คณะรัฐมนตรีรับทราบการประชุมสัมมนาเพื่อติดตาม เร่งรัด และเน้นย้ำการดำเนินงานต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากจน ยาเสพติด ผู้มีอิทธิพล และความมั่นคงในระดับพื้นที่ตามที่พลตำรวจเอกชิดชัย วรรณสถิตย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากจน กระทรวงมหาดไทย เสนอดังนี้
ด้วยกระทรวงมหาดไทยโดยศูนย์อำนวยการต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากจน (ศตจ.มท.) และศูนย์ปฏิบัติการต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเพสติด กระทรวงมหาดไทย (ศตส.มท.) ได้จัดประชุมสัมมนาเพื่อติดตาม เร่งรัด และเน้นย้ำการดำเนินงานต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากจน ยาเสพติด ผู้มีอิทธิพล และความมั่นคงในระดับพื้นที่ แก่ผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัด ปลัดจังหวัด นายอำเภอ ผู้กำกับการตำรวจภูธร อำเภอ และหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดที่เกี่ยวข้อง ในภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2548 ณ โรงแรมรอยัลคลีฟ บีช รีสอร์ท จังหวัดชลบุรี วันที่ 16 พฤษภาคม 2548 ณ โรงแรมสีมาธานี จังหวัดนครราชสีมา และวันที่ 19 พฤษภาคม 2548 ณ โรงแรมเจริญศรี แกรนด์ รอยัล จังหวัดอุดรธานี ซึ่งในการประชุมดังกล่าว พลตำรวจเอกชิดชัย วรรณสถิตย์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในฐานะ ผอ.ศตจ.มท. และ ผอ.ศตส.มท. พร้อมผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงมหาดไทยได้รับฟังผลการดำเนินงาน ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะจากจังหวัดต่าง ๆ รวมทั้งได้มอบนโยบายและแนวทางการดำเนินงานต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากจน และยาเสพติด การปราบปรามผู้มีอิทธิพล การรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงในระดับพื้นที่ ดังนี้
1. การดำเนินงานของจังหวัด
จังหวัดในภาคกลาง ได้แก่ กลุ่มจังหวัดที่ 5, 8 และ 9 คือ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด ชัยนาท นครนายก ปราจีนบุรี ลพบุรี สมุทรปราการ สระแก้ว และสิงห์บุรี รวม 13 จังหวัด และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทั้ง 19 จังหวัด ได้บรรยายสรุปผลการดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาลดังนี้
1.1 การดำเนินงานต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากจน
1) ปัญหาหนี้สิน ยังมีหนี้นอกระบบบางส่วนที่ไม่สามารถโอนเข้าระบบธนาคารได้ เนื่องจาก ลูกหนี้บางรายไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันเงินกู้ หรือไม่มีรายได้ประจำตามเงื่อนไขของธนาคาร
2) บ้านและที่อยู่อาศัย หลายจังหวัดได้นำงบประมาณของผู้ว่าราชการจังหวัดแบบบูรณาการ (CEO) และงบประมาณจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มาดำเนินการสร้างบ้านและที่อยู่อาศัยให้กับคนยากจนที่ได้ลงทะเบียนไว้
3) ที่ดินทำกิน ยังคืบหน้าได้ช้าเนื่องจากต้องรอนโยบายและแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนของหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง แต่มีบางจังหวัดที่ดำเนินการแก้ไขปัญหาไปบ้างแล้ว เช่น การรับรองสิทธิ์ แต่ยังเป็นจำนวนไม่มาก
4) การจัดคาราวานแก้จน แต่ละจังหวัดมีแนวทางการจัดคาราวานแก้จนลงในระดับพื้นที่ระดับหนึ่งแล้ว โดยส่วนหนึ่งเป็นการช่วยเหลือ ฝึกอาชีพ หางานให้ทำ ให้บริการต่าง ๆ และอีกส่วนหนึ่งเป็นการตรวจสอบข้อมูล และหาข้อมูลเพิ่มเติมจากข้อมูลที่ได้ลงทะเบียนไว้แล้ว ซึ่งกำลังเตรียมการลงลึกในระดับครัวเรือนต่อไป
1.2 การดำเนินงานต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติด ทุกจังหวัดได้ดำเนินงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติดอย่างต่อเนื่อง โดยใช้พลังแผ่นดินและชุมชนเข้มแข็งเฝ้าระวังยาเสพติด สำหรับจังหวัดที่อยู่ตามแนวชายแดนยังมีการลักลอบนำเข้าตามแนวชายแดนประเทศเพื่อนบ้าน โดยมีแหล่งผลิตอยู่นอกประเทศ นอกจากนี้หลายจังหวัดอยู่ระหว่างการขยายผล เพื่อจับกุมและยึดทรัพย์รายสำคัญ
1.3 การปราบปรามผู้มีอิทธิพล ทุกจังหวัดยังดำเนินการปราบปรามผู้มีอิทธิพลตามบัญชีรายชื่อที่มีอยู่อย่างต่อเนื่อง ทั้งการจับกุม ยึดทรัพย์ และเฝ้าติดตามพฤติการณ์
1.4 การรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงในระดับพื้นที่ จังหวัดต่าง ๆ มีการเฝ้าระวัง หาข่าว จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการด้านการข่าว จัดประชุมโต๊ะข่าว บางจังหวัดมีการนำพลังประชาชนมาร่วมดำเนินการโดยออกพบปะชี้แจงทำความเข้าใจเพื่อลดการเคลื่อนไหวและการชุมนุมเรียกร้องต่าง ๆ
2. ข้อเสนอจากพื้นที่หลายจังหวัด ได้ให้ข้อเสนอแนวทางการการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลที่กล่าวมา เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและบรรลุผลสำเร็จ ดังนี้
2.1 สมควรมีกองทุนสำหรับดูแลหนี้นอกระบบรวมทั้งดำเนินการซื้อทรัพย์สินของคนจนที่ศาลตัดสินแล้ว และกำลังจะถูกขายทอดตลาดให้กับเจ้าของทรัพย์สินเดิมแล้วผ่อนส่งกับกองทุนภายหลัง
2.2 การโอนหนี้นอกระบบเข้าสู่ระบบธนาคาร ส่วนใหญ่ไม่มีหลักทรัพย์ นอกจากนี้ในโครงการกู้ยืมเงินมักจะเขียนโครงการกู้ยืมเงินไม่เป็น ควรมีการปรับปรุงรูปแบบ เช่น บางประเทศดำเนินการ โดยจัดตั้งธนาคารเพื่อประชาชน และจ้างเจ้าหน้าที่ร้อยละ 25 มาดูแลคนยากจนตัวต่อตัว เพื่อช่วยแนะนำในการให้กู้ยืมเงิน
2.3 ต้องรณรงค์ปรับเปลี่ยนทัศนคติและพฤติกรรม ซึ่งยังคงรอรับการช่วยเหลือ ไม่ดิ้นรนสร้างโอกาส รักสนุก เล่นการพนัน เป็นต้น
3. การมอบนโยบายและแนวทางการดำเนินงาน
รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้มอบนโยบายและแนวทางการดำเนินงานให้กับผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัด นายอำเภอ และหัวหน้าส่วนราชการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
3.1 การดำเนินงานต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากจน
1) การจัดทำฐานข้อมูลกลาง สำหรับใช้เป็นข้อมูลในการบริหารจัดการแก้ไขปัญหาสังคมและความยากจน ต้องเป็นข้อมูลในรายละเอียดเชิงลึกลงถึงระดับบุคคล ครัวเรือน หมู่บ้าน/ชุมชน ซึ่งหลายหน่วยงานได้จัดเก็บไว้แล้ว ต้องนำเอาข้อมูลเหล่านี้มาวิเคราะห์และปรับให้เป็นข้อมูล POC ของจังหวัด เพื่อใช้ประโยชน์ในการบริหารจัดการ
2) บ้านและที่อยู่อาศัย ในเขตกรุงเทพมหานคร การเคหะแห่งชาติเป็นผู้รับผิดชอบดูแลตาม โครงการบ้านเอื้ออาทร ในส่วนจังหวัดต่าง ๆ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) เป็นผู้รับผิดชอบดูแลตามโครงการบ้าน มั่นคง นอกจากนี้ยังมีบ้านกลางสำหรับคนเร่ร่อนไม่มีที่อยู่อาศัยให้เข้าพักอาศัยเป็นการชั่วคราว โดยอยู่ในความดูแลรับผิดชอบของ พอช. สำหรับแบบบ้านที่จะใช้ก่อสร้างนี้ จะเป็นแบบเดียวกันกับที่สร้างให้กับผู้ประสบภัยธรณีพิบัตสึนามิ คือแบบ Knockdown ราคาไม่เกินแสนบาท จะสร้างจำนวน 500,000 หน่วย แล้วให้ผ่อนส่งเดือนละ 1,000 บาท
3) การพัฒนาแหล่งน้ำ รัฐบาลกำหนดให้เรื่องนี้เป็นวาระแห่งชาติ โดยมีเจ้าภาพรับผิดชอบในระดับมหภาค 25 ลุ่มน้ำ ให้มีการบริหารจัดการทั้งต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ รวมทั้งการพัฒนาและหาแหล่งเก็บกักน้ำที่มีอยู่ในตำบล หมู่บ้าน/ชุมชน ให้เพียงพอ
4) การพัฒนาส่งเสริมอาชีพและการมีงานทำ ได้ปรับอนุกรรมการของ ศตจ.ใหม่ โดยให้กระทรวงแรงงานรับไปดำเนินการดูแลและให้การช่วยเหลือ แต่จากการวิเคราะห์ข้อมูลของผู้มาลงทะเบียนปัญหาสังคมและความ ยากจน พบว่าเกษตรกรจำนวนมากที่ว่างงานและไม่มีงานทำ จึงแยกการส่งเสริมอาชีพด้านการเกษตรหรือภาคเกษตรกรรม ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับเป็นเจ้าภาพดำเนินการในอนุกรรมการฯ ชุดนี้
5) ที่ดินทำกิน ผู้ลงทะเบียนปัญหาสังคมและความยากจนมีความต้องการที่ทำกินมาก แต่ที่ผ่านมาการแก้ไขปัญหาในเรื่องนี้ยังไม่มีความก้าวหน้าเท่าที่ควร เนื่องจากมีกฎหมายหลายฉบับและหลายหน่วยงานรับผิดชอบ และอยู่ระหว่างดำเนินการสำรวจหาที่ดินที่จะนำมาจัดให้ผู้ลงทะเบียน (Supply Side) และยังมีปัญหาเรื่องแนวเขตที่ดินที่ยังไม่ชัดเจน ส่วนด้าน Demand Side ยังต้องมีการตรวจสอบและพิสูจน์ทราบความต้องการของประชาชนที่แท้จริง เพื่อทราบความต้องการ (Demand) ว่ามีอยู่เท่าใด เพราะ Supply ในเรื่องที่ดินมีอยู่จำกัด และได้มอบให้ ศตจ.มท. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
6) การออกเอกสารสิทธิ เร่งรัดกรมที่ดินให้ออกเอกสารสิทธิให้แก่ผู้ที่มีที่ดิน และต้องการให้ออกเอกสารสิทธิตามกฎหมาย สำหรับผู้ที่ครอบครองที่ดินของรัฐ ได้เร่งรัดหน่วยงานที่ดูแลที่ดินสำรวจรังวัดและออกเอกสารสิทธิ
7) หนี้สิน ที่ผ่านมาได้ดำเนินการในเรื่องหนี้นอกระบบ โดยจัดทีมเจรจาหนี้สินให้เจ้าหนี้ ลูกหนี้ ได้มาพบปะเจรจาตกลงกัน ซึ่งส่วนใหญ่ก็สามารถตกลงกันได้ แต่ยังมีหนี้นอกระบบบางส่วนที่ยังไม่สามารถโอนเข้าระบบธนาคารได้ เนื่องจากไม่เข้าหลักเกณฑ์ของธนาคาร เช่น ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน ไม่มีรายได้ที่แน่นอน ในส่วนนี้กระทรวงการคลังกำลังดูแลอยู่เพื่อหาทางแก้ไขปัญหา สำหรับหนี้ในระบบของธนาคารและสถาบันการเงินต่าง ๆ ยังไม่มีปัญหา
3.2 การดำเนินการต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติด
1) การปราบปรามยาเสพติด ให้เน้นการปราบปรามสกัดกั้นยาเสพติดตามแนวชายแดน โดยเฉพาะทางด้านลาว และกัมพูชา เน้นการเฝ้าระวังตามด่านตรวจคนเข้า-ออก
2) การป้องกันปัญหาการแพร่ระบาดยาเสพติด การป้องกันและเฝ้าระวังในโรงเรียน สถานศึกษา ให้กระทรวงศึกษาธิการ และกรุงเทพมหานครรับผิดชอบ ส่วนนอกสถานศึกษาให้กระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงาน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ รับผิดชอบดำเนินการตามยุทธศาสตร์ที่กำหนดไว้
3) ให้มีการทำงานร่วมกันกับเรือนจำ เพื่อติดตามพฤติกรรมของผู้ต้องหายาเสพติดที่ยังมีเครือข่ายอยู่ โดยตรวจตราดูแลคนที่เข้าไปเยี่ยมผู้ต้องหา นักโทษ แล้วสืบสวนขยายผลไปสู่การยึดทรัพย์
4) เมื่อมีการจับกุมขอให้ขยายผลให้สุดทาง แม้เป็นผู้ค้ารายย่อย เพื่อหาตัวการรายใหญ่รายสำคัญ จนนำไปสู่การยึดทรัพย์ โดยให้ประสาน ป.ป.ส. ป.ป.ง. และสรรพากร อย่างใกล้ชิด
5) ต้องสร้างชุมชนให้เข้มแข็งเพื่อเอาชนะยาเสพติด โดยมีผู้ประสานงานพลังแผ่นดินในพื้นที่/ชุมชนที่จัดตั้งขึ้น ร่วมกับประชาชนในพื้นที่ดำเนินการ เพื่อใช้เป็นเครือข่ายเฝ้าระวังยาเสพติด
6) ดำเนินการค้นหาผู้เสพ ผู้ติด รายใหม่ เพื่อเข้าไปค้นหาถึงต้นตอแหล่งแพร่ระบาดยาเสพติด และนำผู้เสพ ผู้ติด ออกมาบำบัด รักษา ทั้งรายเก่าและรายใหม่
7) ให้มีการ Re-x-ray ยาเสพติดปีละ 2 ครั้ง โดยครั้งที่ 1 ในช่วงเดือนมีนาคม — พฤษภาคม ซึ่งเป็นช่วงปิดเทอมของโรงเรียน และครั้งที่ 2 ระหว่างเดือนตุลาคม — ธันวาคม ของทุกปี
3.3 การปราบปรามผู้มีอิทธิพล
1) ผู้มีอิทธิพล ดำรงอยู่ได้ด้วยมีบุคคล 3 กลุ่มสนับสนุน คือ มือปืนรับจ้าง ข้าราชการและนักเลงหัวไม้ ข้าราชการจะต้องไม่เข้าไปเกี่ยวข้อง สนับสนุน ส่งเสริม อำนวยความสะดวกให้กับผู้มีอิทธิพลอย่างเด็ดขาด และให้ ติดตามเฝ้าระวังพฤติการณ์ผู้มีอิทธิพล หากมีหลักฐานแน่ชัดให้ดำเนินการในทันที
2) บัญชีรายชื่อผู้มีอิทธิพลต้องมีการปรับเปลี่ยนอยู่เสมอ มีการตรวจสอบบัญชีรายชื่อผู้มีอิทธิพล โดยอาศัยฐานข้อมูลจากแหล่งอื่น ๆ มาประกอบเพื่อดำเนินการปราบปราม
3) ให้มีการจัดระเบียบผู้ค้าขาย ดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย และการดำเนินการต่อผู้มี อิทธิพลที่เกี่ยวข้องกับผู้ค้าขายเหล่านี้ ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมในการปราบราม ใช้มาตรการยึดทรัพย์ หรือมาตรการทางภาษี
4) การดำเนินการในบางกรณีจะมีหน่วยข่าว เข้ามาร่วมดำเนินการด้วย โดยจัดทีมพิเศษลงไปดำเนินการ ทั้งนี้ ต้องกระทำด้วยความระมัดระวังมิให้ไปกระทบสิทธิมนุษยชน รวมทั้งให้ความสำคัญจากเบาะแสที่มีการร้องเรียนผ่านตู้นายกฯ และศูนย์ดำรงธรรม
3.4 การรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคง
สถานการณ์ความไม่สงบเรียบร้อยใน 3 จังหวัดภาคใต้ ต้องดำเนินการรักษาความปลอดภัยที่ เข้มงวดขึ้น โดยยกระดับขึ้นมาสร้างความมั่นใจ เชื่อถือได้ มีกฎหมายที่สามารถสร้างความเข้มแข็งในการรักษาความมั่นคกระทรวงมหาดไทยจะพิจารณาศึกษาการปรับบทบาทและการดูแลชนกลุ่มน้อยทั้งระบบที่มีอยู่ในประเทศ การดำเนินการ ในเรื่องความมั่นคงมิติอื่น ๆ ต้องเป็นการทำงานระดับมืออาชีพ ต้องขันเกลียวข้าราชการเป็นพิเศษ อย่าให้มีจุดอ่อน สมควรที่มวลชนที่เป็นพลังแผ่นดินได้สนับสนุนและให้กำลังใจซึ่งกันและกัน
3.5 เรื่องอื่น ๆ
1) นโยบายประหยัดพลังงานให้ลดลงร้อยละ 10 เพื่อลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน ให้ผู้ว่าราชการจังหวัด ดูแลรับผิดชอบในเรื่องนี้อย่างจริงจัง รวมทั้งรายงานให้กระทรวงมหาดไทยทราบ
2) การใช้จ่ายงบประมาณ ให้เร่งรัดการใช้จ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งเงื่อนเวลาและเป้าหมาย
3) วันวิสาขบูชาปีนี้ รัฐบาลรณรงค์ให้ทุกคนในชาติตั้งสัจจะ 1 ประการ เพื่อเป็นการยกระดับ คุณธรรมของคนในชาติให้สูงขึ้น ให้สังคมดีขึ้น ขอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแจกจ่ายการ์ดตั้งสัจจะให้ประชาชนอย่างทั่วถึง แล้วรวบรวมนำส่งนายกรัฐมนตรี
4) การปลูกต้นไม้ ขอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้นำในการปลูกต้นไม้ สร้างสภาวะแวดล้อมให้น่าอยู่ตามโครงการ หนึ่งคน หนึ่งต้น หนึ่งฝน เพื่อประชาชนชาวไทย
5) ปรับการทำงาน ข้าราชการฝ่ายตำรวจและฝ่ายปกครอง จะต้องทำงานร่วมกันเป็นหนึ่งเดียว มีการประสานที่สามารถต่อเชื่อมกันได้
6) การรณรงค์ให้ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์สวมหมวกนิรภัยให้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องเป็นนิสัย เพื่อป้องกันและลดอุบัติเหตุบนท้องถนน
สำหรับการจัดประชุมสัมมนาดังกล่าวของรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ยังเหลือการดำเนินการอีก 5 จุด คือ ภาคใต้ ที่จังหวัดสงขลาและภูเก็ต ภาคเหนือ ที่จังหวัดเชียงใหม่และพิษณุโลก และภาคกลางจังหวัดที่เหลือ ที่จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งจะได้สรุปและนำเรียนคณะรัฐมนตรีทราบในโอกาสต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 24 พฤษภาคม 2548--จบ--
ด้วยกระทรวงมหาดไทยโดยศูนย์อำนวยการต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากจน (ศตจ.มท.) และศูนย์ปฏิบัติการต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเพสติด กระทรวงมหาดไทย (ศตส.มท.) ได้จัดประชุมสัมมนาเพื่อติดตาม เร่งรัด และเน้นย้ำการดำเนินงานต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากจน ยาเสพติด ผู้มีอิทธิพล และความมั่นคงในระดับพื้นที่ แก่ผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัด ปลัดจังหวัด นายอำเภอ ผู้กำกับการตำรวจภูธร อำเภอ และหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดที่เกี่ยวข้อง ในภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2548 ณ โรงแรมรอยัลคลีฟ บีช รีสอร์ท จังหวัดชลบุรี วันที่ 16 พฤษภาคม 2548 ณ โรงแรมสีมาธานี จังหวัดนครราชสีมา และวันที่ 19 พฤษภาคม 2548 ณ โรงแรมเจริญศรี แกรนด์ รอยัล จังหวัดอุดรธานี ซึ่งในการประชุมดังกล่าว พลตำรวจเอกชิดชัย วรรณสถิตย์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในฐานะ ผอ.ศตจ.มท. และ ผอ.ศตส.มท. พร้อมผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงมหาดไทยได้รับฟังผลการดำเนินงาน ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะจากจังหวัดต่าง ๆ รวมทั้งได้มอบนโยบายและแนวทางการดำเนินงานต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากจน และยาเสพติด การปราบปรามผู้มีอิทธิพล การรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงในระดับพื้นที่ ดังนี้
1. การดำเนินงานของจังหวัด
จังหวัดในภาคกลาง ได้แก่ กลุ่มจังหวัดที่ 5, 8 และ 9 คือ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด ชัยนาท นครนายก ปราจีนบุรี ลพบุรี สมุทรปราการ สระแก้ว และสิงห์บุรี รวม 13 จังหวัด และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทั้ง 19 จังหวัด ได้บรรยายสรุปผลการดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาลดังนี้
1.1 การดำเนินงานต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากจน
1) ปัญหาหนี้สิน ยังมีหนี้นอกระบบบางส่วนที่ไม่สามารถโอนเข้าระบบธนาคารได้ เนื่องจาก ลูกหนี้บางรายไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันเงินกู้ หรือไม่มีรายได้ประจำตามเงื่อนไขของธนาคาร
2) บ้านและที่อยู่อาศัย หลายจังหวัดได้นำงบประมาณของผู้ว่าราชการจังหวัดแบบบูรณาการ (CEO) และงบประมาณจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มาดำเนินการสร้างบ้านและที่อยู่อาศัยให้กับคนยากจนที่ได้ลงทะเบียนไว้
3) ที่ดินทำกิน ยังคืบหน้าได้ช้าเนื่องจากต้องรอนโยบายและแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนของหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง แต่มีบางจังหวัดที่ดำเนินการแก้ไขปัญหาไปบ้างแล้ว เช่น การรับรองสิทธิ์ แต่ยังเป็นจำนวนไม่มาก
4) การจัดคาราวานแก้จน แต่ละจังหวัดมีแนวทางการจัดคาราวานแก้จนลงในระดับพื้นที่ระดับหนึ่งแล้ว โดยส่วนหนึ่งเป็นการช่วยเหลือ ฝึกอาชีพ หางานให้ทำ ให้บริการต่าง ๆ และอีกส่วนหนึ่งเป็นการตรวจสอบข้อมูล และหาข้อมูลเพิ่มเติมจากข้อมูลที่ได้ลงทะเบียนไว้แล้ว ซึ่งกำลังเตรียมการลงลึกในระดับครัวเรือนต่อไป
1.2 การดำเนินงานต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติด ทุกจังหวัดได้ดำเนินงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติดอย่างต่อเนื่อง โดยใช้พลังแผ่นดินและชุมชนเข้มแข็งเฝ้าระวังยาเสพติด สำหรับจังหวัดที่อยู่ตามแนวชายแดนยังมีการลักลอบนำเข้าตามแนวชายแดนประเทศเพื่อนบ้าน โดยมีแหล่งผลิตอยู่นอกประเทศ นอกจากนี้หลายจังหวัดอยู่ระหว่างการขยายผล เพื่อจับกุมและยึดทรัพย์รายสำคัญ
1.3 การปราบปรามผู้มีอิทธิพล ทุกจังหวัดยังดำเนินการปราบปรามผู้มีอิทธิพลตามบัญชีรายชื่อที่มีอยู่อย่างต่อเนื่อง ทั้งการจับกุม ยึดทรัพย์ และเฝ้าติดตามพฤติการณ์
1.4 การรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงในระดับพื้นที่ จังหวัดต่าง ๆ มีการเฝ้าระวัง หาข่าว จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการด้านการข่าว จัดประชุมโต๊ะข่าว บางจังหวัดมีการนำพลังประชาชนมาร่วมดำเนินการโดยออกพบปะชี้แจงทำความเข้าใจเพื่อลดการเคลื่อนไหวและการชุมนุมเรียกร้องต่าง ๆ
2. ข้อเสนอจากพื้นที่หลายจังหวัด ได้ให้ข้อเสนอแนวทางการการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลที่กล่าวมา เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและบรรลุผลสำเร็จ ดังนี้
2.1 สมควรมีกองทุนสำหรับดูแลหนี้นอกระบบรวมทั้งดำเนินการซื้อทรัพย์สินของคนจนที่ศาลตัดสินแล้ว และกำลังจะถูกขายทอดตลาดให้กับเจ้าของทรัพย์สินเดิมแล้วผ่อนส่งกับกองทุนภายหลัง
2.2 การโอนหนี้นอกระบบเข้าสู่ระบบธนาคาร ส่วนใหญ่ไม่มีหลักทรัพย์ นอกจากนี้ในโครงการกู้ยืมเงินมักจะเขียนโครงการกู้ยืมเงินไม่เป็น ควรมีการปรับปรุงรูปแบบ เช่น บางประเทศดำเนินการ โดยจัดตั้งธนาคารเพื่อประชาชน และจ้างเจ้าหน้าที่ร้อยละ 25 มาดูแลคนยากจนตัวต่อตัว เพื่อช่วยแนะนำในการให้กู้ยืมเงิน
2.3 ต้องรณรงค์ปรับเปลี่ยนทัศนคติและพฤติกรรม ซึ่งยังคงรอรับการช่วยเหลือ ไม่ดิ้นรนสร้างโอกาส รักสนุก เล่นการพนัน เป็นต้น
3. การมอบนโยบายและแนวทางการดำเนินงาน
รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้มอบนโยบายและแนวทางการดำเนินงานให้กับผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัด นายอำเภอ และหัวหน้าส่วนราชการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
3.1 การดำเนินงานต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากจน
1) การจัดทำฐานข้อมูลกลาง สำหรับใช้เป็นข้อมูลในการบริหารจัดการแก้ไขปัญหาสังคมและความยากจน ต้องเป็นข้อมูลในรายละเอียดเชิงลึกลงถึงระดับบุคคล ครัวเรือน หมู่บ้าน/ชุมชน ซึ่งหลายหน่วยงานได้จัดเก็บไว้แล้ว ต้องนำเอาข้อมูลเหล่านี้มาวิเคราะห์และปรับให้เป็นข้อมูล POC ของจังหวัด เพื่อใช้ประโยชน์ในการบริหารจัดการ
2) บ้านและที่อยู่อาศัย ในเขตกรุงเทพมหานคร การเคหะแห่งชาติเป็นผู้รับผิดชอบดูแลตาม โครงการบ้านเอื้ออาทร ในส่วนจังหวัดต่าง ๆ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) เป็นผู้รับผิดชอบดูแลตามโครงการบ้าน มั่นคง นอกจากนี้ยังมีบ้านกลางสำหรับคนเร่ร่อนไม่มีที่อยู่อาศัยให้เข้าพักอาศัยเป็นการชั่วคราว โดยอยู่ในความดูแลรับผิดชอบของ พอช. สำหรับแบบบ้านที่จะใช้ก่อสร้างนี้ จะเป็นแบบเดียวกันกับที่สร้างให้กับผู้ประสบภัยธรณีพิบัตสึนามิ คือแบบ Knockdown ราคาไม่เกินแสนบาท จะสร้างจำนวน 500,000 หน่วย แล้วให้ผ่อนส่งเดือนละ 1,000 บาท
3) การพัฒนาแหล่งน้ำ รัฐบาลกำหนดให้เรื่องนี้เป็นวาระแห่งชาติ โดยมีเจ้าภาพรับผิดชอบในระดับมหภาค 25 ลุ่มน้ำ ให้มีการบริหารจัดการทั้งต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ รวมทั้งการพัฒนาและหาแหล่งเก็บกักน้ำที่มีอยู่ในตำบล หมู่บ้าน/ชุมชน ให้เพียงพอ
4) การพัฒนาส่งเสริมอาชีพและการมีงานทำ ได้ปรับอนุกรรมการของ ศตจ.ใหม่ โดยให้กระทรวงแรงงานรับไปดำเนินการดูแลและให้การช่วยเหลือ แต่จากการวิเคราะห์ข้อมูลของผู้มาลงทะเบียนปัญหาสังคมและความ ยากจน พบว่าเกษตรกรจำนวนมากที่ว่างงานและไม่มีงานทำ จึงแยกการส่งเสริมอาชีพด้านการเกษตรหรือภาคเกษตรกรรม ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับเป็นเจ้าภาพดำเนินการในอนุกรรมการฯ ชุดนี้
5) ที่ดินทำกิน ผู้ลงทะเบียนปัญหาสังคมและความยากจนมีความต้องการที่ทำกินมาก แต่ที่ผ่านมาการแก้ไขปัญหาในเรื่องนี้ยังไม่มีความก้าวหน้าเท่าที่ควร เนื่องจากมีกฎหมายหลายฉบับและหลายหน่วยงานรับผิดชอบ และอยู่ระหว่างดำเนินการสำรวจหาที่ดินที่จะนำมาจัดให้ผู้ลงทะเบียน (Supply Side) และยังมีปัญหาเรื่องแนวเขตที่ดินที่ยังไม่ชัดเจน ส่วนด้าน Demand Side ยังต้องมีการตรวจสอบและพิสูจน์ทราบความต้องการของประชาชนที่แท้จริง เพื่อทราบความต้องการ (Demand) ว่ามีอยู่เท่าใด เพราะ Supply ในเรื่องที่ดินมีอยู่จำกัด และได้มอบให้ ศตจ.มท. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
6) การออกเอกสารสิทธิ เร่งรัดกรมที่ดินให้ออกเอกสารสิทธิให้แก่ผู้ที่มีที่ดิน และต้องการให้ออกเอกสารสิทธิตามกฎหมาย สำหรับผู้ที่ครอบครองที่ดินของรัฐ ได้เร่งรัดหน่วยงานที่ดูแลที่ดินสำรวจรังวัดและออกเอกสารสิทธิ
7) หนี้สิน ที่ผ่านมาได้ดำเนินการในเรื่องหนี้นอกระบบ โดยจัดทีมเจรจาหนี้สินให้เจ้าหนี้ ลูกหนี้ ได้มาพบปะเจรจาตกลงกัน ซึ่งส่วนใหญ่ก็สามารถตกลงกันได้ แต่ยังมีหนี้นอกระบบบางส่วนที่ยังไม่สามารถโอนเข้าระบบธนาคารได้ เนื่องจากไม่เข้าหลักเกณฑ์ของธนาคาร เช่น ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน ไม่มีรายได้ที่แน่นอน ในส่วนนี้กระทรวงการคลังกำลังดูแลอยู่เพื่อหาทางแก้ไขปัญหา สำหรับหนี้ในระบบของธนาคารและสถาบันการเงินต่าง ๆ ยังไม่มีปัญหา
3.2 การดำเนินการต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติด
1) การปราบปรามยาเสพติด ให้เน้นการปราบปรามสกัดกั้นยาเสพติดตามแนวชายแดน โดยเฉพาะทางด้านลาว และกัมพูชา เน้นการเฝ้าระวังตามด่านตรวจคนเข้า-ออก
2) การป้องกันปัญหาการแพร่ระบาดยาเสพติด การป้องกันและเฝ้าระวังในโรงเรียน สถานศึกษา ให้กระทรวงศึกษาธิการ และกรุงเทพมหานครรับผิดชอบ ส่วนนอกสถานศึกษาให้กระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงาน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ รับผิดชอบดำเนินการตามยุทธศาสตร์ที่กำหนดไว้
3) ให้มีการทำงานร่วมกันกับเรือนจำ เพื่อติดตามพฤติกรรมของผู้ต้องหายาเสพติดที่ยังมีเครือข่ายอยู่ โดยตรวจตราดูแลคนที่เข้าไปเยี่ยมผู้ต้องหา นักโทษ แล้วสืบสวนขยายผลไปสู่การยึดทรัพย์
4) เมื่อมีการจับกุมขอให้ขยายผลให้สุดทาง แม้เป็นผู้ค้ารายย่อย เพื่อหาตัวการรายใหญ่รายสำคัญ จนนำไปสู่การยึดทรัพย์ โดยให้ประสาน ป.ป.ส. ป.ป.ง. และสรรพากร อย่างใกล้ชิด
5) ต้องสร้างชุมชนให้เข้มแข็งเพื่อเอาชนะยาเสพติด โดยมีผู้ประสานงานพลังแผ่นดินในพื้นที่/ชุมชนที่จัดตั้งขึ้น ร่วมกับประชาชนในพื้นที่ดำเนินการ เพื่อใช้เป็นเครือข่ายเฝ้าระวังยาเสพติด
6) ดำเนินการค้นหาผู้เสพ ผู้ติด รายใหม่ เพื่อเข้าไปค้นหาถึงต้นตอแหล่งแพร่ระบาดยาเสพติด และนำผู้เสพ ผู้ติด ออกมาบำบัด รักษา ทั้งรายเก่าและรายใหม่
7) ให้มีการ Re-x-ray ยาเสพติดปีละ 2 ครั้ง โดยครั้งที่ 1 ในช่วงเดือนมีนาคม — พฤษภาคม ซึ่งเป็นช่วงปิดเทอมของโรงเรียน และครั้งที่ 2 ระหว่างเดือนตุลาคม — ธันวาคม ของทุกปี
3.3 การปราบปรามผู้มีอิทธิพล
1) ผู้มีอิทธิพล ดำรงอยู่ได้ด้วยมีบุคคล 3 กลุ่มสนับสนุน คือ มือปืนรับจ้าง ข้าราชการและนักเลงหัวไม้ ข้าราชการจะต้องไม่เข้าไปเกี่ยวข้อง สนับสนุน ส่งเสริม อำนวยความสะดวกให้กับผู้มีอิทธิพลอย่างเด็ดขาด และให้ ติดตามเฝ้าระวังพฤติการณ์ผู้มีอิทธิพล หากมีหลักฐานแน่ชัดให้ดำเนินการในทันที
2) บัญชีรายชื่อผู้มีอิทธิพลต้องมีการปรับเปลี่ยนอยู่เสมอ มีการตรวจสอบบัญชีรายชื่อผู้มีอิทธิพล โดยอาศัยฐานข้อมูลจากแหล่งอื่น ๆ มาประกอบเพื่อดำเนินการปราบปราม
3) ให้มีการจัดระเบียบผู้ค้าขาย ดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย และการดำเนินการต่อผู้มี อิทธิพลที่เกี่ยวข้องกับผู้ค้าขายเหล่านี้ ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมในการปราบราม ใช้มาตรการยึดทรัพย์ หรือมาตรการทางภาษี
4) การดำเนินการในบางกรณีจะมีหน่วยข่าว เข้ามาร่วมดำเนินการด้วย โดยจัดทีมพิเศษลงไปดำเนินการ ทั้งนี้ ต้องกระทำด้วยความระมัดระวังมิให้ไปกระทบสิทธิมนุษยชน รวมทั้งให้ความสำคัญจากเบาะแสที่มีการร้องเรียนผ่านตู้นายกฯ และศูนย์ดำรงธรรม
3.4 การรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคง
สถานการณ์ความไม่สงบเรียบร้อยใน 3 จังหวัดภาคใต้ ต้องดำเนินการรักษาความปลอดภัยที่ เข้มงวดขึ้น โดยยกระดับขึ้นมาสร้างความมั่นใจ เชื่อถือได้ มีกฎหมายที่สามารถสร้างความเข้มแข็งในการรักษาความมั่นคกระทรวงมหาดไทยจะพิจารณาศึกษาการปรับบทบาทและการดูแลชนกลุ่มน้อยทั้งระบบที่มีอยู่ในประเทศ การดำเนินการ ในเรื่องความมั่นคงมิติอื่น ๆ ต้องเป็นการทำงานระดับมืออาชีพ ต้องขันเกลียวข้าราชการเป็นพิเศษ อย่าให้มีจุดอ่อน สมควรที่มวลชนที่เป็นพลังแผ่นดินได้สนับสนุนและให้กำลังใจซึ่งกันและกัน
3.5 เรื่องอื่น ๆ
1) นโยบายประหยัดพลังงานให้ลดลงร้อยละ 10 เพื่อลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน ให้ผู้ว่าราชการจังหวัด ดูแลรับผิดชอบในเรื่องนี้อย่างจริงจัง รวมทั้งรายงานให้กระทรวงมหาดไทยทราบ
2) การใช้จ่ายงบประมาณ ให้เร่งรัดการใช้จ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งเงื่อนเวลาและเป้าหมาย
3) วันวิสาขบูชาปีนี้ รัฐบาลรณรงค์ให้ทุกคนในชาติตั้งสัจจะ 1 ประการ เพื่อเป็นการยกระดับ คุณธรรมของคนในชาติให้สูงขึ้น ให้สังคมดีขึ้น ขอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแจกจ่ายการ์ดตั้งสัจจะให้ประชาชนอย่างทั่วถึง แล้วรวบรวมนำส่งนายกรัฐมนตรี
4) การปลูกต้นไม้ ขอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้นำในการปลูกต้นไม้ สร้างสภาวะแวดล้อมให้น่าอยู่ตามโครงการ หนึ่งคน หนึ่งต้น หนึ่งฝน เพื่อประชาชนชาวไทย
5) ปรับการทำงาน ข้าราชการฝ่ายตำรวจและฝ่ายปกครอง จะต้องทำงานร่วมกันเป็นหนึ่งเดียว มีการประสานที่สามารถต่อเชื่อมกันได้
6) การรณรงค์ให้ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์สวมหมวกนิรภัยให้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องเป็นนิสัย เพื่อป้องกันและลดอุบัติเหตุบนท้องถนน
สำหรับการจัดประชุมสัมมนาดังกล่าวของรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ยังเหลือการดำเนินการอีก 5 จุด คือ ภาคใต้ ที่จังหวัดสงขลาและภูเก็ต ภาคเหนือ ที่จังหวัดเชียงใหม่และพิษณุโลก และภาคกลางจังหวัดที่เหลือ ที่จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งจะได้สรุปและนำเรียนคณะรัฐมนตรีทราบในโอกาสต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 24 พฤษภาคม 2548--จบ--