ทำเนียบรัฐบาล--14 ส.ค.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีพิจารณาเรื่อง การจัดตั้งหน่วยงานแก้ปัญหาทำประมงไทย - พม่า ที่จังหวัด ระนอง ตามที่กระทรวงกลาโหมเสนอ แล้วมีมติดังนี้
1. ให้ความเห็นชอบในหลักการให้จัดตั้งศูนย์ประสานงานประมงชายแดนทางทะเลไทย - พม่า (ศปชล.ทพ.) เป็นหน่วยอำนวยการด้านนโยบายในระดับพื้นที่และเป็นหน่วยประสานการปฏิบัติกับ ฝ่ายพม่า เพื่อขจัดปัญหาความขัดแย้ง ในการทำประมงตามแนวชายแดนทางทะเลไทย - พม่า และประ สานงานคณะกรรมการระดับจังหวัดซึ่งเป็นหน่วยปฏิบัติในเขตพื้นที่จังหวัดนั้น ๆ โดยให้รับนโยบายจากคณะ กรรมการนโยบายประมงแห่งชาติ และกองอำนวยการปฏิบัตินโยบายชายแดนไทย - พม่า (กอ.นชทพ.) ไปปฏิบัติร่วมกับคณะกรรมการระดับจังหวัดที่เกี่ยวข้องตามแนวชายแดนทางทะเลไทย - พม่า ทั้งนี้ เห็น ควรให้ผู้อำนวยการ ศปชล.ทพ. ร่วมเป็นคณะกรรมการระดับจังหวัดด้วย
2. ให้ ศปชล.ทพ. สนับสนุนช่วยเหลือการปฏิบัติแก่คณะกรรมการระดับจังหวัดเพื่อให้เป็นไป ตามระเบียบที่กำหนด โดยเฉพาะการสนับสนุนกำลังในการปราบปรามผู้กระทำผิดที่ส่งผลกระทบต่อการ ประมงไทย - พม่า ในขณะเดียวกันก็ให้คณะกรรมการระดับจังหวัดสนับสนุนการดำเนินงานของ ศปชล. ทพ. รวมทั้งการให้ข้อมูลต่าง ๆ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการประสานการปฏิบัติงานด้วย
3. ให้กระทรวงกลาโหมประสานกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องอีกครั้งหนึ่งเกี่ยวกับอัตรากำลัง และเจ้าหน้าที่ที่จะมาปฏิบัติงานใน ศปชล.ทพ. ตามความจำเป็นและเหมาะสม
4. อนุมัติงบประมาณดำเนินการของ ศปชล.ทพ. ตามความเห็นสำนักงบประมาณ
5. ให้กระทรวงกลาโหมประสานกับกระทรวงการคลัง และกระทรวงคมนาคม (กรมทางหลวง) เกี่ยวกับการใช้ที่ดินในการจัดตั้ง ศปชล.ทพ. ต่อไป
6. ให้มีการประเมินผลการปฏิบัติงานของ ศปชล.ทพ. ในระยะเวลา 1 ปี โดยหน่วยงานที่ เป็นกลางเพื่อเป็นแบบอย่างการดำเนินงานแก้ไขปัญหาการทำประมงตามแนวชายแดนด้านอื่น ๆ ของ ประเทศต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายบรรหาร ศิลปอาชา)--วันที่ 13 สิงหาคม 2539--
คณะรัฐมนตรีพิจารณาเรื่อง การจัดตั้งหน่วยงานแก้ปัญหาทำประมงไทย - พม่า ที่จังหวัด ระนอง ตามที่กระทรวงกลาโหมเสนอ แล้วมีมติดังนี้
1. ให้ความเห็นชอบในหลักการให้จัดตั้งศูนย์ประสานงานประมงชายแดนทางทะเลไทย - พม่า (ศปชล.ทพ.) เป็นหน่วยอำนวยการด้านนโยบายในระดับพื้นที่และเป็นหน่วยประสานการปฏิบัติกับ ฝ่ายพม่า เพื่อขจัดปัญหาความขัดแย้ง ในการทำประมงตามแนวชายแดนทางทะเลไทย - พม่า และประ สานงานคณะกรรมการระดับจังหวัดซึ่งเป็นหน่วยปฏิบัติในเขตพื้นที่จังหวัดนั้น ๆ โดยให้รับนโยบายจากคณะ กรรมการนโยบายประมงแห่งชาติ และกองอำนวยการปฏิบัตินโยบายชายแดนไทย - พม่า (กอ.นชทพ.) ไปปฏิบัติร่วมกับคณะกรรมการระดับจังหวัดที่เกี่ยวข้องตามแนวชายแดนทางทะเลไทย - พม่า ทั้งนี้ เห็น ควรให้ผู้อำนวยการ ศปชล.ทพ. ร่วมเป็นคณะกรรมการระดับจังหวัดด้วย
2. ให้ ศปชล.ทพ. สนับสนุนช่วยเหลือการปฏิบัติแก่คณะกรรมการระดับจังหวัดเพื่อให้เป็นไป ตามระเบียบที่กำหนด โดยเฉพาะการสนับสนุนกำลังในการปราบปรามผู้กระทำผิดที่ส่งผลกระทบต่อการ ประมงไทย - พม่า ในขณะเดียวกันก็ให้คณะกรรมการระดับจังหวัดสนับสนุนการดำเนินงานของ ศปชล. ทพ. รวมทั้งการให้ข้อมูลต่าง ๆ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการประสานการปฏิบัติงานด้วย
3. ให้กระทรวงกลาโหมประสานกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องอีกครั้งหนึ่งเกี่ยวกับอัตรากำลัง และเจ้าหน้าที่ที่จะมาปฏิบัติงานใน ศปชล.ทพ. ตามความจำเป็นและเหมาะสม
4. อนุมัติงบประมาณดำเนินการของ ศปชล.ทพ. ตามความเห็นสำนักงบประมาณ
5. ให้กระทรวงกลาโหมประสานกับกระทรวงการคลัง และกระทรวงคมนาคม (กรมทางหลวง) เกี่ยวกับการใช้ที่ดินในการจัดตั้ง ศปชล.ทพ. ต่อไป
6. ให้มีการประเมินผลการปฏิบัติงานของ ศปชล.ทพ. ในระยะเวลา 1 ปี โดยหน่วยงานที่ เป็นกลางเพื่อเป็นแบบอย่างการดำเนินงานแก้ไขปัญหาการทำประมงตามแนวชายแดนด้านอื่น ๆ ของ ประเทศต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายบรรหาร ศิลปอาชา)--วันที่ 13 สิงหาคม 2539--