ทำเนียบรัฐบาล--2 พ.ย.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการดำเนินงานของสำนักงานประกันสังคมปี 2536 ตามที่กระทรวง แรงงานและสวัสดิการสังคมเสนอ โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
สำนักงานประกันสังคม มีหน้าที่รับผิดชอบในการบริหารงาน 2 กองทุน คือ กองทุนประกัน สังคม ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 และกองทุนเงินทดแทนตามพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537 โดยให้ความคุ้มครองแก่ลูกจ้างผู้ประกันตน ที่อยู่ในสถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 10 คนขึ้นไปทั่วราชอาณาจักร ในกรณีที่มีการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยทุพพลภาพและเสียชีวิต อันไม่เนื่อง มาจากการทำงาน และเนื่องจากการทำงาน ตลอดจนการคลอดบุตร การสงเคราะห์บุตร การชราภาพ และการว่างงาน ทั้งนี้ ด้วยการดำเนิน การจัดเก็บเงินสมทบเพื่อนำมาจ่ายเป็นประโยชน์ทดแทนให้แก่ ลูกจ้าง ผู้ประกันตนเมื่อต้องประสบกับสภาวะการณ์ดังกล่าว ดังนี้
1. กองทุนประกันสังคม
ในระยะแรกจะคุ้มครอง 4 กรณี คือ การประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ เสียชีวิต ที่ไม่เนื่องมาจากการทำงาน และการคลอดบุตร โดยจัดเก็บเงินสมทบจากนายจ้าง ลูกจ้าง และรัฐบาล ฝ่ายละเท่า ๆ กัน ในอัตราร้อยละ 1.5 ของค่าจ้างต่อเดือน ซึ่งมีผลการดำเนินงานปี 2536 โดยสรุป ดังนี้
1) จำนวนสถานประกอบการ 55,623 แห่ง
2) จำนวนลูกจ้างผู้ประกันตน 4.62 ล้านคน
3) จำนวนเงินสมทบที่จัดเก็บได้ 8,331.54 ล้านบาท
4) จำนวนเงินที่จ่ายประโยชน์ทดแทน 2,644.42 ล้านบาท
ให้กับผู้ประกันตน
อัตราการจ่ายประโยชน์ทดแทน 32% ของเงินสมทบ
5) จำนวนผู้มารับบริการ 3.16 ล้านราย
อัตราการรับบริการ 68% ของผู้ประกันตน
งบดุลกองทุนประกันสังคม ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2536 กองทุนฯ มีสินทรัพย์ทั้งสิ้น 13,550.98 ล้านบาท สินทรัพย์ส่วนใหญ่เป็นเงินฝากธนาคารประจำ 11,631.67 ล้านบาท หรือคิดเป็น ร้อยละ 85.84 ของสินทรัพย์ทั้งหมด รองลงมาได้แก่ เงินสดและเงินฝากธนาคาร 1,311.49 ล้านบาท เงินลงทุนในพันธบัตร 600 ล้านบาท ที่เหลือเป็นเงินระหว่างทางและลูกหนี้เช็คขัดข้อง 7.81 ล้านบาท สำหรับหนี้สินและทุน ปรากฏว่า กองทุนฯ มีทุนทั้งหมด 13,550.75 ล้านบาท และมีหนี้สิน 0.23 ล้านบาท
2. กองทุนเงินทดแทน
ให้ความคุ้มครองแก่ลูกจ้างที่ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลลาพ และเสียชีวิตที่เนื่องมา จากการทำงาน โดยจัดเก็บเงินสมทบจากนายจ้างเพียงฝ่ายเดียว ในอัตราระหว่างร้อยละ 0.2-2.0 ของค่าจ้างต่อปี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเสี่ยงของประเภทกิจการนั้น ๆ ผลการดำเนินงานปี 2536 โดยสรุปมี ดังนี้
1) จำนวนเงินสมทบที่จัดเก็บได้ 921.36 ล้านบาท
2) จำนวนเงินทดแทนที่จ่าย 926.51 ล้านบาท
ให้กับลูกจ้างที่ประสบอันตรายฯ
อัตราการจ่ายเงินทดแทน 100.56% ของเงินสมทบ
3) จำนวนลูกจ้างที่ประสบอันตราย 156,548 ราย
หรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน
คิดเป็นร้อยละ 4.76% ของลูกจ้างในข่ายคุ้มครอง
งบดุลกองทุนเงินทดแทน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2536 กองทุนฯ มีสินทรัพย์ทั้งหมด 6,052.85 ล้านบาท สินทรัพย์ส่วนใหญ่เป็นเงินสด เงินฝากธนาคาร 5,844.46 ล้านบาท หรือคิดเป็น ร้อยละ 96.56 ของสินทรัพย์ทั้งหมด รองลงมาได้แก่ ดอกเบี้ยค้างรับ 186.24 ล้านบาท ลูกหนี้ 20.40 ล้านบาท และค่าทดแทนจ่ายผ่านธนาคาร 1.75 ล้านบาท กองทุนฯ มีหนี้สินทั้งหมด 2,024.40 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นเงินสำรองเงินทดแทน สำหรับการประสบอันตรายที่เกิดขึ้นแล้ว 1,977.33 ล้านบาท ที่ เหลือได้แก่ เงินฝากจากนายจ้าง เงินสมทบรับล่วงหน้า เจ้าหนี้ เงินมัดจำจากนายจ้าง และเงินรอจ่าย คืน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 1 พฤศจิกายน 2537--
คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการดำเนินงานของสำนักงานประกันสังคมปี 2536 ตามที่กระทรวง แรงงานและสวัสดิการสังคมเสนอ โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
สำนักงานประกันสังคม มีหน้าที่รับผิดชอบในการบริหารงาน 2 กองทุน คือ กองทุนประกัน สังคม ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 และกองทุนเงินทดแทนตามพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537 โดยให้ความคุ้มครองแก่ลูกจ้างผู้ประกันตน ที่อยู่ในสถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 10 คนขึ้นไปทั่วราชอาณาจักร ในกรณีที่มีการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยทุพพลภาพและเสียชีวิต อันไม่เนื่อง มาจากการทำงาน และเนื่องจากการทำงาน ตลอดจนการคลอดบุตร การสงเคราะห์บุตร การชราภาพ และการว่างงาน ทั้งนี้ ด้วยการดำเนิน การจัดเก็บเงินสมทบเพื่อนำมาจ่ายเป็นประโยชน์ทดแทนให้แก่ ลูกจ้าง ผู้ประกันตนเมื่อต้องประสบกับสภาวะการณ์ดังกล่าว ดังนี้
1. กองทุนประกันสังคม
ในระยะแรกจะคุ้มครอง 4 กรณี คือ การประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ เสียชีวิต ที่ไม่เนื่องมาจากการทำงาน และการคลอดบุตร โดยจัดเก็บเงินสมทบจากนายจ้าง ลูกจ้าง และรัฐบาล ฝ่ายละเท่า ๆ กัน ในอัตราร้อยละ 1.5 ของค่าจ้างต่อเดือน ซึ่งมีผลการดำเนินงานปี 2536 โดยสรุป ดังนี้
1) จำนวนสถานประกอบการ 55,623 แห่ง
2) จำนวนลูกจ้างผู้ประกันตน 4.62 ล้านคน
3) จำนวนเงินสมทบที่จัดเก็บได้ 8,331.54 ล้านบาท
4) จำนวนเงินที่จ่ายประโยชน์ทดแทน 2,644.42 ล้านบาท
ให้กับผู้ประกันตน
อัตราการจ่ายประโยชน์ทดแทน 32% ของเงินสมทบ
5) จำนวนผู้มารับบริการ 3.16 ล้านราย
อัตราการรับบริการ 68% ของผู้ประกันตน
งบดุลกองทุนประกันสังคม ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2536 กองทุนฯ มีสินทรัพย์ทั้งสิ้น 13,550.98 ล้านบาท สินทรัพย์ส่วนใหญ่เป็นเงินฝากธนาคารประจำ 11,631.67 ล้านบาท หรือคิดเป็น ร้อยละ 85.84 ของสินทรัพย์ทั้งหมด รองลงมาได้แก่ เงินสดและเงินฝากธนาคาร 1,311.49 ล้านบาท เงินลงทุนในพันธบัตร 600 ล้านบาท ที่เหลือเป็นเงินระหว่างทางและลูกหนี้เช็คขัดข้อง 7.81 ล้านบาท สำหรับหนี้สินและทุน ปรากฏว่า กองทุนฯ มีทุนทั้งหมด 13,550.75 ล้านบาท และมีหนี้สิน 0.23 ล้านบาท
2. กองทุนเงินทดแทน
ให้ความคุ้มครองแก่ลูกจ้างที่ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลลาพ และเสียชีวิตที่เนื่องมา จากการทำงาน โดยจัดเก็บเงินสมทบจากนายจ้างเพียงฝ่ายเดียว ในอัตราระหว่างร้อยละ 0.2-2.0 ของค่าจ้างต่อปี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเสี่ยงของประเภทกิจการนั้น ๆ ผลการดำเนินงานปี 2536 โดยสรุปมี ดังนี้
1) จำนวนเงินสมทบที่จัดเก็บได้ 921.36 ล้านบาท
2) จำนวนเงินทดแทนที่จ่าย 926.51 ล้านบาท
ให้กับลูกจ้างที่ประสบอันตรายฯ
อัตราการจ่ายเงินทดแทน 100.56% ของเงินสมทบ
3) จำนวนลูกจ้างที่ประสบอันตราย 156,548 ราย
หรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน
คิดเป็นร้อยละ 4.76% ของลูกจ้างในข่ายคุ้มครอง
งบดุลกองทุนเงินทดแทน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2536 กองทุนฯ มีสินทรัพย์ทั้งหมด 6,052.85 ล้านบาท สินทรัพย์ส่วนใหญ่เป็นเงินสด เงินฝากธนาคาร 5,844.46 ล้านบาท หรือคิดเป็น ร้อยละ 96.56 ของสินทรัพย์ทั้งหมด รองลงมาได้แก่ ดอกเบี้ยค้างรับ 186.24 ล้านบาท ลูกหนี้ 20.40 ล้านบาท และค่าทดแทนจ่ายผ่านธนาคาร 1.75 ล้านบาท กองทุนฯ มีหนี้สินทั้งหมด 2,024.40 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นเงินสำรองเงินทดแทน สำหรับการประสบอันตรายที่เกิดขึ้นแล้ว 1,977.33 ล้านบาท ที่ เหลือได้แก่ เงินฝากจากนายจ้าง เงินสมทบรับล่วงหน้า เจ้าหนี้ เงินมัดจำจากนายจ้าง และเงินรอจ่าย คืน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 1 พฤศจิกายน 2537--