ทำเนียบรัฐบาล--5 ส.ค.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีรับทราบแผนปฏิบัติการตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2540 - 2544) ของกระทรวงการคลัง ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ซึ่งประกอบด้วย 7 ยุทธศาสตร์ ดังนี้
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาศักยภาพของคนไทย
1. การพัฒนาสติปัญญา ทักษะและฝีมือแรงงาน มีแผนงานของกระทรวงการคลังที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
1.1 แผนงานพัฒนาบุคลากรของกรมและรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงการคลัง
1.2 แผนงานส่งเสริมเข้ารับการศึกษาฝึกอบรม ประชุม สัมมนา และดูงาน ณ หน่วยงานภายนอกทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ
1.3 การปฏิรูปโครงสร้างพิกัดอัตราศุลกากร (รอบใหม่)
1.4 โครงการสินเชื่อทางการศึกษาเพื่อจัดตั้งสถาบันการศึกษาเอกชนในภูมิภาคควบคู่กับการสนับสนุนด้านทุนการศึกษาของธนาคารออมสิน
2. การพัฒนาสุขภาพและพลานามัย มีแผนงานของกระทรวงการคลังที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
2.1 มาตรการจัดตั้งกองทุนประกันสุขภาพเพื่อสังคม
2.2 มาตรการจัดตั้งสถาบันสนับสนุนการส่งเสริมสุขภาพ ของสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข
2.3 โครงการศึกษาวิเคราะห์สินค้าสรรพสามิต
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาสภาพแวดล้อมของสังคมให้ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาคน
การพัฒนาระบบความมั่นคงทางสังคม มีแผนงานของกระทรวงการคลังที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
- แผนแม่บทการเงินการคลังเพื่อสังคม
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การเสริมสร้างศักยภาพการพัฒนาของภูมิภาคและชนบทเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างทั่วถึง 1. การส่งเสริมการมีส่วนร่วมและเสริมสร้างศักยภาพชุมชนในการพัฒนา มีแผนงานของกระทรวงการคลังที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
1.1 การดำเนินการจัดตั้งสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน
1.2 การจัดตั้งบรรษัทประกันสินเชื่อเทศบาลให้เป็นสถาบันการเงิน เพื่อสนับสนุนเทศบาลและองค์การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น
2. การเสริมสร้างโอกาสการพัฒนาเพื่อสร้างอาชีพและการมีงานทำ มีแผนงานของกระทรวงการคลังที่เกี่ยวข้องดังนี้
- การสนับสนุนให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ให้สามารถช่วยเหลือด้านเงินทุนแก่เกษตรกรสำหรับใช้ประกอบอาชีพเสริมนอกภาคเกษตร รวมถึงเงินทุนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรและครอบครัว
ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาสมรรถนะทางเศรษฐกิจเพื่อสนับสนุนการพัฒนาคนและคุณภาพชีวิต
1. การพัฒนาศักยภาพทางเศรษฐกิจของพื้นที่ มีแผนงานของกระทรวงการคลังที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
1.1 แผนกระจายอำนาจการคลังสู่ท้องถิ่น
1.2 โครงการแก้ปัญหาชุมชนแออัดในที่ราชพัสดุในกรุงเทพมหานคร ของกรมธนารักษ์
1.3 แผนการสนับสนุนโครงการในประเทศเพื่อนบ้านของธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
- การแก้ไขพระราชบัญญัติธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย เพื่อขยายขอบเขตในการให้บริการของธนาคารฯ
- การสร้างฐานข้อมูลเกี่ยวกับโครงการลงทุนและโครงการก่อสร้าง กฎหมายระเบียบ ข้อบังคับ ในประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อให้มีความพร้อมในการให้บริการสนับสนุนโครงการต่าง ๆ ในประเทศเพื่อนบ้าน ของธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
- การสร้างความสัมพันธ์กับ Export Credit Agencies ของประเทศต่าง ๆ เพื่อร่วมมือกันในการให้บริการทางการเงินสนับสนุนโครงการในประเทศเพื่อนบ้าน เช่น Co - financing
- การผลักดันให้มีแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำ เพื่อนำมาใช้ในการให้สินเชื่อแก่โครงการในประเทศเพื่อนบ้าน
2. การสร้างฐานการผลิตให้พร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลงในตลาดโลก มีแผนงานของกระทรวงการคลังที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
2.1 แผนพัฒนาประสิทธิภาพของรัฐวิสาหกิจและการปรับปรุงบทบาทกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
2.2 แผนพัฒนามาตรการส่งเสริมการส่งออกให้ธุรกิจไทยมีความสามารถทัดเทียมสากล สามารถแข่งขันในตลาดภูมิภาคและตลาดโลกได้ จูงใจให้มีการลงทุนในไทยเพิ่มมากขึ้น
2.3 ความร่วมมือในการส่งเสริมการค้าและการลงทุนในระดับอนุภูมิภาค (เหลี่ยมเศรษฐกิจ)
3. การเสริมสร้างระบบเศรษฐกิจให้เข้มแข็งและมีเสถียรภาพ มีแผนงานของกระทรวงการคลังที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
3.1 โครงการเสนอแนะนโยบายเพื่อพัฒนาสถาบันการเงินให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาระบบการเงินและแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
3.2 แผนการเพิ่มประสิทธิภาพระบบเศรษฐกิจของตลาดทุนของสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง โดย
- การส่งเสริมนักลงทุนประเภทสถาบันให้เข้ามาลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ให้มากขึ้น
- การจัดตั้งตลาดอนุพันธ์ และส่งเสริมให้มีตราสารอนุพันธ์ที่มีความหลากหลาย
- มาตรการเพิ่มประสิทธิภาพของบริษัทหลักทรัพย์
- การปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
3.3 การใช้มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมให้มีการลงทุนในระบบเศรษฐกิจ
3.4. แผนการปรับโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของกรมสรรพากร เพื่อจูงใจให้มีการออมในระบบมากขึ้น
3.5 แผนการปรับปรุงโครงสร้างอัตราภาษีตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 เพื่อให้มีความคล่องตัวในการบริหารการจัดเก็บภาษีเป็นไปตามหลักวิชาการ และสอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป
3.6 แผนการปรับปรุงอัตราภาษียาสูบให้เหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจและสังคมของกรมสรรพสามิต
3.7 แผนการเสริมสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจเพื่อเพิ่มระดับเงินออมของประเทศ ของสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง โดย
- การใช้มาตรการภาษี เพื่อส่งเสริมการออมแบบผูกพันระยะยาว
- การส่งเสริมการจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในสถานประกอบการ โดย
* ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการอาชีพอิสระจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
* ส่งเสริมให้ลูกจ้างออมเงินสะสมได้มากกว่านายจ้าง
* รณรงค์ให้บริษัทขนาดใหญ่ทุกแห่งจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
* การปรับปรุงกฎระเบียบเกี่ยวกับการนำเงินของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไปลงทุนหาผลประโยชน์
3.8 การระดมทุนโดยการเพิ่มประเภทเงินฝาก การออกจำหน่ายพันธบัตร และการพัฒนาเทคนิคและวิธีในการจูงใจให้ประชาชนสนใจออมทรัพย์กับธนาคารอาคารสงเคราะห์
3.9 แผนการออกพระราชบัญญัติเพื่อจัดตั้งสถาบันการเงินที่ใช้หลักศาสนาอิสลาม เพื่อให้สอดคล้องกับระบบเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน
3.10 การแก้ไขพระราชบัญญัติธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เพื่อ
- ขยายขอบเขตการดำเนินงานให้สามารถดำเนินกิจการอื่นที่เกี่ยวข้องกับที่อยู่อาศัยและประกอบธุรกิจในระบบตลาดรองเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัย
- ขยายการให้สินเชื่อของธนาคารอาคารสงเคราะห์แก่ประชาชนโดยทั่วไป โดยเฉพาะผู้มีรายได้น้อยและปานกลาง สำหรับการจัดหาที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง และยกระดับมาตรฐานด้านที่อยู่อาศัยให้มีความทัดเทียมกัน และมีความมั่นคงเพิ่มขึ้น
- ขยายสาขาไปสู่ภูมิภาคเพื่อให้บริการสินเชื่อได้ทั่วถึง
3.11 การขยายการดำเนินงานในรูปสาขาอำเภอและสาขาย่อย ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์-การเกษตร และขยายการบริการสินเชื่อการเกษตร ให้ได้ในอัตราเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 20 ต่อปี
3.12 การเปิดสาขาของธนาคารพาณิชย์ เพื่อกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาค
3.13 การยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักรเพื่อทดแทนเครื่องจักรเดิมสำหรับอุตสาหกรรมสิ่งทอ อุตสาหกรรมรองเท้า และอุตสาหกรรมผลิตอาหาร เพื่อเร่งรัดการฟื้นฟูเศรษฐกิจไทยโดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่ด้อยประสิทธิภาพในการแข่งขัน
ยุทธศาสตร์ที่ 5 การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
1. การเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนและชุมชน มีแผนงานของกระทรวงการคลังที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
1.1 การพิจารณาแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมด้วยมาตรการทางภาษีอากรของสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
1.2 แผนการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม ของธนาคารอาคารสงเคราะห์ เช่น การดำเนินการเพื่อการเป็นธนาคารสีเขียว (Green Bank) และการให้การสนับสนุนแก่องค์กรหรือกิจกรรมที่ส่งเสริมและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
2. การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีแผนงานของกระทรวงการคลังที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
- แผนพัฒนาที่ราชพัสดุเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิต สังคมและสิ่งแวดล้อมของกรมธนารักษ์ เช่น โครงการจัดสร้างสวนสาธารณะชุมชน กรุงเทพมหานคร สวนสาธารณะ "เบญจกิติ" ของกรมธนารักษ์
ยุทธศาสตร์ที่ 6 การพัฒนาประชารัฐ
1. การเพิ่มพูนประสิทธิผลและประสิทธิภาพของภาครัฐ มีแผนงานของกระทรวงการคลังที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
1.1 แผนงานปรับปรุงกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับเกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงินและความรับผิดทางแพ่งให้สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลและทิศทางในการพัฒนาระบบการคลังตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ของกรมบัญชีกลาง
1.2 แผนงานปรับปรุงระบบการบริหารเงินนอกงบประมาณ ตลอดจนเงินทุนหมุนเวียน ให้มีความคล่องตัวและเหมาะสมกับสภาวการณ์ โดยเน้นการกระจายอำนาจในการใช้จ่ายเงินให้หัวหน้าส่วนราชการมากขึ้น และกรมบัญชีกลางทำหน้าที่กำกับดูแล
1.3 แผนพัฒนาเทคโนโลยีและอุปกรณ์ เพื่อพัฒนาระบบสื่อสารสนเทศและเครื่องมือเครื่องใช้ให้ทันสมัยทำงานในระบบอัตโนมัติ รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ ของกรมศุลกากร
1.4 งานการพัฒนาคอมพิวเตอร์ระบบ VOICE RESPONSE เพื่องานบริการผู้เสียภาษี เพื่อให้บริการข้อมูลข่าวสารให้กับประชาชนผู้เสียภาษี โดยผ่านระบบสื่อสารทางระบบ
1.5 การพัฒนาระบบงานคอมพิวเตอร์ส่วนย่อย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีอากร ตามนโยบายและแผนงานสำคัญ ของกรมสรรพากร
1.6 การตรวจสอบการใช้ computer on line ควบคู่กับการใช้มาตรวัดปริมาณน้ำสุรา (เบียร์) เพื่อการจัดเก็บภาษี ของกรมสรรพสามิต
1.7 แผนพัฒนาและปรับปรุงระบบค่าตอบแทนและสวัสดิการของข้าราชการ ทั้งในระหว่างปฏิบัติงานและภายหลังเกษียณอายุ ให้สอดคล้องกับสภาวะทางเศรษฐกิจและสังคม และนโยบายของรัฐบาล โดยกรมบัญชีกลาง
ยุทธศาสตร์ที่ 7 การบริหารจัดการเพื่อการแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติ
การปรับกระบวนการบริหารจัดการพัฒนาไปสู่การปฏิบัติ มีแผนงานของกระทรวงการคลังที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
- แผนพัฒนางานตรวจสอบภายในของส่วนราชการให้เป็นเครื่องมือผู้บริหารในการควบคุมติดตามผลงานอย่างมีประสิทธิภาพควบคู่ไปกับระบบการกระจายอำนาจการบริหารด้านการเงิน กรมบัญชีกลาง
- การจัดทำแผนปฏิบัติการของกระทรวงการคลังให้สอดคล้องกับนโยบายการเงินการคลัง และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ - การจัดทำรายงานผลการดำเนินการของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงการคลัง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ)--วันที่ 5 สิงหาคม 2540--
คณะรัฐมนตรีรับทราบแผนปฏิบัติการตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2540 - 2544) ของกระทรวงการคลัง ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ซึ่งประกอบด้วย 7 ยุทธศาสตร์ ดังนี้
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาศักยภาพของคนไทย
1. การพัฒนาสติปัญญา ทักษะและฝีมือแรงงาน มีแผนงานของกระทรวงการคลังที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
1.1 แผนงานพัฒนาบุคลากรของกรมและรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงการคลัง
1.2 แผนงานส่งเสริมเข้ารับการศึกษาฝึกอบรม ประชุม สัมมนา และดูงาน ณ หน่วยงานภายนอกทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ
1.3 การปฏิรูปโครงสร้างพิกัดอัตราศุลกากร (รอบใหม่)
1.4 โครงการสินเชื่อทางการศึกษาเพื่อจัดตั้งสถาบันการศึกษาเอกชนในภูมิภาคควบคู่กับการสนับสนุนด้านทุนการศึกษาของธนาคารออมสิน
2. การพัฒนาสุขภาพและพลานามัย มีแผนงานของกระทรวงการคลังที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
2.1 มาตรการจัดตั้งกองทุนประกันสุขภาพเพื่อสังคม
2.2 มาตรการจัดตั้งสถาบันสนับสนุนการส่งเสริมสุขภาพ ของสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข
2.3 โครงการศึกษาวิเคราะห์สินค้าสรรพสามิต
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาสภาพแวดล้อมของสังคมให้ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาคน
การพัฒนาระบบความมั่นคงทางสังคม มีแผนงานของกระทรวงการคลังที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
- แผนแม่บทการเงินการคลังเพื่อสังคม
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การเสริมสร้างศักยภาพการพัฒนาของภูมิภาคและชนบทเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างทั่วถึง 1. การส่งเสริมการมีส่วนร่วมและเสริมสร้างศักยภาพชุมชนในการพัฒนา มีแผนงานของกระทรวงการคลังที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
1.1 การดำเนินการจัดตั้งสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน
1.2 การจัดตั้งบรรษัทประกันสินเชื่อเทศบาลให้เป็นสถาบันการเงิน เพื่อสนับสนุนเทศบาลและองค์การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น
2. การเสริมสร้างโอกาสการพัฒนาเพื่อสร้างอาชีพและการมีงานทำ มีแผนงานของกระทรวงการคลังที่เกี่ยวข้องดังนี้
- การสนับสนุนให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ให้สามารถช่วยเหลือด้านเงินทุนแก่เกษตรกรสำหรับใช้ประกอบอาชีพเสริมนอกภาคเกษตร รวมถึงเงินทุนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรและครอบครัว
ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาสมรรถนะทางเศรษฐกิจเพื่อสนับสนุนการพัฒนาคนและคุณภาพชีวิต
1. การพัฒนาศักยภาพทางเศรษฐกิจของพื้นที่ มีแผนงานของกระทรวงการคลังที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
1.1 แผนกระจายอำนาจการคลังสู่ท้องถิ่น
1.2 โครงการแก้ปัญหาชุมชนแออัดในที่ราชพัสดุในกรุงเทพมหานคร ของกรมธนารักษ์
1.3 แผนการสนับสนุนโครงการในประเทศเพื่อนบ้านของธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
- การแก้ไขพระราชบัญญัติธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย เพื่อขยายขอบเขตในการให้บริการของธนาคารฯ
- การสร้างฐานข้อมูลเกี่ยวกับโครงการลงทุนและโครงการก่อสร้าง กฎหมายระเบียบ ข้อบังคับ ในประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อให้มีความพร้อมในการให้บริการสนับสนุนโครงการต่าง ๆ ในประเทศเพื่อนบ้าน ของธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
- การสร้างความสัมพันธ์กับ Export Credit Agencies ของประเทศต่าง ๆ เพื่อร่วมมือกันในการให้บริการทางการเงินสนับสนุนโครงการในประเทศเพื่อนบ้าน เช่น Co - financing
- การผลักดันให้มีแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำ เพื่อนำมาใช้ในการให้สินเชื่อแก่โครงการในประเทศเพื่อนบ้าน
2. การสร้างฐานการผลิตให้พร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลงในตลาดโลก มีแผนงานของกระทรวงการคลังที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
2.1 แผนพัฒนาประสิทธิภาพของรัฐวิสาหกิจและการปรับปรุงบทบาทกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
2.2 แผนพัฒนามาตรการส่งเสริมการส่งออกให้ธุรกิจไทยมีความสามารถทัดเทียมสากล สามารถแข่งขันในตลาดภูมิภาคและตลาดโลกได้ จูงใจให้มีการลงทุนในไทยเพิ่มมากขึ้น
2.3 ความร่วมมือในการส่งเสริมการค้าและการลงทุนในระดับอนุภูมิภาค (เหลี่ยมเศรษฐกิจ)
3. การเสริมสร้างระบบเศรษฐกิจให้เข้มแข็งและมีเสถียรภาพ มีแผนงานของกระทรวงการคลังที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
3.1 โครงการเสนอแนะนโยบายเพื่อพัฒนาสถาบันการเงินให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาระบบการเงินและแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
3.2 แผนการเพิ่มประสิทธิภาพระบบเศรษฐกิจของตลาดทุนของสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง โดย
- การส่งเสริมนักลงทุนประเภทสถาบันให้เข้ามาลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ให้มากขึ้น
- การจัดตั้งตลาดอนุพันธ์ และส่งเสริมให้มีตราสารอนุพันธ์ที่มีความหลากหลาย
- มาตรการเพิ่มประสิทธิภาพของบริษัทหลักทรัพย์
- การปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
3.3 การใช้มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมให้มีการลงทุนในระบบเศรษฐกิจ
3.4. แผนการปรับโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของกรมสรรพากร เพื่อจูงใจให้มีการออมในระบบมากขึ้น
3.5 แผนการปรับปรุงโครงสร้างอัตราภาษีตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 เพื่อให้มีความคล่องตัวในการบริหารการจัดเก็บภาษีเป็นไปตามหลักวิชาการ และสอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป
3.6 แผนการปรับปรุงอัตราภาษียาสูบให้เหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจและสังคมของกรมสรรพสามิต
3.7 แผนการเสริมสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจเพื่อเพิ่มระดับเงินออมของประเทศ ของสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง โดย
- การใช้มาตรการภาษี เพื่อส่งเสริมการออมแบบผูกพันระยะยาว
- การส่งเสริมการจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในสถานประกอบการ โดย
* ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการอาชีพอิสระจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
* ส่งเสริมให้ลูกจ้างออมเงินสะสมได้มากกว่านายจ้าง
* รณรงค์ให้บริษัทขนาดใหญ่ทุกแห่งจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
* การปรับปรุงกฎระเบียบเกี่ยวกับการนำเงินของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไปลงทุนหาผลประโยชน์
3.8 การระดมทุนโดยการเพิ่มประเภทเงินฝาก การออกจำหน่ายพันธบัตร และการพัฒนาเทคนิคและวิธีในการจูงใจให้ประชาชนสนใจออมทรัพย์กับธนาคารอาคารสงเคราะห์
3.9 แผนการออกพระราชบัญญัติเพื่อจัดตั้งสถาบันการเงินที่ใช้หลักศาสนาอิสลาม เพื่อให้สอดคล้องกับระบบเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน
3.10 การแก้ไขพระราชบัญญัติธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เพื่อ
- ขยายขอบเขตการดำเนินงานให้สามารถดำเนินกิจการอื่นที่เกี่ยวข้องกับที่อยู่อาศัยและประกอบธุรกิจในระบบตลาดรองเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัย
- ขยายการให้สินเชื่อของธนาคารอาคารสงเคราะห์แก่ประชาชนโดยทั่วไป โดยเฉพาะผู้มีรายได้น้อยและปานกลาง สำหรับการจัดหาที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง และยกระดับมาตรฐานด้านที่อยู่อาศัยให้มีความทัดเทียมกัน และมีความมั่นคงเพิ่มขึ้น
- ขยายสาขาไปสู่ภูมิภาคเพื่อให้บริการสินเชื่อได้ทั่วถึง
3.11 การขยายการดำเนินงานในรูปสาขาอำเภอและสาขาย่อย ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์-การเกษตร และขยายการบริการสินเชื่อการเกษตร ให้ได้ในอัตราเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 20 ต่อปี
3.12 การเปิดสาขาของธนาคารพาณิชย์ เพื่อกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาค
3.13 การยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักรเพื่อทดแทนเครื่องจักรเดิมสำหรับอุตสาหกรรมสิ่งทอ อุตสาหกรรมรองเท้า และอุตสาหกรรมผลิตอาหาร เพื่อเร่งรัดการฟื้นฟูเศรษฐกิจไทยโดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่ด้อยประสิทธิภาพในการแข่งขัน
ยุทธศาสตร์ที่ 5 การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
1. การเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนและชุมชน มีแผนงานของกระทรวงการคลังที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
1.1 การพิจารณาแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมด้วยมาตรการทางภาษีอากรของสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
1.2 แผนการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม ของธนาคารอาคารสงเคราะห์ เช่น การดำเนินการเพื่อการเป็นธนาคารสีเขียว (Green Bank) และการให้การสนับสนุนแก่องค์กรหรือกิจกรรมที่ส่งเสริมและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
2. การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีแผนงานของกระทรวงการคลังที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
- แผนพัฒนาที่ราชพัสดุเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิต สังคมและสิ่งแวดล้อมของกรมธนารักษ์ เช่น โครงการจัดสร้างสวนสาธารณะชุมชน กรุงเทพมหานคร สวนสาธารณะ "เบญจกิติ" ของกรมธนารักษ์
ยุทธศาสตร์ที่ 6 การพัฒนาประชารัฐ
1. การเพิ่มพูนประสิทธิผลและประสิทธิภาพของภาครัฐ มีแผนงานของกระทรวงการคลังที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
1.1 แผนงานปรับปรุงกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับเกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงินและความรับผิดทางแพ่งให้สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลและทิศทางในการพัฒนาระบบการคลังตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ของกรมบัญชีกลาง
1.2 แผนงานปรับปรุงระบบการบริหารเงินนอกงบประมาณ ตลอดจนเงินทุนหมุนเวียน ให้มีความคล่องตัวและเหมาะสมกับสภาวการณ์ โดยเน้นการกระจายอำนาจในการใช้จ่ายเงินให้หัวหน้าส่วนราชการมากขึ้น และกรมบัญชีกลางทำหน้าที่กำกับดูแล
1.3 แผนพัฒนาเทคโนโลยีและอุปกรณ์ เพื่อพัฒนาระบบสื่อสารสนเทศและเครื่องมือเครื่องใช้ให้ทันสมัยทำงานในระบบอัตโนมัติ รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ ของกรมศุลกากร
1.4 งานการพัฒนาคอมพิวเตอร์ระบบ VOICE RESPONSE เพื่องานบริการผู้เสียภาษี เพื่อให้บริการข้อมูลข่าวสารให้กับประชาชนผู้เสียภาษี โดยผ่านระบบสื่อสารทางระบบ
1.5 การพัฒนาระบบงานคอมพิวเตอร์ส่วนย่อย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีอากร ตามนโยบายและแผนงานสำคัญ ของกรมสรรพากร
1.6 การตรวจสอบการใช้ computer on line ควบคู่กับการใช้มาตรวัดปริมาณน้ำสุรา (เบียร์) เพื่อการจัดเก็บภาษี ของกรมสรรพสามิต
1.7 แผนพัฒนาและปรับปรุงระบบค่าตอบแทนและสวัสดิการของข้าราชการ ทั้งในระหว่างปฏิบัติงานและภายหลังเกษียณอายุ ให้สอดคล้องกับสภาวะทางเศรษฐกิจและสังคม และนโยบายของรัฐบาล โดยกรมบัญชีกลาง
ยุทธศาสตร์ที่ 7 การบริหารจัดการเพื่อการแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติ
การปรับกระบวนการบริหารจัดการพัฒนาไปสู่การปฏิบัติ มีแผนงานของกระทรวงการคลังที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
- แผนพัฒนางานตรวจสอบภายในของส่วนราชการให้เป็นเครื่องมือผู้บริหารในการควบคุมติดตามผลงานอย่างมีประสิทธิภาพควบคู่ไปกับระบบการกระจายอำนาจการบริหารด้านการเงิน กรมบัญชีกลาง
- การจัดทำแผนปฏิบัติการของกระทรวงการคลังให้สอดคล้องกับนโยบายการเงินการคลัง และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ - การจัดทำรายงานผลการดำเนินการของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงการคลัง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ)--วันที่ 5 สิงหาคม 2540--