ทำเนียบรัฐบาล--1 พ.ย.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาได้เสนอข้อสังเกตและข้อเสนอแนะ ตามรายงานของคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาวิเคราะห์และพิจารณาความเหมาะสมของแนวทางความ เป็นไปได้ในการโยกย้ายส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจไปตั้งที่ทำการนอกกรุงเทพมหานคร เพื่อประสิทธิ ภาพการทำงานและการดำรงชีวิตที่ดีขึ้น เรื่อง การโยกย้ายหน่วยราชการและรัฐวิสาหกิจไปตั้งที่ทำ การนอก กรุงเทพมหานคร แล้วมอบให้คณะกรรมการจัดระบบสถานที่ราชการรับไปพิจารณา ซึ่งสรุปได้ดัง นี้
1. คณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ได้พิจารณาศึกษาและรวบรวมข้อมูลจากพื้นที่ต่าง ๆ รวม 4 แห่ง คือ พื้นที่บริเวณอำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม พื้นที่บริเวณอำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิง เทรา พื้นที่บริเวณกิ่ง อำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา และพื้นที่บริเวณอำเภอองครักษ์ จังหวัด นครนายก
2. คณะกรรมาธิการวิสามัญฯ มีข้อสังเกตและข้อเสนอแนะ ดังนี้
2.1 คณะกรรมาธิการวิสามัญฯ เห็นพ้องด้วยในหลักการที่จะโยกย้ายที่ตั้งของสถานที่ราช การและรัฐวิสาหกิจบางส่วนออกไปนอกเขตกรุงเทพมหานคร เพื่อบรรเทาปัญหาต่าง ๆ ซึ่งจำเป็น อย่างยิ่งที่จะต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน
2.2 พิจารณาโดยยึดหลักการที่สำคัญ คือ กรุงเทพมหานครยังคงเป็นเมืองหลวงของประ เทศ และศูนย์กลางบริหารประเทศที่สำคัญ คือ ทำเนียบรัฐบาลยังคงตั้งอยู่ในที่ตั้งเดิม ดังนั้น หน่วย ราชการบางส่วนที่จะโยกย้ายไปนั้น ควรกระทำในลักษณะของเมืองบริวาร
2.3 ในการจัดหาที่ดินควรพิจารณาจัดหาพื้นที่จากที่ดินของรัฐก่อน หากไม่มีหรือมีแต่ไม่ เพียงพอจึงใช้วิธีซื้อหรือเวนคืนที่ดินของราษฎร
2.4 ในการนำพื้นที่บริเวณต่าง ๆ มาใช้ประโยชน์นั้น ถ้าจะมีผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมทั้ง ทางด้านธรรมชาติและวัฒนธรรมของชุมชนบริเวณนั้น ๆ ก็ขอให้มีน้อยที่สุด
2.5 การเลือกสถานที่ที่จะใช้ ควรเลือกสถานที่เพียงแห่งเดียว แต่หากไม่สามารถกระทำ ได้ ก็อย่าให้มีมากเกินสามแห่ง เพราะก่อให้เกิดความลำบากยุ่งยากแก่ประชาชนที่ต้องติดต่อราชการ แก่ข้าราชการหรือพนักงานที่ปฏิบัติงาน นอกจากนั้น รัฐควรจะคำนึงถึงครอบครัวของข้าราชการดัง กล่าวด้วย
2.6 ในการพิจารณาคัดเลือกพื้นที่ดังได้เสนอไว้ 4 แห่ง นั้น ประเด็นสำคัญที่ควรพิจารณา คือ ความพร้อมด้านสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ การเลือกพื้นที่ที่อยู่ในรัศมีที่สามารถจะพัฒนาระบบสา ธารณูปโภคและสาธารณูปการที่มีอยู่แล้วจะเป็นการลงทุนที่ถูกกว่ามาก ทั้งนี้ เพื่อรัฐจะได้ไม่ต้องรับภาระ การลงทุนมากเกินควร
2.7 รัฐควรต้องพิจารณาจัดลำดับความจำเป็นและความเหมาะสมว่าส่วนราชการหรือรัฐวิ สาหกิจใดควรย้ายก่อนหลัง
2.8 หากรัฐบาลตัดสินใจเป็นที่แน่นอนแล้วว่าจะใช้พื้นที่ใดจัดสร้างเป็นเมืองศูนย์ราชการควร เร่งประชาสัมพันธ์ทุกรูปแบบเพื่อให้ประชาชนทราบถึงความจำเป็นและประโยชน์เสียแต่เนิ่น ๆ
2.9 อุปสรรคสำคัญคงจะอยู่ที่การร้องเรียนคัดค้านของราษฎรที่เข้าไปอาศัยอยู่ในที่ดินที่จะ สร้างเป็นศูนย์ราชการและเมืองใหม่ การจะให้ย้ายออกไปจำเป็นต้องจัดหาสถานที่ให้แทน ซึ่งควรกำ หนดไว้เป็นส่วนหนึ่งในแผนดำเนินงานโดยเป็นแผนที่สามารถปฏิบัติได้
2.10 ควรกำหนดมาตรการในการป้องกันมิให้เกิดการซื้อที่ดินไว้ขายเก็งกำไรในบริเวณพื้น ที่ที่ใกล้เคียงกับที่จะสร้างศูนย์ราชการเและเมืองใหม่
2.11 เนื่องจากต้องมีการลงทุนด้วยจำนวนเงินที่สูงมาก รัฐบาลจึงควรเปิดโอกาสให้ภาค เอกชนเข้าร่วมลงทุน เพื่อพัฒนาพื้นที่และก่อสร้างอาคารสถานที่ราชการ โดยให้ประโยชน์ตอบแทนใน ทางการพาณิชย์แก่ทางราชการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายบรรหาร ศิลปอาชา)--วันที่ 31 ตุลาคม 2538--
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาได้เสนอข้อสังเกตและข้อเสนอแนะ ตามรายงานของคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาวิเคราะห์และพิจารณาความเหมาะสมของแนวทางความ เป็นไปได้ในการโยกย้ายส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจไปตั้งที่ทำการนอกกรุงเทพมหานคร เพื่อประสิทธิ ภาพการทำงานและการดำรงชีวิตที่ดีขึ้น เรื่อง การโยกย้ายหน่วยราชการและรัฐวิสาหกิจไปตั้งที่ทำ การนอก กรุงเทพมหานคร แล้วมอบให้คณะกรรมการจัดระบบสถานที่ราชการรับไปพิจารณา ซึ่งสรุปได้ดัง นี้
1. คณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ได้พิจารณาศึกษาและรวบรวมข้อมูลจากพื้นที่ต่าง ๆ รวม 4 แห่ง คือ พื้นที่บริเวณอำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม พื้นที่บริเวณอำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิง เทรา พื้นที่บริเวณกิ่ง อำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา และพื้นที่บริเวณอำเภอองครักษ์ จังหวัด นครนายก
2. คณะกรรมาธิการวิสามัญฯ มีข้อสังเกตและข้อเสนอแนะ ดังนี้
2.1 คณะกรรมาธิการวิสามัญฯ เห็นพ้องด้วยในหลักการที่จะโยกย้ายที่ตั้งของสถานที่ราช การและรัฐวิสาหกิจบางส่วนออกไปนอกเขตกรุงเทพมหานคร เพื่อบรรเทาปัญหาต่าง ๆ ซึ่งจำเป็น อย่างยิ่งที่จะต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน
2.2 พิจารณาโดยยึดหลักการที่สำคัญ คือ กรุงเทพมหานครยังคงเป็นเมืองหลวงของประ เทศ และศูนย์กลางบริหารประเทศที่สำคัญ คือ ทำเนียบรัฐบาลยังคงตั้งอยู่ในที่ตั้งเดิม ดังนั้น หน่วย ราชการบางส่วนที่จะโยกย้ายไปนั้น ควรกระทำในลักษณะของเมืองบริวาร
2.3 ในการจัดหาที่ดินควรพิจารณาจัดหาพื้นที่จากที่ดินของรัฐก่อน หากไม่มีหรือมีแต่ไม่ เพียงพอจึงใช้วิธีซื้อหรือเวนคืนที่ดินของราษฎร
2.4 ในการนำพื้นที่บริเวณต่าง ๆ มาใช้ประโยชน์นั้น ถ้าจะมีผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมทั้ง ทางด้านธรรมชาติและวัฒนธรรมของชุมชนบริเวณนั้น ๆ ก็ขอให้มีน้อยที่สุด
2.5 การเลือกสถานที่ที่จะใช้ ควรเลือกสถานที่เพียงแห่งเดียว แต่หากไม่สามารถกระทำ ได้ ก็อย่าให้มีมากเกินสามแห่ง เพราะก่อให้เกิดความลำบากยุ่งยากแก่ประชาชนที่ต้องติดต่อราชการ แก่ข้าราชการหรือพนักงานที่ปฏิบัติงาน นอกจากนั้น รัฐควรจะคำนึงถึงครอบครัวของข้าราชการดัง กล่าวด้วย
2.6 ในการพิจารณาคัดเลือกพื้นที่ดังได้เสนอไว้ 4 แห่ง นั้น ประเด็นสำคัญที่ควรพิจารณา คือ ความพร้อมด้านสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ การเลือกพื้นที่ที่อยู่ในรัศมีที่สามารถจะพัฒนาระบบสา ธารณูปโภคและสาธารณูปการที่มีอยู่แล้วจะเป็นการลงทุนที่ถูกกว่ามาก ทั้งนี้ เพื่อรัฐจะได้ไม่ต้องรับภาระ การลงทุนมากเกินควร
2.7 รัฐควรต้องพิจารณาจัดลำดับความจำเป็นและความเหมาะสมว่าส่วนราชการหรือรัฐวิ สาหกิจใดควรย้ายก่อนหลัง
2.8 หากรัฐบาลตัดสินใจเป็นที่แน่นอนแล้วว่าจะใช้พื้นที่ใดจัดสร้างเป็นเมืองศูนย์ราชการควร เร่งประชาสัมพันธ์ทุกรูปแบบเพื่อให้ประชาชนทราบถึงความจำเป็นและประโยชน์เสียแต่เนิ่น ๆ
2.9 อุปสรรคสำคัญคงจะอยู่ที่การร้องเรียนคัดค้านของราษฎรที่เข้าไปอาศัยอยู่ในที่ดินที่จะ สร้างเป็นศูนย์ราชการและเมืองใหม่ การจะให้ย้ายออกไปจำเป็นต้องจัดหาสถานที่ให้แทน ซึ่งควรกำ หนดไว้เป็นส่วนหนึ่งในแผนดำเนินงานโดยเป็นแผนที่สามารถปฏิบัติได้
2.10 ควรกำหนดมาตรการในการป้องกันมิให้เกิดการซื้อที่ดินไว้ขายเก็งกำไรในบริเวณพื้น ที่ที่ใกล้เคียงกับที่จะสร้างศูนย์ราชการเและเมืองใหม่
2.11 เนื่องจากต้องมีการลงทุนด้วยจำนวนเงินที่สูงมาก รัฐบาลจึงควรเปิดโอกาสให้ภาค เอกชนเข้าร่วมลงทุน เพื่อพัฒนาพื้นที่และก่อสร้างอาคารสถานที่ราชการ โดยให้ประโยชน์ตอบแทนใน ทางการพาณิชย์แก่ทางราชการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายบรรหาร ศิลปอาชา)--วันที่ 31 ตุลาคม 2538--