ทำเนียบรัฐบาล--1 ก.ย.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานความคืบหน้าของมาตรการพิจารณาผลกระทบจากการเปลี่ยน
แปลงระบบอัตราแลกเปลี่ยน ตามที่กระทรวงต่าง ๆ รายงาน สรุปได้ดังนี้
1. กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม รายงานความคืบหน้าดังต่อไปนี้
1) ผลการช่วยเหลือ จนถึงวันที่ 29 สิงหาคม 2540 มีคนถูกเลิกจ้างในปี 2540 จำ
นวน 13,215 คน กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ได้ให้การช่วยเหลือแล้วดังนี้
1.1 ดำเนินการให้ลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างได้รับค่าจ้างค้างจ่ายและค่าชดเชยรวม
231 ล้านบาท
1.2 บรรจุตำแหน่งงานใหม่ให้แก่ลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้าง จำนวน 311 คน
1.3 ดำเนินการพัฒนาฝีมือแรงงานและจัดหางานใหม่ให้ทำแล้ว จำนวน 462 คน
2) การปรับปรุงมาตรการดำเนินงาน กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ได้มี
การขอพบปะเยี่ยมเยียนกลุ่มนายจ้าง/สมาคมต่าง ๆ ได้รับข้อมูลเพิ่มเติม จึงได้มีการปรับมาตรการดำ
เนินการ โดยแยกมาตรการดำเนินการออกเป็น 2 แนวทางคือ
2.1 มาตรการชะลอการเลิกจ้าง เน้นการดำเนินการเพื่อให้คนงานสามารถทำ
งานอยู่ต่อไปได้ ซึ่งมีแนวทางการดำเนินงานรวม 4 รูปแบบ คือ
2.1.1) มาตรการบรรเทาปัญหาการเลิกจ้าง
2.1.2) มาตรการเสริมสภาพคล่อง
2.1.3) มาตรการด้านแรงงานสัมพันธ์ และ
2.1.4) มาตรการด้านค่าจ้างและสวัสดิการ
2.2 มาตรการแก้ไขปัญหาให้ผู้ถูกเลิกจ้าง เน้นการช่วยเหลือลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างใน
4 ลักษณะคือ
2.2.1) การบรรเทาความเดือดร้อน
2.2.2) การบรรจุงาน และปรับฝีมือ
2.2.3) การขยายแหล่งงาน และ
2.2.4) การส่งเสริมธุรกิจส่วนตัว
3) มาตรการชะลอการเลิกจ้าง จากการออกพบปะเยี่ยมเยียนกลุ่มนายจ้างและสมา
คมต่าง ๆ มากกว่า 20 กลุ่ม เช่น กลุ่มอุตสาหกรรมเหล็กและโลหะ กลุ่มอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย กลุ่ม
อุตสาหกรรมรองเท้า กลุ่มอุตสาห-กรรมชิ้นส่วนอะไหล่ สมาคมนายจ้างอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็ก
ทรอนิคส์ไทย ฯลฯ ปรากฏข้อเท็จจริงดังนี้
3.1 เกือบทุกกลุ่ม/สมาคมอยู่ระหว่างการใช้มาตรการบรรเทาปัญหาการเลิกจ้าง
(ข้อ 2.1.1) โดยมีการลดจำนวนวันเวลาทำงาน ชะลอการผลิต ประหยัดค่าใช้จ่าย ลดค่าจ้าง ไม่ขึ้น
เงินเดือน ฯลฯ
3.2 ทุกกลุ่มทุกสมาคม มีปัญหาการขาดสภาพคล่อง ขาดเงินทุนหมุนเวียนในการทำ
ธุรกิจ ซึ่งประเด็นนี้ถ้าไม่มีความคลี่คลาย จะเป็นแรงผลักดันให้ต้องมีการเลิกจ้างลูกจ้าง พนักงานเป็นจำ
นวนมาก สมควรที่ธนาคารแห่งประเทศไทย กระทรวงการคลัง คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน กระ
ทรวงอุตสาหกรรม จักต้องเร่งรีบในการเข้าแก้ไขปัญหานี้เป็นกรณีเร่งด่วน
อนึ่ง กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม อยู่ระหว่างการพัฒนาระบบการกำ
หนดอัตราค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ โดยจะให้ทุกจังหวัดมีคณะกรรมการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำแยกต่าง
หาก ซึ่งอาจจะเป็นผลให้ไม่มีการปรับอัตราค่าจ้างในขณะนี้ อย่างไรก็ตามเพื่อเป็นการช่วยเหลือค่า
ครองชีพของลูกจ้าง กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมได้ขอให้กระทรวงพาณิชย์จัดสินค้าราคาถูกใ
ห้องค์กรลูกจ้าง (สหภาพแรงงาน) นำไปจำหน่ายให้สมาชิกโดยตรงอีกทางหนึ่ง
4) มาตรการแก้ไขปัญหาให้ผู้ถูกเลิกจ้าง เนื่องจากผู้ถูกเลิกจ้างส่วนใหญ่จะเดิน
ทางกลับภูมิลำเนา ภายหลังจากที่ได้รับค่าจ้างค้างจ่ายและค่าชดเชย กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสัง
คม จึงได้กำหนดแผนงานที่จะขยายแหล่งงานในชนบท โดย พัฒนาระบบการรับงานไปทำที่บ้าน สนับ
สนุนการจัดตั้งอุตสาหกรรมขนาดย่อมในระดับท้องถิ่น อุดหนุนการประกอบอาชีพอิสระ ทั้งนี้รายละเอียด
การดำเนินการจะได้นำเสนอต่อไป
กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม พิจารณาเห็นว่าปัญหาการขาดสภาพคล่อง ขาด
เงินลงทุนหมุนเวียนตามข้อ 3.2 เป็นปัญหาสำคัญที่ต้องเร่งรีบแก้ไขโดยฉับพลัน มิฉะนั้นจะทำให้การเลิก
จ้างคนงานขยายตัวจนไม่สามารถควบคุมดูแลช่วยเหลือได้ ซึ่งจะเป็นปัญหาทั้งในด้านสังคม (ครอบครัว
ขาดรายได้) ด้านเศรษฐกิจ (ประชาชนไม่มีกำลังซื้อ) และด้านการเมืองได้ จึงเห็นสมควรดำเนินการ
คือ
(ก) ให้คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทย กระทรวงการคลัง คณะ
กรรมการส่งเสริมการลงทุน กระทรวงอุตสาหกรรมร่วมกันพิจารณาดำเนินการสนับสนุนเงินทุนเป็นกรณี
เร่งด่วนให้แก่สถานประกอบการที่ขาดเงินทุนหมุนเวียน มีลูกจ้างจำนวนมาก มีความพยายามที่จะไม่เลิก
จ้างลูกจ้างและสภาพธุรกิจยังสามารถดำเนินการต่อไปได้
(ข) กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม จะได้รวบรวมข้อมูลสถานประกอบการที่ประ
สบปัญหาขาดสภาพคล่อง ขาดเงินทุนหมุนเวียน ตามข้อ (ก) นำเสนอคณะกรรมการร่วม 4 หน่วยงาน
ตามข้อ (ก)
2. คณะทำงานประสานงานแก้ไขผลกระทบค่าเงินบาทต่อธุรกิจ (คกธ.) ราย
งานความคืบหน้าการปฏิบัติงานในสัปดาห์ที่ผ่านมา (25-29 สิงหาคม 2540) ดังนี้
1) ผลการประชุมหารือกับธนาคารโลก คณะทำงานฯ ได้พบกับเจ้าหน้าที่ธนาคาร
โลก เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2540 โดยสรุปผลการหารือได้ดังนี้
1.1 เงินกู้ของธนาคารโลกจำนวน 1,500 ล้านเหรียญเป็นส่วนหนึ่งตามข้อตกลง
IMF เงินกู้จำนวนดังกล่าวเป็นเงินกู้ปรับโครงสร้างการผลิตและการลงทุน ธนาคารโลกและรัฐบาล
ไทยจะร่วมกันกำหนดวัตถุประสงค์และโครงการที่จะใช้เงินกู้ดังกล่าว ธนาคารโลกจะอนุมัติในเดือน
พฤศจิกายนศกนี้ และโอนเงินงวดแรกจำนวน 350 ล้านเหรียญเข้ามาได้ในเดือนธันวาคม 2540
1.2 ธนาคารโลกขอให้ฝ่ายไทยกู้เงินจำนวนประมาณ 25 ล้านเหรียญมาดำเนิน
การหลาย ๆ ด้านประมาณ 15 ล้านเหรียญจะใช้ไปเพื่อแก้ไขปัญหาสถาบันการเงินซึ่งได้แก่ บริษัทเงิน
ทุน 58 แห่งที่ถูกระงับกิจการ รวมทั้งดูแลสถาบันการเงินที่รัฐบาลได้ประกาศประกันเงินฝากและปรับ
ปรุงเรื่องการกำกับดูแลสถาบันาการเงินให้มั่นคง ส่วนที่เหลืออีกประมาณ 10 ล้านเหรียญจะหารือหัวข้อ
ที่จะร่วมกันจัดทำแผนงาน วงเงินส่วนนี้อาจยืดหยุ่นได้
1.3 คณะทำงานฯ เห็นว่าการกู้เงิน 15 ล้านเหรียญฯ เพื่อแก้ไขสถาบันการเงิน
เป็นเรื่องเร่งด่วนมาก ธนาคารโลกรับว่าจะอนุมัติได้อย่างรวดเร็วภายในวันที่ 11 กันยายน ศกนี้ และ
จะส่งคณะผู้เชี่ยวชาญเข้ามาทำงานได้ทันที จึงขอเสนอให้กระทรวงการคลังเร่งดำเนินงานในเรื่องนี้ก่อน
2) การชดเชยภาษีการส่งออกกุ้งกุลาดำ
2.1 ที่ผ่านมาการขอคืนอากรขาเข้าวัตถุดิบจากการส่งออกกุ้งตามมาตรา 19 ทวิ
ไม่สะดวก ขั้นตอนยุ่งยาก ตรวจสอบและรวบรวมเอกสารลำบาก ผู้ส่งออกจึงขอให้กระทรวงการคลังพิ
จารณาใช้วิธีการกำหนดอัตราเงินชดเชยภาษีแทน อย่างไรก็ตาม อัตราเงินชดเชยที่กำหนดไว้เดิมต่ำ
มากคือ ร้อยละ 0.2 ของราคาส่งออก ผู้ส่งออกไม่สามารถแข่งขันกับคู่แข่ง เช่น จีน และอินเดียได้ จึง
ขอให้กระทรวงการคลังพิจารณากำหนดอัตราเงินชดเชยให้สูงกว่าเดิม
2.2 คณะกรรมการพิจารณาชดเชยค่าภาษีอากรได้พิจารณาอัตราเงินชดเชยใหม่
เสร็จแล้ว เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2540 ซึ่งจะอยู่ระหว่างร้อยละ 4.36-6.23 ของราคาส่งออก ขึ้น
อยู่กับลักษณะของกุ้งที่ส่งออก คาดว่าจะเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังให้ความเห็นชอบ และ
ออกประกาศบังคับใช้ภายในสัปดาห์นี้
3) ความคืบหน้าของมาตรการอื่น ๆ
3.1 การผ่อนผันการชำระหนี้ค่าไฟฟ้า สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทธุรกิจและอุต
สาหกรรม (คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2540) ความคืบหน้า การ
ไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจะนำร่างประกาศเสนอคณะกรรมการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค อนุมัติ และคาดว่าจะเริ่มมี
ผลบังคับใช้ในวันที่ 1 กันยายน 2540
3.2 การยกเว้นภาษีสรรพสามิตสำหรับคริสตัล และแบตเตอรี ความคืบหน้า
กรมสรรพสามิตดำเนินการแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของกระทรวงการคลัง
3.3 การยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการโอนสิทธิบัตรเครดิตภาษี ความคืบหน้า
กรมสรรพากรแจ้งว่าจะต้องเสนอคณะกรรมการวินัจฉัยภาษีอากร ซึ่งปลัดกระทรวงการคลังเป็นประ
ธานให้เป็นผู้พิจารณา และเนื่องจากคณะกรรมการชุดนี้ประชุมไม่บ่อยนัก จึงเห็นสมควรมอบให้รัฐมนตรีว่า
การกระทรวงการคลัง เร่งรัดให้มีการพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 15 วัน
4) แนวคิดในการแก้ไขปัญหาสภาพคล่องสำหรับผู้ส่งออก
เพื่อแก้ไขปัญหาสภาพคล่องของผู้ส่งออกในภาวะวิกฤติ คณะทำงานฯ เห็นควร
ขอความร่วมมือจากธนาคารพาณิชย์ ให้ร่วมกันกำหนดวงเงินสินเชื่อที่จะปล่อยให้แก่ผู้ส่งออก ทั้งนี้จะ
ต้องกำหนดคุณสมบัติของผู้ส่งออก หลักเกณฑ์ หลักประกัน รวมทั้งวิธีการปล่อยสินเชื่อ และการตรวจ
สอบอย่างชัดเจน
คณะทำงานฯ จะได้หารือกับธนาคารแห่งประเทศไทยและธนาคารพาณิชย์ และจะ
รายงานผลความคืบหน้าเพื่อทราบต่อไป
3. สถานการณ์ราคาน้ำมันในประเทศ (หลังอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว)
3.1 ตั้งแต่ต้นเดือนกรกฎาคมจนถึงกลางเดือนสิงหาคม ต้นทุนราคาน้ำมันในประเทศได้
สูงขึ้น ซึ่งเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงระบบอัตราแลกเปลี่ยนเป็นระบบลอยตัว ได้ทำให้ค่าเงินบาทอ่อนตัว
ลง โดยลดจากระดับ 25.80 บาท/เหรียญสหรัฐ มาอยู่ในระดับ 31-32 บาท/เหรียญสหรัฐ และผล
จากการปรับภาษีมูลค่าเพิ่มจากร้อยละ 7 เป็นร้อยละ 10 ซึ่งผลกระทบจากค่าเงินบาทที่อ่อนตัวลงและ
ภาระภาษีที่เพิ่มขึ้น ได้ส่งผลต่อต้นทุนของราคาน้ำมันเบนซินและน้ำมันดีเซลต้องสูงขึ้นประมาณ 1.15-
1.25 บาท/ลิตร ซึ่งทำให้ผู้ค้าน้ำมันต้องได้ปรับราคาขายปลีกน้ำมันขึ้นตามต้นทุนดังกล่าว โดยเป็นลักษณะ
ทยอยปรับครั้งละ 15-20 สตางค์/ลิตร ในช่วงดังกล่าวได้ปรับขึ้นทั้งสิ้น 6 ครั้ง รวม 1.14-1.17
บาท/ลิตร ตามแต่ละผู้ค้า
3.2 นับตั้งแต่กลางเดือนสิงหาคมเป็นต้นมา ค่าเงินบาทได้อ่อนตัวลงไปอีก โดยอัตรา
แลกเปลี่ยนได้ลดลงจากระดับ 32 บาท/เหรียญสหรัฐ มาอยู่ในระดับ 34.3 บาท/เหรียญสหรัฐ ส่งผล
ให้ต้นทุนราคาน้ำมันเบนซินและดีเซลของไทยต้องเพิ่มสูงขึ้นอีกประมาณ 35 และ 30 สตางค์/ลิตร
ตามลำดับ แม้ว่าสถานการณ์ราคาน้ำมันในตลาดโลกจะอยู่ในสภาวะทรงตัวก็ตาม ผู้ค้าน้ำมันได้ปรับราคา
ขายปลีกน้ำมันเบนซินและดีเซลขึ้นตามต้นทุนดังกล่าวแล้วส่วนหนึ่ง เมื่อวันที่ 23-26 สิงหาคม โดยปรับขึ้น
15 สตางค์/ลิตร ยังเหลือต้นทุนที่ต้องปรับขึ้นอีก 15-20 สตางค์/ลิตร ตามแต่ผลิตภัณฑ์
3.3 ในปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ผู้ค้าน้ำมันเอกชนยังไม่ได้ปรับราคาขายปลีกขึ้นตามต้นทุน
เนื่องจากต้องการชะลอการปรับเพื่อให้การปรับราคาครั้งต่อไปอยู่ในช่วงเดียวกับการปรับราคาของ
ปตท. ซึ่งมักจะปรับตอนต้นสัปดาห์ จึงคาดว่าผู้ค้าน้ำมันทุกรายจะปรับราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินและดี
เซลขึ้น 20 และ 15 สตางค์/ลิตร ตามลำดับในต้นสัปดาห์นี้
4. กระทรวงพาณิชย์ รายงานผลการดำเนินงานภายใต้แผนดูแลราคาสินค้าหลังการ
ใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวและการปรับ VAT สรุปได้ดังนี้
ส่วนที่ 1 : ผลการดำเนินงานตามแผน
1. แผนปฏิบัติการด้านราคาและปริมาณ
การจัดจำหน่ายสินค้าธงฟ้าราคาประหยัดในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค
เดือนที่ผ่านมา เดือนนี้ (สิงหาคม 2540)
กิจกรรม มิย.-กค 40 จำนวนร้านค้า เพิ่ม (+) ลด (-) ในแต่ละสัปดาห์ รวม
4-10 11-17 18-24 25-31 (ราย)
1. สินค้าอุโภคบริโภค (ธงฟ้า-ราคาประหยัด)
1.1 มุมธงฟ้า (ในห้างสรรพสินค้า/ร้านค้า)
- ส่วนกลาง 22 +19 +18 +10 - 69
- ส่วนภูมิภาค 98 +16 +10 +23 +112 259
1.2 ร้านค้าย่อย อคส. 15 - - - - 15
1.3 งานจำหน่ายสินค้าธงฟ้า-ราคาประหยัด
1.3.1 กรมการค้าภายใน
- ส่วนกลาง 3 +2 +3 +2 - 10
- ส่วนภูมิภาค - - - - - -
1.3.2 กรมการค้าภายในร่วมกับหน่วยงานอื่น*
- ส่วนกลาง 4 +2 +1 +13 +13 33
- ส่วนภูมิภาค 9 +9 +10 +56 +44 128
2. สินค้าอาหารสำเร็จรูป (ร้านธงฟ้า)
2.1 ร้านอาหารในส่วนราชการ/สถานศึกษา
- ส่วนกลาง 27 +1 - - +2 30
- ส่วนภูมิภาค 12 - - - -1 11
2.2 ศูนย์อาหาร 33 -1 - - - 32
2.3 ร้านอาหารสำเร็จรูป
- ส่วนกลาง 816 -15 - +17 - 818
- ส่วนภูมิภาค 1,534 +3 - +10 +53 1,600
2.4 รถเข็น/แผงลอย
- ส่วนกลาง 1,117 - - - - 1,117
- ส่วนภูมิภาค 741 -38 703
รวม 4,431 +36 +42 +131 +185 4,825
* หน่วยงานอื่น : หอการค้า/ สมาคม กองทัพบก กรุงเทพมหานคร สำนักนายกรัฐมนตรี ฯลฯ
2. แผนปฏิบัติการตรวจสอบและติดตามราคาสินค้า
เดือนที่ผ่านมา เดือนนี้ (สิงหาคม 2540)
กิจกรรม กค.40 การตรวจสอบแต่ละสัปดาห์ รวม
(2 กค -3 สค.) 4-10 11-17 18-24 25-31 (ครั้ง)
การตรวจสอบภาวะราคาสินค้า
(ศูนย์เฉพาะกิจ) 5,148 +1,813 +1,424 +1,501 +1,650 11,536
การรับเรื่องร้องเรียน
(ศูนย์รับเรื่องร้องเรียน) 233 +28 +44 +45 +22 372
การดำเนินการกับผู้กระทำผิด 162 +30 +45 +28 +26 291
การปรับผู้กระทำผิด (จำนวนเงิน/บาท) (59,000) (10,600) (14,600) (13,000) (7,600) (104,800)
รวม 5,543 +1,871 +1,513 +1,574 +1,698 12,199
3. แผนปฏิบัติการประชาสัมพันธ์
เดือนที่ผ่านมา เดือนนี้ (สิงหาคม 2540)
กิจกรรม กค.40 การประชาสัมพันธ์ในแต่ละสัปดาห์ รวม
(2 กค -3 สค.) 4-10 11-17 18-24 25-31 (ครั้ง)
การชี้แจงข้อเท็จจริงทางโทรทัศน์/วิทยุ/
ข่าวแจก 26 +4 +10 +3 +2 43
การประชุมผู้ประกอบการ/ผู้ค้า 9 +1 +3 - - 13
การรายงานราคาสินค้าผ่านสื่อ
- โทรทัศน์ 126 +35 +37 +37 +37 272
- วิทยุ 126 +35 +52 +52 +37 302
- หนังสือพิมพ์ 108 +30 +25 +25 +25 213
- Internet 18 +5 +5 +5 +5 38
การนำสื่อมวลชนออกตรวจสถานการณ์ร่วมกับ
เจ้าหน้าที่ 3 +1 +3 +2 +2 11
รวม 416 +111 +135 +124 +108 894
ส่วนที่ 2 : สรุปสถานการณ์ประจำสัปดาห์
1. ภาวะการจำหน่ายสินค้าโดยทั่วไป ยังคงอยู่ในระดับเดียวกับสัปดาห์ก่อน คือ ค่อน
ข้างซบเซา สำหรับการซื้อขายที่ห้างสรรพสินค้าในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์มีความคึกคักขึ้น เนื่องจากเป็นวัน
สิ้นเดือน ประกอบกับการประชาสัมพันธ์ของห้างฯ ในเรื่องราคาสินค้า ทั้งนี้เมื่อดูสินค้าในกลุ่มอุปโภคบริ
โภคทั่วไปและอาหารสดพบว่า
สินค้าอุปโภคบริโภค ราคาจำหน่ายปลีกเคลื่อนไหวปรับตัวสูงขึ้นในระดับที่สอดคล้อง
กับการเปลี่ยนแปลงของค่าเงินบาทและอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มที่สูงขึ้น สำหรับร้านค้าปลีกทั่วไปที่ยังไม่ได้ปรับ
ราคาจำหน่ายเนื่องจากขายสินค้าสต๊อคเก่าได้เริ่มปรับราคาสินค้าสูงขึ้นตามราคาสินค้ารุ่นใหม่ที่รับเข้ามา
จำหน่ายแล้ว
สินค้าอาหารสด ราคาเป็นไปตามภาวะตลาดปกติ หมวดเนื้อสัตว์ราคาทรงตัวเท่า
กับสัปดาห์ก่อน และมีแนวโน้มลดลง เนื่องจากภาวะการจำหน่ายไม่คล่องตัว ไข่เป็ดและไข่ไก่ราคา
โน้มสูงขึ้น เนื่องจากปริมาณความต้องการใช้เพิ่มขึ้น ในขณะที่ปริมาณการผลิตลดลง ผักสดราคาโดย
เฉลี่ยลดลง และมีแนวโน้มลดลงอีก เนื่องจากเกษตรกรภาคเหนือเร่งเก็บผลผลิต เพราะฝนตกชุก ประ
กอบกับผักสดรุ่นใหม่จากแหล่งผลิตนครราชสีมาเริ่มออกสู่ตลาด
2. การร้องเรียนผ่านศูนย์รับเรื่องร้องเรียนมีปริมาณลดลงจากสัปดาห์ก่อนมาก คือ มีเพียง
22 รายในสัปดาห์นี้ สำหรับเรื่องที่ร้องเรียนเป็นเรื่องทั่วไป อนึ่ง จากการประสานกับสถานีวิทยุซึ่งรับ
เรื่องร้องเรียน หรือรับแจ้งจากประชาชนทั่วไปเกี่ยวกับปัญหาราคาสินค้าพบว่า มีปริมาณน้อยมาก และ
ไม่มีเรื่องที่เป็นสาระสำคัญแต่ประการใด
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ)--วันที่ 1 กันยายน 2540--
คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานความคืบหน้าของมาตรการพิจารณาผลกระทบจากการเปลี่ยน
แปลงระบบอัตราแลกเปลี่ยน ตามที่กระทรวงต่าง ๆ รายงาน สรุปได้ดังนี้
1. กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม รายงานความคืบหน้าดังต่อไปนี้
1) ผลการช่วยเหลือ จนถึงวันที่ 29 สิงหาคม 2540 มีคนถูกเลิกจ้างในปี 2540 จำ
นวน 13,215 คน กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ได้ให้การช่วยเหลือแล้วดังนี้
1.1 ดำเนินการให้ลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างได้รับค่าจ้างค้างจ่ายและค่าชดเชยรวม
231 ล้านบาท
1.2 บรรจุตำแหน่งงานใหม่ให้แก่ลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้าง จำนวน 311 คน
1.3 ดำเนินการพัฒนาฝีมือแรงงานและจัดหางานใหม่ให้ทำแล้ว จำนวน 462 คน
2) การปรับปรุงมาตรการดำเนินงาน กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ได้มี
การขอพบปะเยี่ยมเยียนกลุ่มนายจ้าง/สมาคมต่าง ๆ ได้รับข้อมูลเพิ่มเติม จึงได้มีการปรับมาตรการดำ
เนินการ โดยแยกมาตรการดำเนินการออกเป็น 2 แนวทางคือ
2.1 มาตรการชะลอการเลิกจ้าง เน้นการดำเนินการเพื่อให้คนงานสามารถทำ
งานอยู่ต่อไปได้ ซึ่งมีแนวทางการดำเนินงานรวม 4 รูปแบบ คือ
2.1.1) มาตรการบรรเทาปัญหาการเลิกจ้าง
2.1.2) มาตรการเสริมสภาพคล่อง
2.1.3) มาตรการด้านแรงงานสัมพันธ์ และ
2.1.4) มาตรการด้านค่าจ้างและสวัสดิการ
2.2 มาตรการแก้ไขปัญหาให้ผู้ถูกเลิกจ้าง เน้นการช่วยเหลือลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างใน
4 ลักษณะคือ
2.2.1) การบรรเทาความเดือดร้อน
2.2.2) การบรรจุงาน และปรับฝีมือ
2.2.3) การขยายแหล่งงาน และ
2.2.4) การส่งเสริมธุรกิจส่วนตัว
3) มาตรการชะลอการเลิกจ้าง จากการออกพบปะเยี่ยมเยียนกลุ่มนายจ้างและสมา
คมต่าง ๆ มากกว่า 20 กลุ่ม เช่น กลุ่มอุตสาหกรรมเหล็กและโลหะ กลุ่มอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย กลุ่ม
อุตสาหกรรมรองเท้า กลุ่มอุตสาห-กรรมชิ้นส่วนอะไหล่ สมาคมนายจ้างอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็ก
ทรอนิคส์ไทย ฯลฯ ปรากฏข้อเท็จจริงดังนี้
3.1 เกือบทุกกลุ่ม/สมาคมอยู่ระหว่างการใช้มาตรการบรรเทาปัญหาการเลิกจ้าง
(ข้อ 2.1.1) โดยมีการลดจำนวนวันเวลาทำงาน ชะลอการผลิต ประหยัดค่าใช้จ่าย ลดค่าจ้าง ไม่ขึ้น
เงินเดือน ฯลฯ
3.2 ทุกกลุ่มทุกสมาคม มีปัญหาการขาดสภาพคล่อง ขาดเงินทุนหมุนเวียนในการทำ
ธุรกิจ ซึ่งประเด็นนี้ถ้าไม่มีความคลี่คลาย จะเป็นแรงผลักดันให้ต้องมีการเลิกจ้างลูกจ้าง พนักงานเป็นจำ
นวนมาก สมควรที่ธนาคารแห่งประเทศไทย กระทรวงการคลัง คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน กระ
ทรวงอุตสาหกรรม จักต้องเร่งรีบในการเข้าแก้ไขปัญหานี้เป็นกรณีเร่งด่วน
อนึ่ง กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม อยู่ระหว่างการพัฒนาระบบการกำ
หนดอัตราค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ โดยจะให้ทุกจังหวัดมีคณะกรรมการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำแยกต่าง
หาก ซึ่งอาจจะเป็นผลให้ไม่มีการปรับอัตราค่าจ้างในขณะนี้ อย่างไรก็ตามเพื่อเป็นการช่วยเหลือค่า
ครองชีพของลูกจ้าง กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมได้ขอให้กระทรวงพาณิชย์จัดสินค้าราคาถูกใ
ห้องค์กรลูกจ้าง (สหภาพแรงงาน) นำไปจำหน่ายให้สมาชิกโดยตรงอีกทางหนึ่ง
4) มาตรการแก้ไขปัญหาให้ผู้ถูกเลิกจ้าง เนื่องจากผู้ถูกเลิกจ้างส่วนใหญ่จะเดิน
ทางกลับภูมิลำเนา ภายหลังจากที่ได้รับค่าจ้างค้างจ่ายและค่าชดเชย กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสัง
คม จึงได้กำหนดแผนงานที่จะขยายแหล่งงานในชนบท โดย พัฒนาระบบการรับงานไปทำที่บ้าน สนับ
สนุนการจัดตั้งอุตสาหกรรมขนาดย่อมในระดับท้องถิ่น อุดหนุนการประกอบอาชีพอิสระ ทั้งนี้รายละเอียด
การดำเนินการจะได้นำเสนอต่อไป
กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม พิจารณาเห็นว่าปัญหาการขาดสภาพคล่อง ขาด
เงินลงทุนหมุนเวียนตามข้อ 3.2 เป็นปัญหาสำคัญที่ต้องเร่งรีบแก้ไขโดยฉับพลัน มิฉะนั้นจะทำให้การเลิก
จ้างคนงานขยายตัวจนไม่สามารถควบคุมดูแลช่วยเหลือได้ ซึ่งจะเป็นปัญหาทั้งในด้านสังคม (ครอบครัว
ขาดรายได้) ด้านเศรษฐกิจ (ประชาชนไม่มีกำลังซื้อ) และด้านการเมืองได้ จึงเห็นสมควรดำเนินการ
คือ
(ก) ให้คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทย กระทรวงการคลัง คณะ
กรรมการส่งเสริมการลงทุน กระทรวงอุตสาหกรรมร่วมกันพิจารณาดำเนินการสนับสนุนเงินทุนเป็นกรณี
เร่งด่วนให้แก่สถานประกอบการที่ขาดเงินทุนหมุนเวียน มีลูกจ้างจำนวนมาก มีความพยายามที่จะไม่เลิก
จ้างลูกจ้างและสภาพธุรกิจยังสามารถดำเนินการต่อไปได้
(ข) กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม จะได้รวบรวมข้อมูลสถานประกอบการที่ประ
สบปัญหาขาดสภาพคล่อง ขาดเงินทุนหมุนเวียน ตามข้อ (ก) นำเสนอคณะกรรมการร่วม 4 หน่วยงาน
ตามข้อ (ก)
2. คณะทำงานประสานงานแก้ไขผลกระทบค่าเงินบาทต่อธุรกิจ (คกธ.) ราย
งานความคืบหน้าการปฏิบัติงานในสัปดาห์ที่ผ่านมา (25-29 สิงหาคม 2540) ดังนี้
1) ผลการประชุมหารือกับธนาคารโลก คณะทำงานฯ ได้พบกับเจ้าหน้าที่ธนาคาร
โลก เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2540 โดยสรุปผลการหารือได้ดังนี้
1.1 เงินกู้ของธนาคารโลกจำนวน 1,500 ล้านเหรียญเป็นส่วนหนึ่งตามข้อตกลง
IMF เงินกู้จำนวนดังกล่าวเป็นเงินกู้ปรับโครงสร้างการผลิตและการลงทุน ธนาคารโลกและรัฐบาล
ไทยจะร่วมกันกำหนดวัตถุประสงค์และโครงการที่จะใช้เงินกู้ดังกล่าว ธนาคารโลกจะอนุมัติในเดือน
พฤศจิกายนศกนี้ และโอนเงินงวดแรกจำนวน 350 ล้านเหรียญเข้ามาได้ในเดือนธันวาคม 2540
1.2 ธนาคารโลกขอให้ฝ่ายไทยกู้เงินจำนวนประมาณ 25 ล้านเหรียญมาดำเนิน
การหลาย ๆ ด้านประมาณ 15 ล้านเหรียญจะใช้ไปเพื่อแก้ไขปัญหาสถาบันการเงินซึ่งได้แก่ บริษัทเงิน
ทุน 58 แห่งที่ถูกระงับกิจการ รวมทั้งดูแลสถาบันการเงินที่รัฐบาลได้ประกาศประกันเงินฝากและปรับ
ปรุงเรื่องการกำกับดูแลสถาบันาการเงินให้มั่นคง ส่วนที่เหลืออีกประมาณ 10 ล้านเหรียญจะหารือหัวข้อ
ที่จะร่วมกันจัดทำแผนงาน วงเงินส่วนนี้อาจยืดหยุ่นได้
1.3 คณะทำงานฯ เห็นว่าการกู้เงิน 15 ล้านเหรียญฯ เพื่อแก้ไขสถาบันการเงิน
เป็นเรื่องเร่งด่วนมาก ธนาคารโลกรับว่าจะอนุมัติได้อย่างรวดเร็วภายในวันที่ 11 กันยายน ศกนี้ และ
จะส่งคณะผู้เชี่ยวชาญเข้ามาทำงานได้ทันที จึงขอเสนอให้กระทรวงการคลังเร่งดำเนินงานในเรื่องนี้ก่อน
2) การชดเชยภาษีการส่งออกกุ้งกุลาดำ
2.1 ที่ผ่านมาการขอคืนอากรขาเข้าวัตถุดิบจากการส่งออกกุ้งตามมาตรา 19 ทวิ
ไม่สะดวก ขั้นตอนยุ่งยาก ตรวจสอบและรวบรวมเอกสารลำบาก ผู้ส่งออกจึงขอให้กระทรวงการคลังพิ
จารณาใช้วิธีการกำหนดอัตราเงินชดเชยภาษีแทน อย่างไรก็ตาม อัตราเงินชดเชยที่กำหนดไว้เดิมต่ำ
มากคือ ร้อยละ 0.2 ของราคาส่งออก ผู้ส่งออกไม่สามารถแข่งขันกับคู่แข่ง เช่น จีน และอินเดียได้ จึง
ขอให้กระทรวงการคลังพิจารณากำหนดอัตราเงินชดเชยให้สูงกว่าเดิม
2.2 คณะกรรมการพิจารณาชดเชยค่าภาษีอากรได้พิจารณาอัตราเงินชดเชยใหม่
เสร็จแล้ว เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2540 ซึ่งจะอยู่ระหว่างร้อยละ 4.36-6.23 ของราคาส่งออก ขึ้น
อยู่กับลักษณะของกุ้งที่ส่งออก คาดว่าจะเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังให้ความเห็นชอบ และ
ออกประกาศบังคับใช้ภายในสัปดาห์นี้
3) ความคืบหน้าของมาตรการอื่น ๆ
3.1 การผ่อนผันการชำระหนี้ค่าไฟฟ้า สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทธุรกิจและอุต
สาหกรรม (คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2540) ความคืบหน้า การ
ไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจะนำร่างประกาศเสนอคณะกรรมการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค อนุมัติ และคาดว่าจะเริ่มมี
ผลบังคับใช้ในวันที่ 1 กันยายน 2540
3.2 การยกเว้นภาษีสรรพสามิตสำหรับคริสตัล และแบตเตอรี ความคืบหน้า
กรมสรรพสามิตดำเนินการแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของกระทรวงการคลัง
3.3 การยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการโอนสิทธิบัตรเครดิตภาษี ความคืบหน้า
กรมสรรพากรแจ้งว่าจะต้องเสนอคณะกรรมการวินัจฉัยภาษีอากร ซึ่งปลัดกระทรวงการคลังเป็นประ
ธานให้เป็นผู้พิจารณา และเนื่องจากคณะกรรมการชุดนี้ประชุมไม่บ่อยนัก จึงเห็นสมควรมอบให้รัฐมนตรีว่า
การกระทรวงการคลัง เร่งรัดให้มีการพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 15 วัน
4) แนวคิดในการแก้ไขปัญหาสภาพคล่องสำหรับผู้ส่งออก
เพื่อแก้ไขปัญหาสภาพคล่องของผู้ส่งออกในภาวะวิกฤติ คณะทำงานฯ เห็นควร
ขอความร่วมมือจากธนาคารพาณิชย์ ให้ร่วมกันกำหนดวงเงินสินเชื่อที่จะปล่อยให้แก่ผู้ส่งออก ทั้งนี้จะ
ต้องกำหนดคุณสมบัติของผู้ส่งออก หลักเกณฑ์ หลักประกัน รวมทั้งวิธีการปล่อยสินเชื่อ และการตรวจ
สอบอย่างชัดเจน
คณะทำงานฯ จะได้หารือกับธนาคารแห่งประเทศไทยและธนาคารพาณิชย์ และจะ
รายงานผลความคืบหน้าเพื่อทราบต่อไป
3. สถานการณ์ราคาน้ำมันในประเทศ (หลังอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว)
3.1 ตั้งแต่ต้นเดือนกรกฎาคมจนถึงกลางเดือนสิงหาคม ต้นทุนราคาน้ำมันในประเทศได้
สูงขึ้น ซึ่งเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงระบบอัตราแลกเปลี่ยนเป็นระบบลอยตัว ได้ทำให้ค่าเงินบาทอ่อนตัว
ลง โดยลดจากระดับ 25.80 บาท/เหรียญสหรัฐ มาอยู่ในระดับ 31-32 บาท/เหรียญสหรัฐ และผล
จากการปรับภาษีมูลค่าเพิ่มจากร้อยละ 7 เป็นร้อยละ 10 ซึ่งผลกระทบจากค่าเงินบาทที่อ่อนตัวลงและ
ภาระภาษีที่เพิ่มขึ้น ได้ส่งผลต่อต้นทุนของราคาน้ำมันเบนซินและน้ำมันดีเซลต้องสูงขึ้นประมาณ 1.15-
1.25 บาท/ลิตร ซึ่งทำให้ผู้ค้าน้ำมันต้องได้ปรับราคาขายปลีกน้ำมันขึ้นตามต้นทุนดังกล่าว โดยเป็นลักษณะ
ทยอยปรับครั้งละ 15-20 สตางค์/ลิตร ในช่วงดังกล่าวได้ปรับขึ้นทั้งสิ้น 6 ครั้ง รวม 1.14-1.17
บาท/ลิตร ตามแต่ละผู้ค้า
3.2 นับตั้งแต่กลางเดือนสิงหาคมเป็นต้นมา ค่าเงินบาทได้อ่อนตัวลงไปอีก โดยอัตรา
แลกเปลี่ยนได้ลดลงจากระดับ 32 บาท/เหรียญสหรัฐ มาอยู่ในระดับ 34.3 บาท/เหรียญสหรัฐ ส่งผล
ให้ต้นทุนราคาน้ำมันเบนซินและดีเซลของไทยต้องเพิ่มสูงขึ้นอีกประมาณ 35 และ 30 สตางค์/ลิตร
ตามลำดับ แม้ว่าสถานการณ์ราคาน้ำมันในตลาดโลกจะอยู่ในสภาวะทรงตัวก็ตาม ผู้ค้าน้ำมันได้ปรับราคา
ขายปลีกน้ำมันเบนซินและดีเซลขึ้นตามต้นทุนดังกล่าวแล้วส่วนหนึ่ง เมื่อวันที่ 23-26 สิงหาคม โดยปรับขึ้น
15 สตางค์/ลิตร ยังเหลือต้นทุนที่ต้องปรับขึ้นอีก 15-20 สตางค์/ลิตร ตามแต่ผลิตภัณฑ์
3.3 ในปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ผู้ค้าน้ำมันเอกชนยังไม่ได้ปรับราคาขายปลีกขึ้นตามต้นทุน
เนื่องจากต้องการชะลอการปรับเพื่อให้การปรับราคาครั้งต่อไปอยู่ในช่วงเดียวกับการปรับราคาของ
ปตท. ซึ่งมักจะปรับตอนต้นสัปดาห์ จึงคาดว่าผู้ค้าน้ำมันทุกรายจะปรับราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินและดี
เซลขึ้น 20 และ 15 สตางค์/ลิตร ตามลำดับในต้นสัปดาห์นี้
4. กระทรวงพาณิชย์ รายงานผลการดำเนินงานภายใต้แผนดูแลราคาสินค้าหลังการ
ใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวและการปรับ VAT สรุปได้ดังนี้
ส่วนที่ 1 : ผลการดำเนินงานตามแผน
1. แผนปฏิบัติการด้านราคาและปริมาณ
การจัดจำหน่ายสินค้าธงฟ้าราคาประหยัดในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค
เดือนที่ผ่านมา เดือนนี้ (สิงหาคม 2540)
กิจกรรม มิย.-กค 40 จำนวนร้านค้า เพิ่ม (+) ลด (-) ในแต่ละสัปดาห์ รวม
4-10 11-17 18-24 25-31 (ราย)
1. สินค้าอุโภคบริโภค (ธงฟ้า-ราคาประหยัด)
1.1 มุมธงฟ้า (ในห้างสรรพสินค้า/ร้านค้า)
- ส่วนกลาง 22 +19 +18 +10 - 69
- ส่วนภูมิภาค 98 +16 +10 +23 +112 259
1.2 ร้านค้าย่อย อคส. 15 - - - - 15
1.3 งานจำหน่ายสินค้าธงฟ้า-ราคาประหยัด
1.3.1 กรมการค้าภายใน
- ส่วนกลาง 3 +2 +3 +2 - 10
- ส่วนภูมิภาค - - - - - -
1.3.2 กรมการค้าภายในร่วมกับหน่วยงานอื่น*
- ส่วนกลาง 4 +2 +1 +13 +13 33
- ส่วนภูมิภาค 9 +9 +10 +56 +44 128
2. สินค้าอาหารสำเร็จรูป (ร้านธงฟ้า)
2.1 ร้านอาหารในส่วนราชการ/สถานศึกษา
- ส่วนกลาง 27 +1 - - +2 30
- ส่วนภูมิภาค 12 - - - -1 11
2.2 ศูนย์อาหาร 33 -1 - - - 32
2.3 ร้านอาหารสำเร็จรูป
- ส่วนกลาง 816 -15 - +17 - 818
- ส่วนภูมิภาค 1,534 +3 - +10 +53 1,600
2.4 รถเข็น/แผงลอย
- ส่วนกลาง 1,117 - - - - 1,117
- ส่วนภูมิภาค 741 -38 703
รวม 4,431 +36 +42 +131 +185 4,825
* หน่วยงานอื่น : หอการค้า/ สมาคม กองทัพบก กรุงเทพมหานคร สำนักนายกรัฐมนตรี ฯลฯ
2. แผนปฏิบัติการตรวจสอบและติดตามราคาสินค้า
เดือนที่ผ่านมา เดือนนี้ (สิงหาคม 2540)
กิจกรรม กค.40 การตรวจสอบแต่ละสัปดาห์ รวม
(2 กค -3 สค.) 4-10 11-17 18-24 25-31 (ครั้ง)
การตรวจสอบภาวะราคาสินค้า
(ศูนย์เฉพาะกิจ) 5,148 +1,813 +1,424 +1,501 +1,650 11,536
การรับเรื่องร้องเรียน
(ศูนย์รับเรื่องร้องเรียน) 233 +28 +44 +45 +22 372
การดำเนินการกับผู้กระทำผิด 162 +30 +45 +28 +26 291
การปรับผู้กระทำผิด (จำนวนเงิน/บาท) (59,000) (10,600) (14,600) (13,000) (7,600) (104,800)
รวม 5,543 +1,871 +1,513 +1,574 +1,698 12,199
3. แผนปฏิบัติการประชาสัมพันธ์
เดือนที่ผ่านมา เดือนนี้ (สิงหาคม 2540)
กิจกรรม กค.40 การประชาสัมพันธ์ในแต่ละสัปดาห์ รวม
(2 กค -3 สค.) 4-10 11-17 18-24 25-31 (ครั้ง)
การชี้แจงข้อเท็จจริงทางโทรทัศน์/วิทยุ/
ข่าวแจก 26 +4 +10 +3 +2 43
การประชุมผู้ประกอบการ/ผู้ค้า 9 +1 +3 - - 13
การรายงานราคาสินค้าผ่านสื่อ
- โทรทัศน์ 126 +35 +37 +37 +37 272
- วิทยุ 126 +35 +52 +52 +37 302
- หนังสือพิมพ์ 108 +30 +25 +25 +25 213
- Internet 18 +5 +5 +5 +5 38
การนำสื่อมวลชนออกตรวจสถานการณ์ร่วมกับ
เจ้าหน้าที่ 3 +1 +3 +2 +2 11
รวม 416 +111 +135 +124 +108 894
ส่วนที่ 2 : สรุปสถานการณ์ประจำสัปดาห์
1. ภาวะการจำหน่ายสินค้าโดยทั่วไป ยังคงอยู่ในระดับเดียวกับสัปดาห์ก่อน คือ ค่อน
ข้างซบเซา สำหรับการซื้อขายที่ห้างสรรพสินค้าในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์มีความคึกคักขึ้น เนื่องจากเป็นวัน
สิ้นเดือน ประกอบกับการประชาสัมพันธ์ของห้างฯ ในเรื่องราคาสินค้า ทั้งนี้เมื่อดูสินค้าในกลุ่มอุปโภคบริ
โภคทั่วไปและอาหารสดพบว่า
สินค้าอุปโภคบริโภค ราคาจำหน่ายปลีกเคลื่อนไหวปรับตัวสูงขึ้นในระดับที่สอดคล้อง
กับการเปลี่ยนแปลงของค่าเงินบาทและอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มที่สูงขึ้น สำหรับร้านค้าปลีกทั่วไปที่ยังไม่ได้ปรับ
ราคาจำหน่ายเนื่องจากขายสินค้าสต๊อคเก่าได้เริ่มปรับราคาสินค้าสูงขึ้นตามราคาสินค้ารุ่นใหม่ที่รับเข้ามา
จำหน่ายแล้ว
สินค้าอาหารสด ราคาเป็นไปตามภาวะตลาดปกติ หมวดเนื้อสัตว์ราคาทรงตัวเท่า
กับสัปดาห์ก่อน และมีแนวโน้มลดลง เนื่องจากภาวะการจำหน่ายไม่คล่องตัว ไข่เป็ดและไข่ไก่ราคา
โน้มสูงขึ้น เนื่องจากปริมาณความต้องการใช้เพิ่มขึ้น ในขณะที่ปริมาณการผลิตลดลง ผักสดราคาโดย
เฉลี่ยลดลง และมีแนวโน้มลดลงอีก เนื่องจากเกษตรกรภาคเหนือเร่งเก็บผลผลิต เพราะฝนตกชุก ประ
กอบกับผักสดรุ่นใหม่จากแหล่งผลิตนครราชสีมาเริ่มออกสู่ตลาด
2. การร้องเรียนผ่านศูนย์รับเรื่องร้องเรียนมีปริมาณลดลงจากสัปดาห์ก่อนมาก คือ มีเพียง
22 รายในสัปดาห์นี้ สำหรับเรื่องที่ร้องเรียนเป็นเรื่องทั่วไป อนึ่ง จากการประสานกับสถานีวิทยุซึ่งรับ
เรื่องร้องเรียน หรือรับแจ้งจากประชาชนทั่วไปเกี่ยวกับปัญหาราคาสินค้าพบว่า มีปริมาณน้อยมาก และ
ไม่มีเรื่องที่เป็นสาระสำคัญแต่ประการใด
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ)--วันที่ 1 กันยายน 2540--