ทำเนียบรัฐบาล--21 ม.ค.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการให้กรมทางหลวงดำเนินการก่อหนี้ผูกพันงานซ่อมทางก่อนได้รับเงินประจำงวดในกรณีดำเนินงานฉุกเฉินจากอุทกภัยได้ในวงเงินแห่งละไม่เกิน 300,000 บาท ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ ซึ่งกระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ และสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีพิจารณาแล้วไม่ขัดข้องกับข้อเสนอของกระทรวงคมนาคมดังกล่าว
ทั้งนี้ ได้พิจารณาเห็นว่าจากการเกิดอุทกภัยน้ำท่วมพื้นที่ทั่วประเทศไทยเมื่อปี 2538ทำให้ทางหลวงชำรุดเสียหายจำนวนมาก กรมทางหลวงต้องเร่งทำการซ่อมแซมให้ทันทีที่สามารถเข้าดำเนินการได้ ทั้ง ๆที่ขณะนั้นยังไม่ได้รับการจัดสรรเงินงบประมาณ แต่ด้วยความจำเป็นด้านการคมนาคมต้องอำนวยความสะดวกให้การจราจรผ่านได้และเพื่อเป็นการให้บริการแก่ประชาชนเร็วที่สุดเท่าที่จะกระทำได้ เนื่องจากเป็นภารกิจเร่งด่วนและเป็นนโยบายของรัฐบาลทุกสมัยซึ่งสภาวการณ์เช่นนี้จะเกิดขึ้นเป็นประจำทุกปีจึงสมควรหามาตรการหรือขอให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องพิจารณาจัดทำระเบียบปฏิบัติเฉพาะกิจเป็นกรณีพิเศษให้แก่กรมทางหลวงต่อไปซึ่งกรมทางหลวงได้กำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินงานเพื่อฟื้นฟูสภาพทางหลวงหลังเกิดอุทกภัย ดังนี้
1. แนวทางการดำเนินงาน เมื่อเกิดสภาวะน้ำท่วมทางขาดหรือชำรุดเสียหาย เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบทางสายนั้น ๆจะต้องเข้าดำเนินการเพื่อแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินทันทีเพื่อให้การจราจรผ่านได้สะดวกตามสมควรโดยเร็วที่สุด พร้อมจัดหาวัสดุเครื่องจักร เครื่องมือ คนงาน และอุปกรณ์ที่จำเป็นซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นตั้งแต่ขั้นเตรียมการ
2. ขั้นตอนการดำเนินการ ทันทีที่เกิดอุทกภัยเจ้าหน้าที่หน่วยงานสนามต้องเข้าปฏิบัติการตามข้อ 1. พร้อมทั้งจัดทำรายงานเสนอของบฉุกเฉินต่อผู้อำนวยการสำนักทางหลวงเมื่อผู้บังคับบัญชาต้นสังกัดพิจารณาอนุมัติแผนงานและกองบำรุงให้ความเห็นชอบแล้วจะดำเนินการขอเงินประจำงวดผ่านกองการเงินและบัญชีไปยังสำนักงบประมาณและกรมบัญชีกลางตามลำดับ จนถึงวันได้รับแจ้งอนุมัติเงินประจำงวดจะใช้เวลาประมาณ 30 วัน
3. งบประมาณกรมทางหลวงได้รับจัดสรรงบฉุกเฉินเพื่อใช้ในงานซ่อมทางที่ถูกอุทกภัยทุกปี
4. วัตถุประสงค์และวงเงินค่าใช้จ่าย ด้วยข้อเท็จจริงดังกล่าวในทางปฏิบัติ กรมทางหลวงไม่สามารถจัดทำหนี้ผูกผันก่อนได้รับอนุมัติเงินประจำงวด ตามนัยมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งเป็นอุปสรรคอย่างยิ่งต่อผู้ปฏิบัติงานสนามเพราะไม่สามารถทำการซ่อมทางที่เสียหายได้โดยเร็ว จึงเห็นสมควรเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติในหลักการให้กรมทางหลวงก่อนหนี้ผูกพันงานซ่อมทางฉุกเฉินจากอุทกภัยได้ก่อนได้รับอนุมัติเงินประจำงวด เพื่อให้การจราจรผ่านได้สะดวกตามสมควร ในวงเงินแห่งละไม่เกิน 300,000 บาทสำหรับเป็นแนวทางปฏิบัติตลอดไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ)--วันที่ 21 มกราคม 2540--
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการให้กรมทางหลวงดำเนินการก่อหนี้ผูกพันงานซ่อมทางก่อนได้รับเงินประจำงวดในกรณีดำเนินงานฉุกเฉินจากอุทกภัยได้ในวงเงินแห่งละไม่เกิน 300,000 บาท ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ ซึ่งกระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ และสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีพิจารณาแล้วไม่ขัดข้องกับข้อเสนอของกระทรวงคมนาคมดังกล่าว
ทั้งนี้ ได้พิจารณาเห็นว่าจากการเกิดอุทกภัยน้ำท่วมพื้นที่ทั่วประเทศไทยเมื่อปี 2538ทำให้ทางหลวงชำรุดเสียหายจำนวนมาก กรมทางหลวงต้องเร่งทำการซ่อมแซมให้ทันทีที่สามารถเข้าดำเนินการได้ ทั้ง ๆที่ขณะนั้นยังไม่ได้รับการจัดสรรเงินงบประมาณ แต่ด้วยความจำเป็นด้านการคมนาคมต้องอำนวยความสะดวกให้การจราจรผ่านได้และเพื่อเป็นการให้บริการแก่ประชาชนเร็วที่สุดเท่าที่จะกระทำได้ เนื่องจากเป็นภารกิจเร่งด่วนและเป็นนโยบายของรัฐบาลทุกสมัยซึ่งสภาวการณ์เช่นนี้จะเกิดขึ้นเป็นประจำทุกปีจึงสมควรหามาตรการหรือขอให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องพิจารณาจัดทำระเบียบปฏิบัติเฉพาะกิจเป็นกรณีพิเศษให้แก่กรมทางหลวงต่อไปซึ่งกรมทางหลวงได้กำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินงานเพื่อฟื้นฟูสภาพทางหลวงหลังเกิดอุทกภัย ดังนี้
1. แนวทางการดำเนินงาน เมื่อเกิดสภาวะน้ำท่วมทางขาดหรือชำรุดเสียหาย เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบทางสายนั้น ๆจะต้องเข้าดำเนินการเพื่อแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินทันทีเพื่อให้การจราจรผ่านได้สะดวกตามสมควรโดยเร็วที่สุด พร้อมจัดหาวัสดุเครื่องจักร เครื่องมือ คนงาน และอุปกรณ์ที่จำเป็นซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นตั้งแต่ขั้นเตรียมการ
2. ขั้นตอนการดำเนินการ ทันทีที่เกิดอุทกภัยเจ้าหน้าที่หน่วยงานสนามต้องเข้าปฏิบัติการตามข้อ 1. พร้อมทั้งจัดทำรายงานเสนอของบฉุกเฉินต่อผู้อำนวยการสำนักทางหลวงเมื่อผู้บังคับบัญชาต้นสังกัดพิจารณาอนุมัติแผนงานและกองบำรุงให้ความเห็นชอบแล้วจะดำเนินการขอเงินประจำงวดผ่านกองการเงินและบัญชีไปยังสำนักงบประมาณและกรมบัญชีกลางตามลำดับ จนถึงวันได้รับแจ้งอนุมัติเงินประจำงวดจะใช้เวลาประมาณ 30 วัน
3. งบประมาณกรมทางหลวงได้รับจัดสรรงบฉุกเฉินเพื่อใช้ในงานซ่อมทางที่ถูกอุทกภัยทุกปี
4. วัตถุประสงค์และวงเงินค่าใช้จ่าย ด้วยข้อเท็จจริงดังกล่าวในทางปฏิบัติ กรมทางหลวงไม่สามารถจัดทำหนี้ผูกผันก่อนได้รับอนุมัติเงินประจำงวด ตามนัยมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งเป็นอุปสรรคอย่างยิ่งต่อผู้ปฏิบัติงานสนามเพราะไม่สามารถทำการซ่อมทางที่เสียหายได้โดยเร็ว จึงเห็นสมควรเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติในหลักการให้กรมทางหลวงก่อนหนี้ผูกพันงานซ่อมทางฉุกเฉินจากอุทกภัยได้ก่อนได้รับอนุมัติเงินประจำงวด เพื่อให้การจราจรผ่านได้สะดวกตามสมควร ในวงเงินแห่งละไม่เกิน 300,000 บาทสำหรับเป็นแนวทางปฏิบัติตลอดไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ)--วันที่ 21 มกราคม 2540--