การปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติในการค้ำประกันสินเชื่อโครงการ Portfolio Guarantee Scheme ระยะที่ 5

ข่าวการเมือง Tuesday July 14, 2015 18:57 —มติคณะรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ ดังนี้

1. อนุมัติการปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติในการค้ำประกันสินเชื่อโครงการ Portfolio Guarantee Scheme (PGS) ระยะที่ 5

2. อนุมัติวงเงินงบประมาณเพื่อดำเนินการตามโครงการ PGS ระยะที่ 5 เพิ่มเติมอีกจำนวน 3,805 ล้านบาท และให้บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เบิกจ่ายตามภาระที่เกิดขึ้นจริงโดยทำความ ตกลงกับสำนักงบประมาณ (สงป.) ต่อไป

สาระสำคัญของเรื่อง

กค. รายงานว่า

1. ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 8 มกราคม 2556 เห็นชอบมาตรการการคลังและการเงินเพื่อบรรเทาผลกระทบจากการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ และเพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ตามโครงการค้ำประกันสินเชื่อ PGS ระยะที่ 5 และคณะรักษาความสงบแห่งชาติได้มีมติ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2557 เห็นชอบหลักเกณฑ์มาตรการรับภาระค่าธรรมเนียมแทนผู้ประกอบการในโครงการ PGS ระยะที่ 5 ในปีแรกวงเงิน 55,000 ล้านบาท โดยให้ บสย. เบิกจ่ายตามภาระที่เกิดขึ้นจริง รวมทั้งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2558 เห็นชอบมาตรการเพิ่มวงเงินที่รัฐชำระค่าธรรมเนียมค้ำประกันสินเชื่อแทนผู้ประกอบการ SMEs ที่ให้ บสย. ค้ำประกันสินเชื่อผ่านโครงการ PGS ระยะที่ 5 เพิ่มอีกจำนวน 50,000 ล้านบาท และอนุมัติวงเงินงบประมาณชดเชยค่าธรรมเนียมจำนวนไม่เกิน 875 ล้านบาท โดยให้ บสย. เบิกจ่ายตามภาระที่เกิดขึ้นจริงไปแล้ว นั้น กค. ได้ดำเนินการปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติในการค้ำประกันสินเชื่อโครงการ PGS ระยะที่ 5 เฉพาะในส่วนของเงื่อนไขโครงการ PGS ระยะที่ 5 ดังนี้

1. กำหนดกรอบวงเงินค้ำประกันตามเงื่อนไขเดิมของโครงการ PGS ระยะที่ 5 ไว้ที่จำนวน 20,000 ล้านบาท (รัฐบาลเป็นผู้รับภาระค่าธรรมเนียมแทนผู้ประกอบการ SMEs ในปีแรก)

2. กค. ได้ดำเนินการปรับเงื่อนไขโครงการ PGS ระยะที่ 5 ในวงเงินส่วนที่เหลือ ดังนี้

โครงการค้ำประกันสินเชื่อ Portfolio Guarantee Scheme ระยะที่ 5
รายการ                          หลักเกณฑ์/เงื่อนไขเดิม                                                 ขอปรับปรุงใหม่
คุณสมบัติผู้ขอค้ำประกัน               1) เป็นSMEsที่มีสินทรัพย์ถาวรไม่รวมที่ดินไม่เกิน 200 ล้านบาท                     1) เป็นSMEsที่มีสินทรัพย์ถาวรไม่
                               2) เป็นSMEsประเภทบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่มีสัญชาติไทย                      รวมที่ดิน ไม่เกิน 200 ล้านบาท
                               3) เป็นSMEsที่ประกอบกิจการโดยชอบด้วยกฎหมาย และต้องไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดี        2) เป็นSMEsประเภทบุคคล
                               4) เป็นSMEsที่ได้รับสินเชื่อใหม่และจะต้องไม่นำไปชำระหนี้เดิมกับสถาบันการเงินผู้ให้กู้    ธรรมดา หรือนิติบุคคลที่มีสัญชาติไทย
                                                                                                  3) เป็นSMEsที่ประกอบกิจการโดย
                                                                                                  ชอบด้วยกฎหมาย และต้องไม่ขัดต่อ
                                                                                                  ศีลธรรมอันดี
                                                                                                  4) เป็นSMEsที่ได้รับสินเชื่อใหม่และ
                                                                                                  จะต้องไม่นำไปชำระหนี้เดิมกับ
                                                                                                  สถาบันการเงินผู้ให้กู้
                                                                                                  5) เป็นSMEsที่ได้รับการตรวจสอบ
                                                                                                  เครดิตบูโรแล้วเป็นลูกหนี้ปกติตาม
                                                                                                  เกณฑ์ข้อกำหนดของธนาคารแห่ง
                                                                                                  ประเทศไทย
วัตถุประสงค์ในการค้ำประกัน          เพื่อกลุ่มSMEsเริ่มประกอบธุรกิจใหม่ เพื่อให้มีโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินกู้จากระบบ         ไม่เปลี่ยนแปลง
                               สถาบันการเงินมากขึ้น
ระยะเวลาค้ำประกัน                ระยะเวลาค้ำประกันไม่เกิน 7 ปี                                           ไม่เปลี่ยนแปลง
วงเงินค้ำประกัน                   240,000 ล้านบาท                                                     ไม่เกิน 80,000 ล้านบาท(ใช้วง
                                                                                                  เงินที่เหลือจากโครงการPGS-5)
วงเงินค้ำประกันต่อราย              วงเงินสูงสุด 40 ล้านบาทต่อรายต่อสถาบันการเงิน                              ไม่เปลี่ยนแปลง
ค่าธรรมเนียมค้ำประกัน              ร้อยละ 1.75 ต่อปีของวงเงินค้ำประกันสินเชื่อ                                 ไม่เปลี่ยนแปลง
การรับภาระค่าธรรมเนียมของภาครัฐ    รัฐบาลจ่ายค่าธรรมเนียมแทนผู้ประกอบการ 1 ปีแรก(วงเงิน 55,000 และ            รัฐบาลจ่ายค่าธรรมเนียมแทนผู้
                               50,000 ล้านบาท)                                                     ประกอบการ 1 ปีแรก
การจ่ายค่าประกันชดเชยของ บสย.     จ่ายค่าประกันชดเชยกรณีที่เป็นNPGsทั้งโครงการรวมทั้งสิ้นไม่เกินร้อยละ 18            จ่ายค่าประกันชดเชยกรณีที่เป็น
                               ของวงเงินค้ำประกันรวมและจ่ายค่าประกันชดเชยตามภาระค้ำประกันSMEsแต่ละราย      NPGsทั้งโครงการรวมทั้งสิ้นไม่เกิน
                               (Coverage Ratio per SMEs)  เป็นสัดส่วนร้อยละของภาระค้ำประกัน             ร้อยละ 30 ของวงเงินค้ำประกัน
                                                                                                  รวมและ จ่ายค่าประกันชดเชยตาม
                                                                                                  ภาระค้ำ70ของภาระค้ำประกัน
                                                                                                  (สถาบันการเงินที่เข้าร่วมโครงการรับ
                                                                                                  ภาระในส่วนร้อยละ 30 ที่เหลือ)
ระยะเวลาดำเนินโครงการ           สิ้นสุดระยะเวลารับคำขอค้ำประกัน วันที่ 31 ธันวาคม 2558                       สิ้นสุดระยะเวลารับคำขอค้ำประกัน
                                                                                                  วันที่ 31 ธันวาคม 2559
การชดเชยจากรัฐบาล               1) ชดเชยค่าธรรมเนียมค้ำประกันอัตราร้อยละ 1.75 ต่อปี 1 ปีแรก                 1) ชดเชยค่าธรรมเนียมค้ำประกันอัตรา
                              (วงเงิน 55,000 ล้านบาท) เป็นเงิน จำนวน926.5 ล้านบาท                      ร้อยละ 1.75 ต่อปี 1 ปีแรกเป็นเงิน
                               2) ชดเชยค่าธรรมเนียมค้ำประกันอัตราร้อยละ 1.75 ต่อปี 1 ปีแรก                 จำนวน1,400 ล้านบาท
                               (วงเงิน 50,000) ล้านบาท) เป็นเงิน จำนวน 875 ล้านบาท                     2) ชดเชยการจ่ายค่าประกันชดเชยตลอด
                               3) ชดเชยการจ่ายค่าประกันชดเชยตลอดอายุโครงการเป็นเงินจำนวน13,800 ล้านบาท   อายุโครงการเป็นเงินจำนวน7,000 ล้านบาท

(ทั้งนี้ เงื่อนไขที่ปรับปรุงใหม่กำหนดให้ธนาคารที่เข้าร่วมโครงการคิดอัตราดอกเบี้ยให้กับผู้ประกอบการในอัตราไม่เกิน MLR + 2)

--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 14 กรกฏาคม 2558--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ