คณะรัฐมนตรี พิจารณาแผนการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2548 —2551 ตามที่คณะกรรมการจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดินเสนอ แล้วมีมติ ดังนี้
1. เห็นชอบแผนการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2548 — 2551 และให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
2. ให้ส่วนราชการนำแผนการบริหารราชการแผ่นดินพ.ศ. 2548 — 2551 ไปใช้เป็นแนวทางในการจัดทำแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี ให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 13 มิถุนายน 2548 โดยให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (สลน.) สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) สำนักงบประมาณ (สงป.) สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) จัดประชุมชี้แจงแนวทางการจัดทำแผนปฎิบัติราชการฯ แก่ส่วนราชการต่อไป
พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 มาตรา 13 กำหนดให้คณะรัฐมนตรีจัดให้มีแผนการบริหารราชการแผ่นดินตลอดระยะเวลาการบริหารราชการของคณะรัฐมนตรี และให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงบประมาณ ร่วมกันจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดินเสนอคณะรัฐมนตรี ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่คณะรัฐมนตรีแถลงนโยบายต่อรัฐสภา
หน่วยงานที่รับผิดชอบในการจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2548 — 2551 ประกอบด้วย สลค. สลน. สศช. สงป. สมช. และ ก.พ.ร. ได้ร่วมกันจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2548 — 2551 เสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยมีสาระสำคัญ 3 ส่วน สรุปได้ดังนี้
1. แนวคิดและทิศทางในการบริหารประเทศ กล่าวถึง สภาพแวดล้อมและสถานการณ์ของประเทศไทย วิสัยทัศน์ และนโยบายของรัฐบาล กรอบการดำเนินงานเชิงยุทธศาสตร์ของรัฐบาล
2. ยุทธศาสตร์การบริหารราชการแผ่นดิน โดยจำแนกเป็นประเด็นยุทธศาสตร์ รวม 9 ยุทธศาสตร์
3. กลไกการนำแผนการบริหารราชการแผ่นดินไปสู่การปฏิบัติ ประกอบด้วย หน่วยงานเจ้าภาพ กฎหมายและโครงการสำคัญ งบประมาณสนับสนุนยุทธศาสตร์ และแนวทางการติดตามและประเมินผล
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 12 เมษายน 2548--จบ--
1. เห็นชอบแผนการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2548 — 2551 และให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
2. ให้ส่วนราชการนำแผนการบริหารราชการแผ่นดินพ.ศ. 2548 — 2551 ไปใช้เป็นแนวทางในการจัดทำแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี ให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 13 มิถุนายน 2548 โดยให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (สลน.) สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) สำนักงบประมาณ (สงป.) สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) จัดประชุมชี้แจงแนวทางการจัดทำแผนปฎิบัติราชการฯ แก่ส่วนราชการต่อไป
พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 มาตรา 13 กำหนดให้คณะรัฐมนตรีจัดให้มีแผนการบริหารราชการแผ่นดินตลอดระยะเวลาการบริหารราชการของคณะรัฐมนตรี และให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงบประมาณ ร่วมกันจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดินเสนอคณะรัฐมนตรี ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่คณะรัฐมนตรีแถลงนโยบายต่อรัฐสภา
หน่วยงานที่รับผิดชอบในการจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2548 — 2551 ประกอบด้วย สลค. สลน. สศช. สงป. สมช. และ ก.พ.ร. ได้ร่วมกันจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2548 — 2551 เสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยมีสาระสำคัญ 3 ส่วน สรุปได้ดังนี้
1. แนวคิดและทิศทางในการบริหารประเทศ กล่าวถึง สภาพแวดล้อมและสถานการณ์ของประเทศไทย วิสัยทัศน์ และนโยบายของรัฐบาล กรอบการดำเนินงานเชิงยุทธศาสตร์ของรัฐบาล
2. ยุทธศาสตร์การบริหารราชการแผ่นดิน โดยจำแนกเป็นประเด็นยุทธศาสตร์ รวม 9 ยุทธศาสตร์
3. กลไกการนำแผนการบริหารราชการแผ่นดินไปสู่การปฏิบัติ ประกอบด้วย หน่วยงานเจ้าภาพ กฎหมายและโครงการสำคัญ งบประมาณสนับสนุนยุทธศาสตร์ และแนวทางการติดตามและประเมินผล
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 12 เมษายน 2548--จบ--