ทำเนียบรัฐบาล--17 มิ.ย.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมเสนอ มาตรการเพื่อการมีงานทำภายหลังการเลิกจ้าง ในวงเงินงบประมาณ จำนวน 90,300,000 บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ทั้งนี้ เพื่อสนับสนุนให้คนงานที่ตกงานไม่มีรายได้เลี้ยงตนเองและครอบครัว สามารถปรับตัวให้เข้ากับเทคโนโลยีที่สูงขึ้น และมีศักยภาพเพียงพอที่จะกลับเข้าสู่ระบบการจ้างงานใหม่ได้
ทั้งนี้ เนื่องจากปัจจุบันสภาวการณ์เศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศไทย มีการชะลอตัวทางเศรษฐกิจอย่างมากทำให้การส่งออกของประเทศไทยอยู่ในเกณฑ์ต่ำกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ เนื่องจากมีการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาใช้ในการผลิตเพื่อทดแทนแรงงานมากขึ้น ระดับฝีมือแรงงานของไทยยังอยู่ในเกณฑ์ต่ำ คนงานเก่าไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับเทคโนโลยีสมัยใหม่ได้ เป็นผลทำให้ถูกเลิกจ้าง และไม่มีรายได้ที่จะเลี้ยงตนเองและครอบครัว ประกอบกับคนงานเหล่านี้มีความรู้จบเพียงชั้นประถมศึกษา ยากต่อการหางานทำ จำเป็นจะต้องเข้ารับการฝึกอาชีพใหม่ โดยดำเนินการฝึกอาชีพในหลักสูตร การฝึกเพื่อเปลี่ยนอาชีพ การฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน การฝึกเตรียมเข้าทำงาน เพื่อให้คนงานมีความสามารถในการทำงานตรงตามอาชีพใหม่ สามารถกลับเข้าสู่ระบบการจ้างงานใหม่ และมีความพร้อมสำหรับการทำงานร่วมกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ได้ โดยได้จัดทำแนวทางเพื่อเสริมสร้างสถานการณ์จ้างงานและปรับปรุงโครงสร้างศักยภาพกำลังแรงงาน การแก้ไขผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีสมัยใหม่ เพื่อใช้ในการผลิตที่มีผลต่อการเลิกจ้าง ประกอบด้วย 5 มาตรการหลัก คือ 1) มาตรการด้านการเงิน 2) มาตรการด้านกำลังคน 3) มาตรการการแนะแนวอาชีพและการจ้างงาน 4) มาตรการพื้นที่ 5) มาตรการบริหารการจัดการ ซึ่งมาตรการเหล่านี้จะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของคนงานที่ถูกเลิกจ้าง กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมจึงจัดให้มีการฝึกอบรมกลุ่มผู้ถูกเลิกจ้างเพื่อเตรียมให้ทำงาน โดยกำหนดระยะเวลาฝึกอบรมไว้ 2 - 4 เดือน และมีเบี้ยเลี้ยงตลอดระยะเวลาการฝึก ซึ่งการฝึกอบรมดังกล่าวจะทำในพื้นที่กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรสาคร สมุทรสงคราม โดยใช้งบประมาณจากกรมพัฒนาฝีมือแรงงานในการฝึกอาชีพรุ่นละ 30 คน จำนวน 6,300 คน รวม 210 รุ่น แต่ละรุ่นเสียค่าใช้จ่าย 430,000 บาท เป็นเงินทั้งสิ้น 90,300,000 บาท
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ)--วันที่ 17 มิถุนายน 2540--
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมเสนอ มาตรการเพื่อการมีงานทำภายหลังการเลิกจ้าง ในวงเงินงบประมาณ จำนวน 90,300,000 บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ทั้งนี้ เพื่อสนับสนุนให้คนงานที่ตกงานไม่มีรายได้เลี้ยงตนเองและครอบครัว สามารถปรับตัวให้เข้ากับเทคโนโลยีที่สูงขึ้น และมีศักยภาพเพียงพอที่จะกลับเข้าสู่ระบบการจ้างงานใหม่ได้
ทั้งนี้ เนื่องจากปัจจุบันสภาวการณ์เศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศไทย มีการชะลอตัวทางเศรษฐกิจอย่างมากทำให้การส่งออกของประเทศไทยอยู่ในเกณฑ์ต่ำกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ เนื่องจากมีการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาใช้ในการผลิตเพื่อทดแทนแรงงานมากขึ้น ระดับฝีมือแรงงานของไทยยังอยู่ในเกณฑ์ต่ำ คนงานเก่าไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับเทคโนโลยีสมัยใหม่ได้ เป็นผลทำให้ถูกเลิกจ้าง และไม่มีรายได้ที่จะเลี้ยงตนเองและครอบครัว ประกอบกับคนงานเหล่านี้มีความรู้จบเพียงชั้นประถมศึกษา ยากต่อการหางานทำ จำเป็นจะต้องเข้ารับการฝึกอาชีพใหม่ โดยดำเนินการฝึกอาชีพในหลักสูตร การฝึกเพื่อเปลี่ยนอาชีพ การฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน การฝึกเตรียมเข้าทำงาน เพื่อให้คนงานมีความสามารถในการทำงานตรงตามอาชีพใหม่ สามารถกลับเข้าสู่ระบบการจ้างงานใหม่ และมีความพร้อมสำหรับการทำงานร่วมกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ได้ โดยได้จัดทำแนวทางเพื่อเสริมสร้างสถานการณ์จ้างงานและปรับปรุงโครงสร้างศักยภาพกำลังแรงงาน การแก้ไขผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีสมัยใหม่ เพื่อใช้ในการผลิตที่มีผลต่อการเลิกจ้าง ประกอบด้วย 5 มาตรการหลัก คือ 1) มาตรการด้านการเงิน 2) มาตรการด้านกำลังคน 3) มาตรการการแนะแนวอาชีพและการจ้างงาน 4) มาตรการพื้นที่ 5) มาตรการบริหารการจัดการ ซึ่งมาตรการเหล่านี้จะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของคนงานที่ถูกเลิกจ้าง กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมจึงจัดให้มีการฝึกอบรมกลุ่มผู้ถูกเลิกจ้างเพื่อเตรียมให้ทำงาน โดยกำหนดระยะเวลาฝึกอบรมไว้ 2 - 4 เดือน และมีเบี้ยเลี้ยงตลอดระยะเวลาการฝึก ซึ่งการฝึกอบรมดังกล่าวจะทำในพื้นที่กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรสาคร สมุทรสงคราม โดยใช้งบประมาณจากกรมพัฒนาฝีมือแรงงานในการฝึกอาชีพรุ่นละ 30 คน จำนวน 6,300 คน รวม 210 รุ่น แต่ละรุ่นเสียค่าใช้จ่าย 430,000 บาท เป็นเงินทั้งสิ้น 90,300,000 บาท
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ)--วันที่ 17 มิถุนายน 2540--