ทำเนียบรัฐบาล--21 ธ.ค.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีรับทราบมติคณะกรรมการการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย เกี่ยวกับภาระผูกพัน ของการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยในสัญญาให้การสนับสนุนของผู้ถือหุ้น ก่อนที่จะอนุมัติให้บริษัท อะโร เมติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด เบิกเงินกู้งวดแรก โดยมีสาระสำคัญของสัญญาสรุปได้ ดังนี้
หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐฯ
1. ชำระค่าหุ้นเป็นเงินทุน 226.65
2. ภาระการสนับสนุนทางการเงินของผู้ถือหุ้น
- เงินทุนสนับสนุนในช่วงก่อสร้างในกรณีที่เงินทุนโครงการ
เพิ่มสูงขึ้นกว่างบประมาณที่กำหนดไว้
(Cost Overrun Support) 60.00
- เงินทุนสนับสนุนในช่วงดำเนินการผลิตเพื่อให้บริษัท
อะโรเมติกส์ฯ สามารถชำระคืนเงินกู้ให้ธนาคาร
(Cash Deficiency Support) 150.00 210.00
รวม 436.65
- หากภาระในการสนับสนุนทางการเงินในช่วงก่อสร้างมิได้ใช้ หรือใช้ไม่หมดให้โอนไป ใช้ในช่วงดำเนินการผลิตไม่เกิน 50 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ดังนั้น วงเงินสนับสนุนทางการเงินในช่วง ดำเนินการผลิตรวมกับที่โอนมาจากก่อสร้าง จะเป็นวงเงินรวมไม่เกิน 200 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และจะ ลดลงเป็นสัดส่วนเดียวกับจำนวนการชำระคืนเงินกู้ ก็ต่อเมื่อยอดหนี้คงค้างเหลือไม่เกิน 200 ล้านเหรียญ สหรัฐฯ
- การจ่ายคืนภาระการสนับสนุนทางการเงินในช่วงก่อสร้าง :
เมื่อเงินลงทุนโครงการได้ถูกใช้จ่ายหมดแล้วก่อนที่การก่อสร้างโรงงานจะแล้วเสร็จ หรือณ วันที่การก่อสร้างโรงงานแล้วเสร็จ ปรากฏว่าเงินทุนสนับสนุนที่ผู้ถือหุ้นจ่ายไปแล้วสูงกว่าจำนวน เงินลงทุนโครงการที่ต้องใช้จ่ายจริง บริษัทฯ จะต้องคืนเงินส่วนเกินให้แก่ผู้ถือหุ้น
- การสิ้นสุดภาระผูกพันของผู้ถือหุ้นในช่วงดำเนินการผลิต:
ภาระการสนับสนุนทางการเงินในช่วงดำเนินการผลิตจะสิ้นสุดลงเมื่อเหตุการณ์ใดเหตุ การณ์หนึ่ง ดังนี้
ก.ผู้ถือหุ้นได้ให้เงินทุนสนับสนุนเต็มวงเงินสนับสนุนทางการเงินในช่วงดำเนินการ ผลิตแล้ว
ข.บริษัทฯ ได้ปลดเปลื้องภาระหนี้สินที่มีหลักประกันจนหมดสิ้นแล้ว และไม่มีหนี้สินที่มี หลักประกันเพิ่มเติมขึ้นมาอีก
3. การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ทำสัญญารับซื้อ เบนซิน โทลูอีน และมิกซ์ไซลีนกับบริษัทฯ ซึ่งบริษัทฯ ได้เคยลงนามหัวข้อสัญญา (Head of Agreement) แล้วกับบริษัท สยามสไตรีนโมโนเมอร์ จำกัด บริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด และบริษัท ไทย-เอ็มซี จำกัด
4.การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย จะให้ความช่วยเหลือบริษัทฯ ในกรณีการเลื่อนกำหนด การชำระเงินค่าวัตถุดิบออกไปหากมีความจำเป็นโดยการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยจะคิดดอกเบี้ยจาก บริษัทฯในอัตราพาณิชย์ (Commercial Rate) ซึ่งไม่เกินอัตราเฉลี่ยดอกเบี้ยขั้นต่ำเงินกู้เบิกเกินบัญชี ของธนาคารพาณิชย์ ธนาคารกรุงไทย และธนาคารกสิกรไทย (Average MOR) บวกร้อยละ 2
5.การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย จะไม่ดำเนินการใด ๆ ที่จะเป็นการขัดต่อพระราช- บัญญัติการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยและมีผลกระทบทำให้เกิดการยกเลิกสิทธิพิเศษที่การปิโตรเลียม แห่งประเทศไทยได้รับจากรัฐบาลไทย ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงแก่โครงการ
นอกจากนี้ หากบริษัทฯ สามารถหาผู้ร่วมทุนได้เมื่อใดควรจะให้ผู้ร่วมทุนเข้าผูกพันและลงนาม ในสัญญาฯ โดยมีความรับผิดชอบในภาระต่าง ๆ ตามสัดส่วนของผู้ถือหุ้นเป็นสำคัญ และให้บริษัทฯ ดำเนิน โครงการให้เป็นไปตามแผนงาน และวงเงินลงทุนที่ได้กำหนดไว้ เพื่อมิให้เงินลงทุนโครงการเพิ่มสูงขึ้น กว่าที่ได้ประมาณการไว้ ซึ่งอาจจะส่งผลให้กลุ่มธนาคารผู้ให้กู้ขอเพิ่มวงเงินภาระการสนับสนุนทางการเงิน ของผู้ถือหุ้น ซึ่งจะเพิ่มภาระดังกล่าวให้การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยได้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 20 ธันวาคม 2537--
คณะรัฐมนตรีรับทราบมติคณะกรรมการการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย เกี่ยวกับภาระผูกพัน ของการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยในสัญญาให้การสนับสนุนของผู้ถือหุ้น ก่อนที่จะอนุมัติให้บริษัท อะโร เมติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด เบิกเงินกู้งวดแรก โดยมีสาระสำคัญของสัญญาสรุปได้ ดังนี้
หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐฯ
1. ชำระค่าหุ้นเป็นเงินทุน 226.65
2. ภาระการสนับสนุนทางการเงินของผู้ถือหุ้น
- เงินทุนสนับสนุนในช่วงก่อสร้างในกรณีที่เงินทุนโครงการ
เพิ่มสูงขึ้นกว่างบประมาณที่กำหนดไว้
(Cost Overrun Support) 60.00
- เงินทุนสนับสนุนในช่วงดำเนินการผลิตเพื่อให้บริษัท
อะโรเมติกส์ฯ สามารถชำระคืนเงินกู้ให้ธนาคาร
(Cash Deficiency Support) 150.00 210.00
รวม 436.65
- หากภาระในการสนับสนุนทางการเงินในช่วงก่อสร้างมิได้ใช้ หรือใช้ไม่หมดให้โอนไป ใช้ในช่วงดำเนินการผลิตไม่เกิน 50 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ดังนั้น วงเงินสนับสนุนทางการเงินในช่วง ดำเนินการผลิตรวมกับที่โอนมาจากก่อสร้าง จะเป็นวงเงินรวมไม่เกิน 200 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และจะ ลดลงเป็นสัดส่วนเดียวกับจำนวนการชำระคืนเงินกู้ ก็ต่อเมื่อยอดหนี้คงค้างเหลือไม่เกิน 200 ล้านเหรียญ สหรัฐฯ
- การจ่ายคืนภาระการสนับสนุนทางการเงินในช่วงก่อสร้าง :
เมื่อเงินลงทุนโครงการได้ถูกใช้จ่ายหมดแล้วก่อนที่การก่อสร้างโรงงานจะแล้วเสร็จ หรือณ วันที่การก่อสร้างโรงงานแล้วเสร็จ ปรากฏว่าเงินทุนสนับสนุนที่ผู้ถือหุ้นจ่ายไปแล้วสูงกว่าจำนวน เงินลงทุนโครงการที่ต้องใช้จ่ายจริง บริษัทฯ จะต้องคืนเงินส่วนเกินให้แก่ผู้ถือหุ้น
- การสิ้นสุดภาระผูกพันของผู้ถือหุ้นในช่วงดำเนินการผลิต:
ภาระการสนับสนุนทางการเงินในช่วงดำเนินการผลิตจะสิ้นสุดลงเมื่อเหตุการณ์ใดเหตุ การณ์หนึ่ง ดังนี้
ก.ผู้ถือหุ้นได้ให้เงินทุนสนับสนุนเต็มวงเงินสนับสนุนทางการเงินในช่วงดำเนินการ ผลิตแล้ว
ข.บริษัทฯ ได้ปลดเปลื้องภาระหนี้สินที่มีหลักประกันจนหมดสิ้นแล้ว และไม่มีหนี้สินที่มี หลักประกันเพิ่มเติมขึ้นมาอีก
3. การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ทำสัญญารับซื้อ เบนซิน โทลูอีน และมิกซ์ไซลีนกับบริษัทฯ ซึ่งบริษัทฯ ได้เคยลงนามหัวข้อสัญญา (Head of Agreement) แล้วกับบริษัท สยามสไตรีนโมโนเมอร์ จำกัด บริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด และบริษัท ไทย-เอ็มซี จำกัด
4.การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย จะให้ความช่วยเหลือบริษัทฯ ในกรณีการเลื่อนกำหนด การชำระเงินค่าวัตถุดิบออกไปหากมีความจำเป็นโดยการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยจะคิดดอกเบี้ยจาก บริษัทฯในอัตราพาณิชย์ (Commercial Rate) ซึ่งไม่เกินอัตราเฉลี่ยดอกเบี้ยขั้นต่ำเงินกู้เบิกเกินบัญชี ของธนาคารพาณิชย์ ธนาคารกรุงไทย และธนาคารกสิกรไทย (Average MOR) บวกร้อยละ 2
5.การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย จะไม่ดำเนินการใด ๆ ที่จะเป็นการขัดต่อพระราช- บัญญัติการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยและมีผลกระทบทำให้เกิดการยกเลิกสิทธิพิเศษที่การปิโตรเลียม แห่งประเทศไทยได้รับจากรัฐบาลไทย ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงแก่โครงการ
นอกจากนี้ หากบริษัทฯ สามารถหาผู้ร่วมทุนได้เมื่อใดควรจะให้ผู้ร่วมทุนเข้าผูกพันและลงนาม ในสัญญาฯ โดยมีความรับผิดชอบในภาระต่าง ๆ ตามสัดส่วนของผู้ถือหุ้นเป็นสำคัญ และให้บริษัทฯ ดำเนิน โครงการให้เป็นไปตามแผนงาน และวงเงินลงทุนที่ได้กำหนดไว้ เพื่อมิให้เงินลงทุนโครงการเพิ่มสูงขึ้น กว่าที่ได้ประมาณการไว้ ซึ่งอาจจะส่งผลให้กลุ่มธนาคารผู้ให้กู้ขอเพิ่มวงเงินภาระการสนับสนุนทางการเงิน ของผู้ถือหุ้น ซึ่งจะเพิ่มภาระดังกล่าวให้การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยได้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 20 ธันวาคม 2537--