ทำเนียบรัฐบาล--9 ก.ย.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ โดยผ่อนผันให้บริษัท ปูนซีเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน)ใช้พื้นที่ลุ่มน้ำชั้น 1 เอ 1 เอ อาร์ และ 1 บี ที่อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อขอประทานบัตรทำเหมืองแร่หินปูนเพื่ออุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ในพื้นที่ประทานเดิม เมื่อประทานบัตรนั้นสิ้นอายุลง
ทั้งนี้ ผู้ยื่นคำขอประทานบัตรจะต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมฉบับสมบูรณ์ให้สำนักนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อมพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนการอนุญาตออกประทานบัตร และในการทำเหมืองแร่ควรเว้นพื้นที่ของภูเขาด้านนอกให้คงสภาพป่าไม้เป็นแนวตลอดแนวภูเขาท่าไฟโดยรอบ เพื่อเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าและพันธุ์ไม้ และเพื่อรักษาทัศนียภาพ ทั้งนี้ เดิมกระทรวงอุตสาหกรรมได้อนุญาตประทานบัตรให้ บริษัท ปูนซีเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) จำนวน 19 แปลง ชนิดแร่หินปูนเพื่ออุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ และโคโลมิติกไลม์สโตน ที่อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช มีอายุ 25 ปีตั้งแต่วันที่ 13 พฤศจิกายน 2518 ถึงวันที่ 12 พฤศจิกายน 2543 ต่อมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติ (7 พฤศจิกายน 2532) กำหนดชั้นคุณภาพลุ่มน้ำภาคใต้กรณีที่เป็นพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอ ได้กำหนดไว้ไม่ให้มีการใช้พื้นที่ในทุกกรณี ส่วนลุ่มน้ำชั้นที่ 1 บี หากมีความจำเป็นต้องอนุญาตให้ประทานบัตรหรือต่ออายุประทานบัตรทำเหมืองแร่ ก็ให้กระทรวงอุตสาหกรรมพิจารณาเสนอคณะรัฐมนตรีเป็นราย ๆ ไป การกำหนดชั้นคุณภาพลุ่มน้ำดังกล่าว ทำให้ประทานบัตรของบริษัท ปูนซีเมนต์ไทยฯ ทั้งหมดถูกกำหนดเป็นพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอ 1 อาร์ และ 1 บี บริษัท ปูนซีเมนต์ไทยฯ จึงได้ขออนุญาตทำเหมืองแร่หินปูนเพื่ออุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ในพื้นที่เดิมต่อไปหลังจากประทานบัตรสิ้นอายุลงในปี พ.ศ. 2543 โดยขอผ่อนผันไม่ปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการใช้พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอ 1 เอ อาร์ และ 1 บี
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ)--วันที่ 9 กันยายน 2540--
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ โดยผ่อนผันให้บริษัท ปูนซีเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน)ใช้พื้นที่ลุ่มน้ำชั้น 1 เอ 1 เอ อาร์ และ 1 บี ที่อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อขอประทานบัตรทำเหมืองแร่หินปูนเพื่ออุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ในพื้นที่ประทานเดิม เมื่อประทานบัตรนั้นสิ้นอายุลง
ทั้งนี้ ผู้ยื่นคำขอประทานบัตรจะต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมฉบับสมบูรณ์ให้สำนักนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อมพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนการอนุญาตออกประทานบัตร และในการทำเหมืองแร่ควรเว้นพื้นที่ของภูเขาด้านนอกให้คงสภาพป่าไม้เป็นแนวตลอดแนวภูเขาท่าไฟโดยรอบ เพื่อเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าและพันธุ์ไม้ และเพื่อรักษาทัศนียภาพ ทั้งนี้ เดิมกระทรวงอุตสาหกรรมได้อนุญาตประทานบัตรให้ บริษัท ปูนซีเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) จำนวน 19 แปลง ชนิดแร่หินปูนเพื่ออุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ และโคโลมิติกไลม์สโตน ที่อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช มีอายุ 25 ปีตั้งแต่วันที่ 13 พฤศจิกายน 2518 ถึงวันที่ 12 พฤศจิกายน 2543 ต่อมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติ (7 พฤศจิกายน 2532) กำหนดชั้นคุณภาพลุ่มน้ำภาคใต้กรณีที่เป็นพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอ ได้กำหนดไว้ไม่ให้มีการใช้พื้นที่ในทุกกรณี ส่วนลุ่มน้ำชั้นที่ 1 บี หากมีความจำเป็นต้องอนุญาตให้ประทานบัตรหรือต่ออายุประทานบัตรทำเหมืองแร่ ก็ให้กระทรวงอุตสาหกรรมพิจารณาเสนอคณะรัฐมนตรีเป็นราย ๆ ไป การกำหนดชั้นคุณภาพลุ่มน้ำดังกล่าว ทำให้ประทานบัตรของบริษัท ปูนซีเมนต์ไทยฯ ทั้งหมดถูกกำหนดเป็นพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอ 1 อาร์ และ 1 บี บริษัท ปูนซีเมนต์ไทยฯ จึงได้ขออนุญาตทำเหมืองแร่หินปูนเพื่ออุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ในพื้นที่เดิมต่อไปหลังจากประทานบัตรสิ้นอายุลงในปี พ.ศ. 2543 โดยขอผ่อนผันไม่ปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการใช้พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอ 1 เอ อาร์ และ 1 บี
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ)--วันที่ 9 กันยายน 2540--