ทำเนียบรัฐบาล--29 ก.ย.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีรับทราบการที่รัฐบาลแคนาดาให้เงินกู้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย วงเงิน 500 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ทดแทนเงินกู้จากอินโดนิเซียในส่วนของความช่วยเหลือด้านการเงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
ตามที่ประเทศไทยได้ขอรับความช่วยเหลือด้านการเงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ เป็นวงเงินกู้ทั้งสิ้น 17.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยเกาหลีและอินโดนิเซียได้ร่วมให้ความช่วยเหลือจำนวนประเทศละ 500 ล้านเหรียญสหรัฐ ต่อมา ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2540 เป็นต้นมา ประเทศในภูมิภาคเอเชียเริ่มประสบปัญหาทางการเงิน โดยเฉพาะเกาหลีและอินโดนีเซียมีผลให้ทั้ง 2 ประเทศไม่สามารถให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศไทย ในขณะที่เกาหลีเบิกจ่ายเงินกู้ให้กับธนาคารเพียงงวดแรกงวดเดียว เป็นจำนวนเงิน 200 ล้านเหรียญสหรัฐ ประเทศแคนาดาซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศที่เข้าร่วมประชุมที่กรุงโตเกียว จึงได้เสนอให้กู้ธนาคารแห่งประเทศไทย ในวงเงิน 500 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อทดแทนเงินกู้จากอินโดนีเซีย โดยมีการลงนามในสัญญาเงินกู้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยในวันจันทร์ที่ 10 สิงหาคม 2541 โดยมีธนาคารแห่งประเทศไทย ในฐานะตัวแทนทางการเงิน (Fiscal agent) ของรัฐบาลไทยเป็นผู้กู้สิ้นสุดการเบิกถอนเงินกู้ 30 มิถุนายน 2543 อัตราดอกเบี้ย 6 month LIBOR - 0.10 % ต่อปี มีการเบิกจ่ายเป็น 9 งวด แบ่งการจ่ายคืนต้นเงินกู้ออกเป็น 4 งวดเท่า ๆ กัน ทุก 6 เดือน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 29 กันยายน 2541--
คณะรัฐมนตรีรับทราบการที่รัฐบาลแคนาดาให้เงินกู้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย วงเงิน 500 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ทดแทนเงินกู้จากอินโดนิเซียในส่วนของความช่วยเหลือด้านการเงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
ตามที่ประเทศไทยได้ขอรับความช่วยเหลือด้านการเงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ เป็นวงเงินกู้ทั้งสิ้น 17.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยเกาหลีและอินโดนิเซียได้ร่วมให้ความช่วยเหลือจำนวนประเทศละ 500 ล้านเหรียญสหรัฐ ต่อมา ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2540 เป็นต้นมา ประเทศในภูมิภาคเอเชียเริ่มประสบปัญหาทางการเงิน โดยเฉพาะเกาหลีและอินโดนีเซียมีผลให้ทั้ง 2 ประเทศไม่สามารถให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศไทย ในขณะที่เกาหลีเบิกจ่ายเงินกู้ให้กับธนาคารเพียงงวดแรกงวดเดียว เป็นจำนวนเงิน 200 ล้านเหรียญสหรัฐ ประเทศแคนาดาซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศที่เข้าร่วมประชุมที่กรุงโตเกียว จึงได้เสนอให้กู้ธนาคารแห่งประเทศไทย ในวงเงิน 500 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อทดแทนเงินกู้จากอินโดนีเซีย โดยมีการลงนามในสัญญาเงินกู้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยในวันจันทร์ที่ 10 สิงหาคม 2541 โดยมีธนาคารแห่งประเทศไทย ในฐานะตัวแทนทางการเงิน (Fiscal agent) ของรัฐบาลไทยเป็นผู้กู้สิ้นสุดการเบิกถอนเงินกู้ 30 มิถุนายน 2543 อัตราดอกเบี้ย 6 month LIBOR - 0.10 % ต่อปี มีการเบิกจ่ายเป็น 9 งวด แบ่งการจ่ายคืนต้นเงินกู้ออกเป็น 4 งวดเท่า ๆ กัน ทุก 6 เดือน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 29 กันยายน 2541--