ทำเนียบรัฐบาล--23 ธ.ค.--บิสนิวส์
คณะกรรมการกลั่นกรองฝ่ายเศรษฐกิจรับทราบตามที่กระทรวงการคลังรายงานว่า ได้จัดทำแผนปฏิบัติการเงินการคลัง และมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจบางด้าน ตามนโยบายของรัฐบาล พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ซึ่งได้แถลงต่อรัฐสภาโดยได้ปรึกษาหารือกับส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเรียบร้อยแล้ว สรุปได้ดังนี้
1) เป้าหมายการพัฒนา
ความก้าวหน้าและเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศเป็นเรื่องที่จะต้องได้รับการพิจารณาดำเนินการให้ดีขึ้นควบคู่กันไป ด้วยนโยบายที่เหมาะสมสอดคล้องและทันกับเหตุการณ์ ด้วยมาตรการที่สัมฤทธิ์ผลไม่ว่าจะเป็นในระยะสั้นหรือระยะยาวเพื่อให้ประเทศไทยมีศักยภาพสูงขึ้นทางเศรษฐกิจ และสามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้ในยุคโลกาภิวัฒน์ทั้งในระดับภูมิภาคและในระดับโลก
รัฐบาลจึงมีนโยบายหลักที่จะพัฒนาเศรษฐกิจให้เจริญรุ่งเรืองอย่างมีเสถียรภาพ มั่นคง และเป็นธรรมเพื่อลดช่องว่างและขจัดความยากจนในประเทศให้ลดน้อยลงไป และเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนคนไทย
2) เป้าหมายเศรษฐกิจมหภาค เพื่อให้มีเป้าหมายเศรษฐกิจมหภาคที่เหมาะสมกับสภาพความเป็นจริงกระทรวงการคลังจึงเห็นสมควรใช้ข้อมูลดังต่อไปนี้ เป็นกรอบเป้าหมายในการบริหารงานตามนโยบายของรัฐบาล
- เศรษฐกิจขยายตัวในอัตราร้อยละ 7.0 - 7.5 ต่อปี ในระยะ 2 - 3 ปีข้างหน้า
- เงินเฟ้ออยู่ในระดับร้อยละ 5.0 ในปี 2540 และต่ำกว่าร้อยละ 5.0 ในปีต่อ ๆ ไป
- การค้าส่งออกมีมูลค่าสูงขึ้นในอัตราร้อยละ 7 - 10 ในปี 2540 และจะอยู่ในระดับร้อยละ 10 หรือสูงกว่าในปีต่อ ๆ ไป
- การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดอยู่ในอัตราร้อยละ 7.5 - 7.9 ของ GDP ในปี 2540 และจะลดต่ำลงตามลำดับในปีต่อ ๆ ไป
3) นโยบายและมาตรการเร่งด่วนเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ
(1) ผ่อนคลายนโยบายการเงิน และเร่งรัดพัฒนาตลาดเงิน ตลาดทุน และตลาดเงินตราต่างประเทศให้มีประสิทธิภาพและเป็นสากล เพื่อให้มีสภาพคล่องสูงเพียงพอในตลาดและเพื่อให้อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นลดลง
(2) ปรับสัดส่วนให้นโยบายการคลังมีบทบาทในการรักษาเสถียรภาพ และพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศเพิ่มมากขึ้น โดยดำเนินนโยบายงบประมาณสมดุลหรือเกินดุลต่อไป โดยเฉพาะให้มีงบประมาณเงินสดเกินดุลมากเพียงพอ
(3) ดำเนินนโยบายประหยัด เพิ่มประสิทธิภาพหรือปรับลดการลงทุนของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ โดยเฉพาะโครงการลงทุนที่มีลำดับความสำคัญต่ำ และใช้เงินตราต่างประเทศในอัตราสูง
(4) รณรงค์เพื่อจูงใจการออมเงินและลดรายจ่ายฟุ่มเฟือย
(5) ดำเนินนโยบายรักษาเสถียรภาพในค่าเงินบาท และเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ทั้งในด้านระดับราคาและดุลบัญชีเดินสะพัด
(6) เปิดเสรีและผ่อนคลายข้อจำกัดทางการเงินอย่างเป็นขั้นตอน และในระยะเวลาที่เหมาะสม
(7) สนับสนุนการกระจายรายได้และความเจริญ และการกระจายอำนาจการคลังไปสู่ท้องถิ่น
(8) ส่งเสริมให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานและบริการสาธารณะ เพื่อลดภาระงบประมาณของรัฐบาล
(9) ปรับปรุงกฎหมายและพิธีสารต่าง ๆ ให้โปร่งใส รวดเร็ว และลดภาระค่าใช้จ่ายของภาคธุรกิจ
(10) เร่งแก้ปัญหาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ด้วยมาตรการต่าง ๆ ทั้งในด้านอุปสงค์ในตลาด และในด้านปัญหาการเงิน
(11) แก้ปัญหาธนาคารกรุงเทพพาณิชยการให้เสร็จสิ้นไปโดยเร็ว โดยไม่ทำให้ระบบสถาบันการเงินอ่อนแอ
(12) ร่วมมือกับส่วนราชการ หน่วยงาน และองค์กรต่าง ๆ ในการแก้ไขปัญหาการผลิตทางเกษตรอุตสาหกรรมและบริการ และในการแก้ปัญหาการตลาดและการส่งออก
4) รายละเอียดของแผนปฏิบัติการ
4.1 แผนปฏิบัติการตามนโยบายของรัฐบาล มี 16 แผน
1) แผนพัฒนาตลาดการเงิน แผนนี้มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อให้การบริหารสภาพคล่องให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงของสถาบันการเงิน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินนโยบายการเงิน เพื่อพัฒนาระบบการชำระเงิน และเพื่อปรับปรุงให้ตลาดการเงินมีกลไกที่สนองตอบการดำเนินธุรกิจและการดำเนินนโยบายของประเทศได้ดียิ่งขึ้น ตัวอย่างของมาตรการตามแผนนี้ได้แก่ การปรับปรุงกลไกตลาดซื้อคืนพันธบัตร การเพิ่มบทบาทของกองทุนฟื้นฟูในการรักษาเสถียรภาพการพัฒนากลไกของ Open Market Operation การพัฒนาระบบคู่ค้าของธนาคารแห่งประเทศไทย (Primary Dealers) และการพัฒนาระบบให้สถาบันการเงินต่าง ๆ มีความสัมพันธ์โดยตรงหรือโดยสะดวกกับธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นต้น
2) แผนพัฒนาตลาดทุน แผนนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ตลาดทุนเป็นแหล่งส่งเสริมการออมและเป็นแหล่งระดมทุนที่มีคุณลักษณะของความหลากหลาย ความลึก ความยืดหยุ่น และความโปร่งใส โดยเน้นการปรับปรุงโครงสร้างขององค์กรให้เป็นอิสระ โดยยึดถือผลประโยชน์ของสาธารณชน กฎหมาย ระเบียบข้อบังคับ ภาษี และเครื่องมือทางการเงิน พร้อมทั้งเสริมสร้างศักยภาพของตลาด ตัวอย่างของมาตรการตามแผนนี้ได้แก่ การผ่อนคลายข้อจำกัดการซื้อหุ้นเข้า Portfolio ของสถาบันการเงินต่าง ๆ การพัฒนาตลาดตราสารหนี้และตราสารทุนให้ครบวงจร เช่น ตลาดอนุพันธ์การอนุญาตจัดตั้งกองทุนส่วนบุคคล กองทุนเฉพาะกิจ เช่น กองทุนอสังหาริมทรัพย์และกองทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการสร้างพื้นฐานทางการเงินอื่น ๆ เพื่อให้เป็นตลาดที่สมบูรณ์
3) แผนพัฒนาตลาดเงินตราต่างประเทศ แผนนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ตลาดเงินต่างประเทศของไทยมีขอบเขตกว้างและลึกมากขึ้นทุกส่วนของตลาด มีความสัมพันธ์กับธนาคารแห่งประเทศไทย ผู้ประกอบการแต่ละประเภท เช่น ธนาคารพาณิชย์ และบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์มีบทบาททัดเทียมในเชิงแข่งขัน ตัวอย่างของมาตรการตามแผนนี้ได้แก่ การอนุญาตให้สถาบันการเงินที่เข้าหลักเกณฑ์ตามที่กำหนดทำธุรกิจเงินตราต่างประเทศได้ในส่วนที่เกี่ยวกับธุรกิจของตนเอง การให้มีผู้ซื้อขายเงินตราต่างประเทศในตลาดเพิ่มมากขึ้น โดยให้ทุนรักษาระดับสามารถซื้อขายเงินตราต่างประเทศกับสถาบันการเงินต่าง ๆ โดยตรงได้ และการให้กระบวนการธุรกิจเงินตราต่างประเทศเป็นไปตามหลักสากล เป็นต้น
4) แผนเปิดเสรีตลาดการเงินไทย แผนนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการแข่งขันในระบบการเงินการธนาคารอันจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการอำนวยบริการที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนและหน่วยงานธุรกิจที่ใช้บริการมากขึ้น ตัวอย่างของมาตรการตามแผนนี้ได้แก่ การอนุญาตจัดตั้งธนาคารพาณิชย์ไทยใหม่ การอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ไทยเปิดสาขาในต่างประเทศ การอนุญาตให้กิจการวิเทศธนกิจเปิดสาขาต่างจังหวัด การอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศเปิดกิจการวิเทศธนกิจในประเทศรอบสอง การอนุญาตให้บริษัทเงินทุนทำธุรกิจเงินตราต่างประเทศ และการอนุญาตให้บริษัทเงินทุนมีสาขาได้ทั่วประเทศ เป็นต้น
5) แผนการเพิ่มบทบาทของเอกชนในการร่วมทุน แผนนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มบทบาทของเอกชนในการร่วมลงทุนหรือการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ เพื่อให้เกิดความชัดเจนในทิศทางและนโยบายของรัฐบาล และเพื่อให้รูปแบบและกลยุทธในการแปรรูปและการให้เอกชนร่วมลงทุนของรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ มีแนวทางที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนส่วนรวมโดยมีหลักเกณฑ์ป้องกันการผูกขาด ตัวอย่างของมาตรการตามแผนนี้ได้แก่ การสนับสนุนเอกชนร่วมลงทุนในโครงการขยายงานประเภทโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจของรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการสื่อสาร โทรคมนาคม พลังงาน และการคมนาคมขนส่ง การปรับปรุงรูปแบบและขั้นตอนการดำเนินการเกี่ยวกับการพิจารณาอนุมัติแผนการลงทุนหรือแผนการร่วมลงทุนของเอกชนให้มีความโปร่งใส คล่องตัว และมีประสิทธิภาพมากขึ้น เป็นต้น
6) แผนปฏิรูประบบและเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีอากร แผนปฏิรูประบบการจัดเก็บภาษีอากร ประกอบด้วยการปฏิรูประบบภาษีศุลกากร การปรับปรุงอัตราเงินชดเชย การปรับปรุงภาษีสรรพสามิตให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจ การดำเนินนโยบายการบริหารงานสุราเพื่อให้เป็นไปโดยเสรี และการดำเนินมาตรการภาษีอากรเพื่อรักษาและส่งเสริมสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น ตัวอย่างของมาตรการตามแผนนี้ได้แก่ การปรับปรุงโครงสร้างอัตราอากรขาเข้ากลุ่มสินค้าเกษตรที่ยังไม่แปรรูปและยานบก การปรับปรุงอัตราเงินชดเชยให้สอดคล้องกับพิกัดอัตราศุลกากรที่เปลี่ยนไป การปรับปรุงอัตราภาษีสรรพสามิตให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจ และการเก็บภาษีจากผู้ก่อมลพิษตามหลัก Polluters Pay Principle เป็นต้น
สำหรับแผนเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีอากร ประกอบด้วยการปรับปรุงระบบพิธีสารการศุลกากร การปรับปรุงระบบเอกสารพิกัด การปรับปรุงระบบการคืนภาษี การขยายฐานภาษีและปรับปรุงการให้บริการและการปรับปรุงการป้องกันและปราบปรามของกรมจัดเก็บภาษี ตัวอย่างของมาตรการตามแผนนี้ได้แก่ การปรับพิธีการต่าง ๆ ให้ได้มาตรฐานสากลตามข้อตกลงขององค์การการค้าโลก การเร่งคืนภาษีอากรของกรมสรรพากรและกรมศุลกากรการป้องกันปราบปรามการค้าน้ำมันเถื่อน การลักลอบนำเข้า และการหลีกเลี่ยงภาษีอากร เป็นต้น
7) แผนเพิ่มประสิทธิภาพการลงทุนในภาครัฐ แผนนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้การลงทุนในภาครัฐ ทั้งส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ ซึ่งมีระดับการลงทุนรวมกันประมาณกว่า 700,000 ล้านบาท ต่อปีในปัจจุบัน เป็นไปอย่างประหยัดได้ผลคุ้มค่ามากขึ้น โดยคำนึงถึงลำดับความสำคัญและขีดความสามารถทางการเงินของประเทศ ตัวอย่างของมาตรการตามแผนนี้ได้แก่ การปรับปรุงระบบการพัฒนากลั่นกรองโครงการลงทุนของส่วนราชการ และรัฐวิสาหกิจ การปรับปรุงระบบจัดซื้อและจ้างของทางราชการ เพื่อให้มีความโปร่งใส เป็นธรรม และการจัดให้มีผู้ชำนาญการคัดเลือกเทคโนโลยีที่เหมาะสม และประเมินราคาก่อสร้างเข้าร่วมพิจารณาด้วย เป็นต้น
8) แผนระดมเงินออม แผนนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อลดช่องว่างระหว่างการออมและการลงทุน โดยมีมาตรการต่าง ๆ เพื่อเร่งรัดการออมได้แก่ กำหนดให้ปี 2540 เป็นปีของการระดมเงินออมและลดการใช้จ่ายฟุ่มเฟือยในประเทศ โดยมีธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นแกนนำ การรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เกี่ยวกับการออมอย่างต่อเนื่องการเร่งระดมเงินออมแบบผูกพันระยะยาว (Contractual Saving) และการขยายบทบาทของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพและกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เป็นต้น
9) แผนเพิ่มดุลบริการ แผนนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อลดการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด เนื่องจากในระยะที่ผ่านมา การเกินดุลของดุลบริการมีแนวโน้มลดลง เป็นสาเหตุที่สำคัญที่ทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลเพิ่มขึ้น ตัวอย่างของมาตรการตามแผนนี้ได้แก่ การพัฒนาด้านการท่องเที่ยว เพื่อให้ไทยเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ การส่งเสริมกิจการพาณิชย์นาวีด้วยมาตรการภาษีและมาตรการส่งเสริมการลงทุน การส่งเสริมบริการศึกษาในประเทศเพื่อทดแทนการส่งบุตรหลานไปศึกษาในต่างประเทศ เป็นต้น
10) แผนกระจายอำนาจการคลังสู่ท้องถิ่น แผนนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ส่วนราชการส่วนท้องถิ่นและผู้ที่เกี่ยวข้องได้มีกรอบการบริหารและพัฒนาการคลังท้องถิ่นให้มีประสิทธิภาพและมีความเข้มแข็ง โดยมีแผนงานทั้งในด้านรายได้ท้องถิ่น ด้านรายจ่ายท้องถิ่น ด้านประสิทธิภาพการบริหารและด้านวินัยการคลังท้องถิ่น ตัวอย่างของมาตรการตามแผนนี้ได้แก่ การปรับปรุงรายได้ท้องถิ่น 9 มาตรการ การทบทวนอำนาจหน้าที่และภารกิจของส่วนท้องถิ่น การปรับปรุงระบบงบประมาณและโครงการของท้องถิ่น การปรับปรุงการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น การจัดตั้งสถาบันพัฒนาการบริหารท้องถิ่น เป็นต้น
11) แผนขยายบริการสินเชื่อการเกษตร และการลดสินเชื่อนอกระบบ แผนนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อขยายบริการสินเชื่อการเกษตร และลดสินเชื่อนอกระบบ ตัวอย่างของมาตรการตามแผนนี้ได้แก่ การขยายบริการสินเชื่อการเกษตรของ ธ.ก.ส. ในอัตราร้อยละ 20 ต่อปี การพัฒนาความสามารถในการดำเนินธุรกิจของสหกรณ์การเกษตร การปรับปรุงประสิทธิภาพการแก้ไขปัญหาหนี้สินของเกษตรกร การดำเนินงานกองทุนร่วมบรรเทาความเสียหายทางการเกษตร การแก้ไขปัญหาหนี้สินนอกระบบของเกษตรกร เป็นต้น
12) แผนเพิ่มบทบาทของสถาบันการเงินในสังกัด แผนนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มบทบาทของสถาบันการเงินในสังกัดได้แก่ ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารกรุงไทย และสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน ให้มีการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพและมีความคล่องตัวมากขึ้น เพื่อที่จะช่วยแก้ปัญหาเศรษฐกิจ สนับสนุนการเจริญเติบโตของประเทศและนำไปสู่ความเป็นมาตรฐานสากล
13) แผนการเงินการคลังเพื่อสังคม แผนนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้มแข็งของชุมชนกับองค์กรชุมชน เพื่อให้ชุมชนสามารถช่วยตัวเองได้ อันจะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาสังคมในด้านต่าง ๆ ตัวอย่างของมาตรการตามแผนนี้ได้แก่ การจัดตั้งสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน การจัดตั้งกองทุนร่วมบรรเทาความเสียหายทางการเกษตร มาตรการทางภาษีเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาองค์กรชุมชนและเศรษฐกิจชุมชน เป็นต้น
14) แผนขจัดการฟอกเงินและการเงินนอกกฎหมาย แผนนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินที่ได้มาจากการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน และเพื่อปรับปรุงการป้องปรามการระดมเงินนอกระบบ ทั้งนี้ โดยจะมีการออกกฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และปรับปรุงกฎหมายและระเบียบข้อบังคับปัจจุบันให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เป็นต้น
15) แผนความร่วมมือทางการเงินและบริการในเขตการค้าเสรีอาเซียน แผนนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เงินทุน ปัจจัยการผลิตและบริการ มีการเคลื่อนย้ายข้ามพรมแดนได้อย่างเสรี เช่นเดียวกับสินค้าในกรอบของเขตการค้าเสรีอาเซียน ตัวอย่างมาตรการตามแผนนี้ได้แก่ การเป็นเจ้าภาพจัดประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียน เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือในด้านนโยบายการเงิน การคลัง ภาษีอากร และตลาดทุน และการเจรจาเปิดเสรีภาคบริการในกรอบอาเซียน เป็นต้น
16) แผนความร่วมมือทางการเงินการคลังในระดับภูมิภาคและในระดับโลก แผนนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือทางการเงินการคลังทั้งในระดับภูมิภาคและในระดับโลก มาตรการตามแผนนี้ได้แก่ การเปิดเจรจาความร่วมมือทางการเงินการคลังในกรอบเอเปค การจัดประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเอเชีย - ยุโรป การส่งเสริมความร่วมมือทางการเงินการคลังกับประเทศเพื่อนบ้าน และการร่วมเจรจาเปิดเสรีการค้าบริการทางการเงินในกรอบ WTO
4.2 แผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจเฉพาะด้าน มี 2 แผน
1) แผนการฟื้นฟูธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ แผนนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันมิให้ปัญหาธุรกิจอสังหา-ริมทรัพย์ลุกลาม อันจะมีผลต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ ตัวอย่างของมาตรการตามแผนนี้ได้แก่ การปรับขยายระยะเวลาชำระหนี้และดอกเบี้ยของสถาบันการเงิน การเพิ่มสภาพคล่องเข้าหล่อเลี้ยงธุรกิจในสาขานี้ การปรับลดอัตราดอกเบี้ยในตลาดเงิน เพื่อลดภาระการเงินของธุรกิจโดยทั่ว ๆ ไป การสนับสนุนการจัดตั้งกองทุนอสังหาริมทรัพย์เฉพาะกิจ และกองทุนอสังหาริมทรัพย์ในลักษณะอื่น ๆ เพื่อช่วยผ่อนภาระการถือครองที่ดิน และภาระการเงินของโครงการ และการเร่งรัดการตรากฎหมายเพื่อให้แปลงสภาพสินทรัพย์เป็นตราสารการเงินได้ (Securitization) การสนับสนุนกำลังซื้อของประชาชนโดยใช้มาตรการด้านเงินทุนดอกเบี้ยต่ำและ/หรือการลดหย่อนภาษีหรือค่าธรรมเนียมการอนุญาตให้ชาวต่างชาติเข้าถือกรรมสิทธิ์ในที่ดิน หรืออาคารได้อย่างเต็มที่มากขึ้น และการปรับลดราคาอสังหาริมทรัพย์ของผู้ประกอบการ เป็นต้น
2) แผนการแก้ไขปัญหาธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชยการ จำกัด (มหาชน) แผนนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหาของธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชยการ (BBC) ให้มีข้อยุติโดยเร็ว ซึ่งจะช่วยฟื้นฟูความเชื่อมั่นในระบบสถาบันการเงินของประเทศ ตัวอย่างของมาตรการตามแผนนี้ได้แก่ การค้ำประกันหรือรับโอนหนี้ที่ไม่เกิดรายได้ออกไปโดยกองทุนฟื้นฟูฯเพื่อให้ BBC มีโอกาสดำเนินกิจการสร้างรายได้ และมีผลดำเนินการคุ้มทุนโดยเร็ว และการนำหุ้นของ BBC ที่กองทุนฟื้นฟูฯถืออยู่จำนวนร้อยละ 51 ของเงินทุนจดทะเบียนออกจำหน่ายให้แก่สถาบันการเงินและองค์กรอื่นที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่ทางการกำหนด โดยมีเงื่อนไขเกี่ยวกับการชำระเงินค่าหุ้นและการมีส่วนร่วมในการบริหาร เพื่อให้กองทุนฟื้นฟูฯ ได้รับประโยชน์ตอบแทนคืนมามากที่สุด
5) สรุป
ในการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการนี้ กระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรงจะเริ่มดำเนินงานทันที ในส่วนที่เป็นอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบโดยตรง และในส่วนที่จะต้องดำเนินการขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีตามบทบัญญัติของกฎหมาย หรือขอความเห็นชอบจากรัฐสภา เพื่อปรับปรุงแก้ไขกฎหมายหรือตรากฎหมายใหม่ขึ้นมา ก็จะเร่งรัดดำเนินการต่อไป
การดำเนินงานในทุกกรณีจะต้องกระทำอย่างโปร่งใสและมีเหตุผลสนับสนุนเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนส่วนรวม
แผนปฏิบัติการที่กำหนดไว้นี้ จะมีการติดตามและประเมินผลงานเป็นประจำทุก 3 เดือน และอาจปรับปรุงแก้ไขหรือเพิ่มเติมให้ดีขึ้นหรือเหมาะสมยิ่งขึ้นกับสภาวะการณ์ในแต่ละระยะ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ)--วันที่ 23 ธันวาคม 2539--
คณะกรรมการกลั่นกรองฝ่ายเศรษฐกิจรับทราบตามที่กระทรวงการคลังรายงานว่า ได้จัดทำแผนปฏิบัติการเงินการคลัง และมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจบางด้าน ตามนโยบายของรัฐบาล พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ซึ่งได้แถลงต่อรัฐสภาโดยได้ปรึกษาหารือกับส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเรียบร้อยแล้ว สรุปได้ดังนี้
1) เป้าหมายการพัฒนา
ความก้าวหน้าและเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศเป็นเรื่องที่จะต้องได้รับการพิจารณาดำเนินการให้ดีขึ้นควบคู่กันไป ด้วยนโยบายที่เหมาะสมสอดคล้องและทันกับเหตุการณ์ ด้วยมาตรการที่สัมฤทธิ์ผลไม่ว่าจะเป็นในระยะสั้นหรือระยะยาวเพื่อให้ประเทศไทยมีศักยภาพสูงขึ้นทางเศรษฐกิจ และสามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้ในยุคโลกาภิวัฒน์ทั้งในระดับภูมิภาคและในระดับโลก
รัฐบาลจึงมีนโยบายหลักที่จะพัฒนาเศรษฐกิจให้เจริญรุ่งเรืองอย่างมีเสถียรภาพ มั่นคง และเป็นธรรมเพื่อลดช่องว่างและขจัดความยากจนในประเทศให้ลดน้อยลงไป และเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนคนไทย
2) เป้าหมายเศรษฐกิจมหภาค เพื่อให้มีเป้าหมายเศรษฐกิจมหภาคที่เหมาะสมกับสภาพความเป็นจริงกระทรวงการคลังจึงเห็นสมควรใช้ข้อมูลดังต่อไปนี้ เป็นกรอบเป้าหมายในการบริหารงานตามนโยบายของรัฐบาล
- เศรษฐกิจขยายตัวในอัตราร้อยละ 7.0 - 7.5 ต่อปี ในระยะ 2 - 3 ปีข้างหน้า
- เงินเฟ้ออยู่ในระดับร้อยละ 5.0 ในปี 2540 และต่ำกว่าร้อยละ 5.0 ในปีต่อ ๆ ไป
- การค้าส่งออกมีมูลค่าสูงขึ้นในอัตราร้อยละ 7 - 10 ในปี 2540 และจะอยู่ในระดับร้อยละ 10 หรือสูงกว่าในปีต่อ ๆ ไป
- การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดอยู่ในอัตราร้อยละ 7.5 - 7.9 ของ GDP ในปี 2540 และจะลดต่ำลงตามลำดับในปีต่อ ๆ ไป
3) นโยบายและมาตรการเร่งด่วนเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ
(1) ผ่อนคลายนโยบายการเงิน และเร่งรัดพัฒนาตลาดเงิน ตลาดทุน และตลาดเงินตราต่างประเทศให้มีประสิทธิภาพและเป็นสากล เพื่อให้มีสภาพคล่องสูงเพียงพอในตลาดและเพื่อให้อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นลดลง
(2) ปรับสัดส่วนให้นโยบายการคลังมีบทบาทในการรักษาเสถียรภาพ และพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศเพิ่มมากขึ้น โดยดำเนินนโยบายงบประมาณสมดุลหรือเกินดุลต่อไป โดยเฉพาะให้มีงบประมาณเงินสดเกินดุลมากเพียงพอ
(3) ดำเนินนโยบายประหยัด เพิ่มประสิทธิภาพหรือปรับลดการลงทุนของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ โดยเฉพาะโครงการลงทุนที่มีลำดับความสำคัญต่ำ และใช้เงินตราต่างประเทศในอัตราสูง
(4) รณรงค์เพื่อจูงใจการออมเงินและลดรายจ่ายฟุ่มเฟือย
(5) ดำเนินนโยบายรักษาเสถียรภาพในค่าเงินบาท และเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ทั้งในด้านระดับราคาและดุลบัญชีเดินสะพัด
(6) เปิดเสรีและผ่อนคลายข้อจำกัดทางการเงินอย่างเป็นขั้นตอน และในระยะเวลาที่เหมาะสม
(7) สนับสนุนการกระจายรายได้และความเจริญ และการกระจายอำนาจการคลังไปสู่ท้องถิ่น
(8) ส่งเสริมให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานและบริการสาธารณะ เพื่อลดภาระงบประมาณของรัฐบาล
(9) ปรับปรุงกฎหมายและพิธีสารต่าง ๆ ให้โปร่งใส รวดเร็ว และลดภาระค่าใช้จ่ายของภาคธุรกิจ
(10) เร่งแก้ปัญหาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ด้วยมาตรการต่าง ๆ ทั้งในด้านอุปสงค์ในตลาด และในด้านปัญหาการเงิน
(11) แก้ปัญหาธนาคารกรุงเทพพาณิชยการให้เสร็จสิ้นไปโดยเร็ว โดยไม่ทำให้ระบบสถาบันการเงินอ่อนแอ
(12) ร่วมมือกับส่วนราชการ หน่วยงาน และองค์กรต่าง ๆ ในการแก้ไขปัญหาการผลิตทางเกษตรอุตสาหกรรมและบริการ และในการแก้ปัญหาการตลาดและการส่งออก
4) รายละเอียดของแผนปฏิบัติการ
4.1 แผนปฏิบัติการตามนโยบายของรัฐบาล มี 16 แผน
1) แผนพัฒนาตลาดการเงิน แผนนี้มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อให้การบริหารสภาพคล่องให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงของสถาบันการเงิน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินนโยบายการเงิน เพื่อพัฒนาระบบการชำระเงิน และเพื่อปรับปรุงให้ตลาดการเงินมีกลไกที่สนองตอบการดำเนินธุรกิจและการดำเนินนโยบายของประเทศได้ดียิ่งขึ้น ตัวอย่างของมาตรการตามแผนนี้ได้แก่ การปรับปรุงกลไกตลาดซื้อคืนพันธบัตร การเพิ่มบทบาทของกองทุนฟื้นฟูในการรักษาเสถียรภาพการพัฒนากลไกของ Open Market Operation การพัฒนาระบบคู่ค้าของธนาคารแห่งประเทศไทย (Primary Dealers) และการพัฒนาระบบให้สถาบันการเงินต่าง ๆ มีความสัมพันธ์โดยตรงหรือโดยสะดวกกับธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นต้น
2) แผนพัฒนาตลาดทุน แผนนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ตลาดทุนเป็นแหล่งส่งเสริมการออมและเป็นแหล่งระดมทุนที่มีคุณลักษณะของความหลากหลาย ความลึก ความยืดหยุ่น และความโปร่งใส โดยเน้นการปรับปรุงโครงสร้างขององค์กรให้เป็นอิสระ โดยยึดถือผลประโยชน์ของสาธารณชน กฎหมาย ระเบียบข้อบังคับ ภาษี และเครื่องมือทางการเงิน พร้อมทั้งเสริมสร้างศักยภาพของตลาด ตัวอย่างของมาตรการตามแผนนี้ได้แก่ การผ่อนคลายข้อจำกัดการซื้อหุ้นเข้า Portfolio ของสถาบันการเงินต่าง ๆ การพัฒนาตลาดตราสารหนี้และตราสารทุนให้ครบวงจร เช่น ตลาดอนุพันธ์การอนุญาตจัดตั้งกองทุนส่วนบุคคล กองทุนเฉพาะกิจ เช่น กองทุนอสังหาริมทรัพย์และกองทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการสร้างพื้นฐานทางการเงินอื่น ๆ เพื่อให้เป็นตลาดที่สมบูรณ์
3) แผนพัฒนาตลาดเงินตราต่างประเทศ แผนนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ตลาดเงินต่างประเทศของไทยมีขอบเขตกว้างและลึกมากขึ้นทุกส่วนของตลาด มีความสัมพันธ์กับธนาคารแห่งประเทศไทย ผู้ประกอบการแต่ละประเภท เช่น ธนาคารพาณิชย์ และบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์มีบทบาททัดเทียมในเชิงแข่งขัน ตัวอย่างของมาตรการตามแผนนี้ได้แก่ การอนุญาตให้สถาบันการเงินที่เข้าหลักเกณฑ์ตามที่กำหนดทำธุรกิจเงินตราต่างประเทศได้ในส่วนที่เกี่ยวกับธุรกิจของตนเอง การให้มีผู้ซื้อขายเงินตราต่างประเทศในตลาดเพิ่มมากขึ้น โดยให้ทุนรักษาระดับสามารถซื้อขายเงินตราต่างประเทศกับสถาบันการเงินต่าง ๆ โดยตรงได้ และการให้กระบวนการธุรกิจเงินตราต่างประเทศเป็นไปตามหลักสากล เป็นต้น
4) แผนเปิดเสรีตลาดการเงินไทย แผนนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการแข่งขันในระบบการเงินการธนาคารอันจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการอำนวยบริการที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนและหน่วยงานธุรกิจที่ใช้บริการมากขึ้น ตัวอย่างของมาตรการตามแผนนี้ได้แก่ การอนุญาตจัดตั้งธนาคารพาณิชย์ไทยใหม่ การอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ไทยเปิดสาขาในต่างประเทศ การอนุญาตให้กิจการวิเทศธนกิจเปิดสาขาต่างจังหวัด การอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศเปิดกิจการวิเทศธนกิจในประเทศรอบสอง การอนุญาตให้บริษัทเงินทุนทำธุรกิจเงินตราต่างประเทศ และการอนุญาตให้บริษัทเงินทุนมีสาขาได้ทั่วประเทศ เป็นต้น
5) แผนการเพิ่มบทบาทของเอกชนในการร่วมทุน แผนนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มบทบาทของเอกชนในการร่วมลงทุนหรือการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ เพื่อให้เกิดความชัดเจนในทิศทางและนโยบายของรัฐบาล และเพื่อให้รูปแบบและกลยุทธในการแปรรูปและการให้เอกชนร่วมลงทุนของรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ มีแนวทางที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนส่วนรวมโดยมีหลักเกณฑ์ป้องกันการผูกขาด ตัวอย่างของมาตรการตามแผนนี้ได้แก่ การสนับสนุนเอกชนร่วมลงทุนในโครงการขยายงานประเภทโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจของรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการสื่อสาร โทรคมนาคม พลังงาน และการคมนาคมขนส่ง การปรับปรุงรูปแบบและขั้นตอนการดำเนินการเกี่ยวกับการพิจารณาอนุมัติแผนการลงทุนหรือแผนการร่วมลงทุนของเอกชนให้มีความโปร่งใส คล่องตัว และมีประสิทธิภาพมากขึ้น เป็นต้น
6) แผนปฏิรูประบบและเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีอากร แผนปฏิรูประบบการจัดเก็บภาษีอากร ประกอบด้วยการปฏิรูประบบภาษีศุลกากร การปรับปรุงอัตราเงินชดเชย การปรับปรุงภาษีสรรพสามิตให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจ การดำเนินนโยบายการบริหารงานสุราเพื่อให้เป็นไปโดยเสรี และการดำเนินมาตรการภาษีอากรเพื่อรักษาและส่งเสริมสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น ตัวอย่างของมาตรการตามแผนนี้ได้แก่ การปรับปรุงโครงสร้างอัตราอากรขาเข้ากลุ่มสินค้าเกษตรที่ยังไม่แปรรูปและยานบก การปรับปรุงอัตราเงินชดเชยให้สอดคล้องกับพิกัดอัตราศุลกากรที่เปลี่ยนไป การปรับปรุงอัตราภาษีสรรพสามิตให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจ และการเก็บภาษีจากผู้ก่อมลพิษตามหลัก Polluters Pay Principle เป็นต้น
สำหรับแผนเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีอากร ประกอบด้วยการปรับปรุงระบบพิธีสารการศุลกากร การปรับปรุงระบบเอกสารพิกัด การปรับปรุงระบบการคืนภาษี การขยายฐานภาษีและปรับปรุงการให้บริการและการปรับปรุงการป้องกันและปราบปรามของกรมจัดเก็บภาษี ตัวอย่างของมาตรการตามแผนนี้ได้แก่ การปรับพิธีการต่าง ๆ ให้ได้มาตรฐานสากลตามข้อตกลงขององค์การการค้าโลก การเร่งคืนภาษีอากรของกรมสรรพากรและกรมศุลกากรการป้องกันปราบปรามการค้าน้ำมันเถื่อน การลักลอบนำเข้า และการหลีกเลี่ยงภาษีอากร เป็นต้น
7) แผนเพิ่มประสิทธิภาพการลงทุนในภาครัฐ แผนนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้การลงทุนในภาครัฐ ทั้งส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ ซึ่งมีระดับการลงทุนรวมกันประมาณกว่า 700,000 ล้านบาท ต่อปีในปัจจุบัน เป็นไปอย่างประหยัดได้ผลคุ้มค่ามากขึ้น โดยคำนึงถึงลำดับความสำคัญและขีดความสามารถทางการเงินของประเทศ ตัวอย่างของมาตรการตามแผนนี้ได้แก่ การปรับปรุงระบบการพัฒนากลั่นกรองโครงการลงทุนของส่วนราชการ และรัฐวิสาหกิจ การปรับปรุงระบบจัดซื้อและจ้างของทางราชการ เพื่อให้มีความโปร่งใส เป็นธรรม และการจัดให้มีผู้ชำนาญการคัดเลือกเทคโนโลยีที่เหมาะสม และประเมินราคาก่อสร้างเข้าร่วมพิจารณาด้วย เป็นต้น
8) แผนระดมเงินออม แผนนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อลดช่องว่างระหว่างการออมและการลงทุน โดยมีมาตรการต่าง ๆ เพื่อเร่งรัดการออมได้แก่ กำหนดให้ปี 2540 เป็นปีของการระดมเงินออมและลดการใช้จ่ายฟุ่มเฟือยในประเทศ โดยมีธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นแกนนำ การรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เกี่ยวกับการออมอย่างต่อเนื่องการเร่งระดมเงินออมแบบผูกพันระยะยาว (Contractual Saving) และการขยายบทบาทของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพและกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เป็นต้น
9) แผนเพิ่มดุลบริการ แผนนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อลดการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด เนื่องจากในระยะที่ผ่านมา การเกินดุลของดุลบริการมีแนวโน้มลดลง เป็นสาเหตุที่สำคัญที่ทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลเพิ่มขึ้น ตัวอย่างของมาตรการตามแผนนี้ได้แก่ การพัฒนาด้านการท่องเที่ยว เพื่อให้ไทยเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ การส่งเสริมกิจการพาณิชย์นาวีด้วยมาตรการภาษีและมาตรการส่งเสริมการลงทุน การส่งเสริมบริการศึกษาในประเทศเพื่อทดแทนการส่งบุตรหลานไปศึกษาในต่างประเทศ เป็นต้น
10) แผนกระจายอำนาจการคลังสู่ท้องถิ่น แผนนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ส่วนราชการส่วนท้องถิ่นและผู้ที่เกี่ยวข้องได้มีกรอบการบริหารและพัฒนาการคลังท้องถิ่นให้มีประสิทธิภาพและมีความเข้มแข็ง โดยมีแผนงานทั้งในด้านรายได้ท้องถิ่น ด้านรายจ่ายท้องถิ่น ด้านประสิทธิภาพการบริหารและด้านวินัยการคลังท้องถิ่น ตัวอย่างของมาตรการตามแผนนี้ได้แก่ การปรับปรุงรายได้ท้องถิ่น 9 มาตรการ การทบทวนอำนาจหน้าที่และภารกิจของส่วนท้องถิ่น การปรับปรุงระบบงบประมาณและโครงการของท้องถิ่น การปรับปรุงการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น การจัดตั้งสถาบันพัฒนาการบริหารท้องถิ่น เป็นต้น
11) แผนขยายบริการสินเชื่อการเกษตร และการลดสินเชื่อนอกระบบ แผนนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อขยายบริการสินเชื่อการเกษตร และลดสินเชื่อนอกระบบ ตัวอย่างของมาตรการตามแผนนี้ได้แก่ การขยายบริการสินเชื่อการเกษตรของ ธ.ก.ส. ในอัตราร้อยละ 20 ต่อปี การพัฒนาความสามารถในการดำเนินธุรกิจของสหกรณ์การเกษตร การปรับปรุงประสิทธิภาพการแก้ไขปัญหาหนี้สินของเกษตรกร การดำเนินงานกองทุนร่วมบรรเทาความเสียหายทางการเกษตร การแก้ไขปัญหาหนี้สินนอกระบบของเกษตรกร เป็นต้น
12) แผนเพิ่มบทบาทของสถาบันการเงินในสังกัด แผนนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มบทบาทของสถาบันการเงินในสังกัดได้แก่ ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารกรุงไทย และสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน ให้มีการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพและมีความคล่องตัวมากขึ้น เพื่อที่จะช่วยแก้ปัญหาเศรษฐกิจ สนับสนุนการเจริญเติบโตของประเทศและนำไปสู่ความเป็นมาตรฐานสากล
13) แผนการเงินการคลังเพื่อสังคม แผนนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้มแข็งของชุมชนกับองค์กรชุมชน เพื่อให้ชุมชนสามารถช่วยตัวเองได้ อันจะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาสังคมในด้านต่าง ๆ ตัวอย่างของมาตรการตามแผนนี้ได้แก่ การจัดตั้งสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน การจัดตั้งกองทุนร่วมบรรเทาความเสียหายทางการเกษตร มาตรการทางภาษีเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาองค์กรชุมชนและเศรษฐกิจชุมชน เป็นต้น
14) แผนขจัดการฟอกเงินและการเงินนอกกฎหมาย แผนนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินที่ได้มาจากการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน และเพื่อปรับปรุงการป้องปรามการระดมเงินนอกระบบ ทั้งนี้ โดยจะมีการออกกฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และปรับปรุงกฎหมายและระเบียบข้อบังคับปัจจุบันให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เป็นต้น
15) แผนความร่วมมือทางการเงินและบริการในเขตการค้าเสรีอาเซียน แผนนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เงินทุน ปัจจัยการผลิตและบริการ มีการเคลื่อนย้ายข้ามพรมแดนได้อย่างเสรี เช่นเดียวกับสินค้าในกรอบของเขตการค้าเสรีอาเซียน ตัวอย่างมาตรการตามแผนนี้ได้แก่ การเป็นเจ้าภาพจัดประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียน เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือในด้านนโยบายการเงิน การคลัง ภาษีอากร และตลาดทุน และการเจรจาเปิดเสรีภาคบริการในกรอบอาเซียน เป็นต้น
16) แผนความร่วมมือทางการเงินการคลังในระดับภูมิภาคและในระดับโลก แผนนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือทางการเงินการคลังทั้งในระดับภูมิภาคและในระดับโลก มาตรการตามแผนนี้ได้แก่ การเปิดเจรจาความร่วมมือทางการเงินการคลังในกรอบเอเปค การจัดประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเอเชีย - ยุโรป การส่งเสริมความร่วมมือทางการเงินการคลังกับประเทศเพื่อนบ้าน และการร่วมเจรจาเปิดเสรีการค้าบริการทางการเงินในกรอบ WTO
4.2 แผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจเฉพาะด้าน มี 2 แผน
1) แผนการฟื้นฟูธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ แผนนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันมิให้ปัญหาธุรกิจอสังหา-ริมทรัพย์ลุกลาม อันจะมีผลต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ ตัวอย่างของมาตรการตามแผนนี้ได้แก่ การปรับขยายระยะเวลาชำระหนี้และดอกเบี้ยของสถาบันการเงิน การเพิ่มสภาพคล่องเข้าหล่อเลี้ยงธุรกิจในสาขานี้ การปรับลดอัตราดอกเบี้ยในตลาดเงิน เพื่อลดภาระการเงินของธุรกิจโดยทั่ว ๆ ไป การสนับสนุนการจัดตั้งกองทุนอสังหาริมทรัพย์เฉพาะกิจ และกองทุนอสังหาริมทรัพย์ในลักษณะอื่น ๆ เพื่อช่วยผ่อนภาระการถือครองที่ดิน และภาระการเงินของโครงการ และการเร่งรัดการตรากฎหมายเพื่อให้แปลงสภาพสินทรัพย์เป็นตราสารการเงินได้ (Securitization) การสนับสนุนกำลังซื้อของประชาชนโดยใช้มาตรการด้านเงินทุนดอกเบี้ยต่ำและ/หรือการลดหย่อนภาษีหรือค่าธรรมเนียมการอนุญาตให้ชาวต่างชาติเข้าถือกรรมสิทธิ์ในที่ดิน หรืออาคารได้อย่างเต็มที่มากขึ้น และการปรับลดราคาอสังหาริมทรัพย์ของผู้ประกอบการ เป็นต้น
2) แผนการแก้ไขปัญหาธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชยการ จำกัด (มหาชน) แผนนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหาของธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชยการ (BBC) ให้มีข้อยุติโดยเร็ว ซึ่งจะช่วยฟื้นฟูความเชื่อมั่นในระบบสถาบันการเงินของประเทศ ตัวอย่างของมาตรการตามแผนนี้ได้แก่ การค้ำประกันหรือรับโอนหนี้ที่ไม่เกิดรายได้ออกไปโดยกองทุนฟื้นฟูฯเพื่อให้ BBC มีโอกาสดำเนินกิจการสร้างรายได้ และมีผลดำเนินการคุ้มทุนโดยเร็ว และการนำหุ้นของ BBC ที่กองทุนฟื้นฟูฯถืออยู่จำนวนร้อยละ 51 ของเงินทุนจดทะเบียนออกจำหน่ายให้แก่สถาบันการเงินและองค์กรอื่นที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่ทางการกำหนด โดยมีเงื่อนไขเกี่ยวกับการชำระเงินค่าหุ้นและการมีส่วนร่วมในการบริหาร เพื่อให้กองทุนฟื้นฟูฯ ได้รับประโยชน์ตอบแทนคืนมามากที่สุด
5) สรุป
ในการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการนี้ กระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรงจะเริ่มดำเนินงานทันที ในส่วนที่เป็นอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบโดยตรง และในส่วนที่จะต้องดำเนินการขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีตามบทบัญญัติของกฎหมาย หรือขอความเห็นชอบจากรัฐสภา เพื่อปรับปรุงแก้ไขกฎหมายหรือตรากฎหมายใหม่ขึ้นมา ก็จะเร่งรัดดำเนินการต่อไป
การดำเนินงานในทุกกรณีจะต้องกระทำอย่างโปร่งใสและมีเหตุผลสนับสนุนเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนส่วนรวม
แผนปฏิบัติการที่กำหนดไว้นี้ จะมีการติดตามและประเมินผลงานเป็นประจำทุก 3 เดือน และอาจปรับปรุงแก้ไขหรือเพิ่มเติมให้ดีขึ้นหรือเหมาะสมยิ่งขึ้นกับสภาวะการณ์ในแต่ละระยะ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ)--วันที่ 23 ธันวาคม 2539--