ทำเนียบรัฐบาล--30 พ.ย.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยกายกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (การยกเว้นภาษีอากรตามแผนระดมทุนจากภาคเอกชนในโครงการโรงไฟฟ้าราชบุรี) ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
กระทรวงการคลังเสนอว่า ได้มอบหมายให้กรมบัญชีกลางเป็นเจ้าของเรื่องพิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้วเห็นว่า หากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยได้ขายโรงไฟฟ้าและที่ดินให้กับบริษัทฯ ที่จะจัดตั้ง จะมีภาระภาษีอากรเกิดขึ้น ดังนี้
1. หากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยมีการโอนทรัพย์สินอื่น ๆ ที่มิใช่อสังหาริมทรัพย์ให้แก่บริษัทที่จัดตั้งการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยจะต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจากการโอนทรัพย์สินดังกล่าวด้วย ทั้งนี้ ตามนัยมาตรา 77/1 (8) แห่งประมวลรัษฎากร
2. หากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยมีการโอนที่ดินหรืออาคารให้แก่บริษัทที่จัดตั้ง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยมีหน้าที่ต้องเสีภาษีธุรกิจเฉพาะในอัตราร้อยละ 3.3 ของยอดรายรับ ทั้งนี้ ตามนัยมาตรา 91/2 (6) แห่งประมวลรัษฎากรและตามลักษณะแห่งตราสารที่ 28. แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์
3. เพื่อเป็นการสนับสนุนให้กิจการของรัฐมีการแปรรูปให้เป็นภาคเอกชนตามแผนแม่บทการปฏิรูปรัฐวิสาหกิจ เพื่อส่งเสริมบทบาทเอกชนและเพิ่มการแข่งขันในกิจการผลิต เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการ ในราคาที่เป็นธรรม และลดภาระการลงทุนภาครัฐ หน่วยงานเจ้าของโครงการจะมีมูลค่าที่ได้รับการขายทรัพย์สิน รายรับที่ได้รับจากการขายอสังหาริมทรัพย์จากการแปรรูปกิจการของรัฐตามกฎหมายว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ จึงเห็นควรยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ให้แก่หน่วยงานเจ้าของโครงการ ซึ่งจะมีผลบังคับใช้โดยทั่วไปไม่เป็นการเฉพาะเจาะจงกิจการของรัฐหน่วยงานหนึ่งหน่วยงานใด โดยจะครอบคลุมแผนระดมทุนจากภาคเอกชนในโครงการโรงไฟฟ้าราชบุรีด้วย
4. การยกเว้นภาษีอากรตามข้อ 3 จะไม่มีผลต่อการจัดเก็บภาษีอากรที่มีการจัดเก็บอยู่แล้วให้ได้น้อยลงกว่าเดิมแต่อย่างใด จึงไม่มีผลต่องบประมาณของประเทศ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 30 พฤศจิกายน 2542--
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยกายกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (การยกเว้นภาษีอากรตามแผนระดมทุนจากภาคเอกชนในโครงการโรงไฟฟ้าราชบุรี) ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
กระทรวงการคลังเสนอว่า ได้มอบหมายให้กรมบัญชีกลางเป็นเจ้าของเรื่องพิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้วเห็นว่า หากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยได้ขายโรงไฟฟ้าและที่ดินให้กับบริษัทฯ ที่จะจัดตั้ง จะมีภาระภาษีอากรเกิดขึ้น ดังนี้
1. หากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยมีการโอนทรัพย์สินอื่น ๆ ที่มิใช่อสังหาริมทรัพย์ให้แก่บริษัทที่จัดตั้งการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยจะต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจากการโอนทรัพย์สินดังกล่าวด้วย ทั้งนี้ ตามนัยมาตรา 77/1 (8) แห่งประมวลรัษฎากร
2. หากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยมีการโอนที่ดินหรืออาคารให้แก่บริษัทที่จัดตั้ง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยมีหน้าที่ต้องเสีภาษีธุรกิจเฉพาะในอัตราร้อยละ 3.3 ของยอดรายรับ ทั้งนี้ ตามนัยมาตรา 91/2 (6) แห่งประมวลรัษฎากรและตามลักษณะแห่งตราสารที่ 28. แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์
3. เพื่อเป็นการสนับสนุนให้กิจการของรัฐมีการแปรรูปให้เป็นภาคเอกชนตามแผนแม่บทการปฏิรูปรัฐวิสาหกิจ เพื่อส่งเสริมบทบาทเอกชนและเพิ่มการแข่งขันในกิจการผลิต เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการ ในราคาที่เป็นธรรม และลดภาระการลงทุนภาครัฐ หน่วยงานเจ้าของโครงการจะมีมูลค่าที่ได้รับการขายทรัพย์สิน รายรับที่ได้รับจากการขายอสังหาริมทรัพย์จากการแปรรูปกิจการของรัฐตามกฎหมายว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ จึงเห็นควรยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ให้แก่หน่วยงานเจ้าของโครงการ ซึ่งจะมีผลบังคับใช้โดยทั่วไปไม่เป็นการเฉพาะเจาะจงกิจการของรัฐหน่วยงานหนึ่งหน่วยงานใด โดยจะครอบคลุมแผนระดมทุนจากภาคเอกชนในโครงการโรงไฟฟ้าราชบุรีด้วย
4. การยกเว้นภาษีอากรตามข้อ 3 จะไม่มีผลต่อการจัดเก็บภาษีอากรที่มีการจัดเก็บอยู่แล้วให้ได้น้อยลงกว่าเดิมแต่อย่างใด จึงไม่มีผลต่องบประมาณของประเทศ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 30 พฤศจิกายน 2542--