ทำเนียบรัฐบาล--28 ธ.ค.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบมาตรการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบกรณีการจัดหาประโยชน์ใน ที่ราชพัสดุ ตามที่สำนักงาน ป.ป.ป. เสนอ รวม 4 ข้อ ดังนี้
1. ให้กระทรวงการคลังพิจารณาปรับปรุงแก้ไขระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยวิธีประมูลจัด ให้เช่าที่ราชพัสดุ พ.ศ. 2532 ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น โดยให้นำระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 ไปใช้เป็นแนวทางในการพิจารณาแก้ไขปรับปรุง
2. ให้กระทรวงการคลังพิจารณาแก้ไข ปรับปรุงหลักเกณฑ์ ขั้นตอนและวิธีการในการจัดหา ประโยชน์ในที่ราชพัสดุโดยวิธีการอื่น ตามข้อ 16 วรรคท้าย แห่งกฏกระทรวง (พ.ศ. 2519 ซึ่งแก้ไข เพิ่มเติมโดยกฏกระทรวงฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2531) ออกตามความในพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ. 2518 โดยให้ปรับปรุงเพิ่มเติมให้เป็นไปตามหลักการ ดังนี้
2.1 การจัดหาประโยชน์ในที่ราชพัสดุโดยวิธีการอื่น ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ กระทรวงการคลังกำหนด โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการที่ราชพัสดุ
2.2 เมื่อคณะกรรมการที่ราชพัสดุได้ให้ความเห็นชอบตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กระทรวง การคลังกำหนดแล้ว ให้นำหลักเกณฑ์และเงื่อนไขดังกล่าวลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป
3. ให้กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง พิจารณาดำเนินการเพื่อให้มีการกำหนดหลักเกณฑ์วิธี การและขั้นตอนที่เหมาะสมและสามารถบังเกิดผลในทางปฏิบัติในการเรียกคืนและส่งคืนที่ราชพัสดุให้เป็นไป ตามกฏหมาย และมติคณะรัฐมนตรีได้อย่างจริงจังและมีประสิทธิภาพ เพื่อให้การบริหารที่ราชพัสดุเกิดประ โยชน์สูงสุดแก่ทางราชการต่อไป
4. เพื่อให้การแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการควบคุม ดูแลการใช้ที่ราชพัสดุของหน่วยงานของทาง ราชการเป็นไปอย่างมีระบบและต่อเนื่อง จึงให้ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจและองค์ การปกครองท้องถิ่น ซึ่งครอบครอบและใช้ประโยชน์ในที่ราชพัสดุมีหน้าที่ในการดำเนินการ ดังนี้
4.1 แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ภายในหน่วยงานให้มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับ ที่ราชพัสดุภายในหน่วยงานนั้น ๆ เช่น การจัดทำและควบคุมทะเบียนที่ราชพัสดุ ซึ่งกรมธนารักษ์จัดส่งไป ให้มีความสมบูรณ์และมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ รวมทั้งควบคุมการใช้หรือขอเปลี่ยนแปลงการใช้ ประโยชน์ในที่ราชพัสดุให้ถูกต้องตามกฏหมายและระเบียบของทางราชการ
4.2 จัดทำรายงานการตรวจสอบการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ดังกล่าวตามข้อ 4.1 ตามแบบ ที่กรมธนารักษ์กำหนด และจัดส่งให้กระทรวงการคลังทราบเป็นประจำทุก
4.3 หากมีการบุกรุกในที่ราชพัสดุที่อยู่ในความดูแลของหน่วยงานใด ๆ ให้หน่วยงานนั้น ประสานกับกรมธนารักษ์ เพื่อวางแผนและดำเนินการแก้ไขปัญหาการบุกรุกกันอย่างใกล้ชิด
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 27 ธันวาคม 2537--
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบมาตรการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบกรณีการจัดหาประโยชน์ใน ที่ราชพัสดุ ตามที่สำนักงาน ป.ป.ป. เสนอ รวม 4 ข้อ ดังนี้
1. ให้กระทรวงการคลังพิจารณาปรับปรุงแก้ไขระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยวิธีประมูลจัด ให้เช่าที่ราชพัสดุ พ.ศ. 2532 ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น โดยให้นำระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 ไปใช้เป็นแนวทางในการพิจารณาแก้ไขปรับปรุง
2. ให้กระทรวงการคลังพิจารณาแก้ไข ปรับปรุงหลักเกณฑ์ ขั้นตอนและวิธีการในการจัดหา ประโยชน์ในที่ราชพัสดุโดยวิธีการอื่น ตามข้อ 16 วรรคท้าย แห่งกฏกระทรวง (พ.ศ. 2519 ซึ่งแก้ไข เพิ่มเติมโดยกฏกระทรวงฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2531) ออกตามความในพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ. 2518 โดยให้ปรับปรุงเพิ่มเติมให้เป็นไปตามหลักการ ดังนี้
2.1 การจัดหาประโยชน์ในที่ราชพัสดุโดยวิธีการอื่น ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ กระทรวงการคลังกำหนด โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการที่ราชพัสดุ
2.2 เมื่อคณะกรรมการที่ราชพัสดุได้ให้ความเห็นชอบตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กระทรวง การคลังกำหนดแล้ว ให้นำหลักเกณฑ์และเงื่อนไขดังกล่าวลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป
3. ให้กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง พิจารณาดำเนินการเพื่อให้มีการกำหนดหลักเกณฑ์วิธี การและขั้นตอนที่เหมาะสมและสามารถบังเกิดผลในทางปฏิบัติในการเรียกคืนและส่งคืนที่ราชพัสดุให้เป็นไป ตามกฏหมาย และมติคณะรัฐมนตรีได้อย่างจริงจังและมีประสิทธิภาพ เพื่อให้การบริหารที่ราชพัสดุเกิดประ โยชน์สูงสุดแก่ทางราชการต่อไป
4. เพื่อให้การแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการควบคุม ดูแลการใช้ที่ราชพัสดุของหน่วยงานของทาง ราชการเป็นไปอย่างมีระบบและต่อเนื่อง จึงให้ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจและองค์ การปกครองท้องถิ่น ซึ่งครอบครอบและใช้ประโยชน์ในที่ราชพัสดุมีหน้าที่ในการดำเนินการ ดังนี้
4.1 แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ภายในหน่วยงานให้มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับ ที่ราชพัสดุภายในหน่วยงานนั้น ๆ เช่น การจัดทำและควบคุมทะเบียนที่ราชพัสดุ ซึ่งกรมธนารักษ์จัดส่งไป ให้มีความสมบูรณ์และมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ รวมทั้งควบคุมการใช้หรือขอเปลี่ยนแปลงการใช้ ประโยชน์ในที่ราชพัสดุให้ถูกต้องตามกฏหมายและระเบียบของทางราชการ
4.2 จัดทำรายงานการตรวจสอบการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ดังกล่าวตามข้อ 4.1 ตามแบบ ที่กรมธนารักษ์กำหนด และจัดส่งให้กระทรวงการคลังทราบเป็นประจำทุก
4.3 หากมีการบุกรุกในที่ราชพัสดุที่อยู่ในความดูแลของหน่วยงานใด ๆ ให้หน่วยงานนั้น ประสานกับกรมธนารักษ์ เพื่อวางแผนและดำเนินการแก้ไขปัญหาการบุกรุกกันอย่างใกล้ชิด
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 27 ธันวาคม 2537--