ทำเนียบรัฐบาล--22 ก.พ.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการดำเนินการเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาโสเภณีเด็ก ระยะที่ 3 (สิงหาคม - ตุลาคม 2537) ตามที่กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมเสนอ สรุปได้ดังนี้
1. มาตรการป้องกัน
1.1 ดำเนินการจัดตั้งศูนย์สงเคราะห์และฝึกอาชีพสตรี รวม 6 แห่ง กระจายอยู่ตามภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศ ผลการดำเนินงานนับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2537 ถึงเดือนตุลาคม 2537 สามารถรับสตรีเข้ารับการฝึกอาชีพสาขาต่าง ๆ จำนวน 18 รุ่น 5,374 คน
1.2 จัดตั้งสถานฝึกอาชีพตัดผม ผลการดำเนินงานตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2537 ถึงเดือนตุลาคม 2537 สามารถรับผู้มีรายได้น้อยเข้าฝึกอบรม จำนวน 4 รุ่น 461 คน
1.3 จัดหางานให้แก่ผู้รับการสงเคราะห์และผู้สำเร็จการอบรมวิชาชีพจากหน่วยงานกองสัมมาอาชีวสงเคราะห์ ผลการดำเนินงานตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2537 ถึงเดือนตุลาคม 2537 สามารถจัดหางานให้แก่ผู้รับบริการดังกล่าวจำนวน 2,662 คน
1.4 ดำเนินการเผยแพร่ข้อมูลเอกสารต่าง ๆ เกี่ยวกับการล่อลวงหญิงอย่างต่อเนื่อง ทั้ง 76 จังหวัด ทั่วประเทศ
2. มาตรการแก้ไข จัดตั้งสถานสงเคราะห์หญิงเพื่อดำเนินการสงเคราะห์ช่วยเหลือหญิงผู้พ้นโทษจากการกระทำผิดตามพระราชบัญญัติปรามการค้าประเวณี พ.ศ. 2503 จำนวน 2 แห่ง ผลการดำเนินงานตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2537 ถึงเดือนตุลาคม 2537 สามารถให้การสงเคราะห์หญิงในสถานสงเคราะห์ จำนวน 1,759 คน
3. มาตรการสงเคราะห์และคุ้มครองสวัสดิภาพสตรี
3.1 ดำเนินการให้บริการแนะแนวให้คำปรึกษาปัญหาและใหัความช่วยเหลือสตรีที่ประสบปัญหาความเดือดร้อนต่าง ๆ ตามความเหมาะสม ผลการดำเนินงานตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2537 ถึงเดือนตุลาคม 2537 สามารถให้บริการแก่สตรี จำนวน 593 คน
3.2 ดำเนินการสงเคราะห์ด้านเงินทุนประกอบอาชีพ ผลการดำเนินงานตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2537 ถึงเดือนตุลาคม 2537 สามารถให้บริการกู้ยืมเงินทุนประกอบอาชีพ จำนวน 685 คน อนุมัตให้จำนวน 57 คน เป็นเงิน 383,900 บาท
3.3 จัดตั้งศูนย์ประสานการให้ความช่วยเหลือผู้ถูกบังคับค้าบริการทางเพศ (ศชพ.) ทั้งในส่วนกลาง(กรมประชาสงเคราะห์) และส่วนภูมิภาค (ที่ทำการประชาสงเคราะห์จังหวัดทุกจังหวัด) ผลการดำเนินงานตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2537 ถึงเดือนตุลาคม 2537 สามารถให้บริการช่วยเหลือสตรีและเยาวสตรี จำนวน 213 คน
3.4 จัดตั้งศูนย์สงเคราะห์และคุ้มครองสวัสดิภาพสตรี เพื่อให้การช่วยเหลือสตรีและเด็กที่ประสบปัญหาทางสังคมต่าง ๆ ผลการดำเนินงานตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2537 ถึงเดือนตุลาคม 2537 สามารถให้บริการแก่สตรีและเด็กจำนวน 351 คน
3.5 ดำเนินการพิจารณาขอหนังสือเดินทางไปต่างประเทศของสตรีตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2531 ให้ใช้มาตรการในการป้องกันการแสวงหาประโยชน์จากหญิงไทยที่ไปประกอบอาชีพอันเสื่อมเสียศีลธรรมในต่างประเทศ ผลการดำเนินงานตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2537 ถึงเดือนตุลาคม 2537 สามารถให้บริการแก่สตรีจำนวน 2,607 คน
4. มาตรการเร่งด่วนตามนโยบายรัฐบาล
4.1 โครงสร้างชีวิตใหม่ให้สตรีชนบท ผลการดำเนินงานตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2537 ถึงเดือนตุลาคม 2537 สามารถจัดฝึกอบรมอาชีพแก่สตรีที่เลือกอาชีพหญิงบริการและเดินทางกลับภูมิลำเนาเดิมตลอดจนเยาวชนสตรีกลุ่มเสี่ยงในเขตพื้นที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 48 รุ่น 2,067 คน
4.2 โครงการรณรงค์ต้านการค้าประเวณี ผลการดำเนินงานตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2537 ถึงเดือนตุลาคม 2537 ได้เตรียมจัดทำแผนรณรงค์ต้านการค้าประเวณีของคณะอนุกรรมการทั้ง 5 คณะ และของจังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศ
4.3 โครงการครอบครัวมั่นคง ขณะนี้การดำเนินงานอยู่ในขั้นสำรวจข้อมูลครอบครัวเป้าหมายที่ตำบลแม่เปา อำเภอพญาเม็งราย จังหวัดเชียงราย เป็นพื้นที่นำร่อง
5. มาตรการด้านกฎหมาย กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม โดยกรมประชาสงเคราะห์ได้เสนอร่าง"พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ. ...." เพื่อปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ. ปรามการค้าประเวณี พ.ศ.2503 ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัญหาโสเภณี และการค้าบริการทางเพศในปัจจุบันที่มีความสลับซับซ้อนมากขึ้น ซึ่งร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบ เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2537
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2538--
คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการดำเนินการเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาโสเภณีเด็ก ระยะที่ 3 (สิงหาคม - ตุลาคม 2537) ตามที่กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมเสนอ สรุปได้ดังนี้
1. มาตรการป้องกัน
1.1 ดำเนินการจัดตั้งศูนย์สงเคราะห์และฝึกอาชีพสตรี รวม 6 แห่ง กระจายอยู่ตามภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศ ผลการดำเนินงานนับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2537 ถึงเดือนตุลาคม 2537 สามารถรับสตรีเข้ารับการฝึกอาชีพสาขาต่าง ๆ จำนวน 18 รุ่น 5,374 คน
1.2 จัดตั้งสถานฝึกอาชีพตัดผม ผลการดำเนินงานตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2537 ถึงเดือนตุลาคม 2537 สามารถรับผู้มีรายได้น้อยเข้าฝึกอบรม จำนวน 4 รุ่น 461 คน
1.3 จัดหางานให้แก่ผู้รับการสงเคราะห์และผู้สำเร็จการอบรมวิชาชีพจากหน่วยงานกองสัมมาอาชีวสงเคราะห์ ผลการดำเนินงานตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2537 ถึงเดือนตุลาคม 2537 สามารถจัดหางานให้แก่ผู้รับบริการดังกล่าวจำนวน 2,662 คน
1.4 ดำเนินการเผยแพร่ข้อมูลเอกสารต่าง ๆ เกี่ยวกับการล่อลวงหญิงอย่างต่อเนื่อง ทั้ง 76 จังหวัด ทั่วประเทศ
2. มาตรการแก้ไข จัดตั้งสถานสงเคราะห์หญิงเพื่อดำเนินการสงเคราะห์ช่วยเหลือหญิงผู้พ้นโทษจากการกระทำผิดตามพระราชบัญญัติปรามการค้าประเวณี พ.ศ. 2503 จำนวน 2 แห่ง ผลการดำเนินงานตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2537 ถึงเดือนตุลาคม 2537 สามารถให้การสงเคราะห์หญิงในสถานสงเคราะห์ จำนวน 1,759 คน
3. มาตรการสงเคราะห์และคุ้มครองสวัสดิภาพสตรี
3.1 ดำเนินการให้บริการแนะแนวให้คำปรึกษาปัญหาและใหัความช่วยเหลือสตรีที่ประสบปัญหาความเดือดร้อนต่าง ๆ ตามความเหมาะสม ผลการดำเนินงานตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2537 ถึงเดือนตุลาคม 2537 สามารถให้บริการแก่สตรี จำนวน 593 คน
3.2 ดำเนินการสงเคราะห์ด้านเงินทุนประกอบอาชีพ ผลการดำเนินงานตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2537 ถึงเดือนตุลาคม 2537 สามารถให้บริการกู้ยืมเงินทุนประกอบอาชีพ จำนวน 685 คน อนุมัตให้จำนวน 57 คน เป็นเงิน 383,900 บาท
3.3 จัดตั้งศูนย์ประสานการให้ความช่วยเหลือผู้ถูกบังคับค้าบริการทางเพศ (ศชพ.) ทั้งในส่วนกลาง(กรมประชาสงเคราะห์) และส่วนภูมิภาค (ที่ทำการประชาสงเคราะห์จังหวัดทุกจังหวัด) ผลการดำเนินงานตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2537 ถึงเดือนตุลาคม 2537 สามารถให้บริการช่วยเหลือสตรีและเยาวสตรี จำนวน 213 คน
3.4 จัดตั้งศูนย์สงเคราะห์และคุ้มครองสวัสดิภาพสตรี เพื่อให้การช่วยเหลือสตรีและเด็กที่ประสบปัญหาทางสังคมต่าง ๆ ผลการดำเนินงานตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2537 ถึงเดือนตุลาคม 2537 สามารถให้บริการแก่สตรีและเด็กจำนวน 351 คน
3.5 ดำเนินการพิจารณาขอหนังสือเดินทางไปต่างประเทศของสตรีตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2531 ให้ใช้มาตรการในการป้องกันการแสวงหาประโยชน์จากหญิงไทยที่ไปประกอบอาชีพอันเสื่อมเสียศีลธรรมในต่างประเทศ ผลการดำเนินงานตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2537 ถึงเดือนตุลาคม 2537 สามารถให้บริการแก่สตรีจำนวน 2,607 คน
4. มาตรการเร่งด่วนตามนโยบายรัฐบาล
4.1 โครงสร้างชีวิตใหม่ให้สตรีชนบท ผลการดำเนินงานตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2537 ถึงเดือนตุลาคม 2537 สามารถจัดฝึกอบรมอาชีพแก่สตรีที่เลือกอาชีพหญิงบริการและเดินทางกลับภูมิลำเนาเดิมตลอดจนเยาวชนสตรีกลุ่มเสี่ยงในเขตพื้นที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 48 รุ่น 2,067 คน
4.2 โครงการรณรงค์ต้านการค้าประเวณี ผลการดำเนินงานตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2537 ถึงเดือนตุลาคม 2537 ได้เตรียมจัดทำแผนรณรงค์ต้านการค้าประเวณีของคณะอนุกรรมการทั้ง 5 คณะ และของจังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศ
4.3 โครงการครอบครัวมั่นคง ขณะนี้การดำเนินงานอยู่ในขั้นสำรวจข้อมูลครอบครัวเป้าหมายที่ตำบลแม่เปา อำเภอพญาเม็งราย จังหวัดเชียงราย เป็นพื้นที่นำร่อง
5. มาตรการด้านกฎหมาย กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม โดยกรมประชาสงเคราะห์ได้เสนอร่าง"พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ. ...." เพื่อปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ. ปรามการค้าประเวณี พ.ศ.2503 ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัญหาโสเภณี และการค้าบริการทางเพศในปัจจุบันที่มีความสลับซับซ้อนมากขึ้น ซึ่งร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบ เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2537
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2538--