ทำเนียบรัฐบาล--14 ต.ค.--บิสนิวส์
คณะกรรมการรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจอนุมัติตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ ให้การสื่อสารแห่งประเทศไทย (กสท.) ดำเนินการโครงการระบบเคเบิลใต้น้ำใยแก้วระยะที่ 4 ดังนี้
1. ดำเนินการโครงการระบบเคเบิลใต้น้ำใยแก้วระยะที่ 4 ร่วมกับภาคีสมาชิกอื่นได้ตามมติของภาคีสมาชิก
2. ลงนามในสัญญาจ้างก่อสร้างระบบเคเบิลใต้น้ำใยแก้ว SEA - ME - WE 3 โดยไม่ต้องส่งร่างสัญญาให้สำนักงานอัยการสูงสุดตรวจพิจารณาก่อน
สาระสำคัญของโครงการระบบเคเบิลใต้น้ำใยแก้วระยะที่ 4 สรุปได้ดังนี้
1. วัตถุประสงค์
1.1 เพื่อขยายข่ายสื่อสัญญาณเคเบิลใต้น้ำให้กว้างขวางยิ่งขึ้น และใช้เป็นระบบสื่อสัญญาณหลักระบบหนึ่ง สำหรับรองรับปริมาณทราฟฟิคระหว่างประเทศที่จะเพิ่มขึ้น
1.2 เพื่อพัฒนาและเสริมสร้างข่ายสื่อสัญญาณระหว่างประเทศของประเทศไทยให้มีศักยภาพทัดเทียมกับประเทศอื่น สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้โดยไม่มีข้อจำกัด สามารถให้บริการทุกรูปแบบได้อย่างต่อเนื่อง รองรับให้ทันต่อความต้องการของลูกค้า และมีคุณภาพเป็นที่ยอมรับของผู้ใช้บริการ
1.3 เพื่อสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลที่จะพัฒนาให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการให้บริการด้านสื่อสารและโทรคมนาคมในภูมิภาคนี้
1.4 เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนโครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย อินโดนีเซีย - มาเลเซีย - ไทย (แผนสามเหลี่ยมเศรษฐกิจ) เพราะระบบเคเบิลใต้น้ำใยแก้ว SEA - ME - WE 3 จะเชื่อมโยงจังหวัดสตูล กับเมืองเมดาน ประเทศอินโดนีเซียโดยตรง
2. เป้าหมาย
2.1 ดำเนินการจ้างก่อสร้างระบบเคเบิลใต้น้ำใยแก้ว SEA - ME - WE 3 ขนาดไม่ต่ำกว่า 10 Gbps (10,000 ล้านบิทต่อวินาที) ร่วมกับหน่วยงานภาคีโทรคมนาคมระหว่างประเทศ โดยใช้เทคโนโลยี SDH (Synchronous Digital Hierarchy) และ WDM (Wavelength Division Multiplex) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีใหม่ของระบบเคเบิลใต้น้ำใยแก้วในปัจจุบัน โดยในส่วนของประเทศไทยจะมีจุดขึ้นบกที่อำเภอปากบารา จังหวัดสตูล
2.2 ดำเนินการจัดหาวงจรในระบบ/ข่ายเคเบิลใต้น้ำใยแก้วอื่น ๆ เพื่อเชื่อมโยงกับระบบเคเบิลใต้น้ำใยแก้ว SEA - ME - WE 3 สำหรับการติดต่อกับต่างประเทศและสำรองระบบอื่น รวม 780 วงจร
2.3 จัดซื้ออุปกรณ์เพิ่มเติมสำหรับเชื่อมโยงในช่วงจังหวัดสตูล กับจังหวัดสงขลา และจัดซื้ออุปกรณ์ระบบสื่อสัญญาณเชื่อมโยงที่เกี่ยวข้องเพื่อเชื่อมโยงวงจร จากระบบเคเบิลใต้น้ำใยแก้ว SEA - ME - WE 3 ไปยังชุมสายโทรศัพท์ระหว่างประเทศที่บางรัก นนทบุรี และศรีราชา
3. ระยะเวลาดำเนินการ รวมทั้งสิ้น 5 ปี (พ.ศ. 2539 - 2543) โดยสามารถเริ่มใช้งานให้บริการได้ตั้งแต่ต้นปี 2542 เป็นต้นไป มีอายุการใช้งานทั้งสิ้น 25 ปี (พ.ศ. 2542 - 2566)
4. ขั้นตอนการดำเนินงาน
4.1 จ้างก่อสร้างข่ายเคเบิลใต้น้ำใยแก้ว SEA - ME - WE 3 พร้อมจัดซื้ออุปกรณ์ที่จำเป็นติดตั้งเพิ่มเติมที่สถานีเคเบิลใต้น้ำ จังหวัดสตูล โดยใช้เวลาดำเนินงาน 39 เดือน
4.2 จัดซื้ออุปกรณ์เพิ่มเติมสำหรับระบบเชื่อมโยงช่วงจังหวัดสตูล - สงขลา และอื่น ๆ โดยใช้เวลาดำเนินงาน 24 เดือน
4.3 จัดซื้อจัดหาวงจรในระบบ/ข่ายเคเบิลใต้น้ำใยแก้วอื่น ๆ เพื่อเชื่อมโยงกับระบบเคเบิลใต้น้ำใยแก้ว SEA - ME - WE 3
5. เงินลงทุนโครงการ ใช้เงินรายได้ของ กสท. เอง จำนวนทั้งสิ้น 1,998 ล้านบาท
6. ความเหมาะสมทางการเงินและการลงทุน
- อัตราผลตอบแทนการลงทุน (IRR) เท่ากับ 18.93%
- อัตราส่วนตอบแทนการลงทุน (Return on Investment หรือ ROI ณ ระดับอัตราส่วนลด 12%) เท่ากับ 16.57%
- ระยะเวลาคืนทุนของโครงการ (Payback Period ณ ระดับอัตราส่วนลด 12%) เท่ากับ 12 ปี 8 เดือน
--ที่ประชุมคณะกรรมการรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ (ชุดนายบรรหาร ศิลปอาชา)--วันที่ 14 ตุลาคม 2539--
คณะกรรมการรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจอนุมัติตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ ให้การสื่อสารแห่งประเทศไทย (กสท.) ดำเนินการโครงการระบบเคเบิลใต้น้ำใยแก้วระยะที่ 4 ดังนี้
1. ดำเนินการโครงการระบบเคเบิลใต้น้ำใยแก้วระยะที่ 4 ร่วมกับภาคีสมาชิกอื่นได้ตามมติของภาคีสมาชิก
2. ลงนามในสัญญาจ้างก่อสร้างระบบเคเบิลใต้น้ำใยแก้ว SEA - ME - WE 3 โดยไม่ต้องส่งร่างสัญญาให้สำนักงานอัยการสูงสุดตรวจพิจารณาก่อน
สาระสำคัญของโครงการระบบเคเบิลใต้น้ำใยแก้วระยะที่ 4 สรุปได้ดังนี้
1. วัตถุประสงค์
1.1 เพื่อขยายข่ายสื่อสัญญาณเคเบิลใต้น้ำให้กว้างขวางยิ่งขึ้น และใช้เป็นระบบสื่อสัญญาณหลักระบบหนึ่ง สำหรับรองรับปริมาณทราฟฟิคระหว่างประเทศที่จะเพิ่มขึ้น
1.2 เพื่อพัฒนาและเสริมสร้างข่ายสื่อสัญญาณระหว่างประเทศของประเทศไทยให้มีศักยภาพทัดเทียมกับประเทศอื่น สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้โดยไม่มีข้อจำกัด สามารถให้บริการทุกรูปแบบได้อย่างต่อเนื่อง รองรับให้ทันต่อความต้องการของลูกค้า และมีคุณภาพเป็นที่ยอมรับของผู้ใช้บริการ
1.3 เพื่อสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลที่จะพัฒนาให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการให้บริการด้านสื่อสารและโทรคมนาคมในภูมิภาคนี้
1.4 เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนโครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย อินโดนีเซีย - มาเลเซีย - ไทย (แผนสามเหลี่ยมเศรษฐกิจ) เพราะระบบเคเบิลใต้น้ำใยแก้ว SEA - ME - WE 3 จะเชื่อมโยงจังหวัดสตูล กับเมืองเมดาน ประเทศอินโดนีเซียโดยตรง
2. เป้าหมาย
2.1 ดำเนินการจ้างก่อสร้างระบบเคเบิลใต้น้ำใยแก้ว SEA - ME - WE 3 ขนาดไม่ต่ำกว่า 10 Gbps (10,000 ล้านบิทต่อวินาที) ร่วมกับหน่วยงานภาคีโทรคมนาคมระหว่างประเทศ โดยใช้เทคโนโลยี SDH (Synchronous Digital Hierarchy) และ WDM (Wavelength Division Multiplex) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีใหม่ของระบบเคเบิลใต้น้ำใยแก้วในปัจจุบัน โดยในส่วนของประเทศไทยจะมีจุดขึ้นบกที่อำเภอปากบารา จังหวัดสตูล
2.2 ดำเนินการจัดหาวงจรในระบบ/ข่ายเคเบิลใต้น้ำใยแก้วอื่น ๆ เพื่อเชื่อมโยงกับระบบเคเบิลใต้น้ำใยแก้ว SEA - ME - WE 3 สำหรับการติดต่อกับต่างประเทศและสำรองระบบอื่น รวม 780 วงจร
2.3 จัดซื้ออุปกรณ์เพิ่มเติมสำหรับเชื่อมโยงในช่วงจังหวัดสตูล กับจังหวัดสงขลา และจัดซื้ออุปกรณ์ระบบสื่อสัญญาณเชื่อมโยงที่เกี่ยวข้องเพื่อเชื่อมโยงวงจร จากระบบเคเบิลใต้น้ำใยแก้ว SEA - ME - WE 3 ไปยังชุมสายโทรศัพท์ระหว่างประเทศที่บางรัก นนทบุรี และศรีราชา
3. ระยะเวลาดำเนินการ รวมทั้งสิ้น 5 ปี (พ.ศ. 2539 - 2543) โดยสามารถเริ่มใช้งานให้บริการได้ตั้งแต่ต้นปี 2542 เป็นต้นไป มีอายุการใช้งานทั้งสิ้น 25 ปี (พ.ศ. 2542 - 2566)
4. ขั้นตอนการดำเนินงาน
4.1 จ้างก่อสร้างข่ายเคเบิลใต้น้ำใยแก้ว SEA - ME - WE 3 พร้อมจัดซื้ออุปกรณ์ที่จำเป็นติดตั้งเพิ่มเติมที่สถานีเคเบิลใต้น้ำ จังหวัดสตูล โดยใช้เวลาดำเนินงาน 39 เดือน
4.2 จัดซื้ออุปกรณ์เพิ่มเติมสำหรับระบบเชื่อมโยงช่วงจังหวัดสตูล - สงขลา และอื่น ๆ โดยใช้เวลาดำเนินงาน 24 เดือน
4.3 จัดซื้อจัดหาวงจรในระบบ/ข่ายเคเบิลใต้น้ำใยแก้วอื่น ๆ เพื่อเชื่อมโยงกับระบบเคเบิลใต้น้ำใยแก้ว SEA - ME - WE 3
5. เงินลงทุนโครงการ ใช้เงินรายได้ของ กสท. เอง จำนวนทั้งสิ้น 1,998 ล้านบาท
6. ความเหมาะสมทางการเงินและการลงทุน
- อัตราผลตอบแทนการลงทุน (IRR) เท่ากับ 18.93%
- อัตราส่วนตอบแทนการลงทุน (Return on Investment หรือ ROI ณ ระดับอัตราส่วนลด 12%) เท่ากับ 16.57%
- ระยะเวลาคืนทุนของโครงการ (Payback Period ณ ระดับอัตราส่วนลด 12%) เท่ากับ 12 ปี 8 เดือน
--ที่ประชุมคณะกรรมการรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ (ชุดนายบรรหาร ศิลปอาชา)--วันที่ 14 ตุลาคม 2539--