ทำเนียบรัฐบาล--19 ต.ค--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามมติคณะกรรมการพัฒนาลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ตามที่กระทรวง วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเสนอ ดังนี้
1. ให้ชะลอการก่อสร้างมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ภาคใต้ จังหวัดพัทลุง บริเวรทะเล น้อย อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง โดยให้กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ประสาน งานกับมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ภาคใต้ และจังหวัดพัทลุง เพื่อดำเนินการหาพื้นที่ที่มีความเหมาะสม แทนต่อไป ผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่จะเกิดขึ้นคือ เป็นการทำลายพื้นที่รับน้ำและแหล่งน้ำสนับสนุนทะเลน้อย และทะเลหลวงอย่างรุนแรง นอกจากนี้โครงการพัฒนาดังกล่าวจะเป็นตัวเร่งให้มีการก่อตั้งชุมชน ขนาดใหญ่ ก่อให้เกิดการบุกรุกป่าสงวนแห่งชาติพื้นที่ชุ่มน้ำ และยังก่อให้เกิดปัญหามลพิษทั้งน้ำเสียและ ขยะลงสู่ทะเลน้อยและทะเลหลวง
สำหรับพื้นที่ใหม่ที่มหาวิทยาลัยกำลังดำเนินการขอใช้ที่ดินสาธารณประโยชน์ในตำบลพนางตุง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง เนื้อที่ประมาณ 1,400 ไร่เศษ และพื้นที่สาธารณประโยชน์ 6,000 ไร่ ในกิ่งอำเภอป่าพยอม จังหวัดพัทลุง ซึ่งอยู่ระหว่างการประสานงานขอใช้พื้นที่กับกระทรวงมหาดไทยอยู่
2. ให้หน่วยราชการและรัฐวิสาหกิจเสนอโครงการพัฒนาในพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ให้คณะกรรมการพัฒนาลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา พิจารณาเพื่อเสนอความเห็นเกี่ยวกับผลกระทบสิ่งแวดล้อม ประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี ก่อนการดำเนินการหรืออนุมัติโครงการ เนื่องจากปัจจุบันการ พัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบริเวณพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาเป็นไปอย่างรวดเร็วและต่อ เนื่อง โดยไม่มีมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้มที่ชัดเจน หลายโครงการก่อให้เกิดผล กระทบสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรง
3. ทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2535 โดยให้กรมชลประทานและมหาวิทยาลัย สงขลานครินนำผลจากการดำเนินการตามมติดังกล่าว เสนอต่อคณะกรรมการพัฒนาลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา พิจารณานำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 18 ตุลาคม 2537--
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามมติคณะกรรมการพัฒนาลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ตามที่กระทรวง วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเสนอ ดังนี้
1. ให้ชะลอการก่อสร้างมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ภาคใต้ จังหวัดพัทลุง บริเวรทะเล น้อย อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง โดยให้กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ประสาน งานกับมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ภาคใต้ และจังหวัดพัทลุง เพื่อดำเนินการหาพื้นที่ที่มีความเหมาะสม แทนต่อไป ผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่จะเกิดขึ้นคือ เป็นการทำลายพื้นที่รับน้ำและแหล่งน้ำสนับสนุนทะเลน้อย และทะเลหลวงอย่างรุนแรง นอกจากนี้โครงการพัฒนาดังกล่าวจะเป็นตัวเร่งให้มีการก่อตั้งชุมชน ขนาดใหญ่ ก่อให้เกิดการบุกรุกป่าสงวนแห่งชาติพื้นที่ชุ่มน้ำ และยังก่อให้เกิดปัญหามลพิษทั้งน้ำเสียและ ขยะลงสู่ทะเลน้อยและทะเลหลวง
สำหรับพื้นที่ใหม่ที่มหาวิทยาลัยกำลังดำเนินการขอใช้ที่ดินสาธารณประโยชน์ในตำบลพนางตุง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง เนื้อที่ประมาณ 1,400 ไร่เศษ และพื้นที่สาธารณประโยชน์ 6,000 ไร่ ในกิ่งอำเภอป่าพยอม จังหวัดพัทลุง ซึ่งอยู่ระหว่างการประสานงานขอใช้พื้นที่กับกระทรวงมหาดไทยอยู่
2. ให้หน่วยราชการและรัฐวิสาหกิจเสนอโครงการพัฒนาในพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ให้คณะกรรมการพัฒนาลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา พิจารณาเพื่อเสนอความเห็นเกี่ยวกับผลกระทบสิ่งแวดล้อม ประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี ก่อนการดำเนินการหรืออนุมัติโครงการ เนื่องจากปัจจุบันการ พัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบริเวณพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาเป็นไปอย่างรวดเร็วและต่อ เนื่อง โดยไม่มีมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้มที่ชัดเจน หลายโครงการก่อให้เกิดผล กระทบสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรง
3. ทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2535 โดยให้กรมชลประทานและมหาวิทยาลัย สงขลานครินนำผลจากการดำเนินการตามมติดังกล่าว เสนอต่อคณะกรรมการพัฒนาลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา พิจารณานำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 18 ตุลาคม 2537--