แท็ก
สมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
จังหวัดนครราชสีมา
จังหวัดขอนแก่น
คณะรัฐมนตรี
เกษตรกร
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รายงานการชุมนุมเรียกร้องในการแก้ไขปัญหา หนี้สินของเกษตรกร ดังนี้
เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2548 สมาชิกสภาเครือข่ายองค์กรประชาชนแห่งประเทศไทย นำโดยนายวีระพล โสภา แกนนำจังหวัดขอนแก่น ร่วมกับนายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ ในฐานะที่ปรึกษาสมัชชาคนจน จังหวัดนครราชสีมา และผู้ร่วมชุมนุม จำนวนประมาณ 1,000 คน ได้ร่วมกันชุมนุม ณ ลานพระบรมรูปทรงม้า และขณะนี้ได้ย้ายไปชุมนุมที่หน้าทำเนียบรัฐบาลด้านถนนริมคลองผดุงกรุงเกษมใกล้สำนักงาน ก.พ. เพื่อเร่งรัดให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาหนี้สินของเกษตรกร โดยได้เรียกร้องต่อรัฐบาล เพื่อดำเนินการดังต่อไปนี้
1. ผลักดันให้กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ทำงานอย่างเป็นระบบ และมีประสิทธิภาพไม่ใช่การโอนหนี้เกษตรกรไปให้หน่วยงานอื่นดำเนินการแทน
2. ให้กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร เร่งดำเนินการตามที่ได้รายงานคณะรัฐมนตรีทราบ เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2548 โดยด่วน คือ
2.1 เร่งให้มีการประชุมคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร เพื่อพิจารณาดำเนินการเรื่องหนี้สิน และฟื้นฟูพัฒนาเกษตรกรต่อไป
2.2 แต่งตั้งคณะกรรมการจัดการหนี้สิน เพื่อให้องค์ประกอบในการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกร โดยกองทุนฟื้นฟูฯ เกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์
2.3 ประสานงานกระทรวงการคลัง ธนาคารพาณิชย์ สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหา กรณีหนี้สินเร่งด่วน
3. ยุติการดำเนินคดี ฟ้องร้อง ขายทอดตลาด และกดดันลูกหนี้เกษตร โดยสถาบันการเงินและสถาบันของเกษตรกร
ผลการดำเนินการของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เกี่ยวกับเรื่องนี้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกร ซึ่งเป็นสมาชิกกองทุนฟื้นฟูฯ โดยใช้ช่องทางของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยกองทุนหมุนเวียนเพื่อการกู้ยืมแก่เกษตรกรและผู้ยากจน พ.ศ.2546 ที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับผิดชอบ ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2548 ดังนี้
1. สมาชิกกองทุนฟื้นฟูฯ ซึ่งมีหนี้อยู่กับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ธนาคารพาณิชย์ต่าง ๆ รวม 9 แห่ง กรณีที่ถูกธนาคารฟ้องดำเนินคดีและศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ชำระหนี้แล้ว และขึ้นทะเบียนหนี้ไว้กับกองทุนฟื้นฟูฯ สิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2547 และมีมูลหนี้เงินต้นไม่เกินรายละ 2.5 ล้านบาท จำนวน 723 ราย มูลหนี้จำนวน 306.5 ล้านบาท กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ดำเนินการให้ความช่วยเหลือโดยอนุมัติจ่ายเงินกู้จากกองทุนหมุนเวียนฯ เพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินให้แล้ว จำนวน 41 ราย เป็นเงิน 22.71 ล้านบาท สำหรับส่วนที่เหลือ ธ.ก.ส. กำลังดำเนินการวิเคราะห์คำขอกู้ตามขั้นตอนของระเบียบฯ คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนพฤศจิกายน 2548
2. สมาชิกกองทุนฟื้นฟูฯ ซึ่งมีหนี้อยู่กับสหกรณ์ภาคการเกษตร กรณีเร่งด่วน คือ ถูกสหกรณ์เจ้าหนี้ฟ้องดำเนินคดี หรือศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ชำระหนี้แล้ว หรือถูกบังคับคดีแล้ว จำนวน 1,639 ราย มูลหนี้ จำนวน 183.7 ล้านบาท โดยมีหลักเกณฑ์และแนวทางดำเนินการ ดังนี้
2.1 จะให้การช่วยเหลือแก่เกษตรกร สำหรับหนี้ที่มีวงเงินต้นไม่เกินรายละ 200,000 บาท
2.2 ให้สหกรณ์ยกเว้นเบี้ยปรับตามสัญญา และคิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 5 ต่อปี ของต้นเงินที่ค้างชำระ
2.3 เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการจะต้องปฏิบัติตามแผนฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพตามที่ตกลงร่วมกับกองทุนหมุนเวียนฯ
ในการนี้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการเจรจาหนี้เพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินดังกล่าวรวม 58 จังหวัด และได้ดำเนินการเจรจาหนี้แล้ว รวม 26 จังหวัด (ข้อมูล ณ วันที่ 21 ตุลาคม 2548) มีสหกรณ์ที่เข้าร่วมโครงการจำนวน 47 สหกรณ์ และสหกรณ์ที่ไม่เข้าร่วมโครงการจำนวน 6 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเลย นนทบุรี นครปฐม ลำพูน สมุทรปราการและอ่างทอง สำหรับสาเหตุที่ไม่เข้าร่วมโครงการ เนื่องจากไม่สามารถรับเงื่อนไขตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวได้ และหากเข้าร่วมโครงการเกรงว่าจะเป็นตัวอย่างแก่สมาชิกสหกรณ์รายที่ชำระหนี้ดี จะเลียนแบบไม่ยอมชำระหนี้ต่อสหกรณ์ ซึ่งการดำเนินการเจรจาหนี้และจัดทำแผนฟื้นฟูเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนตุลาคม 2548
ข้อเสนอแนะ
สำหรับประเด็นเกษตรกรสมาชิกสภาเครือข่ายองค์กรประชาชนแห่งประเทศไทยที่มาร้องเรียนนั้น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีความเห็นว่า หากเกษตรกรรายใดยังไม่ได้เป็นสมาชิกเกษตรกรกองทุนฟื้นฟูฯ ก็ขอให้ไปลงทะเบียนเป็นสมาชิก เพื่อจะได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาหนี้สิน เป็นระบบ และในส่วนของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะได้เร่งรัดการดำเนินการดังกล่าวให้แล้วเสร็จโดยเร็วต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 25 ตุลาคม 2548--จบ--
เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2548 สมาชิกสภาเครือข่ายองค์กรประชาชนแห่งประเทศไทย นำโดยนายวีระพล โสภา แกนนำจังหวัดขอนแก่น ร่วมกับนายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ ในฐานะที่ปรึกษาสมัชชาคนจน จังหวัดนครราชสีมา และผู้ร่วมชุมนุม จำนวนประมาณ 1,000 คน ได้ร่วมกันชุมนุม ณ ลานพระบรมรูปทรงม้า และขณะนี้ได้ย้ายไปชุมนุมที่หน้าทำเนียบรัฐบาลด้านถนนริมคลองผดุงกรุงเกษมใกล้สำนักงาน ก.พ. เพื่อเร่งรัดให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาหนี้สินของเกษตรกร โดยได้เรียกร้องต่อรัฐบาล เพื่อดำเนินการดังต่อไปนี้
1. ผลักดันให้กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ทำงานอย่างเป็นระบบ และมีประสิทธิภาพไม่ใช่การโอนหนี้เกษตรกรไปให้หน่วยงานอื่นดำเนินการแทน
2. ให้กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร เร่งดำเนินการตามที่ได้รายงานคณะรัฐมนตรีทราบ เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2548 โดยด่วน คือ
2.1 เร่งให้มีการประชุมคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร เพื่อพิจารณาดำเนินการเรื่องหนี้สิน และฟื้นฟูพัฒนาเกษตรกรต่อไป
2.2 แต่งตั้งคณะกรรมการจัดการหนี้สิน เพื่อให้องค์ประกอบในการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกร โดยกองทุนฟื้นฟูฯ เกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์
2.3 ประสานงานกระทรวงการคลัง ธนาคารพาณิชย์ สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหา กรณีหนี้สินเร่งด่วน
3. ยุติการดำเนินคดี ฟ้องร้อง ขายทอดตลาด และกดดันลูกหนี้เกษตร โดยสถาบันการเงินและสถาบันของเกษตรกร
ผลการดำเนินการของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เกี่ยวกับเรื่องนี้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกร ซึ่งเป็นสมาชิกกองทุนฟื้นฟูฯ โดยใช้ช่องทางของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยกองทุนหมุนเวียนเพื่อการกู้ยืมแก่เกษตรกรและผู้ยากจน พ.ศ.2546 ที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับผิดชอบ ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2548 ดังนี้
1. สมาชิกกองทุนฟื้นฟูฯ ซึ่งมีหนี้อยู่กับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ธนาคารพาณิชย์ต่าง ๆ รวม 9 แห่ง กรณีที่ถูกธนาคารฟ้องดำเนินคดีและศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ชำระหนี้แล้ว และขึ้นทะเบียนหนี้ไว้กับกองทุนฟื้นฟูฯ สิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2547 และมีมูลหนี้เงินต้นไม่เกินรายละ 2.5 ล้านบาท จำนวน 723 ราย มูลหนี้จำนวน 306.5 ล้านบาท กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ดำเนินการให้ความช่วยเหลือโดยอนุมัติจ่ายเงินกู้จากกองทุนหมุนเวียนฯ เพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินให้แล้ว จำนวน 41 ราย เป็นเงิน 22.71 ล้านบาท สำหรับส่วนที่เหลือ ธ.ก.ส. กำลังดำเนินการวิเคราะห์คำขอกู้ตามขั้นตอนของระเบียบฯ คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนพฤศจิกายน 2548
2. สมาชิกกองทุนฟื้นฟูฯ ซึ่งมีหนี้อยู่กับสหกรณ์ภาคการเกษตร กรณีเร่งด่วน คือ ถูกสหกรณ์เจ้าหนี้ฟ้องดำเนินคดี หรือศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ชำระหนี้แล้ว หรือถูกบังคับคดีแล้ว จำนวน 1,639 ราย มูลหนี้ จำนวน 183.7 ล้านบาท โดยมีหลักเกณฑ์และแนวทางดำเนินการ ดังนี้
2.1 จะให้การช่วยเหลือแก่เกษตรกร สำหรับหนี้ที่มีวงเงินต้นไม่เกินรายละ 200,000 บาท
2.2 ให้สหกรณ์ยกเว้นเบี้ยปรับตามสัญญา และคิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 5 ต่อปี ของต้นเงินที่ค้างชำระ
2.3 เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการจะต้องปฏิบัติตามแผนฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพตามที่ตกลงร่วมกับกองทุนหมุนเวียนฯ
ในการนี้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการเจรจาหนี้เพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินดังกล่าวรวม 58 จังหวัด และได้ดำเนินการเจรจาหนี้แล้ว รวม 26 จังหวัด (ข้อมูล ณ วันที่ 21 ตุลาคม 2548) มีสหกรณ์ที่เข้าร่วมโครงการจำนวน 47 สหกรณ์ และสหกรณ์ที่ไม่เข้าร่วมโครงการจำนวน 6 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเลย นนทบุรี นครปฐม ลำพูน สมุทรปราการและอ่างทอง สำหรับสาเหตุที่ไม่เข้าร่วมโครงการ เนื่องจากไม่สามารถรับเงื่อนไขตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวได้ และหากเข้าร่วมโครงการเกรงว่าจะเป็นตัวอย่างแก่สมาชิกสหกรณ์รายที่ชำระหนี้ดี จะเลียนแบบไม่ยอมชำระหนี้ต่อสหกรณ์ ซึ่งการดำเนินการเจรจาหนี้และจัดทำแผนฟื้นฟูเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนตุลาคม 2548
ข้อเสนอแนะ
สำหรับประเด็นเกษตรกรสมาชิกสภาเครือข่ายองค์กรประชาชนแห่งประเทศไทยที่มาร้องเรียนนั้น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีความเห็นว่า หากเกษตรกรรายใดยังไม่ได้เป็นสมาชิกเกษตรกรกองทุนฟื้นฟูฯ ก็ขอให้ไปลงทะเบียนเป็นสมาชิก เพื่อจะได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาหนี้สิน เป็นระบบ และในส่วนของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะได้เร่งรัดการดำเนินการดังกล่าวให้แล้วเสร็จโดยเร็วต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 25 ตุลาคม 2548--จบ--