ทำเนียบรัฐบาล--15 มิ.ย.--บิสนิวส์
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบตามที่สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนรายงานการเปลี่ยนแปลงอัตราส่วนผู้ถือหุ้น สรุปได้ดังนี้
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนได้มีนโยบายผ่อนปรนหลักเกณฑ์การร่วมทุนเพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน โดยผ่อนปรนให้ต่างชาติถือหุ้นข้างมากหรือทั้งสิ้นได้ แม้ว่าจะจำหน่ายในประเทศเป็นส่วนใหญ่ นับตั้งแต่ผ่อนปรนให้แก่โครงการที่ตั้งอยู่เขต 3 เพื่อส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศให้กระจายไปในเขต 3 มากยิ่งขึ้น เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2538 (ตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ที่ ป.5/2538 ลงวันที่ 23 พฤศจิกายน 2538) และผ่อนปรนให้แก่โครงการที่ตั้งอยู่เขต 1 หรือเขต 2ที่ดำเนินการอยู่แล้ว เพื่อเป็นการเสริมสภาพคล่อง โดยช่วยเหลือให้ผู้ได้รับการส่งเสริมสามารถเพิ่มแหล่งเงินทุนได้ แต่ทั้งนี้ต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้ถือหุ้นฝ่ายไทย เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2540 (ตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ที่ ป.10/2540 ลงวันที่3 ธันวาคม 2540)
จากการดำเนินการนโยบายดังกล่าว มีบริษัทที่ได้รับการส่งเสริมอยู่แล้ว ขอเพิ่มอัตราส่วนผู้ถือหุ้นต่างชาติเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก โดยมีผู้ได้รับอนุมัติตั้งแต่เดือนมกราคม 2540 - เดือนพฤษภาคม 2540 รวม 123 บริษัท บริษัทเหล่านี้มีสินทรัพย์รวมกันทั้งสิ้น 3 แสนล้านบาท รวมทุนจดทะเบียนเดิม 7 หมื่นล้านบาท และมีการเพิ่มทุนจดทะเบียนรวม 43 บริษัท เพื่อนำเม็ดเงินมาเสริมสภาพคล่องในการดำเนินธุรกิจ และเพื่อลดภาระต้นทุนทางด้านการเงินเนื่องจากภายใต้ภาวะปัจจุบัน การกู้เงินจากสถาบันการเงินเพื่อนำมาเสริมสภาพคล่องในการดำเนินธุรกิจต้องเผชิญกับอัตราดอกเบี้ยที่สูงมากเป็นทุนจดทะเบียนที่เพิ่มขึ้นมูลค่ารวม 1 หมื่น 1 พันล้านบาท จากการเพิ่มอัตราส่วนผู้ถือหุ้นต่างชาตินี้ จะทำให้มีเม็ดเงินจากต่างประเทศไหลเข้ามาในประเทศเพื่อเป็นเงินทุนจดทะเบียนรวม 1 หมื่น 6 พันล้านบาท และขณะนี้มีการโอนเข้ามาแล้วรวม 1 หมื่น 3 พันล้านบาท ส่วนที่เหลือจะโอนเข้ามาภายในปลายปีนี้
บริษัทที่ได้รับการส่งเสริมได้ขอเพิ่มหุ้นต่างชาติ มีจำนวนมากขึ้นเป็นลำดับ โดยในช่วงครึ่งแรกของปี 2540 มีจำนวน 14 บริษัท ครึ่งหลังของปี 2540 เมื่อประสบปัญหาการขาดสภาพคล่อง มีผู้ขอเพิ่มขึ้นเป็น 40 บริษัท ต่อมาในปี 2541 เมื่อมีการผ่อนปรนให้แก่เขต 1 และเขต 2 การขอเปลี่ยนแปลงหุ้นต่างชาติเพิ่มขึ้นเป็น 48 บริษัท ในไตรมาสแรกของปี 2541 และ 21 บริษัท ในเดือนเมษายน - พฤษภาคม 2541
เมื่อพิจารณาตามเขตที่ตั้ง พบว่าเป็นบริษัทที่ตั้งอยู่เขต 1 และเขต 2 รวม 61 บริษัท และตั้งอยู่ในเขต 3 รวม 62 บริษัทการเปลี่ยนแปลงอัตราส่วนผู้ถือหุ้นนี้ มีการเปลี่ยนแปลงจากต่างชาติถือหุ้นข้างน้อยเป็นข้างมาก ซึ่งทำให้นิติบุคคลไทยกลายเป็นต่างด้าว รวม 77 บริษัท นอกนั้นเป็นบริษัทที่เดิมต่างชาติถือหุ้นข้างมากอยู่แล้ว เนื่องจากเป็นโครงการส่งออกเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งขอเพิ่มหุ้นต่างชาติเพิ่มขึ้นอีก 38 บริษัท และมีจำนวน 8 บริษัท ที่แม้จะเพิ่มอัตราส่วนแล้ว ต่างชาติก็ยังคงถือหุ้นข้างน้อยอยู่
กิจการในหมวดยานยนต์และชิ้นส่วนเป็นกลุ่มที่มีการเปลี่ยนแปลงอัตราส่วนผู้ถือหุ้นมากที่สุด จากภาวะการชะลอตัวทางเศรษฐกิจจนกำลังซื้อยานยนต์ในประเทศลดลง ในการที่จะพยุงฐานการผลิตในประเทศไทยไว้ ผู้ผลิตจึงต้องเพิ่มหุ้นต่างชาติ และเพิ่มทุนจดทะเบียน พร้อมกับดำเนินแผนการส่งออกอย่างเป็นรูปธรรม โดยกิจการในหมวดนี้มีการเปลี่ยนแปลงหุ้นต่างชาติรวม 43 บริษัท รองลงมาได้แก่ หมวดเคมีภัณฑ์ กระดาษและพลาสติก 26 บริษัท หมวดอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า 17 บริษัท หมวดอุตสาหกรรมเบา เช่นสิ่งทอ เครื่องประดับ ของเด็กเล่น 15 บริษัท หมวดบริการและสาธารณูปโภค เช่น กิจการผลิตไฟฟ้า กิจการสนับสนุนการค้าและการลงทุน9 บริษัท หมวดโลหะขั้นมูลฐาน 7 บริษัท และหมวดผลิตผลจากการเกษตร 6 บริษัท
ญี่ปุ่นเป็นชาติที่มีการเพิ่มอัตราส่วนผู้ถือหุ้นมากที่สุด จำนวน 72 บริษัท ซึ่งจะทำให้มีเงินไหลเข้าประเทศประมาณ 6 พันล้านบาท รองลงมาคือ ไต้หวัน จำนวน 9 บริษัท ซึ่งจะทำให้มีเงินไหลเข้าประเทศประมาณ 8 ร้อยล้านบาท อันดับที่ 3 ได้แก่ อเมริกา จำนวน 8 บริษัท ซึ่งจะทำให้มีเงินไหลเข้าประเทศประมาณ 3 พัน 8 ร้อยล้านบาท
บริษัทที่มีการโอนเงินเข้าสูง ได้แก่ บริษัท เดอะโคเจนเนเรชั่น (มหาชน) จำกัด กิจการผลิตไฟฟ้า (SPP) ซึ่งได้โอนมาจากอเมริกา ประมาณ 2,000 ล้านบาท บริษัท ฮอนด้าคาร์ส แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด กิจการประกอบรถยนต์และชิ้นส่วน ซึ่งจะโอนมาจากญี่ปุ่นประมาณ 2,000 ล้านบาท บริษัท เนชั่นแนลเพาเวอร์ (ซัพพลาย) จำกัด กิจการผลิตไฟฟ้า (SSP) ซึ่งได้โอนมาจากอเมริกาประมาณ 1,140 ล้านบาท และบริษัท ทุนเท็กซ์ (ประเทศไทย) จำกัด กิจการผลิตเส้นใยสังเคราะห์ ซึ่งได้โอนมาจากไต้หวัน ประมาณ 500 ล้านบาท
บริษัทที่มีการเพิ่มทุนจดทะเบียน ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์ เช่น บริษัท โตโยต้ามอเตอร์ จำกัด เพิ่มทุนจดทะเบียนจาก 520 ล้านบาท เป็น 4,520 ล้านบาท และเพิ่มหุ้นญี่ปุ่นจากร้อยละ 60 เป็น 70 บริษัท ฮอนด้าคาร์ส แมนูแฟคเจอริ่งจำกัด เพิ่มทุนจดทะเบียนจาก 2,160 ล้านบาท เป็น 4,320 ล้านบาท และเพิ่มหุ้นญี่ปุ่นจากร้อยละ 49 เป็น 97 บริษัท คาวาซากิมอเตอร์เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด เพิ่มทุนจดทะเบียนจาก 23 ล้านบาท เป็น 700 ล้านบาท และเพิ่มหุ้นญี่ปุ่นจากร้อยละ 49 เป็น 71 และบริษัท เอ็นอีซี คอมมิวนิเคชั่น ซิสเทมส์ (ประเทศไทย) จำกัด เพิ่มทุนจดทะเบียนจาก 150 ล้านบาท เป็น 1,414 ล้านบาท และเพิ่มหุ้นญี่ปุ่นจากร้อยละ 49 เป็น 95
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 15 มิถุนายน 2541--
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบตามที่สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนรายงานการเปลี่ยนแปลงอัตราส่วนผู้ถือหุ้น สรุปได้ดังนี้
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนได้มีนโยบายผ่อนปรนหลักเกณฑ์การร่วมทุนเพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน โดยผ่อนปรนให้ต่างชาติถือหุ้นข้างมากหรือทั้งสิ้นได้ แม้ว่าจะจำหน่ายในประเทศเป็นส่วนใหญ่ นับตั้งแต่ผ่อนปรนให้แก่โครงการที่ตั้งอยู่เขต 3 เพื่อส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศให้กระจายไปในเขต 3 มากยิ่งขึ้น เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2538 (ตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ที่ ป.5/2538 ลงวันที่ 23 พฤศจิกายน 2538) และผ่อนปรนให้แก่โครงการที่ตั้งอยู่เขต 1 หรือเขต 2ที่ดำเนินการอยู่แล้ว เพื่อเป็นการเสริมสภาพคล่อง โดยช่วยเหลือให้ผู้ได้รับการส่งเสริมสามารถเพิ่มแหล่งเงินทุนได้ แต่ทั้งนี้ต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้ถือหุ้นฝ่ายไทย เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2540 (ตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ที่ ป.10/2540 ลงวันที่3 ธันวาคม 2540)
จากการดำเนินการนโยบายดังกล่าว มีบริษัทที่ได้รับการส่งเสริมอยู่แล้ว ขอเพิ่มอัตราส่วนผู้ถือหุ้นต่างชาติเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก โดยมีผู้ได้รับอนุมัติตั้งแต่เดือนมกราคม 2540 - เดือนพฤษภาคม 2540 รวม 123 บริษัท บริษัทเหล่านี้มีสินทรัพย์รวมกันทั้งสิ้น 3 แสนล้านบาท รวมทุนจดทะเบียนเดิม 7 หมื่นล้านบาท และมีการเพิ่มทุนจดทะเบียนรวม 43 บริษัท เพื่อนำเม็ดเงินมาเสริมสภาพคล่องในการดำเนินธุรกิจ และเพื่อลดภาระต้นทุนทางด้านการเงินเนื่องจากภายใต้ภาวะปัจจุบัน การกู้เงินจากสถาบันการเงินเพื่อนำมาเสริมสภาพคล่องในการดำเนินธุรกิจต้องเผชิญกับอัตราดอกเบี้ยที่สูงมากเป็นทุนจดทะเบียนที่เพิ่มขึ้นมูลค่ารวม 1 หมื่น 1 พันล้านบาท จากการเพิ่มอัตราส่วนผู้ถือหุ้นต่างชาตินี้ จะทำให้มีเม็ดเงินจากต่างประเทศไหลเข้ามาในประเทศเพื่อเป็นเงินทุนจดทะเบียนรวม 1 หมื่น 6 พันล้านบาท และขณะนี้มีการโอนเข้ามาแล้วรวม 1 หมื่น 3 พันล้านบาท ส่วนที่เหลือจะโอนเข้ามาภายในปลายปีนี้
บริษัทที่ได้รับการส่งเสริมได้ขอเพิ่มหุ้นต่างชาติ มีจำนวนมากขึ้นเป็นลำดับ โดยในช่วงครึ่งแรกของปี 2540 มีจำนวน 14 บริษัท ครึ่งหลังของปี 2540 เมื่อประสบปัญหาการขาดสภาพคล่อง มีผู้ขอเพิ่มขึ้นเป็น 40 บริษัท ต่อมาในปี 2541 เมื่อมีการผ่อนปรนให้แก่เขต 1 และเขต 2 การขอเปลี่ยนแปลงหุ้นต่างชาติเพิ่มขึ้นเป็น 48 บริษัท ในไตรมาสแรกของปี 2541 และ 21 บริษัท ในเดือนเมษายน - พฤษภาคม 2541
เมื่อพิจารณาตามเขตที่ตั้ง พบว่าเป็นบริษัทที่ตั้งอยู่เขต 1 และเขต 2 รวม 61 บริษัท และตั้งอยู่ในเขต 3 รวม 62 บริษัทการเปลี่ยนแปลงอัตราส่วนผู้ถือหุ้นนี้ มีการเปลี่ยนแปลงจากต่างชาติถือหุ้นข้างน้อยเป็นข้างมาก ซึ่งทำให้นิติบุคคลไทยกลายเป็นต่างด้าว รวม 77 บริษัท นอกนั้นเป็นบริษัทที่เดิมต่างชาติถือหุ้นข้างมากอยู่แล้ว เนื่องจากเป็นโครงการส่งออกเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งขอเพิ่มหุ้นต่างชาติเพิ่มขึ้นอีก 38 บริษัท และมีจำนวน 8 บริษัท ที่แม้จะเพิ่มอัตราส่วนแล้ว ต่างชาติก็ยังคงถือหุ้นข้างน้อยอยู่
กิจการในหมวดยานยนต์และชิ้นส่วนเป็นกลุ่มที่มีการเปลี่ยนแปลงอัตราส่วนผู้ถือหุ้นมากที่สุด จากภาวะการชะลอตัวทางเศรษฐกิจจนกำลังซื้อยานยนต์ในประเทศลดลง ในการที่จะพยุงฐานการผลิตในประเทศไทยไว้ ผู้ผลิตจึงต้องเพิ่มหุ้นต่างชาติ และเพิ่มทุนจดทะเบียน พร้อมกับดำเนินแผนการส่งออกอย่างเป็นรูปธรรม โดยกิจการในหมวดนี้มีการเปลี่ยนแปลงหุ้นต่างชาติรวม 43 บริษัท รองลงมาได้แก่ หมวดเคมีภัณฑ์ กระดาษและพลาสติก 26 บริษัท หมวดอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า 17 บริษัท หมวดอุตสาหกรรมเบา เช่นสิ่งทอ เครื่องประดับ ของเด็กเล่น 15 บริษัท หมวดบริการและสาธารณูปโภค เช่น กิจการผลิตไฟฟ้า กิจการสนับสนุนการค้าและการลงทุน9 บริษัท หมวดโลหะขั้นมูลฐาน 7 บริษัท และหมวดผลิตผลจากการเกษตร 6 บริษัท
ญี่ปุ่นเป็นชาติที่มีการเพิ่มอัตราส่วนผู้ถือหุ้นมากที่สุด จำนวน 72 บริษัท ซึ่งจะทำให้มีเงินไหลเข้าประเทศประมาณ 6 พันล้านบาท รองลงมาคือ ไต้หวัน จำนวน 9 บริษัท ซึ่งจะทำให้มีเงินไหลเข้าประเทศประมาณ 8 ร้อยล้านบาท อันดับที่ 3 ได้แก่ อเมริกา จำนวน 8 บริษัท ซึ่งจะทำให้มีเงินไหลเข้าประเทศประมาณ 3 พัน 8 ร้อยล้านบาท
บริษัทที่มีการโอนเงินเข้าสูง ได้แก่ บริษัท เดอะโคเจนเนเรชั่น (มหาชน) จำกัด กิจการผลิตไฟฟ้า (SPP) ซึ่งได้โอนมาจากอเมริกา ประมาณ 2,000 ล้านบาท บริษัท ฮอนด้าคาร์ส แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด กิจการประกอบรถยนต์และชิ้นส่วน ซึ่งจะโอนมาจากญี่ปุ่นประมาณ 2,000 ล้านบาท บริษัท เนชั่นแนลเพาเวอร์ (ซัพพลาย) จำกัด กิจการผลิตไฟฟ้า (SSP) ซึ่งได้โอนมาจากอเมริกาประมาณ 1,140 ล้านบาท และบริษัท ทุนเท็กซ์ (ประเทศไทย) จำกัด กิจการผลิตเส้นใยสังเคราะห์ ซึ่งได้โอนมาจากไต้หวัน ประมาณ 500 ล้านบาท
บริษัทที่มีการเพิ่มทุนจดทะเบียน ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์ เช่น บริษัท โตโยต้ามอเตอร์ จำกัด เพิ่มทุนจดทะเบียนจาก 520 ล้านบาท เป็น 4,520 ล้านบาท และเพิ่มหุ้นญี่ปุ่นจากร้อยละ 60 เป็น 70 บริษัท ฮอนด้าคาร์ส แมนูแฟคเจอริ่งจำกัด เพิ่มทุนจดทะเบียนจาก 2,160 ล้านบาท เป็น 4,320 ล้านบาท และเพิ่มหุ้นญี่ปุ่นจากร้อยละ 49 เป็น 97 บริษัท คาวาซากิมอเตอร์เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด เพิ่มทุนจดทะเบียนจาก 23 ล้านบาท เป็น 700 ล้านบาท และเพิ่มหุ้นญี่ปุ่นจากร้อยละ 49 เป็น 71 และบริษัท เอ็นอีซี คอมมิวนิเคชั่น ซิสเทมส์ (ประเทศไทย) จำกัด เพิ่มทุนจดทะเบียนจาก 150 ล้านบาท เป็น 1,414 ล้านบาท และเพิ่มหุ้นญี่ปุ่นจากร้อยละ 49 เป็น 95
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 15 มิถุนายน 2541--