ทำเนียบรัฐบาล--21 เม.ย.--บิสนิวส์
คณะกรรมการกลั่นกรองฝ่ายเศรษฐกิจให้ความเห็นชอบในหลักการของแผนแม่บทการก่อสร้าง
ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองของประเทศไทย ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ เพื่อกรมทางหลวงจะได้ใช้
เป็นกรอบไปดำเนินการในขั้นตอนต่อไป ซึ่งแผนแม่บทดังกล่าว กรมทางหลวงได้นำผลการศึกษาของ
คณะผู้เชี่ยวชาญญี่ปุ่นมาพิจารณาจัดทำเป็นแผนแม่บทการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองของประเทศ
ไทยขึ้น สรุปสาระสำคัญของแผนแม่บทดังกล่าว ได้ดังนี้
1. วัตถุประสงค์ เพื่อกำหนดโครงข่ายแผนการก่อสร้างทางหลวงที่มีมาตรฐานสูงและเป็นระ
บบโครงสร้างพื้นฐานหลักในการสนับสนุนนโยบายกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาค รวมทั้งส่งเสริมให้ประชา
ชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี ตลอดจนสนับสนุนการพัฒนาเมืองหลักในภูมิภาค
2. เป้าหมาย เพื่อกำหนดโครงข่ายระบบทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองของประเทศไทยไว้
เป็นแผนงานระยะยาว 20 ปี โดยมีโครงข่ายทางทั้งสิ้น 13 สายทาง ระยะทางรวม 4,150 กิโลเมตร
3. ลักษณะทางหลวงพิเศษ เป็นทางมาตรฐานสูงระดับสากล มีลักษณะเด่นสรุปได้คือ เป็น
แนวทางใหม่หลีกเลี่ยงชุมชน มีการควบคุมทางเข้า - ออก ที่สมบูรณ์แบบ มีรั้วกั้นทาง ทางแยกต้องเป็น
ทางแยกต่างระดับทุกแห่ง โดยไม่มีสัญญาณไฟจราจร รถวิ่งได้ด้วยความเร็ว 120 - 140 กม./ชม.
บนทางราบ 80 กม./ชม. บนทางภูเขาและมีสถานีบริการไว้ในเขตทางตามจุดที่กำหนด
4. รายละเอียดเส้นทาง ประกอบด้วยโครงข่ายทางหลวงพิเศษ 13 สายทาง ดังนี้
ลำดับที่ ทางหลวงพิเศษหมายเลข ชื่อสายทาง ระยะทาง (กม.)
1. 5 บางปะอิน - นครสวรรค์ 175
นครสวรรค์ - พิษณุโลก 142
พิษณุโลก - ลำปาง 182
ลำปาง - ลำพูน 60
ลำพูน - เชียงใหม่ 39
เชียงใหม่ - เชียงราย 151
2. 6 บางปะอิน - นครราชสีมา 206
นครราชสีมา - ขอนแก่น 169
ขอนแก่น - หนองคาย 160
3. 7 กรุงเทพ - ชลบุรี *82
ชลบุรี - พัทยา 49
พัทยา - มาบตาพุด 38
มาบตาพุด - ระยอง 26
ระยอง - จันทบุรี 95
4. 8 กรุงเทพ - ปากท่อ 67
ปากท่อ - ชะอำ 72
ชะอำ - ชุมพร 266
ชุมพร - บ้านนาสาร 200
บ้านนาสาร - พัทลุง 168
พัทลุง - หาดใหญ่ 80
หาดใหญ่ - ชายแดนมาเลเซีย 54
หาดใหญ่ - สงขลา 28
5. 9 วงแหวนรอบนอก กทม.ด้านตะวันออก 63
วงแหวนรอบนอก กทม.ด้านใต้ 34
วงแหวนรอบนอก กทม.ด้านตะวันตก 71
6. 51 กรุงเทพฯ - สุพรรณบุรี 62
7. 61 ชลบุรี - นครราชสีมา 239
8. 62 นครราชสีมา - อุบลราชธานี 301
9. 71 กรุงเทพฯ - อรัญประเทศ 212
10. 81 บางใหญ่ - บ้านโป่ง 53
11. 83 พระแสง - ภูเก็ต 136
12. 84 ทุ่งสง - นครศรีธรรมราช 37
13. 91 ปากท่อ - บ้านโป่ง 62
บ้านโป่ง - สิงห์บุรี 134
สิงห์บุรี - สระบุรี 70
สระบุรี - บางปะกง 120
รวม 4,150
5. การเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทาง คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2539 อนุมัติให้
กรมทางหลวงจัดเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทางบนทางหลวงพิเศษตามระยะทางโดยรถยนต์ 4 ล้อ 6 ล้อ และ
10 ล้อ เก็บในอัตรา 1.00 1.60 และ 2.30 บาท/กม. ตามลำดับ
6. โครงการที่กำลังดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน ในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 7 กรมทางหลวงได้
ดำเนินการเกี่ยวกับทางหลวงพิเศษเป็นรายโครงการตามที่ได้กำหนดไว้ในแผนแล้ว ประกอบด้วย โครง
การที่กำลังก่อสร้าง จำนวน 2 โครงการ โครงการที่กำลังสำรวจออกแบบรายละเอียด จำนวน 3
โครงการ และโครงการที่กำลังศึกษาความเหมาะสมและผลกระทบสิ่งแวดล้อม จำนวน 4 โครงการ
7. ระยะเวลาดำเนินการตามแผนแม่บท 20 ปี (พ.ศ. 2540-2559)
8. รูปแบบการลงทุนและแหล่งเงินลงทุน รูปแบบการลงทุนมีทั้งโครงการที่รัฐเป็นผู้ลงทุนทั้ง
โครงการ และรัฐร่วมลงทุนกับเอกชน สำหรับแหล่งเงินทุนประกอบด้วยเงินงบประมาณประจำปี เงินกู้ต่าง
ประเทศและภายในประเทศ เงินลงทุนของภาคเอกชน และเงินรายได้จากการเก็บค่าธรรมเนียมผ่าน
ทาง รวมเป็นเงิน 472,360 ล้านบาท และค่ากรรมสิทธิ์ที่ดินอีกประมาณ 65,600 ล้านบาท
9. ผลตอบแทนการลงทุน ให้อัตราผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ ร้อยละ 27.8 และอัตราส่วน
ผลตอบแทนต่อเงินลงทุน เท่ากับ 2.01
10. แผนบริหารจัดการก่อสร้างและบำรุงรักษา จัดตั้งสำนักงานก่อสร้างทางหลวงพิเศษระ
หว่างเมืองและสัมปทานขึ้นเพื่อรองรับการดำเนินการดังกล่าว และเมื่อก่อสร้างทางหลวงพิเศษแล้วเสร็จ
จะให้สำนักงานทางหลวงและแขวงการทางทำการควบคุมและบำรุงรักษา
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ)--วันที่ 21 เมษายน 2540--
คณะกรรมการกลั่นกรองฝ่ายเศรษฐกิจให้ความเห็นชอบในหลักการของแผนแม่บทการก่อสร้าง
ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองของประเทศไทย ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ เพื่อกรมทางหลวงจะได้ใช้
เป็นกรอบไปดำเนินการในขั้นตอนต่อไป ซึ่งแผนแม่บทดังกล่าว กรมทางหลวงได้นำผลการศึกษาของ
คณะผู้เชี่ยวชาญญี่ปุ่นมาพิจารณาจัดทำเป็นแผนแม่บทการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองของประเทศ
ไทยขึ้น สรุปสาระสำคัญของแผนแม่บทดังกล่าว ได้ดังนี้
1. วัตถุประสงค์ เพื่อกำหนดโครงข่ายแผนการก่อสร้างทางหลวงที่มีมาตรฐานสูงและเป็นระ
บบโครงสร้างพื้นฐานหลักในการสนับสนุนนโยบายกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาค รวมทั้งส่งเสริมให้ประชา
ชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี ตลอดจนสนับสนุนการพัฒนาเมืองหลักในภูมิภาค
2. เป้าหมาย เพื่อกำหนดโครงข่ายระบบทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองของประเทศไทยไว้
เป็นแผนงานระยะยาว 20 ปี โดยมีโครงข่ายทางทั้งสิ้น 13 สายทาง ระยะทางรวม 4,150 กิโลเมตร
3. ลักษณะทางหลวงพิเศษ เป็นทางมาตรฐานสูงระดับสากล มีลักษณะเด่นสรุปได้คือ เป็น
แนวทางใหม่หลีกเลี่ยงชุมชน มีการควบคุมทางเข้า - ออก ที่สมบูรณ์แบบ มีรั้วกั้นทาง ทางแยกต้องเป็น
ทางแยกต่างระดับทุกแห่ง โดยไม่มีสัญญาณไฟจราจร รถวิ่งได้ด้วยความเร็ว 120 - 140 กม./ชม.
บนทางราบ 80 กม./ชม. บนทางภูเขาและมีสถานีบริการไว้ในเขตทางตามจุดที่กำหนด
4. รายละเอียดเส้นทาง ประกอบด้วยโครงข่ายทางหลวงพิเศษ 13 สายทาง ดังนี้
ลำดับที่ ทางหลวงพิเศษหมายเลข ชื่อสายทาง ระยะทาง (กม.)
1. 5 บางปะอิน - นครสวรรค์ 175
นครสวรรค์ - พิษณุโลก 142
พิษณุโลก - ลำปาง 182
ลำปาง - ลำพูน 60
ลำพูน - เชียงใหม่ 39
เชียงใหม่ - เชียงราย 151
2. 6 บางปะอิน - นครราชสีมา 206
นครราชสีมา - ขอนแก่น 169
ขอนแก่น - หนองคาย 160
3. 7 กรุงเทพ - ชลบุรี *82
ชลบุรี - พัทยา 49
พัทยา - มาบตาพุด 38
มาบตาพุด - ระยอง 26
ระยอง - จันทบุรี 95
4. 8 กรุงเทพ - ปากท่อ 67
ปากท่อ - ชะอำ 72
ชะอำ - ชุมพร 266
ชุมพร - บ้านนาสาร 200
บ้านนาสาร - พัทลุง 168
พัทลุง - หาดใหญ่ 80
หาดใหญ่ - ชายแดนมาเลเซีย 54
หาดใหญ่ - สงขลา 28
5. 9 วงแหวนรอบนอก กทม.ด้านตะวันออก 63
วงแหวนรอบนอก กทม.ด้านใต้ 34
วงแหวนรอบนอก กทม.ด้านตะวันตก 71
6. 51 กรุงเทพฯ - สุพรรณบุรี 62
7. 61 ชลบุรี - นครราชสีมา 239
8. 62 นครราชสีมา - อุบลราชธานี 301
9. 71 กรุงเทพฯ - อรัญประเทศ 212
10. 81 บางใหญ่ - บ้านโป่ง 53
11. 83 พระแสง - ภูเก็ต 136
12. 84 ทุ่งสง - นครศรีธรรมราช 37
13. 91 ปากท่อ - บ้านโป่ง 62
บ้านโป่ง - สิงห์บุรี 134
สิงห์บุรี - สระบุรี 70
สระบุรี - บางปะกง 120
รวม 4,150
5. การเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทาง คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2539 อนุมัติให้
กรมทางหลวงจัดเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทางบนทางหลวงพิเศษตามระยะทางโดยรถยนต์ 4 ล้อ 6 ล้อ และ
10 ล้อ เก็บในอัตรา 1.00 1.60 และ 2.30 บาท/กม. ตามลำดับ
6. โครงการที่กำลังดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน ในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 7 กรมทางหลวงได้
ดำเนินการเกี่ยวกับทางหลวงพิเศษเป็นรายโครงการตามที่ได้กำหนดไว้ในแผนแล้ว ประกอบด้วย โครง
การที่กำลังก่อสร้าง จำนวน 2 โครงการ โครงการที่กำลังสำรวจออกแบบรายละเอียด จำนวน 3
โครงการ และโครงการที่กำลังศึกษาความเหมาะสมและผลกระทบสิ่งแวดล้อม จำนวน 4 โครงการ
7. ระยะเวลาดำเนินการตามแผนแม่บท 20 ปี (พ.ศ. 2540-2559)
8. รูปแบบการลงทุนและแหล่งเงินลงทุน รูปแบบการลงทุนมีทั้งโครงการที่รัฐเป็นผู้ลงทุนทั้ง
โครงการ และรัฐร่วมลงทุนกับเอกชน สำหรับแหล่งเงินทุนประกอบด้วยเงินงบประมาณประจำปี เงินกู้ต่าง
ประเทศและภายในประเทศ เงินลงทุนของภาคเอกชน และเงินรายได้จากการเก็บค่าธรรมเนียมผ่าน
ทาง รวมเป็นเงิน 472,360 ล้านบาท และค่ากรรมสิทธิ์ที่ดินอีกประมาณ 65,600 ล้านบาท
9. ผลตอบแทนการลงทุน ให้อัตราผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ ร้อยละ 27.8 และอัตราส่วน
ผลตอบแทนต่อเงินลงทุน เท่ากับ 2.01
10. แผนบริหารจัดการก่อสร้างและบำรุงรักษา จัดตั้งสำนักงานก่อสร้างทางหลวงพิเศษระ
หว่างเมืองและสัมปทานขึ้นเพื่อรองรับการดำเนินการดังกล่าว และเมื่อก่อสร้างทางหลวงพิเศษแล้วเสร็จ
จะให้สำนักงานทางหลวงและแขวงการทางทำการควบคุมและบำรุงรักษา
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ)--วันที่ 21 เมษายน 2540--