ทำเนียบรัฐบาล--15 ต.ค.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ ผลการพิจารณางบประมาณลงทุนประจำปี 2539 ของรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ จำนวน 51 แห่ง และรวบรวมผลการพิจารณาจัดทำเป็นรายงานประจำปี 2539 ซึ่งมีสาระสรุปได้ ดังนี้
1. ขนาดและทิศทางการลงทุน
1.1 ยังเป็นการลงทุนที่มุ่งเน้นแก้ไขปัญหาบริการพื้นฐานด้านไฟฟ้า ขนส่งโทรคมนาคม ที่อยู่อาศัยและน้ำประปา เป็นหลัก โดยมีขนาดการลงทุนรวมทั้งสิ้น 258,328.08 ล้านบาท เพื่อ ขยายการให้บริการสนองตอบความต้องการที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งเพื่อแก้ไขปัญหาจราจรในกรุงเทพมหานคร ทั้งนี้ เป็น การลงทุนที่มีความต้องการนำเข้าจากต่างประเทศ (Import Content) ประมาณ 85,650.54 ล้านบาท หรือร้อยละ 33.2 ของ เงินลงทุนของรัฐวิสาหกิจในปี 2539และเป็นการลงทุนในส่วนภูมิภาคประมาณ 107,989.93 ล้านบาท หรือร้อยละ 41.8 ของ การลงทุนทั้งสิ้น สำหรับการลงทุนที่กระจายไปสู่ภูมิภาคมากที่สุดเป็นกิจการด้านไฟฟ้าและโทรศัพท์
1.2 รัฐวิสาหกิจที่มีการลงทุนเพิ่มขึ้นมากที่สุด 3 ลำดับแรก คือ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) บริษัทการบินไทย จำกัด (บกท.) และการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ซึ่งมีการลงทุนรวมกันถึง 110,738.17ล้านบาท หรือประมาณร้อยละ 42.9 ของการลงทุนทั้งสิ้น
2. แหล่งเงินลงทุน
2.1 เป็นการลงทุนด้วยเงินรายได้ร้อยละ 48.7 ซึ่งสูงกว่าเงินกู้จากต่างประเทศที่มีสัดส่วนเพียง ร้อยละ 20 ที่เหลือเป็นเงินกู้ภายในประเทศ เงินงบประมาณแผ่นดินและอื่น ๆ
2.2 รัฐวิสาหกิจที่ยังต้องพึ่งแหล่งเงินกู้จากต่างประเทศค่อนข้างมากยังคงได้ แก่ กฟผ. และ บกท. ซึ่งจะกู้เงินจากต่างประเทศรวมกันประมาณร้อยละ 54.4 ของเงินกู้จากต่างประเทศในปี 2539
3. ผลที่คาดว่าจะได้รับจากการลงทุน
การลงทุนในปี 2539 จะทำให้มีการขยายบริการพื้นฐานในกิจการไฟฟ้าซึ่งจะมีกำลังการผลิตพลังไฟฟ้าเพียงพอกับปริมาณความต้องการตามที่คณะอนุกรรมการพยากรณ์ความต้องการใช้ไฟกำหนด และด้านน้ำประปา สามารถให้บริการได้ครอบคลุมพื้นที่ประมาณร้อยละ 81.4 ของ พื้นที่รับผิดชอบ (ประมาณ 13.98 ล้านคน หรือร้อยละ 81.9 ของจำนวนประชากรใน พื้นที่รับผิดชอบ) รวมทั้งด้านสื่อสารโทรคมนาคม โดยการให้บริการภายในประเทศ จะ มีเลขหมายโทรศัพท์บริการบ้านผู้เช่าเป็น 8.44 เลขหมายต่อ ประชากร 100 คน และ 1.65 เลขหมายต่อประชากร 1,000 คน กรณีโทรศัพท์สาธารณะ ส่วน การให้บริการสื่อสารระหว่างประเทศ จะมีวงจรโทรศัพท์ระหว่างประเทศ สามารถสนอง ความต้องการผู้ใช้บริการได้จนถึงปี 2545 นอกจากนี้จะมีเครื่องบินที่ทันสมัย ของ บกท. มาให้บริการผู้โดยสารเพิ่มขึ้นอีก 6 ลำมีรถดีเซลรางปรับอากาศของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) มาให้บริการ อีก 80 คัน พร้อมทั้งจะมีทางด่วนใน กทม. ให้บริการเพิ่มขึ้นอีก 36.10 กิโลเมตร
4. ข้อเสนอแนวทางการปรับปรุงการลงทุน
4.1 ให้รัฐวิสาหกิจเร่งรัดการลงทุนให้ได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ เพื่อให้การ ขยายบริการเพียงพอกับความต้องการที่เพิ่มขึ้น เพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และเสริมสร้างความมั่น คงของระบบโดยเฉพาะด้านไฟฟ้าให้เป็นที่เชื่อถือของนักลงทุน หากรัฐวิสาหกิจใดไม่สามารถดำเนินการได้ควรปรับแผนการลงทุน ในแต่ละปีให้สอดคล้องกับข้อเท็จจริงของแผนการใช้เงิน เพื่อส่งผลให้การวางแผนกำหนดวงเงินลงทุนในปีต่อ ๆ ไปใกล้ เคียงกับความเป็นจริงยิ่งขึ้น
4.2 ให้รัฐวิสาหกิจเสนอแผนร่วมทุน และโครงการใหม่ต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านสิ่งแวดล้อม และคณะรัฐมนตรีก่อนดำเนินการ
4.3 ให้รัฐวิสาหกิจเร่งจัดทำแผนวิสาหกิจ (กรณีที่ยังไม่มีแผนฯ) พร้อมทั้งจัดทำและปรับปรุงแผนการลงทุนระยะยาว (Long Term Plan) ควบคู่กันไปให้แล้วเสร็จโดยเร็ว เพื่อใช้เป็น กรอบในการดำเนินกิจการ ทั้งนี้ ในการจัดทำแผนดังกล่าวข้างต้น ขอให้คำนึงถึงการ นำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ด้วย
5. การดำเนินงาน
5.1 รัฐวิสาหกิจทั้ง 51 แห่ง ประมาณว่าจะมีรายได้รวมทั้ง สิ้น 679,739.67 ล้านบาท และจะมีกำไรสุทธิ85,848.79 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นกำไรจากรัฐวิสาหกิจด้านบริการพื้นฐาน ได้ แก่ กฟผ. ปตท. และ ทศท. เป็นต้น ทั้งนี้เพราะเป็นกิจการที่มีลักษณะผูกขาด ประกอบกับมีการขยายการให้บริการเพื่อสนอง ความต้องการที่เพิ่มขึ้นด้วย
5.2 รัฐวิสาหกิจที่ดำเนินการมีผลกำไร จะมีเงินส่งรัฐเป็นจำนวน 36,465.24 ล้าน บาท หรือร้อยละ 43 ของกำไรสุทธิปี 2538 การนำเงินส่งรัฐส่วนใหญ่เป็นไปตามที่สำนักงบประมาณ กำหนด ยกเว้นรัฐวิสาหกิจที่เป็นบริษัทจำกัดจะนำส่งรัฐในรูปเงินปันผล
5.3 สำหรับรัฐวิสาหกิจที่คาดว่าจะขาดทุนมีจำนวน 4 แห่ง โดยจะมีผลขาดทุนรวมทั้งสิ้น 2,513.16 ล้านบาท ลดลงจาก 11 แห่ง หรือ 3,853.42 ล้านบาท ในปี 2538 สาเหตุสำคัญมาก จาก รฟท. ประมาณว่าจะมีผลกำไรในปี2539 ทั้งนี้ เนื่องจากคาดว่าจะได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้แยกบริการเชิง พาณิชย์และเชิงสังคม โดยรัฐให้การอุดหนุนด้านบริการเชิงสังคม
6. ประสิทธิภาพการดำเนินงาน
6.1 โดยภาพรวมในปี 2539 รัฐวิสาหกิจทั้ง 51 แห่ง จะมีอัตราผลตอบแทนต่อ สินทรัพย์ก่อนหักดอกเบี้ยเป็นร้อยละ 8.3 ต่ำกว่าอัตราเงินฝากประจำ (เฉลี่ยร้อย ละ 9.4) และลดลงจากร้อยละ 8.8 ในปี 2538 ทั้งนี้ เป็นเพราะประมาณค่าใช้ จ่าย โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานเพิ่มขึ้นในเกณฑ์สูงแทบทุกรัฐวิสาหกิจ รวมทั้งมีการลงทุนในสินทรัพย์เพิ่มขึ้นในปี 2539 เป็นจำนวน 191,163.93 ล้านบาท
6.2 สำหรับประสิทธิภาพบุคลากร ในปี 2539 จะมีพนักงานทั้ง สิ้น 290,006 คน เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 2.3 โดยคาดว่ารายได้ต่อพนักงาน 1 คน จะ เพิ่มขึ้นเป็น 2.27 ล้านบาท จาก 2.06 ล้านบาท ในปี 2538
7. ข้อเสนอแนวทางการปรับปรุงการดำเนินงาน
7.1 ให้รัฐวิสาหกิจ โดยเฉพาะองค์การรถไฟฟ้ามหานคร (รฟม.) การรถไฟแห่งประเทศ ไทย (รฟท.) การประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) และองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (ทศท.) ซึ่งมี สัดส่วนค่าใช้จ่ายบุคคลต่อค่าใช้จ่ายรวมอยู่ในเกณฑ์สูง (ระหว่างร้อย ละ 25 - 65 ชะลอการบรรจุพนักงาน และใช้วิธีจ้างเหมาเอกชนแทนการบรรจุพนักงานเพิ่ม ทั้งนี้เพื่อลดภาระและปัญหาการดำเนินงานด้านต้นทุน/บริการขององค์กร
7.2 เห็นควรให้รัฐวิสาหกิจปรับปรุงการบันทึกบัญชีให้อยู่ในรูปศูนย์กำไร ทั้งนี้ เพื่อให้ระบบบัญชีสอดคล้องกับระบบธุรกิจ และเพื่อให้เห็นผลการดำเนินงานที่แท้จริงของแต่ละ กิจกรรม อันจะมีส่วนช่วยให้ผู้บริหารสามารถปรับปรุงกิจการได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
7.3 ให้รัฐวิสาหกิจที่ยังไม่มีรูปแบบการดำเนินงานที่ชัดเจนเร่งศึกษาหารูปแบบ และแนวทางการแปรสภาพตามข้อเสนอการเพิ่มบทบาทภาคเอกชน ของคณะกรรมการติดตาม ดำเนินงานตามนโยบายการบริหารงานรัฐวิสาหกิจสำหรับรัฐวิสาหกิจที่มีรูปแบบแล้ว ให้เร่งดำเนินการตามรูปแบบดัง กล่าวโดยด่วน ทั้งนี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานลดปัญหาการขาดทุนและ ภาระการก่อหนี้ขององค์กร
8. สรุปผลการดำเนินงานในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 7 (2535 - 2539)
8.1 ภาพรวมการลงทุน รัฐวิสาหกิจทั้ง 53 แห่ง มีการลงทุนรวม 786,271.97 ล้าน บาท ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในด้านกิจการไฟฟ้า บริการขนส่งทางอากาศ และทางด่วนพิเศษ โดยเป็นกา รลงทุนจากเงินรายได้ร้อยละ 42.8 เงินกู้ร้อยละ 48.1 (กู้ในประเทศร้อยละ 27.3 กู้ต่างประเทศร้อยละ 20.8) ที่เหลือเป็น เงินงบประมาณแผ่นดินและอื่น ๆ
8.2 การดำเนินงาน มีรายได้รวมทั้งสิ้น 2,666,493.01 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ รวม 363,961.08 ล้านบาทเพิ่มขึ้นจาก 195,407.09 ล้านบาท ในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 6 ซึ่งมีสาเหตุสำคัญ มาจากรัฐวิสาหกิจ สามารถขยายบริการตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้น ตามการขยายตัวของระบบเศรษฐกิจได้ในระดับ หนึ่ง นอกจากนี้เป็นผลมาจากการปรับโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้า (ธันวาคม 2534) และการปรับปรุงค่าไฟฟ้า โดยให้ใช้สูตร ปรับค่าไฟฟ้าอัตโนมัติ (มิถุนายน 2535)ซึ่งสามารถปรับราคาได้ทันทีเมื่อต้นทุนสูงขึ้น โดยเฉพาะค่าเชื้อเพลิง และภาระภาษีมูลค่าเพิ่ม
9. การเพิ่มบทบาทภาคเอกชน
9.1 ความก้าวหน้า มีความก้าวหน้าค่อนข้างมากในสาขาพลังงาน ขนส่ง และสื่อ สาร ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในรูปแบบการให้สัมปทานและการร่วมลงทุนกับภาคเอกชน ในโครงการลงทุนขนาดใหญ่ การทำสัญญาว่า จ้างเอกชนให้ดำเนินงานในกิจกรรมต่าง ๆ รวมทั้งการกระจายหุ้นบางส่วนไปสู่ภาค เอกชนสำหรับสาขาสาธารณูปการ อุตสาหกรรม และเกษตรและทรัพยกรธรรมชาตินั้น มีความก้าวหน้าค่อนข้างน้อย อย่างไรก็ตาม มีบางกิจการ ที่อยู่ระหว่างการแปรสภาพไปสู่ภาคเอกชนเต็มตัว ได้แก่ โรงงานไพ่ โรงงานน้ำตาล กรมโรงงานอุตสาหกรรม และองค์การแล้ว
9.2 ข้อเสนอแนะ ควรติดตามและเร่งรัดให้กระจายหุ้นรัฐวิสาหกิจที่หมดความจำเป็นและสนับสนุนให้รัฐวิสาหกิจต่าง ๆ ร่วมทุนกับเอกชนให้มากขึ้น รวมทั้งแปรสภาพรัฐวิสาหกิจไปเป็น บริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชน เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารงานและนำหุ้น เข้าตลาดหลักทรัพย์ ตลอดจนเพิ่มขีดความสามารถในการระดมทุนตามความเหมาะสมของกิจการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายบรรหาร ศิลปอาชา)--วันที่ 15 ตุลาคม 2539--
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ ผลการพิจารณางบประมาณลงทุนประจำปี 2539 ของรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ จำนวน 51 แห่ง และรวบรวมผลการพิจารณาจัดทำเป็นรายงานประจำปี 2539 ซึ่งมีสาระสรุปได้ ดังนี้
1. ขนาดและทิศทางการลงทุน
1.1 ยังเป็นการลงทุนที่มุ่งเน้นแก้ไขปัญหาบริการพื้นฐานด้านไฟฟ้า ขนส่งโทรคมนาคม ที่อยู่อาศัยและน้ำประปา เป็นหลัก โดยมีขนาดการลงทุนรวมทั้งสิ้น 258,328.08 ล้านบาท เพื่อ ขยายการให้บริการสนองตอบความต้องการที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งเพื่อแก้ไขปัญหาจราจรในกรุงเทพมหานคร ทั้งนี้ เป็น การลงทุนที่มีความต้องการนำเข้าจากต่างประเทศ (Import Content) ประมาณ 85,650.54 ล้านบาท หรือร้อยละ 33.2 ของ เงินลงทุนของรัฐวิสาหกิจในปี 2539และเป็นการลงทุนในส่วนภูมิภาคประมาณ 107,989.93 ล้านบาท หรือร้อยละ 41.8 ของ การลงทุนทั้งสิ้น สำหรับการลงทุนที่กระจายไปสู่ภูมิภาคมากที่สุดเป็นกิจการด้านไฟฟ้าและโทรศัพท์
1.2 รัฐวิสาหกิจที่มีการลงทุนเพิ่มขึ้นมากที่สุด 3 ลำดับแรก คือ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) บริษัทการบินไทย จำกัด (บกท.) และการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ซึ่งมีการลงทุนรวมกันถึง 110,738.17ล้านบาท หรือประมาณร้อยละ 42.9 ของการลงทุนทั้งสิ้น
2. แหล่งเงินลงทุน
2.1 เป็นการลงทุนด้วยเงินรายได้ร้อยละ 48.7 ซึ่งสูงกว่าเงินกู้จากต่างประเทศที่มีสัดส่วนเพียง ร้อยละ 20 ที่เหลือเป็นเงินกู้ภายในประเทศ เงินงบประมาณแผ่นดินและอื่น ๆ
2.2 รัฐวิสาหกิจที่ยังต้องพึ่งแหล่งเงินกู้จากต่างประเทศค่อนข้างมากยังคงได้ แก่ กฟผ. และ บกท. ซึ่งจะกู้เงินจากต่างประเทศรวมกันประมาณร้อยละ 54.4 ของเงินกู้จากต่างประเทศในปี 2539
3. ผลที่คาดว่าจะได้รับจากการลงทุน
การลงทุนในปี 2539 จะทำให้มีการขยายบริการพื้นฐานในกิจการไฟฟ้าซึ่งจะมีกำลังการผลิตพลังไฟฟ้าเพียงพอกับปริมาณความต้องการตามที่คณะอนุกรรมการพยากรณ์ความต้องการใช้ไฟกำหนด และด้านน้ำประปา สามารถให้บริการได้ครอบคลุมพื้นที่ประมาณร้อยละ 81.4 ของ พื้นที่รับผิดชอบ (ประมาณ 13.98 ล้านคน หรือร้อยละ 81.9 ของจำนวนประชากรใน พื้นที่รับผิดชอบ) รวมทั้งด้านสื่อสารโทรคมนาคม โดยการให้บริการภายในประเทศ จะ มีเลขหมายโทรศัพท์บริการบ้านผู้เช่าเป็น 8.44 เลขหมายต่อ ประชากร 100 คน และ 1.65 เลขหมายต่อประชากร 1,000 คน กรณีโทรศัพท์สาธารณะ ส่วน การให้บริการสื่อสารระหว่างประเทศ จะมีวงจรโทรศัพท์ระหว่างประเทศ สามารถสนอง ความต้องการผู้ใช้บริการได้จนถึงปี 2545 นอกจากนี้จะมีเครื่องบินที่ทันสมัย ของ บกท. มาให้บริการผู้โดยสารเพิ่มขึ้นอีก 6 ลำมีรถดีเซลรางปรับอากาศของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) มาให้บริการ อีก 80 คัน พร้อมทั้งจะมีทางด่วนใน กทม. ให้บริการเพิ่มขึ้นอีก 36.10 กิโลเมตร
4. ข้อเสนอแนวทางการปรับปรุงการลงทุน
4.1 ให้รัฐวิสาหกิจเร่งรัดการลงทุนให้ได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ เพื่อให้การ ขยายบริการเพียงพอกับความต้องการที่เพิ่มขึ้น เพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และเสริมสร้างความมั่น คงของระบบโดยเฉพาะด้านไฟฟ้าให้เป็นที่เชื่อถือของนักลงทุน หากรัฐวิสาหกิจใดไม่สามารถดำเนินการได้ควรปรับแผนการลงทุน ในแต่ละปีให้สอดคล้องกับข้อเท็จจริงของแผนการใช้เงิน เพื่อส่งผลให้การวางแผนกำหนดวงเงินลงทุนในปีต่อ ๆ ไปใกล้ เคียงกับความเป็นจริงยิ่งขึ้น
4.2 ให้รัฐวิสาหกิจเสนอแผนร่วมทุน และโครงการใหม่ต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านสิ่งแวดล้อม และคณะรัฐมนตรีก่อนดำเนินการ
4.3 ให้รัฐวิสาหกิจเร่งจัดทำแผนวิสาหกิจ (กรณีที่ยังไม่มีแผนฯ) พร้อมทั้งจัดทำและปรับปรุงแผนการลงทุนระยะยาว (Long Term Plan) ควบคู่กันไปให้แล้วเสร็จโดยเร็ว เพื่อใช้เป็น กรอบในการดำเนินกิจการ ทั้งนี้ ในการจัดทำแผนดังกล่าวข้างต้น ขอให้คำนึงถึงการ นำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ด้วย
5. การดำเนินงาน
5.1 รัฐวิสาหกิจทั้ง 51 แห่ง ประมาณว่าจะมีรายได้รวมทั้ง สิ้น 679,739.67 ล้านบาท และจะมีกำไรสุทธิ85,848.79 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นกำไรจากรัฐวิสาหกิจด้านบริการพื้นฐาน ได้ แก่ กฟผ. ปตท. และ ทศท. เป็นต้น ทั้งนี้เพราะเป็นกิจการที่มีลักษณะผูกขาด ประกอบกับมีการขยายการให้บริการเพื่อสนอง ความต้องการที่เพิ่มขึ้นด้วย
5.2 รัฐวิสาหกิจที่ดำเนินการมีผลกำไร จะมีเงินส่งรัฐเป็นจำนวน 36,465.24 ล้าน บาท หรือร้อยละ 43 ของกำไรสุทธิปี 2538 การนำเงินส่งรัฐส่วนใหญ่เป็นไปตามที่สำนักงบประมาณ กำหนด ยกเว้นรัฐวิสาหกิจที่เป็นบริษัทจำกัดจะนำส่งรัฐในรูปเงินปันผล
5.3 สำหรับรัฐวิสาหกิจที่คาดว่าจะขาดทุนมีจำนวน 4 แห่ง โดยจะมีผลขาดทุนรวมทั้งสิ้น 2,513.16 ล้านบาท ลดลงจาก 11 แห่ง หรือ 3,853.42 ล้านบาท ในปี 2538 สาเหตุสำคัญมาก จาก รฟท. ประมาณว่าจะมีผลกำไรในปี2539 ทั้งนี้ เนื่องจากคาดว่าจะได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้แยกบริการเชิง พาณิชย์และเชิงสังคม โดยรัฐให้การอุดหนุนด้านบริการเชิงสังคม
6. ประสิทธิภาพการดำเนินงาน
6.1 โดยภาพรวมในปี 2539 รัฐวิสาหกิจทั้ง 51 แห่ง จะมีอัตราผลตอบแทนต่อ สินทรัพย์ก่อนหักดอกเบี้ยเป็นร้อยละ 8.3 ต่ำกว่าอัตราเงินฝากประจำ (เฉลี่ยร้อย ละ 9.4) และลดลงจากร้อยละ 8.8 ในปี 2538 ทั้งนี้ เป็นเพราะประมาณค่าใช้ จ่าย โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานเพิ่มขึ้นในเกณฑ์สูงแทบทุกรัฐวิสาหกิจ รวมทั้งมีการลงทุนในสินทรัพย์เพิ่มขึ้นในปี 2539 เป็นจำนวน 191,163.93 ล้านบาท
6.2 สำหรับประสิทธิภาพบุคลากร ในปี 2539 จะมีพนักงานทั้ง สิ้น 290,006 คน เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 2.3 โดยคาดว่ารายได้ต่อพนักงาน 1 คน จะ เพิ่มขึ้นเป็น 2.27 ล้านบาท จาก 2.06 ล้านบาท ในปี 2538
7. ข้อเสนอแนวทางการปรับปรุงการดำเนินงาน
7.1 ให้รัฐวิสาหกิจ โดยเฉพาะองค์การรถไฟฟ้ามหานคร (รฟม.) การรถไฟแห่งประเทศ ไทย (รฟท.) การประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) และองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (ทศท.) ซึ่งมี สัดส่วนค่าใช้จ่ายบุคคลต่อค่าใช้จ่ายรวมอยู่ในเกณฑ์สูง (ระหว่างร้อย ละ 25 - 65 ชะลอการบรรจุพนักงาน และใช้วิธีจ้างเหมาเอกชนแทนการบรรจุพนักงานเพิ่ม ทั้งนี้เพื่อลดภาระและปัญหาการดำเนินงานด้านต้นทุน/บริการขององค์กร
7.2 เห็นควรให้รัฐวิสาหกิจปรับปรุงการบันทึกบัญชีให้อยู่ในรูปศูนย์กำไร ทั้งนี้ เพื่อให้ระบบบัญชีสอดคล้องกับระบบธุรกิจ และเพื่อให้เห็นผลการดำเนินงานที่แท้จริงของแต่ละ กิจกรรม อันจะมีส่วนช่วยให้ผู้บริหารสามารถปรับปรุงกิจการได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
7.3 ให้รัฐวิสาหกิจที่ยังไม่มีรูปแบบการดำเนินงานที่ชัดเจนเร่งศึกษาหารูปแบบ และแนวทางการแปรสภาพตามข้อเสนอการเพิ่มบทบาทภาคเอกชน ของคณะกรรมการติดตาม ดำเนินงานตามนโยบายการบริหารงานรัฐวิสาหกิจสำหรับรัฐวิสาหกิจที่มีรูปแบบแล้ว ให้เร่งดำเนินการตามรูปแบบดัง กล่าวโดยด่วน ทั้งนี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานลดปัญหาการขาดทุนและ ภาระการก่อหนี้ขององค์กร
8. สรุปผลการดำเนินงานในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 7 (2535 - 2539)
8.1 ภาพรวมการลงทุน รัฐวิสาหกิจทั้ง 53 แห่ง มีการลงทุนรวม 786,271.97 ล้าน บาท ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในด้านกิจการไฟฟ้า บริการขนส่งทางอากาศ และทางด่วนพิเศษ โดยเป็นกา รลงทุนจากเงินรายได้ร้อยละ 42.8 เงินกู้ร้อยละ 48.1 (กู้ในประเทศร้อยละ 27.3 กู้ต่างประเทศร้อยละ 20.8) ที่เหลือเป็น เงินงบประมาณแผ่นดินและอื่น ๆ
8.2 การดำเนินงาน มีรายได้รวมทั้งสิ้น 2,666,493.01 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ รวม 363,961.08 ล้านบาทเพิ่มขึ้นจาก 195,407.09 ล้านบาท ในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 6 ซึ่งมีสาเหตุสำคัญ มาจากรัฐวิสาหกิจ สามารถขยายบริการตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้น ตามการขยายตัวของระบบเศรษฐกิจได้ในระดับ หนึ่ง นอกจากนี้เป็นผลมาจากการปรับโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้า (ธันวาคม 2534) และการปรับปรุงค่าไฟฟ้า โดยให้ใช้สูตร ปรับค่าไฟฟ้าอัตโนมัติ (มิถุนายน 2535)ซึ่งสามารถปรับราคาได้ทันทีเมื่อต้นทุนสูงขึ้น โดยเฉพาะค่าเชื้อเพลิง และภาระภาษีมูลค่าเพิ่ม
9. การเพิ่มบทบาทภาคเอกชน
9.1 ความก้าวหน้า มีความก้าวหน้าค่อนข้างมากในสาขาพลังงาน ขนส่ง และสื่อ สาร ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในรูปแบบการให้สัมปทานและการร่วมลงทุนกับภาคเอกชน ในโครงการลงทุนขนาดใหญ่ การทำสัญญาว่า จ้างเอกชนให้ดำเนินงานในกิจกรรมต่าง ๆ รวมทั้งการกระจายหุ้นบางส่วนไปสู่ภาค เอกชนสำหรับสาขาสาธารณูปการ อุตสาหกรรม และเกษตรและทรัพยกรธรรมชาตินั้น มีความก้าวหน้าค่อนข้างน้อย อย่างไรก็ตาม มีบางกิจการ ที่อยู่ระหว่างการแปรสภาพไปสู่ภาคเอกชนเต็มตัว ได้แก่ โรงงานไพ่ โรงงานน้ำตาล กรมโรงงานอุตสาหกรรม และองค์การแล้ว
9.2 ข้อเสนอแนะ ควรติดตามและเร่งรัดให้กระจายหุ้นรัฐวิสาหกิจที่หมดความจำเป็นและสนับสนุนให้รัฐวิสาหกิจต่าง ๆ ร่วมทุนกับเอกชนให้มากขึ้น รวมทั้งแปรสภาพรัฐวิสาหกิจไปเป็น บริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชน เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารงานและนำหุ้น เข้าตลาดหลักทรัพย์ ตลอดจนเพิ่มขีดความสามารถในการระดมทุนตามความเหมาะสมของกิจการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายบรรหาร ศิลปอาชา)--วันที่ 15 ตุลาคม 2539--