี ที่ปรึกษาอาวุโส สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เป็นประธานกรรมการ
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ประกอบด้วย 1. ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 2. พญ.จันทร์เพ็ญ ชูประภาวรรณ ผู้อำนวยการสถาบันวิทยาการการเรียนรู้ 3. ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ 4. ศาสตราจารย์ ดร. ธีรวุฒิ บุณยโสภณ อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ 5. นายนิพนธ์ สุรพงษ์รักเจริญ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย 6. นางวรรณวิภา สุทธเกียรติ อาจารย์สอนคณิตศาสตร์ โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย 7. นายวีระวัฒน์ ชลายน อดีตผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย 8. ศาสตราจารย์ ดร.สุรินทร์ พงศ์ศุภสมิทธิ์ รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นครูผู้สอนวิทยาศาสตร์หรือคณิตศาสตร์ ประกอบด้วย
1. ภาคเหนือ นายประดิษฐ์ เหล่าเนตร์ ครูวิทยาศาสตร์ โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย พิษณุโลก ครูวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี 2533 ครูแห่งชาติ สาขาชีววิทยา ปี 2541
2. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นางวัลลภา บุญวิเศษ ครูคณิตศาสตร์ โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช อุบลราชธานี ครูดีเด่น เขตการศึกษา 10 ปี 2538
3. ภาคกลาง นายประวิทย์ บึงสว่าง ครูวิทยาศาสตร์ โรงเรียนราชวินิตบางแก้ว ครูแห่งชาติ สาขาเคมี ปี 2541
4. ภาคใต้ นายถนอมเกียรติ งานสกุล ครูคณิตศาสตร์ โรงเรียนเมืองถลาง ภูเก็ต ครูแห่งชาติ สาขาคณิตศาสตร์ ปี 2542
10. คณะกรรมการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบสืบเนื่องจากสถานการณ์ความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้
คณะรัฐมนตรีรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 160/2548 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายและอำนวยการการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบสืบเนื่องจากสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งมีองค์ประกอบดังนี้ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย ปลัดกระทรวงการคลังหรือผู้แทน ปลัดกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์หรือผู้แทน ปลัดกระทรวงมหาดไทยหรือผู้แทน ปลัดกระทรวงยุติธรรมหรือผู้แทน ปลัดกระทรวงแรงงานหรือผู้แทน ปลัดกระทรวงสาธารณสุขหรือผู้แทน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการหรือผู้แทนปลัดกระทรวงวัฒนธรรมหรือผู้แทน อัยการสูงสุดหรือผู้แทน ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติหรือผู้แทนแม่ทัพภาคที่ 4 หรือผู้แทน ผู้อำนวยการเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้หรือผู้แทน รองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (นางจิราพร บุนนาค) ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ประธานกรรมการอิสลามประจำจังหวัดปัตตานี ประธานกรรมการอิสลามประจำจังหวัดยะลา ประธานกรรมการอิสลามประจำจังหวัดนราธิวาส ประธานกรรมการอิสลามประจำจังหวัดสงขลา นายพลเดช ปิ่นประทีป นางยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ ผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่พิจารณา โดยมีปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีหรือผู้แทนเป็นกรรมการและเลขานุการ และเจ้าหน้าที่กองอำนวยการเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านยุทธศาสตร์ความมั่นคง สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ นางวรนาถ ดวงอุดม เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
อำนาจหน้าที่
1. พิจารณากำหนดนโยบายและแนวทางปฏิบัติเพื่อให้รัฐบาลตกลงใจในการให้ความช่วยเหลือเยียวยาทั้งระบบแก่ทุกฝ่ายที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยให้พิจารณาอย่างเป็นระบบทั้งหลักเกณฑ์การให้ความช่วยเหลือตามระเบียบของทางราชการปัจจุบันที่มีอยู่ และหลักเกณฑ์การให้ความช่วยเหลืออื่นเพิ่มเติม เพื่อให้ครอบคลุมการช่วยเหลือเยียวยาที่เกี่ยวข้องอย่างครบถ้วนทุกด้าน
2. สำรวจจัดทำฐานข้อมูล และ/หรือศูนย์ข้อมูลกลางของผู้ได้รับผลกระทบทุกฝ่ายถึงลักษณะผลกระทบ ความต้องการความช่วยเหลือเยียวยาเพื่อนำไปใช้ประกอบการพิจารณากำหนดนโยบายและแนวทางปฏิบัติให้ได้ผลเป็นรูปธรรมอย่างถูกต้องครบถ้วน
3. อำนวยการ กำกับดูแล และเร่งรัดการปฏิบัติของส่วนราชการและองค์กรของรัฐที่เกี่ยวข้องให้เป็นไปตามนโยบายและแนวทางปฏิบัติอย่างเอกภาพและมีประสิทธิภาพ
4. ระดมพลังของทุกฝ่าย และประสานความร่วมมือกับองค์กรภาคประชาชนในการสนับสนุน การช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ เพื่อเป็นพลังขับเคลื่อนการช่วยเหลือเยียวยาและให้มีผลเชิงสร้างสรรค์ต่อกระบวนการสมานฉันท์
5. ในกรณีเร่งด่วน ให้ กยต. พิจารณาดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ได้ทันที โดยสามารถสั่งการให้ส่วนราชการและองค์กรของรัฐดำเนินการ เพื่อให้ผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้รับความช่วยเหลือเยียวยาอย่างรวดเร็วและทันท่วงที แล้วรายงานให้คณะรัฐมนตรีทราบ
6. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงาน เพื่อดำเนินการตามที่ กยต. มอบหมาย
7. รายงานความคืบหน้า และประเมินผลการช่วยเหลือเยียวยาต่อรัฐบาลตามห้วงเวลาที่เหมาะสม
การดำเนินการ
1. ให้ทุกส่วนราชการ และองค์กรของรัฐ ให้ความร่วมมือในด้านข้อมูล และเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการเยียวยา ให้การสนับสนุนด้านงบประมาณ บุคลากร และการดำเนินการ รวมทั้งสนับสนุนด้านอื่น ๆ ให้แก่ กยต. และคณะอนุกรรมการฯ ตามที่ร้องขอโดยเร็ว
2. เบี้ยประชุมคณะกรรมการและอนุกรรมการให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเบี้ยประชุมกรรมการ พ.ศ. 2547 และค่าใช้จ่ายในการอำนวยการและประสานงาน เช่น ค่าเดินทาง ค่าที่พัก ค่าอาหาร ค่าห้องประชุม โดยให้เบิกจ่ายจากสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
3. ให้สำนักงบประมาณจัดสรรเงินงบประมาณให้พอเพียงกับการปฏิบัติงานของ กยต. และให้กระทรวงการคลังสนับสนุนเงินของโครงการเพื่อการสาธารณะประโยชน์จากรายได้โดยการออกสลากพิเศษ เพื่อประโยชน์ในการสนับสนุนการดำเนินงานของ กยต. ทั้งนี้ ตั้งแต่ วันที่ 3 พ.ค. 2548 เป็นต้นไป
11. การมอบหมายให้รักษาราชการแทน
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ เพื่อเป็นหลักการในการแต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ในกรณีที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ตามความในมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ตามลำดับ ดังนี้ 1. นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย รองนายกรัฐมนตรี 2. นางอุไรวรรณ เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
12. การมอบหมายให้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอ เพื่อเป็นหลักการในการแต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในกรณีที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ไม่อาจปฏิบติราชการได้ ตามความในมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 โดยมอบหมายผู้รักษาราชการแทนตามลำดับ ดังนี้ 1. นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย รองนายกรัฐมนตรี 2. นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 3 พฤษภาคม 2548--จบ--
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอให้แต่งตั้ง นายพรเสก กาญจนจารี ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่นายกรัฐมนตรีลงนามในคำสั่งแต่งตั้งและมอบหมายให้เป็นผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงใดกระทรวงหนึ่งเป็นต้นไป เพื่อให้ผู้ได้รับแต่งตั้งลาออกจากตำแหน่งอื่น ๆ ที่เป็นลักษณะต้องห้ามได้ดำเนินการให้เรียบร้อย
2. ผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่กระทรวงพาณิชย์ เสนอให้แต่งตั้งรองนายกรัฐมนตรี (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์) เป็นผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในกรณีที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติราชการได้และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติราชการได้ และให้ถือเป็นมติคณะรัฐมนตรี ณ วันที่ได้มีคำสั่ง ทั้งนี้ ตามมาตรา 7 แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการเสนอเรื่องและการประชุมคณะรัฐมนตรี พ.ศ. 2548 และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2548
3. กรรมการบุคคลในคณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเสนอให้แต่งตั้ง นายศักดิ์ทิพย์ ไกรฤกษ์ เป็นกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย แทน นายประเวช รัตนเพียร ที่ขอลาออกจากตำแหน่งดังกล่าว
4. การปรับปรุงองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการพิจารณาปรับปรุงประมวลกฎหมาย รวม 4 คณะ
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ ให้มีการปรับปรุงองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการพิจารณาปรับปรุงประมวลกฎหมาย รวม 4 คณะ ซึ่งรองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) ปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบแล้วดังนี้
1. คณะกรรมการพิจารณาปรับปรุงประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ประกอบด้วย นายจำรัส เขมะจารุ เป็นประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย 1. หม่อมหลวงไกรฤกษ์ เกษมสันต์ *2. นายไกรสร บารมีอวยชัย 3. นายจรัญ ภักดีธนากุล *4. นายจักรพงษ์ เล็กสกุลไชย 5. นายชูเกียรติ รัตนชัยชาญ 6. นายดำรง แจ่มสุธี 7. นายทวีศักดิ์ วรพิวุฒิ *8. นายธานิศ เกศวพิทักษ์ 9. นายปราโมทย์ ผลาภิรมย์ 10. นายสมบูรณ์ บุญภินนท์ 11. นายสวิน อักขรายุทธ 12. นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย 13. นายอรรถนิติ ดิษฐอำนาจ
2. คณะกรรมการพิจารณาปรับปรุงประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ประกอบด้วย นายคนึง ฦาไชย เป็นประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย 1. นายกิติศักดิ์ กิติคุณไพโรจน์ 2. นายเกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์ 3. นางจริยา เจียมวิจิตร 4. นายจิรนิติ หะวานนท์ 5. นายณรงค์ ใจหาญ 6. นายพรเพชร วิชิตชลชัย 7. นายรองพล เจริญพันธุ์ 8. นายเรวัต ฉ่ำเฉลิม *9. พลตำรวจโท วันชัย ศรีนวลนัด 10. นายสิทธิโชค ศรีเจริญ 11. นายสุพล ยุติธาดา
3. คณะกรรมการพิจารณาปรับปรุงประมวลกฎหมายอาญา ประกอบด้วย นายศักดิ์ สนองชาติ เป็นประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย 1. นายคณิต ณ นคร 2. นายคัมภีร์ แก้วเจริญ 3. นายชัยเกษม นิติสิริ 4. นายชำนาญ พิเชษฐพันธ์ 5. นายทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ์ 6. นายประทีป เฉลิมภัทรกุล 7. นายประธาน วัฒนวาณิชย์ 8. นางสาวพวงเพชร สารคุณ 9. นายพิมล รัฐปัตย์ 10. นายสุธี ดำเนื้อดี 11. นายสุรศักดิ์ ลิขสิทธิ์วัฒนกุล *12. พลตำรวจตรีสุพจน์ ณ บางช้าง
4. คณะกรรมการพิจารณาปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วน บริษัท และองค์กรทางธุรกิจ ประกอบด้วย นายโสภณ รัตนากร เป็นประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย 1. นายเข็มชัย ชุติวงศ์ 2. ศาสตราจารย์พิเศษชัยวัฒน์ วงศ์วัฒนาศานต์ 3. นายไชยวัฒน์ บุนนาค 4. คุณพรทิพย์ จาละ 5. นายพิชัยศักดิ์ หรยางกูร 6. นายไพโรจน์ วายุภาพ 7. นายมานพ นาคทัต 8. นายสงขลา วิชัยขัทคะ 9. นางสุดา วิศรุตพิชญ์ *10. นายสุทธิชัย จิตรวาณิช *11. นางสาวสุภาภรณ์ ใจอ่อนน้อม 12. นายอนันต์ จันทรโอภากร 13. นายอมร จันทรสมบูรณ์
หมายเหตุ รายชื่อกรรมการที่มีเครื่องหมาย * คือบุคคลที่สำนักงานเสนอแต่งตั้งแทนกรรมการที่พ้นจากการปฏิบัติหน้าที่
5. คณะกรรมการกำหนดยุทธศาสตร์และแนวทางการเจรจาจัดทำความตกลงเขตการค้าเสรี
คณะรัฐมนตรีรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 159/2548 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการกำหนดยุทธศาสตร์และแนวทางการเจรจาจัดทำความตกลงเขตการค้าเสรี ตามที่สำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ ดังนี้
1. องค์ประกอบ รองนายกรัฐมนตรี (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์) เป็นประธานกรรมการ รองประธานกรรมการประกอบด้วย 1. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง 2. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ 3. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 4. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ 5. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กรรมการประกอบด้วย 1. ประธานที่ปรึกษานโยบายของนายกรัฐมนตรี (นายพันศักดิ์ วิญญรัตน์) 2. ปลัดกระทรวงการคลัง 3. ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ 4. ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 5. ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม 6. เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 7. นายณรงค์ชัย อัครเศรณี 8. นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ 9. นายสมพล เกียรติไพบูลย์ 10. นายศุภัช ศุภชลาศัย 11. นายสุชาติ ธาดาธำรงเวช โดยมีนายปานปรีย์ พหิทธานุกร ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นกรรมการและเลขานุการ และปลัดกระทรวงพาณิชย์ เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
2. อำนาจหน้าที่
2.1 กำหนดยุทธศาสตร์และแนวทางการเจรจาจัดทำความตกลงเขตการค้าเสรีระหว่างไทยกับประเทศหรือกลุ่มประเทศต่าง ๆ
2.2 ประสานและรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การเจรจาจัดทำความตกลงเขตการค้าเสรีเป็นไปตามยุทธศาสตร์และแนวทางที่วางไว้
2.3 กำกับดูแลให้มีการปฎิบัติตามความตกลงเขตการค้าเสรีที่ได้จัดทำขึ้นเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
2.4 ติดตาม ประเมินผล และรายงานผลการดำเนินการต่อนายกรัฐมนตรี
2.5 แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงาน เพื่อช่วยเหลือการปฏิบัติงานตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
2.6 ปฏิบัติงานหรือดำเนินการอื่นใดที่เกี่ยวกับเขตการค้าเสรีตามที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย
6. ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
คณะรัฐมนตรีรับทราบการแต่งตั้งผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเสนอ โดยที่สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรแจ้งว่าได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เป็นผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร และได้เชิญพระบรมราชโองการดังกล่าวมาให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีประทับพระราชสัญจกร เพื่อเชิญไปยังผู้ได้รับพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งต่อไป ซึ่งสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้ดำเนินการประทับพระราชลัญจกรในพระบรมราชโองการดังกล่าวเสร็จเรียบร้อย และได้เชิญคืนไปยังสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรแล้ว
7. ข้าราชการ (กระทรวงสาธารณสุข)
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ ให้แต่งตั้ง นายพินิจ หิรัญโชติ ดำรงตำแหน่ง นายแพทย์ 10 วช. ด้านเวชกรรม สาขาศัลยกรรม ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 23 เมษายน 2547
8. ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบการจัดหาวัสดุอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (จำนวน 6 ราย)
คณะรัฐมนตรีรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 154/2548 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบการจัดหาวัสดุอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยท่าอากาศยานสุวรรณภูมิตามที่สำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ ดังนี้ นายบุญศักดิ์ เจียมปรีชา อธิบดีกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง เป็นประธานกรรมการคณะกรรมการประกอบด้วย พลตำรวจเอก สมบัติ อมรวิวัฒน์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ กระทรวงยุติธรรม พลตำรวจเอก สุเทพ ธรรมรักษ์ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติฝ่ายกิจการพิเศษ รองศาสตราจารย์ ถวิล พึ่งมา คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคม เลขานุการและนายพุทธิสัตย์ นามเดช ผู้อำนวยการสำนักกฎหมายและระเบียบกลาง สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
ให้คณะกรรมการดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากข่าวทางสื่อมวลชนและตรวจสอบสัญญา คำร้องเรียน ตลอดจนเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และมีอำนาจเชิญเจ้าหน้าที่ของรัฐมาสอบถามหรือขอข้อมูล เรียกให้ส่งเอกสาร และประสานขอความร่วมมือจากหน่วยงานต่างประเทศและเอกชนเพื่อให้ได้ความชัดเจน โดยเฉพาะในประเด็นที่ว่า เหตุใดการจัดหาวัสดุอุปกรณ์ดังกล่าว จึงไม่ทำโดยตรงในนามของส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจกับผู้ผลิตหรือจัดจำหน่ายราคาที่ตกลงกันและอาจแพงขึ้นในภายหลังเพิ่มจากราคาเดิมที่ผู้ผลิตหรือจัดจำหน่ายกำหนดเป็นเพราะเหตุใด มีความสมเหตุสมผลมากน้อยเพียงใด มีข้อที่รัฐเสียประโยชน์จากการนี้หรือไม่อย่างไร มีเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือบุคคลใดที่เกี่ยวข้องหรือน่าจะเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้เรียกหรือรับประโยชน์อันมิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายประการใดหรือไม่ และประเด็นอื่น ๆ ตามที่คณะกรรมการเห็นสมควรเพื่อให้เกิดความชัดเจน โปร่งใส ตลอดจนอาจเสนอแนะมาตรการป้องกันและแก้ไขที่จำเป็นเพื่อให้การเร่งรัดจัดสร้างท่าอากาศยานแห่งใหม่แล้วเสร็จด้วย แล้วรายงานให้ทราบภายใน 15 วัน
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป
9. ประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คณะรัฐมนตรีรับทราบการแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แทนผู้ที่ครบวาระ ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ จำนวน 12 คน ดังนี้ ศาสตราจารย์ ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์ นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น สาขาชีวเคมี ที่ปรึกษาอาวุโส สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เป็นประธานกรรมการ
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ประกอบด้วย 1. ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 2. พญ.จันทร์เพ็ญ ชูประภาวรรณ ผู้อำนวยการสถาบันวิทยาการการเรียนรู้ 3. ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ 4. ศาสตราจารย์ ดร. ธีรวุฒิ บุณยโสภณ อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ 5. นายนิพนธ์ สุรพงษ์รักเจริญ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย 6. นางวรรณวิภา สุทธเกียรติ อาจารย์สอนคณิตศาสตร์ โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย 7. นายวีระวัฒน์ ชลายน อดีตผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย 8. ศาสตราจารย์ ดร.สุรินทร์ พงศ์ศุภสมิทธิ์ รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นครูผู้สอนวิทยาศาสตร์หรือคณิตศาสตร์ ประกอบด้วย
1. ภาคเหนือ นายประดิษฐ์ เหล่าเนตร์ ครูวิทยาศาสตร์ โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย พิษณุโลก ครูวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี 2533 ครูแห่งชาติ สาขาชีววิทยา ปี 2541
2. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นางวัลลภา บุญวิเศษ ครูคณิตศาสตร์ โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช อุบลราชธานี ครูดีเด่น เขตการศึกษา 10 ปี 2538
3. ภาคกลาง นายประวิทย์ บึงสว่าง ครูวิทยาศาสตร์ โรงเรียนราชวินิตบางแก้ว ครูแห่งชาติ สาขาเคมี ปี 2541
4. ภาคใต้ นายถนอมเกียรติ งานสกุล ครูคณิตศาสตร์ โรงเรียนเมืองถลาง ภูเก็ต ครูแห่งชาติ สาขาคณิตศาสตร์ ปี 2542
10. คณะกรรมการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบสืบเนื่องจากสถานการณ์ความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้
คณะรัฐมนตรีรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 160/2548 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายและอำนวยการการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบสืบเนื่องจากสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งมีองค์ประกอบดังนี้ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย ปลัดกระทรวงการคลังหรือผู้แทน ปลัดกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์หรือผู้แทน ปลัดกระทรวงมหาดไทยหรือผู้แทน ปลัดกระทรวงยุติธรรมหรือผู้แทน ปลัดกระทรวงแรงงานหรือผู้แทน ปลัดกระทรวงสาธารณสุขหรือผู้แทน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการหรือผู้แทนปลัดกระทรวงวัฒนธรรมหรือผู้แทน อัยการสูงสุดหรือผู้แทน ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติหรือผู้แทนแม่ทัพภาคที่ 4 หรือผู้แทน ผู้อำนวยการเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้หรือผู้แทน รองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (นางจิราพร บุนนาค) ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ประธานกรรมการอิสลามประจำจังหวัดปัตตานี ประธานกรรมการอิสลามประจำจังหวัดยะลา ประธานกรรมการอิสลามประจำจังหวัดนราธิวาส ประธานกรรมการอิสลามประจำจังหวัดสงขลา นายพลเดช ปิ่นประทีป นางยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ ผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่พิจารณา โดยมีปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีหรือผู้แทนเป็นกรรมการและเลขานุการ และเจ้าหน้าที่กองอำนวยการเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านยุทธศาสตร์ความมั่นคง สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ นางวรนาถ ดวงอุดม เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
อำนาจหน้าที่
1. พิจารณากำหนดนโยบายและแนวทางปฏิบัติเพื่อให้รัฐบาลตกลงใจในการให้ความช่วยเหลือเยียวยาทั้งระบบแก่ทุกฝ่ายที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยให้พิจารณาอย่างเป็นระบบทั้งหลักเกณฑ์การให้ความช่วยเหลือตามระเบียบของทางราชการปัจจุบันที่มีอยู่ และหลักเกณฑ์การให้ความช่วยเหลืออื่นเพิ่มเติม เพื่อให้ครอบคลุมการช่วยเหลือเยียวยาที่เกี่ยวข้องอย่างครบถ้วนทุกด้าน
2. สำรวจจัดทำฐานข้อมูล และ/หรือศูนย์ข้อมูลกลางของผู้ได้รับผลกระทบทุกฝ่ายถึงลักษณะผลกระทบ ความต้องการความช่วยเหลือเยียวยาเพื่อนำไปใช้ประกอบการพิจารณากำหนดนโยบายและแนวทางปฏิบัติให้ได้ผลเป็นรูปธรรมอย่างถูกต้องครบถ้วน
3. อำนวยการ กำกับดูแล และเร่งรัดการปฏิบัติของส่วนราชการและองค์กรของรัฐที่เกี่ยวข้องให้เป็นไปตามนโยบายและแนวทางปฏิบัติอย่างเอกภาพและมีประสิทธิภาพ
4. ระดมพลังของทุกฝ่าย และประสานความร่วมมือกับองค์กรภาคประชาชนในการสนับสนุน การช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ เพื่อเป็นพลังขับเคลื่อนการช่วยเหลือเยียวยาและให้มีผลเชิงสร้างสรรค์ต่อกระบวนการสมานฉันท์
5. ในกรณีเร่งด่วน ให้ กยต. พิจารณาดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ได้ทันที โดยสามารถสั่งการให้ส่วนราชการและองค์กรของรัฐดำเนินการ เพื่อให้ผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้รับความช่วยเหลือเยียวยาอย่างรวดเร็วและทันท่วงที แล้วรายงานให้คณะรัฐมนตรีทราบ
6. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงาน เพื่อดำเนินการตามที่ กยต. มอบหมาย
7. รายงานความคืบหน้า และประเมินผลการช่วยเหลือเยียวยาต่อรัฐบาลตามห้วงเวลาที่เหมาะสม
การดำเนินการ
1. ให้ทุกส่วนราชการ และองค์กรของรัฐ ให้ความร่วมมือในด้านข้อมูล และเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการเยียวยา ให้การสนับสนุนด้านงบประมาณ บุคลากร และการดำเนินการ รวมทั้งสนับสนุนด้านอื่น ๆ ให้แก่ กยต. และคณะอนุกรรมการฯ ตามที่ร้องขอโดยเร็ว
2. เบี้ยประชุมคณะกรรมการและอนุกรรมการให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเบี้ยประชุมกรรมการ พ.ศ. 2547 และค่าใช้จ่ายในการอำนวยการและประสานงาน เช่น ค่าเดินทาง ค่าที่พัก ค่าอาหาร ค่าห้องประชุม โดยให้เบิกจ่ายจากสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
3. ให้สำนักงบประมาณจัดสรรเงินงบประมาณให้พอเพียงกับการปฏิบัติงานของ กยต. และให้กระทรวงการคลังสนับสนุนเงินของโครงการเพื่อการสาธารณะประโยชน์จากรายได้โดยการออกสลากพิเศษ เพื่อประโยชน์ในการสนับสนุนการดำเนินงานของ กยต. ทั้งนี้ ตั้งแต่ วันที่ 3 พ.ค. 2548 เป็นต้นไป
11. การมอบหมายให้รักษาราชการแทน
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ เพื่อเป็นหลักการในการแต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ในกรณีที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ตามความในมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ตามลำดับ ดังนี้ 1. นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย รองนายกรัฐมนตรี 2. นางอุไรวรรณ เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
12. การมอบหมายให้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอ เพื่อเป็นหลักการในการแต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในกรณีที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ไม่อาจปฏิบติราชการได้ ตามความในมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 โดยมอบหมายผู้รักษาราชการแทนตามลำดับ ดังนี้ 1. นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย รองนายกรัฐมนตรี 2. นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 3 พฤษภาคม 2548--จบ--