คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการประชุมเพื่อมอบนโยบายการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และมอบหมายให้กระทรวงที่เกี่ยวข้องและจังหวัดรับประเด็นการมอบนโยบายของนายกรัฐมนตรี และรองนายกรัฐมนตรีไปดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป ดังนี้
กระทรวงมหาดไทยร่วมกับสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ได้จัดประชุมเพื่อมอบนโยบายการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2548 ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งในการประชุมดังกล่าว นายก-รัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี (พล.ต.อ. ชิดชัย วรรณสถิตย์ และนายจาตุรนต์ ฉายแสง) ได้มอบนโนยบายแก่ปลัดกระทรวง ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค จำนวน 300 คน ซึ่งสรุปสาระสำคัญได้ดังต่อไปนี้
1. เรื่อง ประสิทธิภาพการทำงานของผู้ว่าราชการจังหวัด
1.1 ผู้ว่าราชการจังหวัดจะต้องรักประชาชน และต้องมองการปฏิบัติงานเป็น 2 มิติ คือ มิติด้านหน้าที่ (Function) และมิติด้านประชาชน (Area) และต้องทำหน้าที่เสมือนเป็นนายกรัฐมนตรีในจังหวัด ซึ่งต้องรู้ปัญหาทุกเรื่อง และที่สำคัญต้องรู้ยุทธศาสตร์ในการแก้ไขปัญหา มีการทำงานเป็นทีมกับทุกภาคส่วนในจังหวัด และเป็นเจ้าภาพในการติดตามแก้ไขปัญหาในพื้นที่
1.2 ผู้ว่าราชการจังหวัดจะต้องบริหารงบประมาณของจังหวัดให้มีประสิทธิภาพทั้งงบประมาณที่เป็นงบบริหารจัดการ (Administration) งบบริหารยุทธศาสตร์ของจังหวัดและงบบริหารยุทธศาสตร์ของกลุ่มจังหวัด นอกจากนี้ยังมีงบประมาณของส่วนกลางที่มาดำเนินการในจังหวัด และงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สิ่งสำคัญในการบริหารงบประมาณได้แก่ ภาวะความเป็นผู้นำ (Leadership) ความซื่อสัตย์ สุจริต หากผู้ว่าราชการจังหวัดไม่สุจริตหรือบริหารงานไม่ดี จะมีการปรับ/ย้ายทันที โดยไม่รอฤดูกาลโยกย้าย ไม่รอการเกษียณอายุราชการ ในทางกลับกันถ้าผู้ว่าราชการจังหวัดมีฝีมือ สามารถยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น จะได้รับงบประมาณเพิ่มมากขึ้น เพื่อให้ไปพัฒนาตอบสนองความต้องการของประชาชนมากขึ้น
1.3 การมอบอำนาจ ผู้ว่าราชการจังหวัดจะต้องมอบอำนาจให้รองผู้ว่าราชการจังหวัดและหัวหน้าส่วน ราชการในจังหวัดให้มาก โดยผู้ว่าราชการจังหวัดทำหน้าที่ควบคุมกำกับพฤติกรรมก็เพียงพอแล้ว นอกจากนี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดในจังหวัดชายแดนจะต้องดูเรื่องการผ่านแดนด้วย เพราะมีพ่อค้าบางคนใช้ช่องทางเลี่ยงภาษีแล้วมาขอคืน VAT เป็นการโกงเงินรัฐอีกด้วย
1.4 การทำงานเป็นทีม ผู้ว่าราชการจังหวัดต้องทำงานเป็นทีมกับทุกภาคส่วนในจังหวัด และสามารถประสานงานกับกระทรวงอื่น ๆ ซึ่งอาจใช้โทรศัพท์ในการติดต่อประสานงานกับปลัดกระทรวงและ / หรืออธิบดี หรือผู้ดำรงตำแหน่งเทียบเท่าในส่วนกลางได้โดยตรง แม้แต่กับนายกรัฐมนตรี นอกจากนี้ สำนักงาน ก.พ.ร. จะต้องอบรมรองผู้ว่าราชการจังหวัดให้มีการเรียนรู้จนมีความรู้และมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง เพื่อที่จะสามารถช่วยเหลือผู้ว่าราชการจังหวัดบริหารราชการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1.5 สำหรับประเด็นที่ผู้ว่าราชการจังหวัดบางคน ใช้งบประมาณไม่เหมาะสมโดยใช้งบประมาณเพื่อหาเสียงสมัคร ส.ว. หลังจากเกษียณอายุราชการหรือให้ผู้ใกล้ชิดนั้น ขออย่าให้มีการกระทำดังกล่าวโดยเด็ดขาด ในระหว่างที่อยู่ในตำแหน่ง ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดใช้งบประมาณเพื่อประชาชนโดยคำนึงถึงประชาชนเป็นหลัก ถ้าทำงานให้ประชาชนเห็นจนเกิดความรัก ความศรัทธา ไม่ต้องหาเสียงแต่อย่างใด เพราะ "เสียง" จะมาเอง และหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัดต้องกำกับดูแลและติดตามทั้งราชการส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น โดยราชการส่วนภูมิภาค ผู้ว่าราชการจังหวัดต้องดูแลในภาพรวม เช่น ด้านอาชีพ การตลาด และต้องควบคุมกำกับและติดตามส่วนท้องถิ่นอย่างใกล้ชิดให้ทำตามภารกิจหน้าที่ของท้องถิ่น แต่อย่าเอาภารกิจของท้องถิ่นมาทำ นอกจากนี้ผู้ว่าราชการจังหวัดอาจเชิญ ส.ส. และ ส.ว. มาปรึกษาหารือ เกี่ยวกับโครงการพัฒนาในพื้นที่ได้ เพราะผู้แทนเหล่านี้อยู่ในพื้นที่มานาน แต่ไม่จำเป็นต้องเชื่อทั้งหมด โดยให้พิจารณาตามลำดับความสำคัญของยุทธศาสตร์จังหวัด สำหรับการปรับย้ายผู้ว่าราชการจังหวัด ขอให้กระทรวงมหาดไทยได้พิจารณาไม่ควรปรับย้ายบ่อยนัก โดยปกติต้องอยู่อย่างน้อย 3 ปี / เทอม แต่ผู้ว่าราชการจังหวัดอยู่จังหวัดไหน ตัวและใจต้องอยู่จังหวัดนั้นด้วย
2. เรื่อง การแก้ไขปัญหาความยากจน เรื่องความยากจน เป็นเรื่องสำคัญของรัฐบาลในช่วง 4 ปีนี้ โดยมีแนวทางการดำเนินการในเรื่องนโยบายแก้จน ดังนี้
2.1 คาราวานแก้จน นายกรัฐมนตรี จะเดินทางไปทดลองดำเนินการที่ อ.ดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อกำหนดเป็นรูปแบบ (Model) ที่สามารถนำไปใช้ได้ทั่วไป นอกจากนี้ได้มีแนวคิดให้ภาคธุรกิจเข้ามาร่วมช่วยเหลือหมู่บ้านยากจน ภายใต้แนวคิดเอางานมาหาคน ไม่ใช่เอาคนมาหางาน ตัวอย่างเช่น เครือเจริญโภคภัณฑ์จะลงทุนภาคเกษตร อาจจะตั้งโรงเรือนเลี้ยงไก่ระบบปิด โดยจ้างตัวแทนแต่ละครัวเรือนมาทำงาน เพื่อให้แต่ละครัวเรือนมีรายได้เพิ่มมากขึ้น เช่น ครัวเรือนละ 5,000 บาท / เดือน เป็นต้น
2.2 รัฐบาลจะแก้ปัญหาความยากจนทั้งระบบ ทั้งเรื่องน้ำและเอกสารสิทธิ์ที่ดินทำกิน ซึ่งจะมีการทำแผนที่ GIS และผู้ว่าราชการจังหวัดจะต้องวางแผนการเข้าเยี่ยมทุกหมู่บ้าน โดยมีนายอำเภอเป็นผู้ช่วยและตรวจสอบทุก พื้นที่ จากนั้นกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะได้นำเอาไปปฏิบัติในภาพกว้าง สำหรับเรื่องน้ำ รัฐบาลจะมองในภาพลุ่มน้ำเป็นหลัก และจังหวัดให้ดูเฉพาะการร่วมมือกับท้องถิ่น ในเรื่องระบบประปาหมู่บ้าน เพื่อให้มีน้ำกิน - น้ำใช้ ใน 16,000 หมู่บ้าน นอกจากนี้ขอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดไปดูว่าอำเภอไหนมีเกษตรกรมาก จะให้มีโรงงานปุ๋ยอินทรีย์อำเภอละ 1 โรงงาน ถือว่าเป็นนโยบายของรัฐบาล
2.3 โครงการ SML ต้องทำประชาคมหมู่บ้าน ถ้าหมู่บ้านใดไม่พร้อม ให้รอไปก่อน โดยเดือนมิถุนายน 2548 จะส่งเงินให้หมู่บ้านเฉพาะหมู่บ้านที่พร้อม จึงขอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดสำรวจหมู่บ้านที่พร้อมแล้ว และนายกรัฐมนตรี จะมีการประชุมชี้แจงพูดคุยกับชาวบ้านทางโทรทัศน์ ในเดือนมิถุนายนนี้
2.4 คาราวานเสริมสร้างเด็ก โดยให้เตรียมความพร้อมสำหรับเด็กแรกเกิดเป็นนโยบายของรัฐบาล เพื่อให้เด็กแรกเกิดได้รับถุงของขวัญ ซึ่งจะดำเนินการตั้งแต่วันที่ 28 กรกฎาคม 2548 นี้ ขอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดได้ติดตามให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเตรียมความพร้อมให้เรียบร้อย
3. เรื่อง การแก้ไขปัญหายาเสพติด การรณรงค์เรื่องยาเสพติด จะเสร็จภายในวันที่ 10 มิถุนายน 2548 ซึ่งทุกจังหวัดจะต้องยึดหมู่บ้าน โดยทุกหมู่บ้านจะต้องปลอดยาเสพติดและให้โรงเรียนเข้ามาช่วยเหลือด้วย รวมทั้งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จะให้เร่งดำเนินการตามภารกิจให้เข้มข้น เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหายาเสพติดให้หมดไป
4. เรื่อง การแก้ไขปัญหาความมั่นคง
4.1 ผู้มีอิทธิพล ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ร่วมกับฝ่ายทหารและหน่วยข่าวกรอง จัดหาข่าวผู้มีอิทธิพลในพื้นที่ เพื่อใช้มาตรการปราบปราม และดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย
4.2 ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มอบให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง และในเรื่องนี้นายกรัฐมนตรีจะประชุมหารือปรับยุทธศาสตร์กับฝ่ายทหารและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป
5. เรื่อง การปรับยุทธศาสตร์ของจังหวัด ให้ทุกจังหวัด ปรับยุทธศาสตร์ของจังหวัด ให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล 9 ด้าน และให้ครอบคลุมการพัฒนาจังหวัดทุกด้าน นอกเหนือจากการเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจของจังหวัดเพียงด้านเดียวดังเช่นในระยะที่ผ่านมา รวมทั้งให้พิจารณาข้อคิดเห็นของ ส.ส. และ ส.ว. มาปรับยุทธศาสตร์ของจังหวัดด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 24 พฤษภาคม 2548--จบ--
กระทรวงมหาดไทยร่วมกับสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ได้จัดประชุมเพื่อมอบนโยบายการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2548 ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งในการประชุมดังกล่าว นายก-รัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี (พล.ต.อ. ชิดชัย วรรณสถิตย์ และนายจาตุรนต์ ฉายแสง) ได้มอบนโนยบายแก่ปลัดกระทรวง ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค จำนวน 300 คน ซึ่งสรุปสาระสำคัญได้ดังต่อไปนี้
1. เรื่อง ประสิทธิภาพการทำงานของผู้ว่าราชการจังหวัด
1.1 ผู้ว่าราชการจังหวัดจะต้องรักประชาชน และต้องมองการปฏิบัติงานเป็น 2 มิติ คือ มิติด้านหน้าที่ (Function) และมิติด้านประชาชน (Area) และต้องทำหน้าที่เสมือนเป็นนายกรัฐมนตรีในจังหวัด ซึ่งต้องรู้ปัญหาทุกเรื่อง และที่สำคัญต้องรู้ยุทธศาสตร์ในการแก้ไขปัญหา มีการทำงานเป็นทีมกับทุกภาคส่วนในจังหวัด และเป็นเจ้าภาพในการติดตามแก้ไขปัญหาในพื้นที่
1.2 ผู้ว่าราชการจังหวัดจะต้องบริหารงบประมาณของจังหวัดให้มีประสิทธิภาพทั้งงบประมาณที่เป็นงบบริหารจัดการ (Administration) งบบริหารยุทธศาสตร์ของจังหวัดและงบบริหารยุทธศาสตร์ของกลุ่มจังหวัด นอกจากนี้ยังมีงบประมาณของส่วนกลางที่มาดำเนินการในจังหวัด และงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สิ่งสำคัญในการบริหารงบประมาณได้แก่ ภาวะความเป็นผู้นำ (Leadership) ความซื่อสัตย์ สุจริต หากผู้ว่าราชการจังหวัดไม่สุจริตหรือบริหารงานไม่ดี จะมีการปรับ/ย้ายทันที โดยไม่รอฤดูกาลโยกย้าย ไม่รอการเกษียณอายุราชการ ในทางกลับกันถ้าผู้ว่าราชการจังหวัดมีฝีมือ สามารถยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น จะได้รับงบประมาณเพิ่มมากขึ้น เพื่อให้ไปพัฒนาตอบสนองความต้องการของประชาชนมากขึ้น
1.3 การมอบอำนาจ ผู้ว่าราชการจังหวัดจะต้องมอบอำนาจให้รองผู้ว่าราชการจังหวัดและหัวหน้าส่วน ราชการในจังหวัดให้มาก โดยผู้ว่าราชการจังหวัดทำหน้าที่ควบคุมกำกับพฤติกรรมก็เพียงพอแล้ว นอกจากนี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดในจังหวัดชายแดนจะต้องดูเรื่องการผ่านแดนด้วย เพราะมีพ่อค้าบางคนใช้ช่องทางเลี่ยงภาษีแล้วมาขอคืน VAT เป็นการโกงเงินรัฐอีกด้วย
1.4 การทำงานเป็นทีม ผู้ว่าราชการจังหวัดต้องทำงานเป็นทีมกับทุกภาคส่วนในจังหวัด และสามารถประสานงานกับกระทรวงอื่น ๆ ซึ่งอาจใช้โทรศัพท์ในการติดต่อประสานงานกับปลัดกระทรวงและ / หรืออธิบดี หรือผู้ดำรงตำแหน่งเทียบเท่าในส่วนกลางได้โดยตรง แม้แต่กับนายกรัฐมนตรี นอกจากนี้ สำนักงาน ก.พ.ร. จะต้องอบรมรองผู้ว่าราชการจังหวัดให้มีการเรียนรู้จนมีความรู้และมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง เพื่อที่จะสามารถช่วยเหลือผู้ว่าราชการจังหวัดบริหารราชการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1.5 สำหรับประเด็นที่ผู้ว่าราชการจังหวัดบางคน ใช้งบประมาณไม่เหมาะสมโดยใช้งบประมาณเพื่อหาเสียงสมัคร ส.ว. หลังจากเกษียณอายุราชการหรือให้ผู้ใกล้ชิดนั้น ขออย่าให้มีการกระทำดังกล่าวโดยเด็ดขาด ในระหว่างที่อยู่ในตำแหน่ง ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดใช้งบประมาณเพื่อประชาชนโดยคำนึงถึงประชาชนเป็นหลัก ถ้าทำงานให้ประชาชนเห็นจนเกิดความรัก ความศรัทธา ไม่ต้องหาเสียงแต่อย่างใด เพราะ "เสียง" จะมาเอง และหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัดต้องกำกับดูแลและติดตามทั้งราชการส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น โดยราชการส่วนภูมิภาค ผู้ว่าราชการจังหวัดต้องดูแลในภาพรวม เช่น ด้านอาชีพ การตลาด และต้องควบคุมกำกับและติดตามส่วนท้องถิ่นอย่างใกล้ชิดให้ทำตามภารกิจหน้าที่ของท้องถิ่น แต่อย่าเอาภารกิจของท้องถิ่นมาทำ นอกจากนี้ผู้ว่าราชการจังหวัดอาจเชิญ ส.ส. และ ส.ว. มาปรึกษาหารือ เกี่ยวกับโครงการพัฒนาในพื้นที่ได้ เพราะผู้แทนเหล่านี้อยู่ในพื้นที่มานาน แต่ไม่จำเป็นต้องเชื่อทั้งหมด โดยให้พิจารณาตามลำดับความสำคัญของยุทธศาสตร์จังหวัด สำหรับการปรับย้ายผู้ว่าราชการจังหวัด ขอให้กระทรวงมหาดไทยได้พิจารณาไม่ควรปรับย้ายบ่อยนัก โดยปกติต้องอยู่อย่างน้อย 3 ปี / เทอม แต่ผู้ว่าราชการจังหวัดอยู่จังหวัดไหน ตัวและใจต้องอยู่จังหวัดนั้นด้วย
2. เรื่อง การแก้ไขปัญหาความยากจน เรื่องความยากจน เป็นเรื่องสำคัญของรัฐบาลในช่วง 4 ปีนี้ โดยมีแนวทางการดำเนินการในเรื่องนโยบายแก้จน ดังนี้
2.1 คาราวานแก้จน นายกรัฐมนตรี จะเดินทางไปทดลองดำเนินการที่ อ.ดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อกำหนดเป็นรูปแบบ (Model) ที่สามารถนำไปใช้ได้ทั่วไป นอกจากนี้ได้มีแนวคิดให้ภาคธุรกิจเข้ามาร่วมช่วยเหลือหมู่บ้านยากจน ภายใต้แนวคิดเอางานมาหาคน ไม่ใช่เอาคนมาหางาน ตัวอย่างเช่น เครือเจริญโภคภัณฑ์จะลงทุนภาคเกษตร อาจจะตั้งโรงเรือนเลี้ยงไก่ระบบปิด โดยจ้างตัวแทนแต่ละครัวเรือนมาทำงาน เพื่อให้แต่ละครัวเรือนมีรายได้เพิ่มมากขึ้น เช่น ครัวเรือนละ 5,000 บาท / เดือน เป็นต้น
2.2 รัฐบาลจะแก้ปัญหาความยากจนทั้งระบบ ทั้งเรื่องน้ำและเอกสารสิทธิ์ที่ดินทำกิน ซึ่งจะมีการทำแผนที่ GIS และผู้ว่าราชการจังหวัดจะต้องวางแผนการเข้าเยี่ยมทุกหมู่บ้าน โดยมีนายอำเภอเป็นผู้ช่วยและตรวจสอบทุก พื้นที่ จากนั้นกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะได้นำเอาไปปฏิบัติในภาพกว้าง สำหรับเรื่องน้ำ รัฐบาลจะมองในภาพลุ่มน้ำเป็นหลัก และจังหวัดให้ดูเฉพาะการร่วมมือกับท้องถิ่น ในเรื่องระบบประปาหมู่บ้าน เพื่อให้มีน้ำกิน - น้ำใช้ ใน 16,000 หมู่บ้าน นอกจากนี้ขอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดไปดูว่าอำเภอไหนมีเกษตรกรมาก จะให้มีโรงงานปุ๋ยอินทรีย์อำเภอละ 1 โรงงาน ถือว่าเป็นนโยบายของรัฐบาล
2.3 โครงการ SML ต้องทำประชาคมหมู่บ้าน ถ้าหมู่บ้านใดไม่พร้อม ให้รอไปก่อน โดยเดือนมิถุนายน 2548 จะส่งเงินให้หมู่บ้านเฉพาะหมู่บ้านที่พร้อม จึงขอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดสำรวจหมู่บ้านที่พร้อมแล้ว และนายกรัฐมนตรี จะมีการประชุมชี้แจงพูดคุยกับชาวบ้านทางโทรทัศน์ ในเดือนมิถุนายนนี้
2.4 คาราวานเสริมสร้างเด็ก โดยให้เตรียมความพร้อมสำหรับเด็กแรกเกิดเป็นนโยบายของรัฐบาล เพื่อให้เด็กแรกเกิดได้รับถุงของขวัญ ซึ่งจะดำเนินการตั้งแต่วันที่ 28 กรกฎาคม 2548 นี้ ขอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดได้ติดตามให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเตรียมความพร้อมให้เรียบร้อย
3. เรื่อง การแก้ไขปัญหายาเสพติด การรณรงค์เรื่องยาเสพติด จะเสร็จภายในวันที่ 10 มิถุนายน 2548 ซึ่งทุกจังหวัดจะต้องยึดหมู่บ้าน โดยทุกหมู่บ้านจะต้องปลอดยาเสพติดและให้โรงเรียนเข้ามาช่วยเหลือด้วย รวมทั้งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จะให้เร่งดำเนินการตามภารกิจให้เข้มข้น เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหายาเสพติดให้หมดไป
4. เรื่อง การแก้ไขปัญหาความมั่นคง
4.1 ผู้มีอิทธิพล ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ร่วมกับฝ่ายทหารและหน่วยข่าวกรอง จัดหาข่าวผู้มีอิทธิพลในพื้นที่ เพื่อใช้มาตรการปราบปราม และดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย
4.2 ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มอบให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง และในเรื่องนี้นายกรัฐมนตรีจะประชุมหารือปรับยุทธศาสตร์กับฝ่ายทหารและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป
5. เรื่อง การปรับยุทธศาสตร์ของจังหวัด ให้ทุกจังหวัด ปรับยุทธศาสตร์ของจังหวัด ให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล 9 ด้าน และให้ครอบคลุมการพัฒนาจังหวัดทุกด้าน นอกเหนือจากการเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจของจังหวัดเพียงด้านเดียวดังเช่นในระยะที่ผ่านมา รวมทั้งให้พิจารณาข้อคิดเห็นของ ส.ส. และ ส.ว. มาปรับยุทธศาสตร์ของจังหวัดด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 24 พฤษภาคม 2548--จบ--