ยธ. เสนอว่า เนื่องจากพระราชบัญญัติวิธีดำเนินการคุมความประพฤติตามประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2522 ที่กำหนดวิธีการคุมความประพฤติตามประมวลกฎหมายอาญาได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานานแล้ว สมควรแก้ไขปรับปรุงให้ทันสมัยต่อการเปลี่ยนแปลงในสภาวการณ์ปัจจุบัน และให้สอดคล้องกับภารกิจของกรมคุมประพฤติซึ่งเป็นหน่วยงานหลักเกี่ยวกับการคุมประพฤติ ทั้งในชั้นก่อนการพิจารณาคดี ในชั้นการพิจารณาคดี และในชั้นหลังการพิพากษาคดี นอกจากนี้ ยังมีภารกิจใหม่ในการคุมประพฤติผู้กระทำผิดที่เป็นเด็กหรือเยาวชน ผู้ได้รับการพักการลงโทษและการลดวันต้องโทษจำคุก การตรวจพิสูจน์และการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดตามกฎหมายว่าด้วยการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด การจัดให้มีการทำงานบริการสังคม การดำเนินการเพื่อสร้างความยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ การให้การสงเคราะห์ การให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันอาชญากรรมและแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิด แต่โดยที่บทบัญญัติของกฎหมายที่มีอยู่ยังไม่ครอบคลุมภารกิจที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน และบางกรณียังมิได้กำหนดให้อำนาจพนักงานคุมประพฤติไว้ ดังนั้น เพื่อให้การปฏิบัติภารกิจของกรมคุมประพฤติมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นและมีกฎหมายรองรับภารกิจใหม่ ยธ. จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ
สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ
ประเด็น สาระสำคัญ พ.ร.บ.วิธีดำเนินการคุม สาระสำคัญ ร่าง พ.ร.บ.คุมประพฤติ พ.ศ. .... ความประพฤติตามประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2522 1. วันใช้บังคับ มีผลใช้บังคับในวันที่ 20 มี.ค. 2522 ร่าง พ.ร.บ. นี้มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 180 วันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป 2. การยกเลิกกฎหมายบางฉบับ - ไม่มีการกำหนดให้ยกเลิกกฎหมาย ยกเลิก พ.ร.บ. วิธีดำเนินการคุมความประพฤติ เนื่องจากเป็นการตรากฎหมายขึ้นใหม่ ตามประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2522 และ เพื่อรองรับ ม. 56 แห่งประมวลกฎหมายอาญา พ.ร.บ. วิธีดำเนินการคุมความประพฤติตาม ประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550 3. บทนิยาม กำหนดให้มีนิยามคำว่า “พนักงานคุม ให้มีนิยามคำว่า “การคุมประพฤติ” “ศาล” ประพฤติ” และ “ศาล” “ผู้ประสานงาน” “สำนักงานคุมประพฤติ” “คณะกรรมการ” “พนักงานคุมประพฤติ” “อาสาสมัครคุมประพฤติ” เป็นต้น 4. กลไกการดำเนินงานในรูป - ไม่มี ให้มี คกก. คุมประพฤติ ประกอบด้วย ปลัด-ยธ. คกก.คุมประพฤติ เป็นประธานกรรมการ กรรมการโดยตำแหน่ง กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งมีอธิบดีกรมคุมประพฤติ เป็นกรรมการและเลขานุการ โดยให้ คกก. มี อำนาจหน้าที่ตามที่กำหนด 5. อำนาจหน้าที่ของพนักงานคุม - มีอำนาจในการสืบเสาะและพินิจผู้ถูก - สืบเสาะและพินิจผู้ถูกสืบเสาะและพินิจในเรื่อง ประพฤติ สืบเสาะ และพินิจในเรื่องอายุ ประวัติ อายุ ประวัติ ความประพฤติ ฯลฯ ความประพฤติ ฯลฯ - พิจารณาใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หรืออุปกรณ์ใด - ส่งตัวจำเลยให้แพทย์ตรวจ ในการติดตามผู้กระทำผิด - เข้าไปในเคหสถานหรือสถานที่ใด ๆ ที่ - เข้าไปในเคหสถานหรือสถานที่ใด ๆ ที่ผู้ถูก ผู้ถูกสืบเสาะและพินิจหรือผู้ถูกคุมความ สืบเสาะและพินิจหรือผู้ถูกคุมความประพฤติอาศัย ประพฤติอาศัยหรือทำงานหรือมีความ หรือทำงานหรือมีความเกี่ยวข้องด้วย ฯลฯ เป็นต้น เกี่ยวข้องด้วย ฯลฯ เป็นต้น 6. อาสาสมัครและการมีส่วนร่วม - ไม่มีอาสาสมัครคุมประพฤติ - ให้มีอาสาสมัครคุมประพฤติเพื่อช่วยเหลือ ของภาคเอกชน พนักงานคุมประพฤติตามที่อธิบดีมอบหมาย 7. การฝึกอบรมและให้มีเงิน - ไม่มี ให้กรมคุมประพฤติจัดให้พนักงานคุมประพฤติเข้ารับ เพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษ การฝึกอบรมก่อนเข้าปฏิบัติหน้าที่ และให้พนักงาน คุมประพฤติที่ผ่านการฝึกอบรมนี้เป็นตำแหน่งที่มีเหตุ พิเศษตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพล เรือน และให้ได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุ พิเศษ โดยเปรียบเทียบกับค่าตอบแทนของ ผู้ปฏิบัติงานอื่นในกระบวนการยุติธรรมด้วย 8. กระบวนการดำเนินงาน - ให้มีกระบวนการสืบเสาะและพินิจ การ - ให้มีกระบวนการสืบเสาะและพินิจ การควบคุม ควบคุมและสอดส่อง และสอดส่อง และการทำงานบริการสังคม - กำหนดวิธีการดำเนินการคุมประพฤติโดยศาล - กำหนดวิธีการดำเนินการคุมประพฤติโดยศาล - กำหนดให้มีการดำเนินการเพื่อสร้างความ ยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ การสงเคราะห์การมีส่วน ร่วมของภาคประชาชน - กำหนดรายละเอียดในการรับทอดงานจากศาล ยุติธรรม ศาลเยาวชน ราชทัณฑ์ กรมพินิจฯ โดย กำหนดกลไกหลังจากรับส่งต่องานมา เพื่อให้กลไก มีสภาพบังคับตามกฎหมาย เช่น ให้หน่วยงานที่มี อำนาจสั่งใช้งานคุมประพฤติส่งต่อข้อมูลให้กับ สำนักงานคุมประพฤติภายในระยะเวลาที่กำหนด 9. บทกำหนดโทษ - กำหนดความผิดในกรณีเจ้าของหรือ - กำหนดความผิดในกรณีขัดขวางมิให้พนักงานคุม ครอบครองสถานที่ที่จำเลยหรือผู้ถูกคุม ประพฤติปฏิบัติหน้าที่ ความประพฤติอาศัยหรือทำการงานหรือมี - กำหนดความผิดในกรณีไม่ยอมให้ถ้อยคำหรือไม่มาพบ ความเกี่ยวข้องด้วยขัดขืนไม่ยอมให้ - กำหนดความผิดในกรณีเจ้าพนักงานมีตำแหน่ง พนักงานคุมประพฤติเข้าไปในสถานที่ หน้าที่ปฏิบัติการตาม พ.ร.บ. นี้นำความลับที่ได้ หรือไม่ยอมคำตอบสอบถามของพนักงานคุมประพฤติ ล่วงรู้หรือได้มาเพราะการปฏิบัติหน้าที่ไปเปิดเผย - กำหนดความผิดในกรณีไม่ปฏิบัติตาม คำสั่งของพนักงานคุมประพฤติโดยไม่มาพบ หรือไม่ยอมสาบานหรือปฏิญาณตน หรือไม่ ยอมให้ถ้อยคำ หรือไม่ยอมส่งวัตถุหรือเอกสาร - กำหนดความผิดในกรณีเจ้าพนักงานมี ตำแหน่งหน้าที่ปฏิบัติการตาม พ.ร.บ. นี้ นำความลับที่ได้ล่วงรู้หรือได้มาเพราะการ ปฏิบัติหน้าที่ไปเปิดเผย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 26 พฤษภาคม 2558--