ทำเนียบรัฐบาล--23 มิ.ย.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีพิจารณาการเร่งรัดเบิกจ่ายเงินงบประมาณประจำปี 2541 ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ เนื่องจากปัจจุบันปัญหาเรื่องสภาพคล่องเป็นปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานภาคธรุกิจเป็นอย่างมาก และสาเหตุสำคัญประการหนึ่งสืบเนื่องมาจากการเบิกจ่ายงบประมาณไม่เป็นไปด้วยความรวดเร็วตามระยะเวลาที่ควรจะเป็น ทำให้ผู้รับเหมาที่มีสัญญาผูกพันกับทางราชการ เช่น การก่อสร้าง หรือการดำเนินการต่างๆ ขาดเงินุทนหมุนเวียน ดังนั้น เพื่อให้การเบิกจ่ายเงินงบประมาณประจำปี 2541 สามารถดำเนินการได้โดยเร็วภายในไตรมาสที่ 3 คณะรัฐมนตรีจึงได้มติมอบหมายให้ทุกกระทรวง ทบวง กรม ได้ปฏิบัติ ดังต่อไปนี้
1. ให้ทุกหน่วยงานเร่งรัดตรวจรับงาน มีการตั้งเป้าหมายในการกำจัดระยะเวลาการรับงาน และกำจัดเวลาในการวางฏีกาเบิกจ่ายเงิน
2. ให้มีการซอยเงินงวดที่จะต้องชำระเหลือให้ถี่ขึ้น สำหรับปีงบประมาณ 2541 ซึ่งเป็นงบขาดดุลที่รัฐบาลได้ตั้งขึ้นไป และให้ถือเป็นแนวปฏิบัติสำหรับปีงบประมาณ 2542 ต่อไปด้วย
3. สำหรับการพิจารณาเบิกจ่ายเงินอุดหนุนให้แก่ท้องถิ่นนั้น ให้มีมาตรการผ่อนคลายไปกว่าเดิม เพื่อให้จำนวนเงินดังกล่าวไปสู่ท้องถิ่นได้เร็วขึ้น
4. สำหรับงบขาดดุล จำนวน 30,000 ล้านบาท และงบประมาณประจำปี 2542 นั้น ให้เบิกจ่ายได้ร้อยละ 15 เต็มจำนวนที่กำหนดไว้ในระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ แต่การเบิกจ่ายนั้นจะต้องมีหลักประกัน
นอกจากนี้ คณะรัฐมนตรียังได้มอบหมายให้รัฐมนนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (นายพิเชษฐ์ พันธุ์วิชาติกุล) รับไปพิจารณาติดตามผลมติคณะรัฐมนตรีนี้ ในข้อสงเกตต่างๆ ดังนี้
1. ให้ทุกหน่วยงานพิจารณาหนี้ที่แต่ละหน่วยงานยังค้างอยู่ โดยเฉพาะในส่วนของรัฐวิสาหกิจ ให้ดำเนินการชดใช้หนี้โดยเร็วที่สุด และถ้าการชำระหนี้นั้นเป็นการเบิกจ่ายเกินงบประมาณที่ได้ตั้งไว้ ก็ให้ดำเนินการเกลี่ยงบประมาณภายในองค์การนั้น เพื่อเสริมสภาพคล่องให้แก่รัฐวิสาหกิจต่างๆ ต่อไป
2. ผู้รับเหมาและผู้ประกอบการที่ได้รับช่วงงานจากภาครัฐไว้ ที่มีภาระติดพันกับบรรษัทเงินทุนหลักทรัพย์ทั้ง 56 แห่ง นั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจะได้ทำการตรวจสอบกับ ปรส. เพื่อนำรายชื่อทั้งหมดเข้าสู่กระบวนการประนอมหนึ้ต่อไป
3. ให้มีการศึกษาระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ เพื่อพิจารณาเปลี่ยนแปลงระเบียบให้ผู้รับเหมารายย่อย มีการผ่อนคลายมากกว่าผู้รับเหมารายใหญ่ โดยอาจกำหนดวงเงินเป็นเกณฑ์ สำหรับผู้รับเหมาช่วงต่อจากภาครัฐนั้น ให้ทุกกระทรวงดำเนินการตรวจสอบและรายงานกระทรวงการคลัง เพื่อพิจารณาหาแนวทางแก้ไขในภาพรวมต่อไป
4. สำหรับผู้รับเหมาและผู้ประกอบการที่มีเงินฝากในบรรษัทเงินทุนหลักทรัพย์ทั้ง 56 แห่ง กระทรวงการคลังจะเร่งดำเนินการเปลี่ยนตั๋วสัญญา (NCD) ให้เป็นตั๋วเงินที่ใช้เปลี่ยนมือได้โดยเร็วที่สุดต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 23 มิถุนายน 2541--
คณะรัฐมนตรีพิจารณาการเร่งรัดเบิกจ่ายเงินงบประมาณประจำปี 2541 ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ เนื่องจากปัจจุบันปัญหาเรื่องสภาพคล่องเป็นปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานภาคธรุกิจเป็นอย่างมาก และสาเหตุสำคัญประการหนึ่งสืบเนื่องมาจากการเบิกจ่ายงบประมาณไม่เป็นไปด้วยความรวดเร็วตามระยะเวลาที่ควรจะเป็น ทำให้ผู้รับเหมาที่มีสัญญาผูกพันกับทางราชการ เช่น การก่อสร้าง หรือการดำเนินการต่างๆ ขาดเงินุทนหมุนเวียน ดังนั้น เพื่อให้การเบิกจ่ายเงินงบประมาณประจำปี 2541 สามารถดำเนินการได้โดยเร็วภายในไตรมาสที่ 3 คณะรัฐมนตรีจึงได้มติมอบหมายให้ทุกกระทรวง ทบวง กรม ได้ปฏิบัติ ดังต่อไปนี้
1. ให้ทุกหน่วยงานเร่งรัดตรวจรับงาน มีการตั้งเป้าหมายในการกำจัดระยะเวลาการรับงาน และกำจัดเวลาในการวางฏีกาเบิกจ่ายเงิน
2. ให้มีการซอยเงินงวดที่จะต้องชำระเหลือให้ถี่ขึ้น สำหรับปีงบประมาณ 2541 ซึ่งเป็นงบขาดดุลที่รัฐบาลได้ตั้งขึ้นไป และให้ถือเป็นแนวปฏิบัติสำหรับปีงบประมาณ 2542 ต่อไปด้วย
3. สำหรับการพิจารณาเบิกจ่ายเงินอุดหนุนให้แก่ท้องถิ่นนั้น ให้มีมาตรการผ่อนคลายไปกว่าเดิม เพื่อให้จำนวนเงินดังกล่าวไปสู่ท้องถิ่นได้เร็วขึ้น
4. สำหรับงบขาดดุล จำนวน 30,000 ล้านบาท และงบประมาณประจำปี 2542 นั้น ให้เบิกจ่ายได้ร้อยละ 15 เต็มจำนวนที่กำหนดไว้ในระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ แต่การเบิกจ่ายนั้นจะต้องมีหลักประกัน
นอกจากนี้ คณะรัฐมนตรียังได้มอบหมายให้รัฐมนนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (นายพิเชษฐ์ พันธุ์วิชาติกุล) รับไปพิจารณาติดตามผลมติคณะรัฐมนตรีนี้ ในข้อสงเกตต่างๆ ดังนี้
1. ให้ทุกหน่วยงานพิจารณาหนี้ที่แต่ละหน่วยงานยังค้างอยู่ โดยเฉพาะในส่วนของรัฐวิสาหกิจ ให้ดำเนินการชดใช้หนี้โดยเร็วที่สุด และถ้าการชำระหนี้นั้นเป็นการเบิกจ่ายเกินงบประมาณที่ได้ตั้งไว้ ก็ให้ดำเนินการเกลี่ยงบประมาณภายในองค์การนั้น เพื่อเสริมสภาพคล่องให้แก่รัฐวิสาหกิจต่างๆ ต่อไป
2. ผู้รับเหมาและผู้ประกอบการที่ได้รับช่วงงานจากภาครัฐไว้ ที่มีภาระติดพันกับบรรษัทเงินทุนหลักทรัพย์ทั้ง 56 แห่ง นั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจะได้ทำการตรวจสอบกับ ปรส. เพื่อนำรายชื่อทั้งหมดเข้าสู่กระบวนการประนอมหนึ้ต่อไป
3. ให้มีการศึกษาระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ เพื่อพิจารณาเปลี่ยนแปลงระเบียบให้ผู้รับเหมารายย่อย มีการผ่อนคลายมากกว่าผู้รับเหมารายใหญ่ โดยอาจกำหนดวงเงินเป็นเกณฑ์ สำหรับผู้รับเหมาช่วงต่อจากภาครัฐนั้น ให้ทุกกระทรวงดำเนินการตรวจสอบและรายงานกระทรวงการคลัง เพื่อพิจารณาหาแนวทางแก้ไขในภาพรวมต่อไป
4. สำหรับผู้รับเหมาและผู้ประกอบการที่มีเงินฝากในบรรษัทเงินทุนหลักทรัพย์ทั้ง 56 แห่ง กระทรวงการคลังจะเร่งดำเนินการเปลี่ยนตั๋วสัญญา (NCD) ให้เป็นตั๋วเงินที่ใช้เปลี่ยนมือได้โดยเร็วที่สุดต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 23 มิถุนายน 2541--